ทอดน่องท่องย่าน ‘แขกตานี’ ตามหาร่องรอยชาวมลายูในบางกอก

เหลียวซ้ายหันขวาพบว่ากลุ่มคนและวัฒนธรรมอิสลามอยู่ใกล้ตัวเรามากๆ หรือถ้าหากเจาะจงให้แคบลงเฉพาะในเมืองหลวง ลองเปิดแผนที่กรุงเทพฯ ดู ก็ปรากฏชื่อของมัสยิดตั้งอยู่เป็นจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะในโซนเมืองเก่าที่เราเจอว่ามีกลุ่มคนมุสลิมตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยกันหลายพื้นที่ นอกจากศาสนสถานและอาคารสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นสะดุดตา คำศัพท์ต่างๆ ที่ภาษาไทยหยิบยืมมาใช้ อาหารรสชาติเป็นเอกลักษณ์ ยังมีมรดกอีกหลายอย่างที่ตกทอดและแทรกตัวอยู่ท่ามกลางวิถีชีวิตของคนไทยจนอาจไม่ทันนึกถึง นับว่าเป็นการผสานความหลากหลายของผู้คนที่อยู่ในประเทศไทยได้เป็นอย่างดี คอลัมน์ Neighboroot คราวนี้ขอติดสอยห้อยตามเพจ Halal Life Magazine นิตยสารออนไลน์ของกลุ่มพี่น้องมุสลิม ไปทอดน่องท่องย่านในกิจกรรม ‘ย่ำตรอก ออกซอย ตามรอยบ้านแขกตานี’ ที่ชวนออกเดินทางสำรวจ ‘ย่านแขกตานี’ ชุมชนดั้งเดิมของคนมลายูที่อพยพมาจากภาคใต้ตั้งแต่ต้นกรุงฯ ตามหาร่องรอยต่างๆ ของแขกมลายูบริเวณนี้ เช่น อาคารบ้านเรือน ชื่อบ้านนามถิ่น อาหารการกิน และมัสยิดศูนย์รวมจิตใจของผู้คนแถบนี้ ที่ตั้งอยู่ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ในเกาะรัตนโกสินทร์ที่สำคัญ เรายังได้กูรูด้านประวัติศาสตร์มุสลิมในประเทศไทยอย่าง ‘อาจารย์ศุกรีย์ สะเร็ม’ และผู้รู้อีกหลายๆ ท่าน มาเป็นผู้พาเดินเที่ยวและช่วยเติมเต็มเรื่องราวต่างๆ ของคนมุสลิมในกรุงเทพฯ ให้ชัดเจนขึ้นอีกด้วย ถิ่นฐานย่านแขก ชุมชนคนมลายูในบางกอก ไม่ไกลจากถนนข้าวสาร แสงสีคู่กรุงเทพฯ ยามค่ำคืน และใกล้ๆ กันกับบางลำพู ช้อปปิงเซ็นเตอร์รุ่นเก่าของเกาะรัตนโกสินทร์ แต่เดิมแถบนี้เคยเป็นหมู่บ้านของพี่น้องชาวมุสลิมที่ตั้งบ้านเรือนอาศัยกันอย่างหนาแน่น ประกอบกิจการร้านค้ากันเรียงรายทั่วย่าน แต่ปัจจุบันหากเดินสำรวจดูโดยไม่มีผู้รู้คอยนำทาง อาจไม่ทราบเลยว่าที่นี่เคยเป็นถิ่นฐานบ้านชาวมลายู เพราะเหลือเพียงชื่อกับร่องรอยไม่กี่อย่างที่บ่งบอกถึงเท่านั้น […]

Bangkok vs Krung Thep Maha Nakhon ทั่วโลกรู้จักกรุงเทพฯ ในชื่อไหนมากกว่ากัน?

สัปดาห์ที่แล้ว เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ล้นหลาม หลังมีรายงานว่า ราชบัณฑิตยสภาเปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษเมืองหลวง ‘กรุงเทพมหานคร’ ของไทย จาก ‘Bangkok’ เป็น ‘Krung Thep Maha Nakhon’  ทำให้หลายคนตั้งคำถามว่า เปลี่ยนแล้วได้ประโยชน์อะไร? เพราะชื่อเดิมก็ดี และเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวต่างชาติส่วนใหญ่อยู่แล้ว บ้างมองว่า Krung Thep Maha Nakhon นั้นยาวไป และอาจเป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ถ้าต้องเปลี่ยนป้ายใหม่ทั้งหมด หลังจากเกิดการถกเถียงไม่นาน สำนักงานราชบัณฑิตยสภาได้ชี้แจงผ่านเฟซบุ๊กว่า เป็นเพียงการปรับปรุงการทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ และปรับเครื่องหมายเพียงเล็กน้อย จากเดิม ‘Krung Thep Maha Nakhon; Bangkok’ เป็น ‘Krung Thep Maha Nakhon (Bangkok)’ เพื่อใช้เป็นมาตรฐานของทางราชการ และให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบันเท่านั้น พร้อมยืนยันว่า ‘กรุงเทพมหานคร’ ใช้ได้ทั้ง Krung Thep Maha Nakhon และ Bangkok อย่างไรก็ตาม ก็อดสงสัยไม่ได้ว่า คนทั่วโลกรู้จักและใช้คำไหนมากกว่ากัน?  […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.