ฟังเรื่องเล่าจากชาว ‘บ้านปูน’ แหล่งผลิตสรรพสินค้าเมดอินฝั่งธนบุรี

ในวันที่สะพานพระราม 8 พัฒนาพื้นที่จนกลายเป็นพับบลิกสเปซอีกแห่งของชาวฝั่งธนฯ รวมถึงนักเรียน-นักศึกษาในละแวกใกล้เคียง ที่หากแดดร่มลมตกเมื่อไร ก็มักพากันมานั่งทอดสายตาที่สวนริมแม่น้ำ ยืดแข้งขาออกกำลังกายที่สวนสาธารณะ เล่นฟุตซอลในสนามใกล้ๆ หรือลานกว้างใต้สะพานที่แปรเปลี่ยนเป็นลานสเก็ตบอร์ดให้เด็กๆ ได้ออกมาวาดลวดลายโชว์ลีลากันสนุกสนานทุกค่ำคืน ทว่าหากไม่ใช่คนที่คลุกคลีอยู่แถบนี้อาจไม่รู้เลยว่า พื้นที่ติดกันนี้มีชุมชนโบราณตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย ที่โดดเด่นเรื่องงานหัตถกรรมต่างๆ และของกินของใช้นานาชนิดตั้งอยู่ในชื่อ ‘บ้านปูน’ ขณะที่น้ำเหนือกำลังไหลลงมา สมทบกับน้ำทะเลหนุนสูง น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเริ่มปริ่มขอบกระสอบทรายใต้สะพานพระราม 8 เราเริ่มต้นทริปวันนี้ที่ด้านหน้าแนวกำแพงเก่า ปูนที่เคยฉาบหลุดล่อนออกมาจนเห็นแนวอิฐก่อ ค่อยๆ ผุพังทลายไปตามกาลเวลา เหลือเพียงเรื่องราวความเป็นมาที่แทบจะเลือนหาย ติดอยู่บนป้ายสีซีดจาง ‘กำแพงวังเจ้าอนุวงศ์’ หรือที่เรียกกันภาษาปากว่าวังเจ้าลาว เป็นหลักฐานของการเข้ามาอยู่อาศัยของเจ้านายจากกรุงเวียงจันทน์ ประเทศลาว ที่มาปลูกบ้านเรือนประทับยามที่ต้องเดินทางเข้ามาทำธุระยังกรุงเทพฯ ในช่วงรัชกาลที่ 3 ถือเป็นแลนด์มาร์กสำคัญหนึ่งที่อยู่คู่บ้านย่านนี้ จากกำแพงวังในวันนั้น กลายเป็นเส้นแบ่งอาณาเขตของชุมชนบ้านปูนกับพื้นที่สะพานพระราม 8 ในวันนี้ ทอดตัวเลียบไปกับที่พักอาศัย โดยมีทางเข้า-ออกเล็กๆ ด้านบนเป็นป้ายสีเขียวเขียนชื่อระบุชัดว่า ‘ชุมชนบ้านปูน แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร’ อยู่ที่ปลายกำแพงริมแม่น้ำ เยี่ยม ‘บ้านปูน’ แหล่งผลิตสรรพสินค้าย่านฝั่งธนฯ ชื่อเสียงเรียงนามของบ้านปูนไม่ได้มีที่มาซับซ้อน ว่ากันง่ายๆ คือมาจากการที่มีโรงทำปูน วัตถุดิบสำคัญกินคู่กับหมาก ตั้งอยู่ด้านในชุมชนมาตั้งแต่ช่วงต้นกรุงฯ ขณะที่อีกกระแสหนึ่งบอกว่าเพิ่งมาตั้งในช่วงรัชกาลที่ 4 […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.