‘ผังเมืองจะทำให้เห็นเมืองของเราในอนาคต’ คลี่คลายทุกความสงสัยเรื่องผังเมืองกับ ‘นพนันท์ ตาปนานนท์’

เมื่อไม่นานมานี้ ประเด็นเรื่องผังเมืองรวม กทม. กลายเป็นประเด็นร้อนแรงปลุกให้คนกรุงเทพฯ หันมาสนใจว่าตอนนี้เกิดอะไรขึ้น ทำไมคีย์เวิร์ด ‘ผังเมืองใหม่เอื้อกับนายทุน’ โผล่มาให้เห็นบ่อยๆ ตามสื่อโซเชียลมีเดีย จนทำให้ กทม.แถลงชี้แจง และขยายระยะเวลารับฟังความคิดเห็นของประชาชนไปจนถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ และแน่นอนว่าในฐานะคนเมือง เราย่อมได้ยินคำว่าผังเมืองอยู่บ่อยๆ โดยเฉพาะเวลาพูดถึงปัญหาเมืองเรื้อรังที่แก้ไขไม่ได้ เช่น รถติด การเดินทางไม่สะดวก หรือกระทั่งเรื่องอากาศร้อน Urban Creature ชวน ‘รศ. ดร.นพนันท์ ตาปนานนท์’ อาจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ นักวิชาการจากศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านยุทธศาสตร์เมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นหนึ่งในผู้จัดทำ ‘ร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ปรับปรุงครั้งที่ 4’ มาให้ความเข้าใจถึงเรื่องผังเมืองอย่างง่ายๆ ว่าคืออะไร และปัจจัยนี้เป็นสาเหตุของหลายปัญหาเมืองจริงไหม ลองไปหาคำตอบจากบทสัมภาษณ์นี้กัน ในเชิงวิชาการ คำว่า ‘ผังเมือง’ มีความหมายว่าอย่างไร ถ้าให้ผมสรุปสั้นๆ ผังเมืองเป็นการกำหนดภาพอนาคตของเมือง เป็นกายภาพ มองเห็น จับต้องได้ เพื่อรู้ว่าเมืองนี้มีภาพในอนาคตข้างหน้าเป็นอย่างไร หน่วยงานภาครัฐใช้ภาพนี้ดำเนินการตามบทบาทหน้าที่ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม ขนส่ง สาธารณูปโภค สาธารณูปการ ส่วนเมืองมีการพัฒนาโดยภาคเอกชนและประชาชน คือ การสร้างที่อยู่อาศัย การสร้างอาคารพาณิชย์ […]

ลดมลพิษหรือสร้างปัญหา? ผู้ใช้ถนนในเมืองโบโลญญาประท้วงนโยบายจำกัดความเร็วรถยนต์

ก่อนหน้านี้ประเทศอิตาลีได้มีความพยายามลดจำนวนการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน และพัฒนาคุณภาพอากาศให้ดีขึ้น ด้วยการสร้างแผน ‘Città 30 (City 30)’ เพื่อจำกัดความเร็วบนท้องถนนในเมืองต่างๆ ให้เหลือ 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยเริ่มทดลองใช้ที่แคว้นซาร์ดิเนียไปในปี 2021 และเมื่อเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว ‘Matteo Lepore’ นายกเทศมนตรีเมืองโบโลญญา ก็ประกาศใช้แผน Città 30 (City 30) ด้วยการจำกัดความเร็วของรถยนต์สูงสุดลงจาก 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมงให้เหลือเพียง 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เพื่อหวังเปลี่ยนให้โบโลญญากลายเป็นเมืองแห่งความปลอดภัยและยั่งยืน ด้วยการลดปัญหามลพิษทางอากาศและลดอุบัติเหตุบนท้องถนน ทว่าผลลัพธ์ที่ออกมากลับไม่เป็นดังคาด เพราะเหล่าผู้ใช้ท้องถนนหลายคนเริ่มไม่พอใจกับการจำกัดความเร็วครั้งนี้ เนื่องจากการจราจรที่หยุดชะงักทันทีในวันแรกหลังประกาศใช้นโยบาย ลามไปถึงแท็กซี่ที่ประสบปัญหารับผู้โดยสารได้น้อยลง จนเกิดการประท้วงจากเหล่าผู้ขับแท็กซี่ที่ขู่จะขึ้นค่าโดยสารเพื่อชดเชยกับรายได้ที่น้อยลงจากการต้องขับรถช้าๆ นอกจากนี้ แม้การจำกัดความเร็วจะลดการเกิดอุบัติเหตุได้จริง แต่ก็ยังมีการถกเถียงกันอยู่ว่า นโยบายนี้ช่วยลดการเกิดมลพิษทางอากาศได้จริงไหม อีกทั้งรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมของอิตาลียังแสดงความคิดเห็นไปในทิศทางที่ไม่เห็นด้วยต่อข้อจำกัดดังกล่าว เนื่องจากมองว่าการกระทำเช่นนี้เป็นการสร้างปัญหาต่อชาวเมืองมากกว่าประโยชน์ทางด้านความยั่งยืนอย่างที่ผู้มีอำนาจต้องการ Sources :Bologna Welcome | bit.ly/490YWTAEuronews Green | bit.ly/3vHhiuu

ชัชชาติจับมือกับ Traffy Fondue เปิด LINE Chatbot ให้ประชาชนแจ้งปัญหาเส้นเลือดฝอยทั่วกรุงเทพฯ

‘การแก้ปัญหาเส้นเลือดฝอย’ คือหนึ่งในนโยบายที่ ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ ให้ความสำคัญมาโดยตลอด เพราะปัญหาใกล้ตัว เช่น ทางเท้าพัง ถนนเป็นหลุมบ่อ น้ำท่วมขัง ถนนเปลี่ยว และขยะสะสม คือสิ่งที่กระทบการใช้ชีวิตของคนกรุงเทพฯ ในทุกๆ วัน เพราะเหตุนี้ ทีมงาน ‘เพื่อนชัชชาติ’ จึงนำเทคโนโลยี ‘Traffy Fondue (ทราฟฟี่ฟองดูว์/ท่านพี่ฟ้องดู)’ ที่พัฒนาขึ้นมาโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) กลับมาใช้อีกครั้ง เพื่อให้ประชาชนทุกคนรายงานปัญหารอบตัวที่พบเจอในพื้นที่กรุงเทพฯ ได้ทันที Traffy Fondue คือแพลตฟอร์มบริหารจัดการเมืองด้วยการใช้ระบบแจ้งและบริหารจัดการด้วย AI Chatbot เพื่อรับแจ้งปัญหาแบบอัตโนมัติ เพิ่มประสิทธิภาพ ลดภาระการทำงานของเจ้าหน้าที่ และยกระดับการมีส่วนร่วมของพลเมืองและผู้เกี่ยวข้องได้ทุกพื้นที่และทุกเวลา ที่สำคัญ AI จะช่วยวิเคราะห์ข้อมูลและส่งปัญหาไปยังผู้รับผิดชอบโดยตรง วิธีแจ้งปัญหาเส้นเลือดฝอยมีดังต่อไปนี้ 1) แอดไลน์เพื่อนชัชชาติได้ที่ t.ly/SNxL 2) เมื่อเจอปัญหาของเมือง ผู้ใช้งานรายงานผ่านไลน์เพื่อนชัชชาติ โดยคลิกที่ ‘รายงานปัญหาเส้นเลือดฝอย’ หลังจากนั้นลิงก์จะโยงไปที่ไลน์ของ ‘Traffy Fondue’ สำหรับระบุรายละเอียดปัญหา ส่งรูปภาพ และส่งพิกัด 3) ระบบหลังบ้านจะทำการรวบรวมปัญหา […]

ช่วยผู้ป่วยที่พลัดหลงให้ได้กลับบ้าน ด้วยริสต์แบนด์คิวอาร์โค้ด ‘หาย (ไม่) ห่วง’ ลงทะเบียนรับฟรี ที่มูลนิธิกระจกเงา

รู้หรือไม่ว่าแต่ละปี สถิติผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม โรคหลงลืม และกลุ่มโรคจิตเวช มีแนวโน้มในการพลัดหลงสูญหายออกจากบ้านเป็นจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ โดยปลายทางของผู้ป่วยเหล่านี้มักเป็นที่สาธารณะ ซึ่งคนในสังคมมีส่วนสำคัญในการให้ความช่วยเหลือพวกเขาได้ แต่ก็มีหลายครั้งไม่น้อยที่ผู้พบเห็นผู้ป่วยไม่รู้ว่าคนคนนี้ต้องการความช่วยเหลือ หรือกระทั่งจะช่วยเหลืออย่างไร เนื่องจากไม่มีข้อมูล ส่งผลให้การประสานงานในการช่วยเหลือเป็นไปอย่างยากลำบาก และใช้เวลานาน มูลนิธิกระจกเงา จึงจัดทำโครงการ ‘หาย (ไม่) ห่วง’ โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานเอกชน เพื่อสร้างนวัตกรรมการช่วยเหลือผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมที่มีอาการหลงลืม และมีความเสี่ยงในการพลัดหลงสูญหายออกจากบ้าน จากความร่วมมือนี้ ทำให้เกิดริสต์แบนด์หรือสายรัดข้อมือ ‘หาย (ไม่) ห่วง’ อุปกรณ์ช่วยเหลือที่ใช้เป็นสัญลักษณ์เพื่อสื่อสารให้คนในสังคมทราบว่า บุคคลที่สวมใส่ริสต์แบนด์นี้เป็นผู้ป่วยที่กำลังพลัดหลงหายจากบ้าน และต้องการความช่วยเหลือ นอกจากนี้ ตัวอุปกรณ์ยังระบุตัวตนของผู้สวมใส่ ภายใต้การรักษาข้อมูลส่วนบุคคลอย่างรัดกุมที่สุด ใครที่พบเห็นผู้ป่วยที่สวมริสต์แบนด์นี้ เพียงสแกนแจ้งเบาะแสที่ริสต์แบนด์ โดยการแจ้งเตือนจะส่งมายังมูลนิธิกระจกเงา เพื่อตรวจสอบและประสานงานญาติคนหาย ซึ่งปัจจุบันมีครอบครัวผู้ป่วยกว่า 1,500 ครอบครัวที่เข้าร่วมโครงการนี้ และได้รับการช่วยเหลือจนกลับบ้านปลอดภัยหลายสิบครอบครัวแล้ว ผู้สนใจ ลงทะเบียนรับริสต์แบนด์ ‘หาย (ไม่) ห่วง’ ได้ที่ thaimissing.backtohome.org/home โดยทางมูลนิธิกระจกเงาจะจัดส่งให้ฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง facebook.com/mirrorf/ หรือ โทร 09-5631-1914

ถ้ากรุงเทพฯ กลายเป็นมนุษย์ หน้าตาและนิสัยจะเป็นแบบไหนกันนะ

ถ้ากรุงเทพฯ เป็นมนุษย์ คุณคิดว่ามันจะมีรูปร่างหน้าตาแบบไหน มีบุคลิกและนิสัยหรือจิตใจยังไง จะน่าคบหาหรือควรถอยห่างคนแบบนี้กันนะ เมื่อพูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างเมืองกรุงเทพฯ กับคนกรุงเทพฯ หรือคนต่างจังหวัดที่มาอาศัยอยู่ในเมืองแห่งนี้ เราคิดว่าส่วนใหญ่น่าจะนิยามเป็นความสัมพันธ์ที่ทั้งรักทั้งชัง (Love-Hate Relationship) รักในแง่ความเจริญ มีชีวิตชีวา มีความสร้างสรรค์ และมีโอกาสมากมายให้ไขว่คว้า ขณะเดียวกันก็ชังที่ความเจริญนี้มีเพียงวัตถุ แต่โครงสร้างพื้นฐานของเมืองไม่ได้งอกงามตามไปด้วย ผู้คนยังต้องใช้ชีวิตท่ามกลางความเครียด ฝุ่นควัน หมดเวลากับการเดินทางเป็นชั่วโมงๆ หมุนวนไปกับการทำงานรายวันที่ยากจะมีโอกาสหลุดพ้นจากความเหลื่อมล้ำ เมื่อวินาทีนี้ เรากำลังเข้าใกล้ฤดูกาลเลือกตั้งผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ อยู่ทุกชั่วขณะ คอลัมน์ Urban Sketch จึงใช้โอกาสนี้นำเสนอเสียงสะท้อนของคนกรุงเทพฯ ผ่านภาพวาดในหัวข้อ ‘ถ้ากรุงเทพฯ กลายเป็นมนุษย์ หน้าตาและนิสัยจะเป็นแบบไหนกันนะ’ โดยคนกรุงเทพฯ และคนต่างจังหวัดที่อาศัยอยู่เมืองหลวงแห่งนี้ จำนวนสามคน ต่างเพศ ต่างวัย ต่างอาชีพ ต่างมุมมอง พวกเขามองกรุงเทพฯ เป็นคนแบบไหน เรายื่นโจทย์ให้ทุกคนวาดภาพกรุงเทพฯ ออกมาเป็นคนด้วยจินตนาการของตัวเอง หน้าตาจะน่ารักหรือน่าคบไหม เราตามไปดูพร้อมๆ กันได้เลย ชัชวาล สุวรรณสวัสดิ์ อายุ 30 ปีอาชีพ สถาปนิกภูมิลำเนา กรุงเทพฯ “เราคิดว่า ถ้าต้องวาดกรุงเทพฯ […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.