รู้จักและสนับสนุนผ้าไทยผ่านแผนที่ลายผ้าพื้นเมืองประเทศไทย จัดทำโดย ร้านแพรอาภา ห้องผ้าไหม

คนไทยรู้ ทุกคนรู้ว่าผ้าไทยงดงามไม่แพ้ใครในโลก นอกจากนี้ ลายผ้าแต่ละลายยังล้วนมีประวัติความเป็นมาที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่นั้นๆ จนนับเป็นอัตลักษณ์จังหวัดได้ เช่น ลายจกไทลื้อ ของจังหวัดเชียงราย หรือลายผ้าขาวม้าอ่างทอง ของจังหวัดอ่างทอง เป็นต้. เพราะมีความรักในผ้าทอและต้องการสนับสนุนผ้าถักทอ ผ้าพื้นเมืองของไทย ให้เป็นที่รู้จัก ‘ร้านแพรอาภา ห้องผ้าไหม’ ที่จัดจำหน่ายและจัดแสดงผ้าไหมมาเป็นเวลายาวนาน จึงจัดทำแผนที่ผ้าประเทศไทย ในรูปแบบอัลบั้มภาพในเพจเฟซบุ๊กของร้าน เพื่อเป็นแหล่งความรู้ให้ผู้ที่สนใจผ้าไทย ทางร้านได้ศึกษาหาความรู้จากหนังสือและข้อมูลตามอ้างอิง อินเทอร์เน็ต ไปจนถึงผู้มีประสบการณ์ด้านผ้า แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อหาผ้าที่เป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดตามประวัติความเป็นมาและการเป็นที่รู้จักยอมรับในวงกว้าง ส่วนจังหวัดใดที่ไม่มีการทอผ้าหรือหาข้อมูลอ้างอิงไม่ได้ ทางร้านได้ใช้ลายผ้าประจำจังหวัดที่ออกแบบใหม่ในปีนี้ทดแทน ทั้งนี้ ในแผนที่เวอร์ชันล่าสุด ร้านแพรอาภาได้ปรับปรุงข้อมูลและถ่ายภาพลายผ้าใหม่ เพื่ออัปเดตฐานข้อมูลให้ครอบคลุมมากขึ้น นอกจากตัวแผนที่ที่ใช้ลายผ้าซึ่งเป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่นเพื่อสื่อสารถึงจังหวัดนั้นๆ แล้ว ยังมีการจัดแสดงข้อมูลที่ประกอบด้วยภาพลายผ้า ชื่อลายผ้า และชื่อจังหวัด ให้ได้ศึกษากันชัดๆ อีกด้วย หลายลายงดงามมากจนอยากเห็นของจริงเลย ใครที่สนใจ ชมภาพและศึกษาแผนที่ลายผ้าพื้นเมืองประเทศไทยได้ที่ https://tinyurl.com/2f9x3w6d หรืออุดหนุนร้านแพรอาภาได้ในช่องทางออนไลน์หรือหน้าร้าน ย่านคลองบางบอน เขตบางบอน กรุงเทพฯ (โทร. 08-1702-4552)

เย็บ | ปัก | ถัก | ชีวิต ศิลปะบนผ้าพื้นเมืองที่ไม่มีวันหมดอายุ

เมื่อพูดถึงผ้าพื้นเมือง หลายคนคงติดภาพเสื้อชาวเขา เสื้อม่อฮ่อม ผ้าซิ่น ซึ่งถูกทำให้กลายเป็นของแปลกใหม่สำหรับคนเมือง กลายเป็นเครื่องนุ่งห่มของคนต่างถิ่น แต่ไม่ใช่สำหรับเธอ บุคคลผู้หลงรักมนตร์เสน่ห์ของผ้าพื้นเมืองในฐานะ ผ้าที่เต็มเปี่ยมไปด้วยภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมจากรุ่นสู่รุ่น งานของเธอจึงใช้ผ้าพื้นเมืองที่ผลิตจากเส้นใยธรรมชาติ และใช้กรรมวิธีการย้อมสีจากธรรมชาติมาใช้เป็นหลัก จากผ้าฝ้ายธรรมดาก็กลับสามารถเพิ่มมูลค่าทั้งทางเศรษฐกิจและจิตใจ ด้วยวิธีคิด การมอบคุณค่าให้กับผ้า จนผลงานบนผืนผ้าของเธอได้โลดแล่นในเวทีระดับโลก เธอคนนั้นมีชื่อว่า ‘ซิกแนล หรือ สมพร อินทร์ประยงค์’ ผ้าพื้นเมืองถึงจะเก่า แต่เก๋าไม่เสื่อมคลาย เสื้อผ้าพื้นเมืองถูกผลักออกจากชีวิตผู้คนสมัยใหม่ ให้กลายเป็นเพียงเสื้อผ้าของชาวเขา และแทนด้วยเสื้อผ้าโรงงานซึ่งเน้นการผลิตจำนวนมาก เสื้อผ้าเหล่านั้นอาจจะดูสวย ทันสมัยสำหรับคนในเมือง แต่สิ่งที่ขาดไปในผ้าทุกผืนนั้นก็คือ มนตร์เสน่ห์และชีวิตของผู้ที่อยู่เบื้องหลัง จนเราไม่เคยคิดเลยว่าเรากลายเป็นผู้คนที่สวมใส่เสื้อผ้าที่ผลิตโดยเครื่องจักรไปเสียแล้ว ในทางกลับกันเสื้อผ้าพื้นเมืองที่ถูกถักทอด้วยมือ กลับเต็มเปี่ยมไปด้วยเรื่องราวทางวัฒนธรรม นอกจากนั้น ยังมีชีวิตของผู้ผลิตอยู่ในนั้น ถึงแม้เวลาจะผ่านไปเนิ่นนาน งานเหล่านี้ก็จะไม่มีวันล้าสมัย และยังคงโดดเด่นอยู่เสมอด้วยเรื่องราวในตัวของมันเอง เสื้อผ้าพื้นเมืองกลายเป็นกระแสทำให้หลายคนเริ่มหันกลับมามองรากวัฒนธรรมของสิ่งที่เราสวมใส่ และเราคงหันมองทุกครั้งถ้าได้เห็นคนใส่ผ้าพื้นเมืองบนรถไฟฟ้า หยุดสายตาเพื่อชื่นชมในเสน่ห์ของชุดของเขาอยู่ไม่น้อย ซึ่งหนึ่งในบุคคลที่คอยผลักดันภูมิปัญญาพื้นถิ่น ตั้งแต่เครื่องเงิน กระเป๋าสาน กำไลข้อมือ และชิ้นสำคัญอย่างผ้าพื้นเมืองให้กลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้งก็คือพี่ซิกแนล เห็นคุณค่าของเวลาจึงออกแบบให้หลากฟังก์ชัน เธอเป็นคนเห็นคุณค่าของเวลา ทำให้การจะสร้างสรรค์งานขึ้นมาสักชิ้น ต้องมีอรรถประโยชน์สูงสุด เพื่อให้คุ้มค่ากับเวลาที่เสียไป พี่ซิกแนลได้แนวคิดในการออกแบบงานหนึ่งชิ้นให้มีฟังก์ชันได้หลากหลาย เสื้อ 1 ตัวของเธอจึงใส่ได้ 4 ด้าน ด้วยเทคนิคการออกแบบคอเสื้อเฉพาะตัว […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.