DiStar Fresh Farm โรงงานปลูกผักระบบปิดที่ไม่ง้อฤดูกาลแห่งแรกในไทย

จะดีแค่ไหนถ้าเมืองไทยมีฟาร์มที่สามารถปลูกผักได้ตลอดทั้งปีโดยไม่ขึ้นกับฤดูกาล ส่วนผลผลิตยังปลอดภัยสูงและมีคุณภาพคงที่ด้วย แนวคิดนี้เกิดขึ้นจริงแล้วที่ DiStar Fresh Farm โรงงานผลิตพืชที่พลิกโฉมการปลูกผักในพื้นที่เปิดโล่งแบบเดิมๆ ให้เป็นการปลูกผักในฟาร์มแนวตั้ง ที่ควบคุมสภาพแวดล้อมได้ แถมยังสะอาดปลอดภัย เพราะไม่ต้องใช้ดินหรือยาฆ่าแมลง สะอาดถึงขั้นที่ว่าสามารถเก็บผักกินกันสดๆ จากต้นโดยไม่ต้องล้างเลย วันนี้ Urban Creature ขอพาทุกคนไปพูดคุยกับ ‘กฤษณะ ธรรมวิมล’ และ ‘สานสิน ศรีภิรมย์รักษ์’ เกษตรกรผู้อยู่เบื้องหลัง DiStar Fresh Farm ถึงแนวทางและปัจจัยสำคัญในการทำฟาร์มผักแนวตั้ง ที่จะช่วยสร้างความยั่งยืนให้แก่ภาคเกษตรกรรม และตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคยุคปัจจุบันมากขึ้น

@modernbiology ชายผู้สร้างเสียงดนตรีจากพืช เพื่อระดมเงินปกป้องผืนป่า

ในสมัยเด็ก เวลาเราเล่นเลียนเสียงธรรมชาติกัน เสียงที่เลียนแบบได้ง่ายๆ คงหนีไม่พ้นเสียงของสัตว์ต่างๆ หรือถ้าเป็นเสียงลมก็ยังพอจะนึกออกทำได้อยู่บ้าง แต่ถ้ามีใครบอกให้ทำเสียง ‘เห็ด’ ‘ใบไม้’ หรือ ‘แตงโม’ เราคงขมวดคิ้วไปสักพักใหญ่ ว่าสิ่งเหล่านี้มีเสียงกับเขาด้วยหรือ? สำหรับคนทั่วไป พืชเหล่านี้อาจจะไม่มีเสียง แต่สำหรับ Tarun Nayar อดีตนักชีววิทยาที่ผันตัวมาเป็นนักดนตรี ไม่ว่าจะเป็นพืชชนิดไหนก็มีเสียงด้วยกันทั้งนั้น เพราะเขาสามารถดึงเอาเสียงเพลงออกมาจากธรรมชาติเหล่านี้ได้ด้วยการเสียบอุปกรณ์ผ่านเครื่องสังเคราะห์เสียง (Synthesizer) เข้ากับพืช ผัก และผลไม้ที่เขาต้องการ อาทิ เห็ด ต้นกระบองเพชร ใบเฟิร์น ลูกเบอร์รี หรือแม้กระทั่งผลมะม่วงสุก จนได้ออกมาเป็นเพลงให้พวกเราได้ฟังกัน โดยการดึงเอาเสียงออกมาไม่ใช่การที่พืชสร้างเสียงเพลงขึ้นมาได้เอง แต่ Tarun Nayar ใช้การเคลื่อนที่ของน้ำภายในพืชเหล่านั้นในการสร้างเป็นโน้ตเพลงที่แตกต่างกันออกไปขึ้นมา และเรียกสิ่งนี้ว่า ‘Environmental Music’  ไม่ใช่แค่การค้นพบหรือมอบสิ่งที่แปลกใหม่ให้ผู้คนฟังเท่านั้น แต่ Tarun Nayar มีเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่กว่านั้นในการตั้งมั่นตั้งใจที่จะทำหน้าที่ปกป้องผืนป่าที่ให้เสียงดนตรีกับเขาด้วย “ผมกำลังพยายามควบคุมพลังงาน ความสนใจ ความตระหนัก และเงินทุนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้จากโครงการนี้ เพื่อปกป้องพื้นที่ป่า” Tarun Nayar กล่าว และสำหรับใครที่สงสัยว่าเสียงจากพืชมีลักษณะเป็นอย่างไร สามารถเข้าไปฟังเพลงที่สร้างจากเสียงของธรรมชาติได้อย่างใกล้ชิดมากขึ้นผ่านแอ็กเคานต์ TikTok […]

‘ซูเปอร์มาร์เก็ตในบ้าน’ วิธีแก้ปัญหาหนี้สิน ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ ให้เกษตรกรฉบับ ธ.ก.ส.

“น่าสนใจนะเนี่ย” ระหว่างคุยกับ คุณประทีป ภูลา ผู้ช่วยผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สาขาสี่แยกอินโดจีน เราพูดประโยคข้างต้นไปหลายครั้ง เพราะว้าวกับสิ่งที่ ธ.ก.ส. ทำเพื่อแก้ปัญหาหนี้สินของลูกค้าเกษตรกร ว้าวอย่างไร (รู้หน่า ว่าคำถามนี้ผุดขึ้นมา) 1. ประหยัดค่าใช้จ่ายครัวเรือนด้วยการพักไปซูเปอร์มาร์เก็ตนอกบ้าน แล้วเปลี่ยนมาสร้างซูเปอร์มาร์เก็ตในบ้าน ที่เปิดประตูเดินออกมาแค่สี่ห้าก้าวก็เจอผักสวนครัวตามรั้วมาเด็ด ผัด ต้ม กินได้โดยไม่ต้องเสียเงินซื้อผักสักบาท 2. ส่งเสริมอาชีพเกษตรกรอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างรายได้ชำระหนี้ระยะยาว ด้วยการเปลี่ยนจากทำไร่เชิงเดี่ยวมาเป็นไร่สวนผสม และเพิ่มมูลค่าการขายโดยให้ความรู้ใหม่ๆ ที่เกษตรกรไม่รู้มาก่อน หลายคนรู้คร่าวๆ ว่า ธ.ก.ส. มีภาพลักษณ์แข็งแกร่งว่าเป็นธนาคารที่ให้ความช่วยเหลือและยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกร แต่ยังไม่รู้วิธีคิดแก้ปัญหาว่าลงมือทำอย่างไร วันนี้จึงชวนรู้จักแนวทางสร้างความเข้มแข็งและฟื้นฟูเกษตรกรของ ธ.ก.ส. ที่ไม่ควรพลาดแม้แต่บรรทัดเดียว 01 ปัญหากวนใจเกษตรกร ‘หนี้’ คือสิ่งที่คุณประทีปบอกว่ากวนใจเกษตรมากที่สุด แต่บางครั้งหนี้ที่เกิดขึ้นกลับเกิดจากเรื่องควบคุมไม่ได้หลายอย่าง ภาพรวมหนี้สินจากอำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก ที่คุณประทีปเคยเป็นผู้ช่วยผู้จัดการ ธ.ก.ส. สาขาบางกระทุ่ม ชี้จำนวนตัวเลขจากสมาชิกในอำเภอกว่า 5,000 คน มีหนี้สินรวม 2 พันล้านบาท ซึ่งส่วนหนึ่งของปัญหามาจากภัยธรรมชาติ บางปีน้ำท่วม บางปีน้ำแล้ง […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.