Make Bangkok Liveable Again จำลองกรุงเทพฯ ให้น่าอยู่ตามนโยบายของ ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’

‘กรุงเทพฯ’ ในฝันตามแบบฉบับของ ‘ชัชชาติ’ จะเป็นแบบไหนกันนะ หนึ่งในบุคคลที่กระแสแรงที่สุดในช่วงนี้ก็คือ ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ ว่าที่ผู้ว่าฯ กทม. คนที่ 17 ผู้คว้าชัยชนะการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2565 อย่างถล่มทลาย สูงสุดในประวัติศาสตร์การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ หรือกว่า 1,386,769 คะแนน (คะแนนอย่างไม่เป็นทางการ) ช่วงหาเสียงเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ชัชชาติยังเป็นขวัญใจของคนหลายกลุ่ม จากภาพลักษณ์ธรรมดาๆ เข้าถึงง่าย วิธีหาเสียงที่คำนึงถึงผู้คนและสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงสโลแกน ‘กรุงเทพฯ เมืองน่าอยู่สำหรับทุกคน’ มาพร้อมนโยบายกว่า 214 ข้อที่เกิดจากการลงพื้นที่ฟังเสียงของชาว กทม. นานกว่า 2 ปี โดยรวบรวมให้ทุกคนอ่านอย่างละเอียดที่ www.chadchart.com คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากจำลองและออกแบบเมืองกรุงเทพฯ ให้ทุกคนเห็นว่า หากชัชชาติพัฒนาเมืองตามนโยบายเหล่านี้ได้จริง เมืองน่าอยู่ในสายตาของเขาจะมีหน้าตาประมาณไหน โดยเราได้หยิบยกไอเดียมาจากนโยบายที่น่าสนใจ ครอบคลุมบริบทของเมืองกรุงเทพฯ หลากมิติ เช่น พื้นที่สาธารณะ ระบบขนส่งสาธารณะ สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย […]

5 ข้อที่ต้องรู้โค้งสุดท้าย ก่อนไปเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. เปลี่ยนกรุงเทพฯ 22 พ.ค. 65

ผ่านมา 9 ปีเต็มๆ ในที่สุดชาวกรุงเทพฯ (ที่มีชื่อในทะเบียนบ้านกรุงเทพฯ) ก็ได้เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. เสียที หลังจากต้องอยู่กับผู้ว่าฯ ที่มาจากการแต่งตั้งอยู่นานแสนนาน อย่างที่ทุกคนเห็นว่าการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ครั้งนี้มีบรรยากาศที่คึกคักเป็นพิเศษ ตั้งแต่จำนวนผู้สมัครที่มากเป็นประวัติการณ์ ไหนจะการหาเสียงที่ถือเป็นสนามประลองกึ๋นเรื่องเมืองย่อมๆ ของผู้สมัคร และการดีเบตที่เรียกว่ามีให้ดูทุกสัปดาห์เลยก็ว่าได้ ในที่สุดการรอคอยก็จบสิ้น เพราะวันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคมนี้ ชาวกรุงเทพฯ ที่มีสิทธิ์เลือกตั้งจะได้เดินเข้าคูหากากบาทเลือกผู้ว่าฯ กทม. และสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ที่ชอบแล้ว แต่ก่อนถึงช่วงเวลาสำคัญนั้น เราขออาสารวมสิ่งที่ต้องรู้ก่อนไปเลือกตั้งมาให้ทุกคนศึกษาในโค้งสุดท้ายนี้ ก่อนอื่น ใครที่ยังไม่รู้หรือไม่แน่ใจว่าจะเลือกใครมาทำหน้าที่ดูแลเขตและเมืองของเราดี ชวนทำความรู้จักผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. และค้นหาสมาชิกสภา กทม. ในเขตของคุณได้ที่ bkkelection2022.wevis.info/candidate/ เพราะเว็บไซต์นี้รวมมาให้หมดแล้วทั้งข้อมูลพื้นฐานของผู้สมัคร ไปจนถึงนโยบาย วิสัยทัศน์ การตอบคำถาม ฯลฯ ถ้าไม่มีเวลาไปไล่ดูทุกการสัมภาษณ์และการดีเบต ศึกษาที่นี่ที่เดียวก็ครบจบกระบวนความ ต่อมาเป็นข้อควรรู้เกี่ยวกับการใช้สิทธิ์เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. และ ส.ก. ดังนี้ – การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. และ ส.ก. จะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ […]

กรุงเทพฯ ยังมี ‘หวัง’ ในสายตา วิโรจน์ ลักขณาอดิศร

“ทำไมคุณต้องอยู่ในฐานะผู้ถูกปกครอง ที่ต้องอ้อนวอนร้องขอกับราชการ ทั้งที่เงินนั้นเป็นเงินภาษีของประชาชน” ประโยคสนนทนาที่แทงใจ จากการที่เราพูดคุยกับ ‘วิโรจน์ ลักขณาอดิศร’หรือที่หลายคนรู้จักจากฉายา ดาวเด่นสภา วันนี้เขาเดินทางอีกหนึ่งบทบาทในฐานะ  1 ในผู้สมัครเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพมหานคร ถึงแม้กรุงเทพฯ จะมีปัญหามากมาย แต่ในสายตาวิโรจน์ เชื่อว่า กรุงเทพฯ ยังมี ‘หวัง’ ถึงเวลาแก้ไขกรุงเทพฯ แบบตรงไปตรงมาในแบบฉบับวิโรจน์ จะเป็นอย่างไรนั้น ร่วมพูดคุยไปพร้อมกับเราในคลิปนี้เลย!

สำรวจป้ายหาเสียงในฤดูกาลเลือกตั้งกรุงเทพฯ ติดแบบไหนพัง ตั้งตรงไหนปัง ลองมาดูกัน

ในฤดูเลือกตั้ง นอกจากจะได้เห็นภาพการปรากฏตัวของแคนดิเดตนักการเมืองหลายคนบ่อยๆ ทั้งในหน้าสื่อ และการลงพื้นที่ชุมชนต่างๆ สิ่งที่เห็นได้ถี่ไม่แพ้กันก็คือ ‘ป้ายหาเสียง’ และ ‘ประกาศหาเสียง’ ของแคนดิเดตแต่ละคนหรือแต่ละพรรค ที่จัดเต็มด้วยสโลแกน และนโยบายการแก้ปัญหาต่างๆ ซึ่งในช่วงเดือนเมษายน 2565 นี้ ภาพบรรยากาศป้ายมากมายที่เราเคยเห็นในศึกการเลือกตั้งครั้งก่อนๆ ต่างทยอยกลับมาคึกคักอีกครั้ง ใช่ เราหมายถึงการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. และสภากรุงเทพฯ (ส.ก.) นั่นแหละ อีกไม่นาน คนกรุงเทพฯ จะได้ใช้สิทธิ์ของตัวเองในคูหาอีกครั้ง หลังจากรัฐริบเอาเสียงของประชาชนไปนานหลายปี ซึ่งคนกรุงจะได้เข้าคูหาเลือกตั้งในวันที่ 22 พฤษภาคม 2565 หลังยืดเยื้อมาตั้งแต่ช่วงปลายปีที่แล้ว เมื่อมีการคอนเฟิร์มแน่ชัด ผู้สมัครหลายคนก็เริ่มติดป้ายหาเสียงแบบไม่มีใครยอมใคร แถมยังมีการเริ่มปิดประกาศและติดตั้งป้ายก่อนมีการประกาศหมายเลขประจำตัวผู้สมัครในวันที่ 31 มีนาคม – 4 เมษายน 2565 เสียด้วยซ้ำ ถ้าสังเกตดีๆ ในโลกออนไลน์ตอนนี้เริ่มมีคอนเทนต์เกี่ยวกับการเลือกตั้งในกรุงเทพฯ เยอะขึ้นเรื่อยๆ มีคนถ่ายภาพป้ายเลือกตั้งที่พบเจอมาแชร์ต่อมากมาย ทั้งในมุมตลกขบขัน มุมซีเรียส มุม Complain ไปจนถึงข้อเสนอ และเสียงวิจารณ์เกี่ยวกับการออกแบบคอนเทนต์ ดีไซน์ป้ายหาเสียง ไปจนถึงความเหมาะสมของการติดตั้งป้ายในแต่ละพื้นที่ ด้วยเหตุนี้ เราจึงพาทุกคนออกไปสำรวจเมืองในย่านต่างๆ […]

เปิดใจ “เอ้ สุชัชวีร์” ไม่มาขายฝัน พร้อมเจ็บ เพื่อเปลี่ยนกรุงเทพฯ ให้ดีขึ้น l Bangkok Hope EP.2

‘เปลี่ยนกรุงเทพฯ เราทำได้’ สโลแกนปลุกใจชาวกรุงของ เอ้-สุชัชวีร์สุวรรณสวัสดิ์แคนดิเดตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจากพรรคประชาธิปัตย์  บางคนอาจรู้จักเขาจากบทบาทอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง บางคนอาจรู้จักเขาจากการเป็นไวรัลทายาทสายตรงไอน์สไตน์ บางคนอาจรู้จักเขาจากป้ายประกาศตามสถานที่ต่างๆ ในกรุงเทพฯ หรือบางคนอาจรู้จักเขาในฐานะเจ้าของบ้านหลังงามที่มีชั้นสะสมฟิกเกอร์ Iron Man แต่ไม่ว่าคุณจะรู้จักเขาในรูปแบบไหน ท้ายที่สุดแล้วเขาคือคนที่อาสาขอเข้ามาเปลี่ยนแปลงเมืองหลวงของประเทศไทยที่เต็มไปด้วยปัญหาหลากหลายมิติ อะไรทำให้เขาเชื่อว่าแนวคิด ‘เปลี่ยนกรุงเทพฯ เราทำได้’ จะเป็นไปได้ กรุงเทพฯ มีโอกาสและความเป็นไปได้ที่จะเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นมากน้อยแค่ไหนในสายตาเขา เราเชิญคุณมาติดตามคำตอบไปพร้อมๆ กัน! . #UrbanCreature #TheProfessional #BangkokHope #ReinventTheWayWeLive #เอ้สุชัชวีร์ #พรรคประชาธิปัตย์ #ผู้ว่ากทม. #เลือกตั้งผู้ว่าฯ #กรุงเทพฯ

‘วิโรจน์ ลักขณาอดิศร’ จากดาวสภาฯ สู่การท้าชิงผู้ว่าฯ กทม. ที่พร้อมฟาดระบบนายทุน

ช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ใครติดตามการประชุมสภาฯ เป็นประจำคงคุ้นเคยกับการอภิปรายไม่ไว้วางใจของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อคนหนึ่ง ที่วิพากษ์วิจารณ์และตั้งคำถามถึงการทำงานของประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้อย่างมีอรรถรส ฟาดแบบดุเด็ดเผ็ดมัน ตรงไปตรงมา และอัดแน่นไปด้วยชุดข้อมูลและเหตุผลที่ถี่ถ้วน จนหลายคนต้องยอมรับเลยว่า เขาได้พูดแทนใจคนไทยจำนวนมากที่สิ้นหวังกับรัฐบาลชุดปัจจุบันได้อย่างหลากมิติ ใช่ เรากำลังพูดถึง ‘วิโรจน์ ลักขณาอดิศร’ อดีต ส.ส. บัญชีรายชื่อ จากพรรคก้าวไกล  ที่ผ่านมา เขามีผลงานโดดเด่นจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจอยู่หลายๆ ประเด็น เช่น การเปิดหลักฐานแฉปฏิบัติการ Information Operation (IO) แผนจัดหาวัคซีนโควิด-19 จอมลวงโลก รวมไปถึงการที่รัฐคุกคามนักเรียนที่ออกมาแสดงจุดยืนทางการเมือง แต่เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2565 เขาประกาศตัดสินใจลาออกจากการเป็น ส.ส. และขอพิสูจน์ตัวเองในบทบาทใหม่ ด้วยการเป็น ‘แคนดิเดตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร’ พร้อมชูนโยบายล้มระบบส่วย ยกเลิกราชการรวมศูนย์ ท้าชนนายทุนที่เอาเปรียบประชาชน และมุ่งแก้ปัญหาคุณภาพชีวิตของชาวกรุงภายใต้สโลแกน ‘หมดเวลาซุกปัญหาไว้ใต้พรม พร้อมชนเพื่อคนกรุงเทพฯ’ วันนี้ เราจึงนัดพูดคุยกับวิโรจน์กับตำนานบทใหม่ของเขา เพื่อตอบข้อสงสัยว่า ทำไมเขาถึงยอมสละตำแหน่งดาวรุ่งในสภาฯ มาลงสมัครตำแหน่งผู้ว่าฯ เขามีความหวังอย่างไรกับการแก้ปัญหาของเมืองที่ ‘นายทุนต้องมาก่อนใคร’ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน และทำให้ ‘ทุกคน’ […]

Urban Sketch คน-กรุงเทพฯ-ความคิด ถ้าเมืองที่เราอยู่มีชีวิต เขาจะเป็นคนอย่างไร ?

คุณลองนึกดูถ้ากรุงเทพฯ เป็นมนุษย์ คุณคิดว่ามันจะมีรูปร่างหน้าตาแบบไหน มีบุคลิกและนิสัยหรือจิตใจยังไง จะน่าคบหรือควรห่างคนแบบนี้กันนะ .  เมื่อเข้าใกล้ฤดูกาลเลือกตั้งผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ เราจึงได้คิดโจทย์สนุกๆ ให้ซีรีส์ Bangkok Hope ในการให้ทุกคนวาดภาพกรุงเทพฯ ออกมาเป็นคนด้วยจิตนาการของตัวเอง หน้าต้าจะน่ารักหรือน่าคบไหม จะตรงกับสิ่งที่คุณคิดอยู่หรือเปล่า เราตามมาดูพร้อมๆ กันในคลิปนี้เลย!  . #UrbanCreature #TheProfessional #BangkokHope #ReinventTheWayWeLive  #ผู้ว่ากทม #เลือกตั้งผู้ว่าฯ #กรุงเทพฯ

ไม่มีเทพสร้าง ไม่มีอัศวินม้าขาวช่วย แต่กรุงเทพฯ มี ‘หวัง’ ในสายตา ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’

“ประมาณหกโมงเช้าไปวิ่งมา แล้วก็ออกไปดูพื้นที่เขตบางบอน จากนั้นข้ามไปหนองแขมเพื่อดูปัญหาในชุมชนและเดินตลาดต่อ”  ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ แคนดิเดตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครบอกกับเรา บริเวณใต้ร่มร้านขายของชำใกล้สวนสาธารณะเขตบางบอน วันเสาร์นั้นแดดจัด ช่วงใกล้เที่ยง พระอาทิตย์ส่องจ้ากลางหัว เขาโดยสารรถสองแถวหลังคาสูงมาพร้อมทีมงานที่สวมเสื้อดำสกรีนคำเขียวเข้มสะท้อนแสง ‘ทำงาน ทำงาน ทำงาน’  ช่วงนี้เขาออกวิ่งทุกวันเสาร์ ตระเวนวิ่งในแต่ละเขตทั่วกรุง เราสะดุดตาที่วันนี้ชัชชาติสวมรองเท้าวิ่งข้างหนึ่งสีขาว อีกข้างสีดำ เขาเล่าข้อมูลเขตบางบอนที่ศึกษามาว่า “เขตบางบอนเป็นเขตที่พื้นที่มีความยาว แต่เดิมเป็นพื้นที่ทำสวน ปัจจุบันหมู่บ้านจัดสรรเริ่มเข้ามา คนมาอาศัยในเขตนี้มากขึ้น ตอนนี้มีประชากรประมาณหนึ่งแสนคน”  ตลอดเส้นทางที่สัญจรมาที่นี่ เราขับรถผ่านถนนสองเลนที่ตัดผ่านย่านชุมชน ผ่านเส้นทางรถไฟ และ สถานี ‘รางโพธิ์’ สถานีหลักประจำพื้นที่ซึ่งเป็นสถานีหมุดหมายของรถไฟฟ้าสายสีแดงที่จะวิ่งผ่านในอนาคต ชัชชาติชี้ให้เห็นว่า ปัญหาเรื่องการคมนาคมและขนส่งสาธารณะเป็นหนึ่งในโจทย์ใหญ่ของเขตบางบอน เขาเล่าประสบการณ์การเดินทางในช่วงเช้าก่อนมาเจอเราว่า “รถติดมาก เส้นเอกชัย-บางบอน หรือถนนบางบอน 3 หรือ 5 และขนส่งสาธารณะก็ยังไม่ดี รถไฟก็เป็นแบบท้องถิ่นที่มีความถี่น้อย ประชาชนจึงต้องใช้รถส่วนตัว”  ถ้าลองเปิดแผนที่ดู เขตบางบอนคือพื้นที่ขอบกรุงเทพฯ ที่ติดกับจังหวัดสมุทรสาครซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่สำคัญของอุตสาหกรรมประมง มีแรงงานชาวพม่าที่มาทำงานในพื้นที่อาศัยอยู่เยอะ ทำให้มีอีกโจทย์ตามมาว่าจะพัฒนาพื้นที่เพื่อรองรับแรงงานต่างชาติ และประชากรในพื้นที่อย่างไรไม่ให้อยู่อย่างแออัด นี่คือความหลากหลายและความซับซ้อนของสิ่งที่ต้องจัดการจากพื้นที่เพียงหนึ่งเขต เพราะความเป็นจริง กรุงเทพฯ มีทั้งหมด 50 เขต […]

No one can save Bangkok? อ้าวเฮ้ย! เมื่อ ‘อัศวิน’ อาจไม่ได้ขี่ม้าขาวมากู้ กทม. อย่างที่คุยกันไว้นี่นา

ชีวิตของคนกรุงเทพฯ ดีและลงตัว จริงๆ หรือยัง? ถ้ามองอย่างเที่ยงตรง เรามั่นใจว่า คำตอบคนส่วนมากคือ ‘ไม่’ เพราะกรุงเทพฯ ยังคงเผชิญกับปัญหาที่สะสมมานาน ทั้งการจราจรติดขัด ฝนตกแล้วน้ำท่วมขังในย่านต่างๆ การจัดการขยะที่ไม่เป็นระบบ ฝุ่น PM 2.5 ไปจนถึงระบบขนส่งสาธารณะและสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่ไม่ตอบโจทย์ผู้อาศัยจริงๆ สักที ทำให้การใช้ชีวิตของคนกรุงเทพฯ เป็นไปอย่างยากลำบาก เหมือนผจญด้านโหดในเกม Adventure ทุกวันเลยทีเดียว เมื่อพูดถึงการแก้ปัญหาในเมืองกรุง ก็ต้องย้อนกลับไปที่ ‘ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร’ ผู้มีหน้าที่กำหนดนโยบาย ทิศทางการพัฒนาเมือง และการบริหารราชการของเมืองให้เป็นไปตามกฎหมาย โดยปกติแล้ว ประชาชนที่มีสิทธิ์เลือกตั้งในเมืองหลวงจะได้เลือกตั้งผู้ว่าฯ กันทุก 4 ปี เพื่อเป็นตัวแทนของคนกรุง เข้าไปพัฒนาเมืองและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนรอบด้าน ว่าแต่…จำได้หรือเปล่าว่าชาวกรุงเทพฯ เลือกตั้งผู้ว่าฯ ครั้งล่าสุดเมื่อไหร่? เพราะตอนนี้ก็เข้าสู่ปีที่ 6 แล้ว ที่อัศวิน ขวัญเมือง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. ซึ่งนอกจากจะอยู่ในวาระนานกว่ากำหนดแล้ว เขายังมาจากการแต่งตั้งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยไม่ผ่านการเลือกจากประชาชนด้วย อัศวินในตำแหน่งผู้ว่าฯ และผลงานของเขา จึงไม่ต่างอะไรกับมรดกที่คณะรัฐประหารทิ้งไว้ให้ชาวกรุงเทพฯ นโยบายหลายข้อไม่สอดคล้องกับแนวทางแก้ปัญหา แถมเมกะโปรเจกต์หลายโครงการยังไม่ตอบโจทย์การใช้งานของผู้คนและไม่คุ้มค่ากับงบประมาณที่ทุ่มไปด้วย ทำไมจึงเป็นแบบนี้ […]

ย้อนดูประวัติศาสตร์ผู้ว่าฯ กทม. ก่อนความหวังครั้งใหม่ที่ปลายปากกา

ปี 2563 ที่ผ่านมา ในต่างจังหวัดมีการเลือกตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ซึ่งเป็นรัฐบาลท้องถิ่นที่ใกล้ชิดประชาชน คอยทำหน้าที่ดูแลอำนวยความสะดวกด้านการดำรงชีวิต อย่างเช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.), เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)  แต่เมื่อหันมามองที่กรุงเทพมหานคร ก็คิดว่า เมื่อไรจะมีการเลือกตั้งกับเขาสักที? คำถามนี้สะท้อนว่า เราไม่ได้เลือกตั้งผู้แทนเข้าไปทำงานเป็นปากเสียงให้มานานมากแล้ว หลังจากอยู่กับปัญหาสะสมเรื้อรังมากมาย ตั้งแต่ อากาศเป็นพิษ รถติดยาวเหยียด ทางเท้าพัง เหยียบแล้วชุ่มโชก รถเมล์ที่มาช้า กะเวลาไม่ได้ น้ำท่วมขังทุกครั้งที่ฝนตก รถไฟฟ้าราคาครึ่งร้อย หรือค่าครองชีพที่สูงขึ้นเรื่อยๆ จนน่าตกใจว่า จะใช้ชีวิตยังไงให้รอดในแต่ละวัน ฯลฯ  จริงๆ แล้วประเด็นพวกนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นสิ่งที่คนที่อยู่ในกรุงเทพฯ ทั้งที่เป็นคนพื้นที่ และคนที่เข้ามาเรียน ทำงาน หรือเหตุผลอื่นๆ ต้องเจออยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน นำมาสู่คำถามที่ว่า แล้วปัญหาที่อยู่รอบตัวเราในทุกๆ วันแบบนี้ จะแก้ไขหรือจัดการอะไรได้บ้าง ซึ่งหนทางแก้คงหนีไม่พ้นการกลับไปสำรวจว่า คนที่มีอำนาจกำหนดทิศทางการพัฒนาเมืองเป็นอย่างไร งบประมาณก้อนต่างๆ จำนวนมหาศาลที่ได้รับจากภาษีที่ทุกคนจ่ายๆ กันแต่ละปีจัดสรรไปกับอะไรบ้าง ใช้มันคุ้มค่าหรือเปล่า และที่สำคัญคือ เรามีสิทธิ์ ‘เลือก’ ‘ออกแบบ’ หรือ […]

ผลนิด้าโพล ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ นำโด่งจากสำรวจอยากได้ใครเป็นผู้ว่าฯ กทม. ครั้งล่าสุด

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา สำนักนิด้าโพลได้เผยผลการสำรวจประชาชนชาวกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งแล้วในหัวข้อ ‘อยากได้ใครเป็นผู้ว่าฯ กทม.’ เป็นครั้งที่ 10 ซึ่งถือเป็นครั้งล่าสุด หลังจากที่นิด้าจัดทำโพลนี้ขึ้นมาอย่างต่อเนื่องในช่วงก่อนหน้า ผลลัพธ์ที่ได้ชี้ให้เห็นว่า ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ ยังเป็นแคนดิเดตที่มีคะแนนนำลิ่วเป็นอันดับที่ 1 ทิ้งห่าง ‘สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์’ ตัวแทนจากพรรคประชาธิปัตย์ที่ตามมาเป็นอันดับที่ 2 และ อันดับที่ 3 ตามมาติดๆ คือ ‘อัศวิน ขวัญเมือง’ เจ้าของตำแหน่งผู้ว่าฯ คนล่าสุดที่ได้รับการแต่งตั้งมาจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) การสำรวจโพลโดยสำนักนิด้าครั้งล่าสุดนี้ เป็นการสำรวจความคิดเห็นของผู้คนระหว่างช่วงวันที่ 31 มกราคม – 2 กุมภาพันธ์ 2565 จากกลุ่มประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ซึ่งมีสิทธิ์เลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครได้ โดยมีกลุ่มคนทุกระดับชั้นการศึกษา หลากอาชีพ และมีรายได้ที่แตกต่างกัน รวมเป็นจำนวนทั้งหมดถึง 1,324 ตัวอย่าง  ครั้งนี้ Urban Creature ขอเลือกนำเสนอเพียง […]

Bangkok Budgeting เว็บชวนคนกรุงตื่นรู้ และมีส่วนร่วมกับงบประมาณ

หลายๆ ประเทศเปิดให้ประชาชนมีส่วนกับการตัดสินใจด้านการใช้งบประมาณ (Participatory Budgeting) ผู้คนจึงได้มีทางเลือกและได้ร่วมกำหนดทิศทางสังคมไปพร้อมกับภาครัฐ แล้วจะดีมากแค่ไหนกัน ถ้ากรุงเทพฯ มีแพลตฟอร์มให้ประชาชนทุกคนได้มีส่วนจัดการกับงบประมาณต่างๆ ที่นำมาพัฒนาเมืองของเรา เพื่อสร้างสรรค์ให้คนและพื้นที่กรุงเทพมหานครดีขึ้นกว่าที่เคยเป็นมา ข่าวดีคือในปีนี้ Good Society Summit 2021 จะเปิดเว็บไซต์ Bangkok Budgeting ส่วนหนึ่งของ Human Rights & Anti-Corruption Pavilion เพื่อให้ทุกคนได้เข้ามาใช้งานเว็บไซต์ได้ตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน 2564 โดยคลิกเข้าไปที่ projects.punchup.world/bangkokbudgeting ซึ่งพัฒนาโดยทีม PunchUp, องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย), Hand Enterprise, Siam Lab ร่วมกับ Good Society (ติดตามข้อมูลอื่นๆ ได้ที่ www.facebook.com/goodsocietythailand) และการโยนคำถามสำคัญว่าตอนนี้กรุงเทพฯ มีภาพใกล้เคียงเมืองที่เราฝันหรือแผนที่เคยได้เห็นหรือยัง โดยมีการแสดงตัวเลขของงบประมาณในเมืองที่ถูกใช้ไป ซึ่งทุกคนสามารถโหวต 3 หัวข้อเร่งด่วนที่ควรต้องพัฒนาที่สุด เว็บไซต์จะคำนวณคำตอบเพื่อเปรียบเทียบกับภาพรวมว่าผลลัพธ์ออกมาเป็นยังไง แถมผู้ใช้แพลตฟอร์มยังแชร์ความคิดเห็นได้ถึง 2 รูปแบบ หนึ่ง […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.