11 ลาย 11 อัตลักษณ์ เพิ่มมูลค่าท้องถิ่น จากกางเกงช้าง สู่ ‘กางเกงลายประจำจังหวัด’

ในช่วงที่ผ่านมา ‘กางเกงช้าง’ กลายเป็นแฟชั่นยอดนิยมของคนไทยและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ จนทำให้กางเกงช้างในรูปแบบผ้าสกรีนลาย สวมใส่สบาย กลายเป็นที่รู้จักในวงกว้าง และจากกระแสความนิยมในกางเกงช้างนี่เอง ที่ทำให้ผู้ประกอบการและหน่วยงานภาครัฐในระดับจังหวัดหลายแห่ง เกิดไอเดียโปรโมตการท่องเที่ยวและเพิ่มมูลค่าให้จังหวัดของตัวเองผ่าน ‘กางเกงประจำจังหวัด’ ซึ่งเป็นการนำรูปแบบของกางเกงช้างเดิมมาเปลี่ยนลวดลายใหม่ที่สะท้อนให้เห็นถึงของดีประจำถิ่นของตัวเองเข้าไป ว่าแต่กางเกงประจำจังหวัดที่น่าสนใจและกำลังเป็นกระแสอยู่ตอนนี้จะมีหน้าตาอย่างไร และมีของจังหวัดอะไรบ้าง Urban Creature ขออาสาพาทุกคนไปดู 11 ลายกางเกงประจำจังหวัดกัน กางเกงแมว (โคราช) ‘กางเกงแมว’ เป็นหนึ่งในผลงานจากผู้เข้าประกวดโครงการ KORAT Monogram ที่ต้องการผลักดัน Soft Power ภายในจังหวัด จนออกมาเป็นกางเกงลายโมโนแกรมที่รวมอัตลักษณ์เด่นๆ ของโคราช ทั้งสัตว์ประจำจังหวัดอย่าง ‘แมวสีสวาด’ หรือที่เรียกกันเล่นๆ ในพื้นที่ว่าแมวโคราช เจ้าเหมียวสีเทาเงางามที่ใครเห็นก็ต้องหลงรัก รวมถึงดอกสาธร ปราสาทหิน ผัดหมี่โคราช และประตูชุมพล สอบถามรายละเอียดการสั่งซื้อที่ : แมวโคราช กางเกงปล้าง (PLA.PLA TOO.TOO สมุทรสงคราม) ‘กางเกงปล้าง’ เกิดจากการรวมคำระหว่าง ‘กางเกงลายช้าง’ และ ‘กางเกงลายปลา’ เข้าด้วยกัน เป็นผลงานการออกแบบของ ‘ปาป้า-ทูทู่ สตูดิโอ’ […]

วัตถุดิบนิยม เปลี่ยนเนื้อมะพร้าวเหลือใช้ให้เป็นโยเกิร์ตรักษาภูมิแพ้และซึมเศร้า

นิยามคำว่าอาหารที่ดีของคุณเป็นแบบไหน เป็นอาหารที่อร่อย ให้คุณค่าทางสารอาหารครบถ้วน หรือทำมาจากวัตถุดิบหายาก สำหรับ ‘วีด้า-ภาวิดา กฤตศรัณย์’ อาหารที่ดีของเธอคืออาหารที่ดีต่อตัวเธอ และต้องดีต่อโลก นั่นอาจเป็นเหตุผลที่ทำให้เธอก่อตั้ง วัตถุดิบนิยม แบรนด์สินค้าเพื่อสุขภาพที่อยากสื่อสารให้ทุกคนได้เข้าใจเรื่องขยะอาหาร และเป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อระหว่างคนเมืองกับเกษตรกร ให้มาแชร์ความรู้และวัตถุดิบกันแบบที่ต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์ เกษตรกรมีรายได้เพิ่ม ส่วนผู้บริโภคได้ความรู้และของกินกลับไป สินค้าตัวแรกของวัตถุดิบนิยมอย่าง ‘ไบโคเกิร์ต’ ก็มีคอนเซปต์ที่น่าสนใจมาก เพราะนอกจากจะเป็นโยเกิร์ต Plant-based ที่ทำจากเนื้อมะพร้าวเหลือทิ้งจากฟาร์มที่ราชบุรี ผสมรวมกับจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ซึ่งช่วยรักษาโรคภูมิแพ้ ซึมเศร้า และยังเป็นโยเกิร์ตที่ลูกค้าต้องลุ้นทุกครั้ง เพราะรสชาติจะเปลี่ยนไปทุกกระปุก! เช้าวันอากาศดี เรานัดพบกับภาวิดาเพื่อคุยกันถึงเรื่องราวเบื้องหลังธุรกิจของวัตถุดิบนิยม และความตั้งใจในการผลักดันแบรนด์สินค้าเพื่อสุขภาพจากกรุงเทพฯ ที่มีน้ำพักน้ำแรงของเกษตรกรในราชบุรีเป็นส่วนประกอบ กรุงเทพฯ ย้อนกลับไปยังจุดแรกเริ่ม วัตถุดิบนิยม ประกอบสร้างขึ้นจากความชอบในวิถีออร์แกนิกและเงื่อนไขด้านสุขภาพของภาวิดา อาจเพราะเติบโตในครอบครัวยากจนถึงขนาดต้องซื้อบะหมี่ชามเดียวมาแบ่งแม่และพี่น้องกิน ภาวิดาจึงรู้จักและสำนึกในคุณค่าของอาหารเสมอมา แต่จุดเปลี่ยนที่ทำให้เธอเห็นความสำคัญของคำว่าออร์แกนิก เกิดขึ้นตอนไปเรียนปริญญาโทที่เมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย  ราวปี 2537 ในยุคที่คำว่าออร์แกนิกยังไม่แพร่หลาย ผู้คนที่นั่นสอนให้ภาวิดาเข้าใจมันอย่างลึกซึ้งผ่านสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตประจำวัน คนที่เติบโตมากับการใช้ถุงพลาสติก ถูกสอนให้ล้างวัตถุดิบทุกอย่างก่อนนำมาปรุงอาหาร ภาวิดาประหลาดใจกับภาพการใช้ถุงตาข่ายของชาวออสซี่ในซูเปอร์มาร์เก็ต ไปจนถึงการหยิบผักผลไม้จากบนเชลฟ์ให้เด็กๆ กินได้โดยไม่ล้าง เพราะพวกเขามั่นใจว่ามันปลอดสารเคมี ภาวิดาซึมซับภาพเหล่านั้นเป็นประจำ รู้ตัวอีกทีคำว่าออร์แกนิกก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตอย่างแยกไม่ออก หลังจากเรียนจบและกลับไทย เธอเข้าทำงานในฝ่ายการตลาดให้สื่อเว็บไซต์แห่งหนึ่งจนได้ขึ้นเป็นระดับผู้บริหาร […]

Rayavadee อาณาจักรสีเขียวในกระบี่ที่ให้แขกดื่มด่ำความรุ่มรวยของธรรมชาติและอนุรักษ์ชายหาด

ในบรรดาแหล่งท่องเที่ยวที่เคยไป กระบี่ ประเทศไทย น่าจะติดอันดับต้นๆ บนลิสต์แหล่งท่องเที่ยวในดวงใจของฉัน ธรรมชาติอันรุ่มรวยของทะเลอันดามัน ชีวิตกลางคืนซึ่งไม่เคยหลับใหล และกิจกรรมผจญภัยที่หลากหลาย น่าจะเป็นเหตุผลที่ฉันหาโอกาสไปเยือนกระบี่แทบทุกปี บางครั้งก็ไม่ได้ไปเที่ยวเกาะ แค่ไปเช่าที่พักแถวอ่าวนาง นั่งเปื่อยๆ อยู่ริมหาด แล้วปล่อยให้ลมทะเลตีหน้าก็รู้สึกเหมือนได้ชาร์จแบตฯ แล้ว กระบี่ยังเป็นพื้นที่ที่เซอร์ไพรส์ฉันได้อยู่เสมอ อย่างปีก่อนฉันกับเพื่อนเคยนั่งเรือไปเที่ยวหาดไร่เลย์ กะจะตามรอยหนังเรื่องเฟรนด์โซนฉากที่ตัวละครนั่งริมหาดโดยมีวิวภูเขากลางน้ำอยู่ข้างหน้า ก็เพิ่งมารู้ตอนนั้นว่าต้องเดินลุยน้ำทะเล (ที่ขึ้นมาถึงเอว!) ไปจุดนั้น อีกสิ่งที่เพิ่งรู้เช่นกันคือมันเป็นชายหาดที่อยู่ติดรีสอร์ตแห่งหนึ่ง “ถ้ามารอบหน้า ไม่อยากเดินลุยน้ำมาแล้วอะแก” ฉันบอกเพื่อน กึ่งบ่นกึ่งสัญญา  ตัดภาพมาอีกที ปีนี้ฉันกับเพื่อนได้กลับมาไร่เลย์อีกรอบ ในฐานะแขกของ ‘รีสอร์ตแห่งหนึ่ง’ ที่เล่าให้ฟัง รีสอร์ตนั้นชื่อ รายาวดี ประสบการณ์ระหว่างเข้าพักที่นี่ตอกย้ำว่าฉันคิดถูกเกี่ยวกับกระบี่ คือมันเป็นพื้นที่ที่เซอร์ไพรส์ฉันได้เสมอ เพราะรายาวดีไม่ใช่แค่รีสอร์ตติดหาดที่เปิดโอกาสให้ฉันเชยชมไร่เลย์ได้เต็มตา (แถมไม่ต้องเปียกไปครึ่งตัว) ทว่าที่นี่คืออาณาจักรสีเขียวที่ชวนให้แขกได้รู้จัก รัก และทะนุถนอมกระบี่อย่างแท้จริง ผ่านธรรมชาติ ดีไซน์ที่พัก การบริการ และการทำงานกับชุมชนของพวกเขา อาณาจักรสีเขียวกลางทะเล (ย์) ฉันเพิ่งรู้จากปากของคุณชุมพล จันทะลุน General Manager ของรายาวดีว่าชื่อของหาดไร่เลย์ มาจาก ‘ไร่ที่อยู่กลางทะเล’ ทำไมถึงมี ย์ […]

ส.สะพานมอญ โรงเรียนสอนขับรถที่ส่งต่อความใส่ใจบนท้องถนนให้คนกรุงมากว่า 75 ปี

เสียงเครื่องยนต์ดังแว่วในอากาศ  มองแวบแรก ภาพตรงหน้าของเราคือสวนร่มรื่นที่น่าเดินไม่หยอก แต่หากกวาดสายตาดูดีๆ ภายในสวนกว้างแห่งนี้มีถนนกว้างที่ถูกดีไซน์เป็นทางตรง ทางโค้ง และเนินสูง มีป้ายจราจรที่เด่นหราอยู่ท่ามกลางสีเขียวของพืชพรรณ ไหนจะรถยนต์จอดเรียงรายหลายสิบคัน หนึ่งในนั้นคือรถจี๊ปคันใหญ่ที่ดูจากทรงและสีก็รู้ว่าผ่านร้อนผ่านหนาวมานาน ที่นี่คือสนามหัดขับรถ และไม่ใช่สนามหัดขับรถธรรมดา แต่เป็นสนามของ ส.สะพานมอญ โรงเรียนสอนขับรถยนต์เก่าแก่ประจำกรุงเทพฯ ที่เปิดมานานกว่า 75 ปี เปลี่ยนผู้บริหารมาแล้วสองรุ่น และสอนนักเรียนให้ขับรถได้ดีจนกลายเป็นเจ้าของใบขับขี่มาแล้วกว่า 86 รุ่น อะไรทำให้โรงเรียนสอนขับรถยนต์แห่งนี้ยืนระยะมาได้อย่างยาวนาน ในยามสายของวันที่อากาศเป็นใจ เรามีนัดกับ ครูใหญ่ฑิตยาภรณ์ ทาบทอง ทายาทรุ่นสองที่ใครต่อใครเรียกติดปากว่า ‘ครูใหญ่’ ผู้รับช่วงต่อในการสอนและบริหารโรงเรียนแห่งนี้ ครูใหญ่เดินเข้ามาต้อนรับเราที่อาคารสำนักงานของโรงเรียนอย่างใจดี และเมื่อเสียงเครื่องยนต์ในอากาศเบาลง ท่านก็เริ่มเล่าประวัติศาสตร์และหัวใจของโรงเรียนแห่งนี้ให้ฟัง เรียนขับรถ 15 บาท ย้อนกลับไปเมื่อ พ.ศ. 2490 ครูสวง ยังเจริญ และครูพิศพงศ์ ยังเจริญ พ่อแม่ของครูใหญ่เริ่มทำธุรกิจจากการเปิดปั๊มน้ำมัน 1 หัวจ่ายของบริษัท Shell ตั้งอยู่ริมถนนเจริญกรุง ซึ่งถือว่าเป็นถนนสายหลักในกรุงเทพฯ ในสมัยนั้น ส่งผลให้มีลูกค้ามากมายแวะเวียนมาไม่ขาด เมื่อธุรกิจไปได้ดี อาจารย์สวงผู้เป็นพ่อก็เริ่มมีความคิดอยากสอนขับรถนักเรียนบ้าง เนื่องจากคุณย่าของครูใหญ่เคยเปิดโรงเรียนสอนขับรถชื่อ ‘สมบูรณ์ดี’ […]

‘ศรีลำดวน’ แบรนด์ผ้าทอศรีสะเกษจากฝีมืออดีตเด็กแว้น ที่ทำให้สาวโรงงานได้กลับบ้าน

Urban Creature x UN Women บ่อยครั้งที่การทำงานคอลัมน์ประจำจังหวัดจะเต็มไปด้วยความสนุกสนาน แม้จะคุยกันเรื่องธุรกิจแต่บรรยากาศจะคล้ายการไปเยี่ยมญาติที่ให้ความเอ็นดูพวกเรา มานั่งปรึกษาหารือกันฉันมิตร ยิ่งเป็น พี-พีรพงษ์ เกษกุล เจ้าของแบรนด์ศรีลำดวน ผ้าทอจากศรีสะเกษที่อยู่ในวัย 23 ปี ไม่ถึงกับเรียกว่าเป็นรุ่นราวคราวเดียวกันได้เต็มปาก แต่ก็อยู่ในวัยใกล้เคียงกัน ทำให้บรรยากาศก็ยิ่งครื้นเครงเข้าไปอีก เรื่องราวปูมหลังของพีต้องบอกว่าน่าสนใจอย่างมากครับ อย่างแรกคือเขาเป็นวัยรุ่นที่เรียกตัวเองว่าเด็กแว้นได้อย่างเต็มปาก ที่จับผลัดจับผลูมาจับกี่ทอผ้าเพราะอยากหาเงินไปแต่งรถมอเตอร์ไซค์ แต่เผอิญว่าทำออกมาแล้วดันติดตลาด ขายหมดเกลี้ยงตั้งแต่ครั้งแรก และมีออเดอร์ยาวต่อเนื่องเป็นหางว่าว จึงชวนเพื่อนสิงห์มอเตอร์ไซค์นี่แหละมาช่วยกันทอผ้าเพื่อหาเงินไปแต่งรถ แถมพอปักผ้าไปทอผ้ามาสไตล์ของศรีลำดวนก็เริ่มโดดเด่น เพราะใช้สีหวานโทนพาสเทล ใส่แล้วดูเป็นวัยรุ่น มีการผสมผสานลายผ้าโบราณหลายประเภทมาไว้ในผืนเดียวกันจนฮิตติดลมบน ช่างฝีมือที่มาร่วมงานก็เยอะขึ้นเรื่อยๆ นับร้อยชีวิต  ที่สำคัญคือตัวเลขนี้ไม่ได้หมายถึงคนทำงานอย่างเดียวนะครับ แต่หมายถึงชาวนาที่ข้าวออกไม่ตรงตามฤดูได้มีรายได้อีกทาง หมายถึงช่างฝีมือที่ส่วนมากคือผู้หญิงได้มีอาชีพเป็นหลักเป็นแหล่ง และหมายถึงการพาคนอีสานที่จากบ้านเกิดไปทำงานที่กรุงเทพฯ อย่างไม่เต็มใจ ให้กลับมาทอผ้าด้วยกันที่นี่ ไม่ต้องอึดอัดลำบากใจทำงานที่ตัวเองไม่ได้ชอบเพื่อเลี้ยงชีพตัวเองและส่งเสียครอบครัวอีกต่อไป แต่กลับมาอยู่ที่บ้าน ทำงานพร้อมหน้าพร้อมตากันไปเลย   เราจึงขอเดินทางจากมหานครมาหาคำตอบให้ถึงที่ นั่งลงหน้าบ้านเจ้าตัวฟังเรื่องเล่าของพีว่า เขาไปทอผ้าท่าไหน บิดมอเตอร์ไซค์ยังไง ศรีลำดวนถึงมาได้ไกลขนาดนี้  ผ้าทอสามัญประจำบ้าน  พีและคุณยายที่มานั่งฟังเป็นเพื่อนหลายเล่าย้อนความให้ฟังว่า ผ้าทอของศรีสะเกษฝังรากลึกในวัฒนธรรมของคนที่นี่มาช้านาน ถ้านับถอยหลังไปตามความทรงจำก็มีอายุร่วมร้อยปี เจ้าของแบรนด์ศรีลำดวนเห็นผ้าทอมาตั้งแต่เด็ก ส่วนคุณยายเองก็ผูกพันมาตั้งแต่เริ่มจำความได้เช่นกัน  “สมัยก่อนชาวบ้านจะทำไว้ใส่เอง แต่ประมาณยี่สิบกว่าปีที่แล้ว พระพันปีหลวง (สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ […]

‘วุ้นเป็ดธนัน’ ของฝากแห่งสมุทรสงคราม วุ้นในตำนานที่ทุกคนสงสัยว่าทำไมเป็น ‘เป็ด’?

ใครรู้จัก ‘วุ้นเป็ด’ บ้าง?  คนไม่รู้จักอาจนึกภาพไม่ออกว่าหน้าตาของวุ้นเป็ดเป็นยังไง ทำมาจากเนื้อเป็ดหรือเปล่า ส่วนใครเคยกินก็ต้องร้องอ๋อ เพราะมันคือวุ้นกะทิมะพร้าวอ่อนทรงเป็ดน้อยอวบอ้วน ของฝากยอดฮิตที่หาซื้อได้ทั่วประเทศไทย  แม้ว่าวุ้นเป็ดจะมีขายตามร้านอาหารและสถานที่ท่องเที่ยวทั่วไป แต่รู้หรือไม่ว่า ออริจินัลของขนมไทยเนื้อหอมนี้มาจาก ‘สมุทรสงคราม’ ใช่แล้ว เรากำลังพูดถึง ‘วุ้นเป็ดธนัน’ ต้นตำรับวุ้นเป็ดที่มีความโดดเด่นเรื่องรสชาติ ความสดใหม่ และราคาที่จับต้องได้ วุ้นเป็ดธนันจึงกลายเป็นหนึ่งในแบรนด์ไทยที่ยืนหนึ่งเรื่องวุ้นกะทิมะพร้าวหอมมากว่า 10 ปี ทีม Urban Creature จะพาทุกคนมุ่งหน้าไปที่อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม เพื่อพูดคุยกับ ‘คุณธนภร เล็กเครือสุวรรณ’ หรือ ‘แม่จิ๋ม’ ผู้ให้กำเนิดวุ้นเป็ดธนัน จากการทำวุ้นขายเพื่อหาเลี้ยงปากท้อง จนตอนนี้กลายเป็นแบรนด์วุ้นเป็ดที่ติดตลาดไปแล้ว  เคล็ดลับความสำเร็จคืออะไร สไตล์การทำธุรกิจเป็นแบบไหน และทำไมวุ้นต้องเป็น ‘เป็ด’ เราจะพาทุกคนไปฟังคำตอบจากแม่จิ๋ม ณ บัดนี้! เราออกเดินทางจากกรุงเทพฯ ประมาณ 8 โมงเช้า ใช้เวลาไม่นานราวหนึ่งชั่วโมงครึ่ง รถก็ไปจอดอยู่ที่หน้าอาคารพาณิชย์สองคูหาติดถนนสมุทรสงคราม-บางแพ อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม ข้างหน้าร้านมีเป็ดยักษ์ตัวหนึ่งยืนอยู่ ส่วนกระจกร้านมีโลโก้อักษรสีชมพูเขียนว่า ‘วุ้นเป็ดธนัน’ ทำให้รู้ทันทีว่า เรามาถึงจุดหมายปลายทางแล้ว เมื่อลงจากรถ […]

SHUND แบรนด์เมืองแพร่ที่เปลี่ยนภาพจำไม้สักผีสิงเป็นเฟอร์นิเจอร์ที่เข้ากับบ้านทุกหลัง

รางวัลของดีประจำจังหวัดและดาวเด่นประจำกูเกิล (เมื่ออยากรู้ว่าไม้สักที่ไหนปังสุด) เพราะเสิร์ชว่า ‘ไม้สักเมือง…’ หรือ ‘ไม้สักจังหวัด…’ ก็ขึ้นมาเป็นชื่อแรกๆ ได้แก่ แทม แท แด แดม แทม แถ่ม แทม แทม แท้มมมมม ‘ไม้สักเมืองแพร่’ นั่นเอง! (ปรบมือ) “มีผีไหมอะ” “หมดยุคไปแล้วเปล่า” เป็นปกติค่ะท่านผู้อ่าน มีคนรักก็ต้องมีคนชัง ถ้าย้อนไปหลายทศวรรษ ไม้สักแทบเป็นไอเท็มสร้างรายได้แก่ประเทศไทยมากที่สุด ยิ่งเป็น ‘แพร่’ จังหวัดศูนย์รวมช่างฝีมือไม้สักยิ่งไม่ต้องพูดถึง ได้ยินชื่อไม้สักต้องนึกถึงแพร่ไปโดยปริยาย แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนแต่ไม้สักไม่เปลี่ยนตาม ยังคงลวดลายแกะสลักดอกไม้ ลายไทย ทาสีเข้มปรี๊ด และฝากความดึกดำบรรพ์ไว้ตามหนังผี หรือละครพีเรียด จนทำให้ไม้สักเป็นทางเลือกสุดท้ายของคนรุ่นใหม่ที่อยากซื้อเฟอร์นิเจอร์มาแต่งบ้าน ฉะนั้น! ไม่เปลี่ยนภาพจำคร่ำครึตั้งแต่วันนี้ก็ไม่รู้จะวันไหน ‘เจตน์ สุขสกล’ ทายาทรุ่นสี่ลูกหลานช่างไม้สักเมืองแพร่ประจำโรงงานไม้อายุ 50 ปี จึง Rebrand, Remindset และ Redesign ไม้สักเดิมๆ ให้เป็น ‘SHUND’ (ชุนด์) แบรนด์เฟอร์นิเจอร์ที่แต่ละชิ้นมีชิ้นเดียวบนโลกเพราะลายไม้ไม่เหมือนกันสักชิ้น ดีไซน์ร่วมสมัยเห็นแล้วไม่กลัวผีโผล่ […]

‘ภูโคลน’ สปาสแตนด์อโลน จากแม่ฮ่องสอน ที่ใช้ ‘โคลน’ สร้างชื่อจนมีผลิตภัณฑ์วางขายทั่วโลก

สินค้าดีๆ ในแต่ละท้องถิ่นไทยนั้นมีอยู่มากมาย “พีทีที สเตชั่น” จึงขอสนับสนุนพื้นที่ส่วนหนึ่งภายในสถานีเพื่อ ใช้เป็นสื่อกลางในการหยิบยกสินค้าจากท้องถิ่นขึ้นสู่ระดับประเทศ ผ่าน “โครงการไทยเด็ด” อีกหนึ่งโครงการ ที่มุ่งสร้างคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจที่ดีแก่ชุมชน เติมเต็มความสุขให้ผู้ประกอบการท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน ภายใต้แนวความคิด “การเป็นศูนย์กลางที่จะร่วมเติมเต็มความสุขและเติบโตไปพร้อมกับชุมชน (Living Community)” ของพีทีที สเตชั่น ด้วยการสนับสนุน แบ่งปันพื้นที่โอกาส และสร้างรายได้ให้แบรนด์เด็ดของแต่ละจังหวัดได้นำเสนออัตลักษณ์ วัฒนธรรม และของดีประจำถิ่น ณ ทุก พีทีที สเตชั่น ทั่วไทย คอลัมน์ประจำจังหวัดครั้งนี้ขอพาขึ้นเหนือไปจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตรงดิ่งไปยัง ภูโคลน คันทรีคลับ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีทั้งน้ำพุร้อน และโคลนที่มีแร่ธาตุติดอันดับ 1 ใน 3 ของโลก ทัดเทียมกับโคลนจากทะเลเดดซี หากจะต่างกันก็ตรงที่ว่ารอบข้างไม่ได้เวิ้งว้างเป็นทะเลสุดเค็ม แต่เป็นสปาที่โอบล้อมด้วยป่าเขา มีสีเขียวเป็นวิวแทบจะตลอดปี  แม้จะเชื่อในความพิเศษของวัตถุดิบที่ยากจะหาใครเหมือนแต่ก็อยากเพิ่มเอกลักษณ์ลงไปให้มากขึ้น คุณใหญ่-วัชรพงศ์ กลิ่นปราณีต ผู้บริหารภูโคลน จึงประยุกต์เอาสมุนไพรท้องถิ่นใส่ลงไปเพื่อเพิ่มกลิ่นหอมและเราถือเองว่าพิเศษกว่าโคลนที่ไหนในโลก สำหรับใครที่ไม่ว่างเดินทางมาถึงที่นี่ ภูโคลนก็ยัง แตกไลน์ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์สุดธรรมชาติ ที่ขายดีเป็นเทน้ำเทท่าและมีวางจำหน่ายที่พีทีที สเตชั่น บนชั้นวางสินค้าโครงการไทยเด็ดอีกด้วย เชื่อไหมว่าก่อนจะมาถึงจุดนี้ ชื่อของภูโคลนแทบจะไม่มีใครรู้จัก […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.