Silent Emergency Party สัมผัสและเข้าใจวิกฤตผู้ลี้ภัยที่ถูกลืม ผ่านมื้ออาหารจากฝีมือผู้ลี้ภัย

ถ้าวันหนึ่งคุณต้องกลายเป็น ‘ผู้ลี้ภัย’ คุณจะรู้สึกอย่างไร ปัจจุบันทั่วโลกมีวิกฤตที่สื่อมวลชนให้ความสำคัญและเป็นที่สนใจของผู้คนอย่างมาก เช่น สงครามรัสเซีย-ยูเครน และสงครามซีเรีย แต่หลายคนอาจยังไม่รู้ว่า ในทวีปแอฟริกายังมีหลายประเทศที่กำลังเผชิญวิกฤตมากมาย เช่น เอธิโอเปีย ซูดาน ซูดานใต้ โมซัมบิก สาธารณรัฐแอฟริกากลาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ฯลฯ รวมไปถึงประเทศที่เราอาจไม่คุ้นหู เช่น ชาด เอริเทรีย บูร์กินาฟาโซ แองโกลา มาลาวี ฯลฯ  รายชื่อเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของเหล่าประเทศที่กำลังเผชิญวิกฤตอย่างรุนแรง ขณะเดียวกันก็กำลังถูกลืมเลือน เสมือนว่าถูกทำให้เลือนหายไปจากแผนที่โลก เหตุผลที่เป็นเช่นนั้นเพราะวิกฤตในประเทศแถบแอฟริกาเกิดขึ้นเป็นเวลาต่อเนื่องและยาวนาน แต่แทบไม่ได้รับการมองเห็นและการสนับสนุนช่วยเหลือจากสังคม ทำให้หลายชีวิตต้องดิ้นรนเอาตัวรอด เพื่อให้ยังมีชีวิตก้าวข้ามวันพรุ่งนี้ไปได้ เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2566 ซึ่งตรงกับวันมนุษยธรรมโลก สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ หรือ UNHCR ประเทศไทย ได้จัดงาน ‘Silent Empathy Emergency Fund มื้อฉุกเฉินเพื่อผู้ลี้ภัย…ที่ถูกลืม’ ที่ Na Café at Bangkok 1899 เพื่อสร้างความตระหนักรู้และระดมทุนช่วยเหลือสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วโลก ภายในงาน […]

Kao Kalia Yang ผู้ลี้ภัยชาวม้งที่เขียนงานเยียวยาผู้ลี้ภัยทั่วโลก

“ตอนที่ฉันเป็นเด็ก เท่าที่ฉันรับรู้ ไม่มีนักเขียนที่เป็นผู้ลี้ภัยคนไหนเลยที่จะเขียนหรือคิดถึงเรื่องราวที่ฉันต้องเจอเลย” Kao Kalia Yang (เคา คาเลีย แยง) นักเขียนชาวม้งที่มีผลงานเลื่องชื่อคือ ‘The Latehomecomer: A Hmong Family Memoir’ ที่บอกเล่าความทรงจำของครอบครัวชาวม้งของเธอ ตอนนี้อาศัยอยู่ที่สหรัฐอเมริกา ให้สัมภาษณ์ถึงความรู้สึกของการเป็นผู้ลี้ภัยในวัยเด็กกับนิตยสาร Southeast Asia Globe ในวันที่ 6 มกราคม ที่ผ่านมา หากติดตามหน้าข่าว ทั้งสงคราม-ความขัดแย้งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ เพื่อนบ้านประเทศไทยเองก็มีให้เห็นอยู่ตลอด กระทั่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นล่าสุดกับชาวพม่าหลังจากรัฐประหารโดยมิน อ่อง ลาย เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปีที่แล้ว การสู้รบทำให้หลายคนอพยพข้ามฝั่งมาที่ประเทศไทย… เรื่องราวและผลงานของ Yang อาจจะชวนให้เห็นถึงความเจ็บปวดและชวนเข้าใจ หาทางออกร่วมกันเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยมากขึ้น Yang มีพื้นเพเป็นชาติพันธุ์ม้งที่อาศัยอยู่ใน ‘ประเทศลาว’ ในช่วงปี 1959 นั้น เกิดสงครามกลางเมืองระหว่างฝ่ายคอมมิวนิสต์ลาวและรัฐบาลนิยมกษัตริย์ที่แต่ละฝ่ายมีมหาอำนาจหนุนหลังแตกต่างกัน ครอบครัวชาวม้งที่อาศัยในประเทศลาวนั้นได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา (ที่เข้าข้างฝ่ายนิยมกษัตริย์ของลาว) เพื่อทำ ‘สงครามลับ (Secret War)’ กับขั้วตรงข้าม  แต่เมื่อปี 1973 เมื่อสหรัฐฯ […]

Little Amal หุ่นเชิดเด็กหญิงชาวซีเรีย เดินทางข้ามยุโรปถึงอังกฤษ เพื่อสะท้อนปัญหาผู้ลี้ภัยเด็ก

วิกฤตผู้ลี้ภัยคือปัญหาที่หลายประเทศทั่วโลกกำลังให้ความสนใจ โดยเฉพาะ ‘ผู้ลี้ภัยเด็กและเยาวชน’ ซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบางที่ต้องอพยพไปยังประเทศอื่นๆ ทำให้พวกเขากลายเป็นพลเมืองชั้นสอง (หรือสาม) ที่ไม่ได้รับการคุ้มครองทางกฎหมาย และไม่สามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานในประเทศนั้นๆ ได้ องค์กรต่างๆ จึงพยายามสร้างความตระหนักเกี่ยวกับประเด็นอ่อนไหวนี้ เพื่อให้ผู้คนรับรู้ เข้าใจ และยื่นมือเข้าไปช่วยเด็กที่ได้รับผลกระทบมากขึ้น โดยหนึ่งในวิธีที่ใช้ก็คือการถ่ายทอดเรื่องราวผ่านศิลปะ อย่างเช่น หุ่นเชิด หุ่นเชิดตัวนี้มีชื่อว่า ‘Little Amal’ เด็กหญิงสัญชาติซีเรีย อายุ 9 ปี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโปรเจกต์ ‘The Walk’ ที่จัดขึ้นโดย Good Chance องค์กรอิสระที่ทำงานด้านการแสดง ร่วมกับศิลปินจากทั่วโลก เพื่อสะท้อนปัญหาผู้ลี้ภัยเด็กและเยาวชน และทำให้แน่ใจว่า โลกจะไม่ลืมเด็กหลายล้านคนที่ต้องอพยพออกจากประเทศบ้านเกิด เนื่องจากวิกฤตทางการเมือง สงคราม ความรุนแรง ความยากจน และการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศ Little Amal เป็นผลงานศิลปะที่โดดเด่นและมีเอกลักษณ์ เพราะหุ่นเชิดสูง 3.5 เมตรตัวนี้สามารถเคลื่อนไหวได้จริงๆ โดยการสวมทับหุ่นลงบนตัวคนเพื่อควบคุมการเดิน ส่วนมือและใบหน้าก็มีคนคอยเชิดอยู่ด้านข้างคล้ายหุ่นกระบอก ทำให้หุ่นเชิดตัวนี้เหมือนมีชีวิตจริงๆ และกลายเป็นจุดสนใจของผู้พบเห็นทั่วไป ซึ่งผู้ออกแบบและสร้างหุ่นเชิดตัวนี้ก็คือ Handspring Puppet Company บริษัทด้านการแสดงและออกแบบหุ่นกระบอกจากแอฟริกาใต้ […]

Airbnb เสนอที่พักชั่วคราวฟรีให้ผู้ลี้ภัยชาวอัฟกัน 20,000 คน

แพลตฟอร์มที่พักออนไลน์ Airbnb เสนอที่พักชั่วคราวฟรีให้กับผู้ลี้ภัยชาวอัฟกัน 20,000 คน เพื่อช่วยให้พวกเขามีที่หลบภัยระหว่างรอตั้งถิ่นฐานใหม่ทั่วโลก  Brian Chesky ผู้ร่วมก่อตั้งและผู้บริหารของ Airbnb กล่าวว่า การเคลื่อนไหวในครั้งนี้เป็นการตอบสนองต่อวิกฤตการณ์ด้านมนุษยธรรมครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของยุค ในฐานะบริษัทที่ให้บริการด้านที่พักอาศัยเขาควรทำอะไรสักอย่างกับเหตุการณ์นี้ และหวังว่าความเคลื่อนไหวนี้จะสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้นำธุรกิจคนอื่นๆ รีบลุกขึ้นมาทำอะไรบางอย่างเช่นเดียวกัน Chesky กล่าวว่า ในขณะที่ผู้ลี้ภัยชาวอัฟกันหลายหมื่นคนอพยพไปทั่วโลก ที่พักอาศัยจะเป็นบทแรกในการเริ่มต้นชีวิตใหม่ของพวกเขา เขาหวังว่าชุมชน Airbnb จะจัดหาที่พักอาศัยที่ปลอดภัยสำหรับการเริ่มต้นใหม่ และเป็นบ้านที่อบอุ่นให้กับผู้ลี้ภัยได้กว่า 20,000 คน  ข้อเสนอนี้จะเริ่มขึ้นทันที โดย Airbnb จะทำงานร่วมกับองค์กรเอกชน อย่างเร่งด่วนที่สุด แต่ยังไม่ได้มีการเปิดเผยว่าบริษัทมีแผนจะใช้จ่ายในโครงการนี้มากน้อยเพียงใด หรือผู้ลี้ภัยจะได้รับการคุ้มครองนานเท่าใดจาก Airbnb แต่ Chesky กล่าวว่าจะมีการร่วมมือกับองค์กรที่ช่วยผู้ลี้ภัยหาถิ่นฐานใหม่ เพื่อให้ได้เดินทางไปในที่ที่ต้องการ และสนับสนุนตามความจำเป็นเท่าที่ Airbnb จะช่วยได้ Airbnb กล่าวว่าค่าใช้จ่ายในการเข้าพักจะได้รับการสนับสนุนผ่านการบริจาคจาก Airbnb, Brian Chesky และผู้บริจาคเข้ากองทุนผู้ลี้ภัย Airbnb.org Airbnb กล่าวว่า พวกเขาทราบดีว่าเจ้าของที่พักและแขกของ Airbnb ทั่วโลกจะกระตือรือร้นที่จะให้ความช่วยเหลือความพยายามครั้งใหญ่นี้ของบริษัท ในอีกไม่กี่วันข้างหน้า Airbnb และ […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.