ชวนดูสามหนังไทยว่าด้วยการเติบโตของผู้หญิง ที่ไปไกลถึงระดับสากล ใน Netflix เดือนสิงหาคมนี้

หลังจากพาหนังไทยทั้งเก่าและใหม่เข้าแพลตฟอร์มสตรีมมิงมากขึ้นในช่วง 2 – 3 ปีมานี้ จนเป็นที่ถูกอกถูกใจคอหนังไทยไปตามๆ กัน ล่าสุด Netflix ก็เปิดตัวลิสต์หนังไทยที่ Urban Creature อยากชวนทุกคนไปชมในเดือนสิงหาคมนี้ หนังไทยสามเรื่องที่เรายกมาเป็นหนังไทยที่ว่าด้วยการเติบโต นำแสดงโดยตัวละครหญิง และไปคว้ารางวัลระดับสากลมาแล้วทั้งสิ้น ทว่าน่าเสียดายที่ตอนฉายในไทยไม่ค่อยได้พื้นที่ในการฉายเท่าไรนัก เนื่องจากเป็นหนังนอกกระแส เรื่องแรกที่เข้าฉายใน Netflix ไปแล้วตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคมที่ผ่านมาคือ ‘LOST IN BLUE ระหว่างเราครั้งก่อน’ (2016) ที่เป็นเรื่องเด็กสาววัยรุ่นสามคนผู้หันกลับไปทบทวนความทรงจำในวัยเยาว์ ความรัก และมิตรภาพ ในหนังสั้นที่เรียงร้อยเรื่องราวแนวก้าวพ้นวัย ผลงานกำกับโดย ‘เอกพงษ์ สราญเศรษฐ์’, ‘จิรัศยา วงษ์สุทิน’ และ ‘ปภาวี จิณสิทธิ์’ ส่วนเรื่องที่ 2 คือ ‘Blue Again’ (2022) ที่จะชวนดำดิ่งไปกับการเติบโตของหญิงสาวที่ไม่น่ารักเพราะไม่ได้อยากถูกรัก ในสังคมที่ต้องเป็นที่รักถึงจะอยู่รอด ผลงานกำกับโดย ‘ฐาปณี หลูสุวรรณ’ เข้าฉายวันที่ 17 สิงหาคมนี้ เรื่องสุดท้ายคือ […]

ฐาปณี หลูสุวรรณ ผู้กำกับ Blue Again กับสถานะ ‘ไม่เป็นคนของที่ไหนเลย’ ในชีวิตและวงการหนัง

ฐาปณี หลูสุวรรณ เป็นลูกครึ่งอีสาน-จีน เกิดที่กรุงเทพฯ แต่ไปโตที่สกลนคร ก่อนจะเข้ามาเรียนหนังและทำงานในกรุงเทพฯ อีกครั้ง เธอพูดอีสานไม่คล่องปร๋อ แต่พอพูดไทยกลางก็ติดเหน่ออีสานจนโดนล้อ เหนือความซับซ้อนและย้อนแย้งทั้งปวงในตัวเธอ สิ่งหนึ่งที่แน่ชัดและไม่เคยเปลี่ยนแปลงคือ ฐาปณีไม่เคยรู้สึกว่าตัวเองเป็นคนของที่ไหนเลย เหมือนกับ ‘เอ’ ตัวละครเอกใน Blue Again หนังเรื่องแรกในชีวิตของเธอ ผู้เป็นลูกครึ่งที่มีพ่อเป็นคนขาว แม่เป็นคนสกลนคร แต่ตัวเองกลับรู้สึกแปลกแยกจากสังคมรอบตัวไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน หากจะมีใครหรือสิ่งใดที่เอเรียกว่าเพื่อนได้เต็มปาก หนึ่งคือ ‘เมธ’ เพื่อนชายที่รู้จักกันตั้งแต่มัธยมฯ แต่ต้องแยกย้ายกันไปหลังเรียนจบ อีกสิ่งคือ ‘คราม’ วัตถุดิบย้อมผ้าที่เธอเติบโตมาด้วยกันตั้งแต่เด็ก ในทางหนึ่ง Blue Again คือเครื่องบันทึกความรู้สึกโดดเดี่ยวและเป็นอื่นที่ผู้กำกับอย่างฐาปณีรู้สึกมาตลอด แต่ในอีกทางหนึ่ง นี่คือผลพิสูจน์ความรักที่มีต่อการทำหนังของผู้หญิงคนหนึ่ง ผู้นิยามตัวเองว่าเป็นคนกลางๆ ไม่โดดเด่น และแม้จะไม่รู้สึกว่าตัวเองเป็นคนของที่ไหน แต่แวดวงที่มั่นใจว่าอยากผลักตัวเองเข้าไปคือวงการผู้กำกับ นับแต่วันแรกเริ่ม Blue Again ใช้เวลาถึง 8 ปีกว่าจะได้ออกมาสู่สายตาผู้ชม และหนังเรื่องนี้ยังได้เดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลไปฉายที่เทศกาลหนังปูซานในสาขา New Currents ที่มีหนังเพียงไม่กี่เรื่องได้เข้ารอบ พิสูจน์ในตัวมันเองแล้วว่าเป็นหนังที่พิเศษแค่ไหน แต่ใน 8 ปีของ Blue Again […]

ชวนดูหนังไทยชีวิตวัยรุ่น ‘Blue Again’ ที่ใช้เวลาสร้าง 8 ปีและได้ฉายในปูซาน วันที่ 8 ธ.ค.นี้ ที่ SF และ House Samyan

หลังจากที่ภาพยนตร์ ‘Blue Again’ ได้บินไกลไปฉายถึงเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติปูซาน ครั้งที่ 27 (Busan International Film Festival : BIFF) เมื่อกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ในที่สุดก็ได้ฤกษ์ฉายในประเทศไทยอย่างเป็นทางการแล้ว Blue Again เป็นผลงานของผู้กำกับหญิง ‘ฐาปณี หลูสุวรรณ’ ร่วมกับโปรดิวเซอร์ ‘ชลสิทธิ์ อุปนิกขิต’ และเหล่าทีมงาน ที่ใช้เวลาสร้างกว่า 8 ปี ผ่านเรื่องราวความสัมพันธ์แบบบลูๆ ของ 3 ตัวละครในความยาว 3 ชั่วโมง 10 นาที  ว่าด้วยชีวิตของ ‘เอ’ หญิงสาวลูกครึ่งอีสาน-ตะวันตก จากหมู่บ้านคาทอลิกที่ใหญ่ที่สุดในไทย เธอดิ้นรนเข้ามาเรียนออกแบบแฟชั่นในกรุงเทพฯ โดยหวังว่าจะสามารถชุบชีวิตโรงย้อมครามของครอบครัวที่กำลังจะตาย โดยมี ‘แพร’ เพื่อนสนิทคนแรกในมหาวิทยาลัยที่ถูกดึงดูดเข้ามาอยู่ในวงโคจรของเธอ เนื่องจากต้นทุนทางสังคมและความฝันที่คล้ายกัน  ทว่าในขณะที่หญิงสาวพยายามปกป้องความฝันของตัวเอง ไปพร้อมๆ กับถักทอความสัมพันธ์กับคนรอบข้างเอาไว้ เส้นด้ายเหล่านั้นกลับเหมือนจะขาดลง และเหมือนชีวิตเอจะยุ่งยากไม่พอ เมื่อ ‘สุเมธ’ เพื่อนรักคนเดียวในวัยเด็กผู้เป็นเซฟโซน ได้กลับมาในวงโคจรของเธออีกครั้งในค่ำคืนวันคริสต์มาสตามสัญญา แต่มันยิ่งกลับทำให้หญิงสาวตั้งคำถามกับตัวเองว่า ‘บนโลกนี้…ที่ตรงไหนคือที่ของเธอจริงๆ’ […]

Bangkok Women’s Film Festival โปรเจกต์ออกแบบที่อยากให้ผู้หญิงมีที่ทางในวงการภาพยนตร์ไทย

“ทำไมไม่ค่อยได้เห็นหนังของผู้กำกับหญิงไทยเลย” นี่คือคำถามตั้งต้นที่ทำให้ ‘เจ๋-กัลย์จรีย์ เงินละออ’ เริ่มต้นทำโปรเจกต์ส่วนตัวออกแบบ Identity Design เทศกาล Bangkok Women’s Film Festival (BKKWFF) ในไทย ด้วยความที่ทำงานเป็นกราฟิกดีไซเนอร์ มีความชื่นชอบภาพยนตร์ และอินเรื่องเฟมินิสต์ จึงทำให้เธอพยายามหาข้อมูลโดยการรีเสิร์ชตามแหล่งข้อมูลต่างๆ รวมถึงพูดคุยกับเพื่อนที่เรียนกับทำงานด้านนี้ เพื่อยืนยันว่าเธอไม่ได้คิดไปเองคนเดียว ก่อนจะใช้ความถนัดทำงานสื่อสารเรื่องนี้ออกมา แน่นอนใครๆ ต่างรู้ว่าภาพยนตร์ไทยเป็นอุตสาหกรรมที่รัฐและคนไทยส่วนใหญ่มักมองข้าม ทว่าในแวดวงที่ถูกหมางเมิน ไม่ให้ความสำคัญเท่าที่ควร ยังมีความกดทับอีกชั้นด้วยอคติทางเพศในวงการนี้ เห็นได้จากสัดส่วนอันน้อยนิดของผู้หญิงในงานภาพยนตร์ตั้งแต่ตำแหน่งเล็กจนถึงผู้บริหารใหญ่โต ยังไม่นับรวมความยากลำบาก และประสบการณ์การทำงานของคนทำงานผู้หญิงที่คนทั่วไปอาจไม่เคยรู้ในสายอาชีพที่ถูกครอบครองโดยผู้ชายอีก ด้วยเหตุนี้ เจ๋จึงอยากเป็นเสียงหนึ่งของการผลักดันประเด็นนี้ด้วยการสนับสนุนให้ประเทศไทยมีเทศกาลภาพยนตร์ของผู้กำกับหญิง เพื่อเป็นการสร้างพื้นที่และการันตีว่าผู้กำกับหญิงไทยมีความสามารถ ทำหนังได้หลากหลายแนว ควรได้รับการสนับสนุน แวดวงหนังไทยไม่มีผู้กำกับหญิง หรือไม่ได้รับการสนับสนุน ความสงสัยว่าทำไมแวดวงหนังไทยถึงไม่ค่อยมีผู้กำกับหญิงไม่ใช่คำถามที่เพิ่งเกิดขึ้น เจ๋คิดเรื่องนี้มาตลอดแต่ไม่เคยถึงขั้นค้นหาข้อมูลลงลึกจริงจัง จนกระทั่งไม่กี่ปีมานี้เธอสังเกตเห็นเวฟของหนังโดยผู้กำกับหญิงในหลายประเทศ ที่ค่อยๆ พัฒนาเติบโตมาเรื่อยๆ จนถึงปีนี้ยิ่งชัดเจนขึ้น ซึ่งตามมาด้วยเทศกาล Women’s Film Festival ที่จัดขึ้นในหลายเมืองทั่วโลก เธอเลยลองรีเสิร์ชดูว่าประเทศไทยเคยมีงานลักษณะนี้บ้างไหม “จริงๆ ที่ไทยเคยมีเทศกาลประมาณนี้ชื่อ Fem Film Festival จัดโดย Bangkok […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.