‘Fluus’ ผ้าอนามัยย่อยสลายในน้ำ ไม่ต้องหากระดาษห่อให้ยุ่งยาก แค่ทิ้งลงชักโครกก็หายไปในพริบตา

รอบเดือนเป็นสิ่งที่ผู้มีประจำเดือนทุกคนหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งยังกลายเป็นส่วนหนึ่งในปัญหาขยะจากผ้าอนามัย เพราะโดยปกติแล้วผ้าอนามัยทั่วๆ ไปประกอบด้วยพลาสติกถึง 90 เปอร์เซ็นต์ และเพียงแค่ในสหราชอาณาจักรก็มีการใช้กว่า 3,000 ล้านชิ้น สร้างขยะมากถึง 200,000 ตัน นี่ยังไม่นับรวมทั้งโลกเลย ‘Fluus’ แบรนด์ผ้าอนามัยจากสหราชอาณาจักรจึงมองหาวิธีช่วยลดขยะและลดการฝังกลบ ด้วยผ้าอนามัยชิ้นแรกที่สามารถทิ้งลงชักโครกเพื่อให้สลายตัวไปกับน้ำ ซึ่งไม่ใช่แค่ตัวผ้าอนามัยเท่านั้น แต่กระดาษห่อและกระดาษรองก็ทิ้งลงชักโครกได้ด้วยเหมือนกัน ผ้าอนามัยของ Fluus ประกอบไปด้วยวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เริ่มจากการใช้เส้นใยจากพืชเพื่อให้ผ้าด้านบนและด้านล่างนุ่มเป็นพิเศษ ระบายอากาศได้ดี ช่วยให้รู้สึกแห้งสบาย และพอลิเมอร์ชีวภาพที่ช่วยให้เลือดซึมเข้าสู่แผ่นรองได้อย่างรวดเร็ว ไม่เลอะเทอะ ส่วนกาวที่ยึดผ้าอนามัยก็ทำมาจากเยื่อไม้ที่ไม่เป็นพิษ และมีคุณสมบัติกระจายตัวในน้ำได้โดยไม่ต้องกลัวว่าจะทำให้ระบบน้ำอุดตัน เมื่อทิ้งผ้าอนามัยลงไปในชักโครก การเคลื่อนที่ของน้ำจะดึงชั้นต่างๆ ของผ้าอนามัยออกจากกัน จากนั้นจะนำไปบำบัดที่ศูนย์บำบัดน้ำพร้อมกระดาษชำระและสิ่งปฏิกูลที่สลายตัว เกิดเป็นน้ำสะอาด พลังงานทดแทน และปุ๋ย การฝังกลบขยะจากผ้าอนามัยอาจใช้เวลากว่า 500 ปีในการย่อยสลาย ในขณะที่ Fluus สามารถทำให้ผ้าอนามัยสลายไปได้ในพริบตา นอกจากปัญหาขยะแล้ว Fluus ยังช่วยลดปัญหาการทิ้งผ้าอนามัยหากห้องน้ำที่เราเข้าไปใช้งานไม่มีถังขยะ หรือบางคนอาจรู้สึกไม่สบายใจหากต้องทิ้งผ้าอนามัยที่บ้านคนอื่น Sources :DesignTAXI | bit.ly/42F3CezFluus | wearefluus.com

ประเทศแรกของโลก! สกอตแลนด์บังคับใช้กฎหมายแจกผลิตภัณฑ์ประจำเดือนฟรี ให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงผ้าอนามัยได้

ในขณะที่ประเทศไทยและหลายประเทศทั่วโลกกำลังเรียกร้องให้รัฐบาลแจก ‘ผ้าอนามัยฟรี’ กันอยู่ ตอนนี้ ‘สกอตแลนด์’ ได้นำหน้าเราไปไกลแล้ว หลังจากก้าวขึ้นเป็นประเทศแรกของโลกที่บังคับใช้กฎหมายแจกผลิตภัณฑ์ประจำเดือนให้ประชาชนโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ โดยผู้ที่ต้องการผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับประจำเดือนไม่ว่าจะเป็นผ้าอนามัยแบบแผ่นหรือแบบสอด สามารถรับผลิตภัณฑ์แบบไม่จำกัดจำนวนได้ตามสถานที่สาธารณะและหน่วยงานของรัฐทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นห้องสมุด สระว่ายน้ำ โรงยิมสาธารณะ อาคารชุมชน ศาลากลาง ร้านขายยา หรือสำนักงานแพทย์ มากไปกว่านั้น ผู้คนสามารถค้นหาโลเคชันแจกผ้าอนามัยที่ใกล้ที่สุดได้ฟรีผ่านแอปพลิเคชัน ‘PickupMyPeriod’ และภาครัฐยังมีบริการจัดส่งผลิตภัณฑ์ถึงบ้านด้วย เพื่อให้มั่นใจว่าประชาชนที่มีประจำเดือนทุกคน ไม่ว่าจะเป็นใครหรืออาศัยอยู่บริเวณไหนของสกอตแลนด์ จะสามารถเข้าถึงผ้าอนามัยได้อย่างเท่าเทียม  อีกทั้งเป็นการแก้ปัญหาของผู้หญิงบางกลุ่มที่เผชิญสภาวะขาดแคลนหรือไม่สามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับประจำเดือนได้ (Period Poverty) เนื่องจากผู้หญิงมีระยะเวลาเป็นประจำเดือนเฉลี่ยอยู่ที่ 5 วันต่อเดือน ทำให้บรรดาผู้มีประจำเดือนในสกอตแลนด์ต้องเสียเงินไปกับการซื้อผ้าอนามัยมากถึงเดือนละ 8 ปอนด์ หรือราว 340 บาท กฎหมายนี้มีผลบังคับใช้ทั่วสกอตแลนด์ตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2022 หลังจาก Monica Lennon สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคแรงงานแห่งสกอตแลนด์ได้เสนอร่างกฎหมายนี้ตั้งแต่ปี 2016 และผ่านการอนุมัติโดยฝ่ายนิติบัญญัติในขั้นต้นไปเมื่อเดือนพฤศจิกายนปี 2020 รวมเป็นระยะเวลาถึง 6 ปี กว่าที่ชาวสกอตแลนด์ทุกคนจะมีผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับประจำเดือนให้ใช้ฟรีโดยไม่ต้องเสียเงิน หลังจากมีการบังคับใช้กฎหมาย Monica Lennon ก็ได้โพสต์ข้อความผ่านทางทวิตเตอร์ส่วนตัวของเธอว่า “สกอตแลนด์อาจเป็นประเทศแรกของโลก […]

ชวนลงชื่อยกเลิกภาษีผ้าอนามัย และแจกผ้าอนามัยฟรีให้ผู้มีประจำเดือน เข้าถึงบริการสุขภาพได้อย่างเท่าเทียม

ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้หญิงจำนวนมากที่กำลังเผชิญกับสภาวะขาดแคลน หรือไม่สามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับประจำเดือนได้ (Period Poverty) เนื่องจากผ้าอนามัยมีราคาสูงเกินไปเมื่อเทียบกับอัตรารายได้หรือค่าครองชีพ ทำให้ผู้หญิงและเด็กหลายคนต้องสูญเสียโอกาสทางการงานและการศึกษาเมื่อมีประจำเดือน เพราะเหตุนี้ หลายฝ่ายจึงออกมารณรงค์และเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกการเก็บภาษีผ้าอนามัยทุกรูปแบบ และผลักดันให้มีนโยบายแจกผ้าอนามัยฟรีให้กับประชาชน ย้อนไปวันที่ 19 กรกฎาคม 2564 ‘ภาษีผ้าอนามัย’ กลายเป็นประเด็นถกเถียงที่สังคมให้ความสนใจในวงกว้าง หลังจากเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาประกาศกฎกระทรวงกำหนดให้ ‘ผ้าอนามัยแบบสอด’ เป็น ‘เครื่องสำอาง’ ตามมาตรา 4 และมาตรา 5 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558 หมายความว่าจะมีการเก็บภาษีสินค้าชนิดนี้เพิ่มจาก 7 เปอร์เซ็นต์ เป็น 30 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียจำนวนมากไม่เห็นด้วย และแสดงความคิดเห็นว่า ผ้าอนามัยไม่ใช่สินค้าฟุ่มเฟือย แต่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตประจำวันของผู้หญิง และรัฐบาลไม่ควรผลักภาระทางภาษีให้กับประชาชน ทว่า หลังจากเกิดกระแสดราม่าไม่กี่วัน ด้านกรมสรรพสามิตและกรมศุลกากรได้แถลงการณ์ชี้แจงว่า การประกาศให้ผ้าอนามัยแบบสอดเป็นเครื่องสำอางนั้นไม่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษี แต่มีจุดประสงค์เพื่อควบคุมสินค้าตามกฎหมายของกระทรวงสาธารณสุขเท่านั้น พร้อมยืนยันว่าผ้าอนามัยแบบสอดไม่ถูกจัดเก็บภาษีสินค้าฟุ่มเฟือย 30 เปอร์เซ็นต์อย่างแน่นอน แต่ยังคงต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 7 เปอร์เซ็นต์เหมือนเดิม อย่างไรก็ตาม องค์กรเพื่อสิทธิสตรี นักเคลื่อนไหว และประชาชนหลายรายยังคงมองว่า ผ้าอนามัยควรเป็นสินค้าปลอดภาษีที่ผู้หญิงทุกคนสามารถเข้าถึงได้ จึงเดินหน้ารณรงค์และเคลื่อนไหวให้รัฐบาลแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำที่เกิดจากราคาผ้าอนามัย […]

#เป็นเมนส์ไม่เห็นต้องซ่อน แคมเปญปฏิวัติความเชื่อผิดๆ จาก ira รณรงค์ว่าประจำเดือนไม่ใช่สิ่งน่าอาย

ตอนเด็กๆ ใครเคยถูกล้อเวลามีประจำเดือน หรือไม่กล้าบอกเพื่อนว่าเป็น ‘วันนั้นของเดือน’ บ้าง?  จากการสำรวจผู้มีประจำเดือน 1,000 คน พบว่ากว่า 43 เปอร์เซ็นต์รู้สึกอายที่จะให้คนอื่นรู้ว่าตัวเองมีเมนส์ และหลายคนยังต้องเจอกับมุกตลกเกี่ยวกับการมีประจำเดือน (Period Joke) เช่นการบุลลี่หรือพูดลับหลังว่า ‘สงสัยเมนส์มา’ นอกจากนี้ ผู้หญิงจำนวนมากยังต้องหลบๆ ซ่อนๆ เวลาซื้อหรือยื่นผ้าอนามัยให้กัน เพราะสังคมส่วนใหญ่ยังเชื่อว่าประจำเดือนคือสิ่งสกปรกและน่ารังเกียจ ในความเป็นจริงแล้วประจำเดือนเป็นเพียงกลไกทางชีวภาพของร่างกายกลไกหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าร่างกายสมบูรณ์ดี และพร้อมจะให้กำเนิดมนุษย์ต่อไป ดังนั้น เราจึงอยากชวนทุกคนร่วมกันเปลี่ยนความคิดและพูดคุยให้เมนส์เป็นเรื่องปกติไปกับแคมเปญ #เป็นเมนส์ไม่เห็นต้องซ่อน จากแบรนด์ผ้าอนามัย ira ช่วงวันสตรีสากล (International Women’s Day) ของปีนี้ ira ร่วมโปรเจกต์พิเศษกับ Inside the Sandbox นำเสนอผลิตภัณฑ์ผ้าอนามัยรุ่น Limited Edition #เป็นเมนส์ไม่เห็นต้องซ่อน เพื่อปฏิวัติแนวคิดการตีตราประจำเดือน (Period Stigma) และเปิดพื้นที่พูดคุยเรื่องประจำเดือนในสังคม ผู้ที่สนใจซื้อผ้าอนามัยรุ่น #เป็นเมนส์ไม่เห็นต้องซ่อน ได้ที่ช่องทางโซเชียลมีเดียของ ira หรือเว็บไซต์ onperiod.iraconcept.com ในราคากล่องละ 131 บาท […]

รัฐแจกถุงยาง-ยาคุมฟรี ม.เชียงใหม่มีสวัสดิการผ้าอนามัยฟรี ก้าวใหม่ของสุขอนามัยทางเพศไทย

เมื่อไม่นานมานี้ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้ประกาศแจกยาคุมกำเนิดและถุงยางอนามัยฟรี รวมถึงเพิ่มจุดบริการให้ประชาชนเข้าถึงง่าย เพื่อเป็นสิทธิประโยชน์ด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค  รายละเอียดการแจกยาคุมกำเนิดคือ ยาคุมกำเนิดที่แจกเป็นยาชนิดเม็ดรับประทาน ให้บริการแก่หญิงไทยอายุ 15 – 59 ปี โดยผู้รับบริการมารับยาได้ครั้งละไม่เกิน 3 แผง คนละไม่เกิน 13 แผง/ปี ด้วย 2 วิธีการคือ จองผ่านบริการเสริมสร้างสุขภาพ เมนูกระเป๋าสุขภาพ ในแอปพลิเคชัน ‘เป๋าตัง’ แล้วเลือกหน่วยบริการที่จะไปรับ หรือให้แสดงบัตรประชาชนเพื่อขอรับยาคุมกำเนิด ที่หน่วยบริการสุขภาพที่ร่วมโครงการ ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ส่วนถุงยางอนามัย ให้บริการแก่คนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป รับบริการได้ครั้งละ 10 ชิ้น/สัปดาห์ รอบการแจก 7 วัน รับได้ 1 ครั้ง ไม่จำกัดจำนวนถุงยาง/คน/ปี วิธีการคือ Add Line สปสช. (@nhso) แล้วสแกน QR Code ในหน่วยบริการที่เข้าร่วมโครงการแจกถุงยางอนามัย […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.