‘Goose Liver’ บอร์ดเกมที่จะพาไปสำรวจเส้นทางอันโหดร้ายของอุตสาหกรรมการผลิตฟัวกราส์ราคาแพง

ใกล้ช่วงคริสต์มาสเข้ามาทุกที หลายประเทศเริ่มมีการเตรียมวัตถุดิบสำหรับเฉลิมฉลองอาหารมื้อพิเศษประจำปี โดยหนึ่งในนั้นก็มักมี ‘ฟัวกราส์’ เมนูราคาแพงที่แลกมากับการทรมานห่านเพื่อการผลิตตับห่านที่นุ่มละมุนลิ้นอยู่ด้วย และเพื่อเป็นการรณรงค์ให้ลดการกินฟัวกราส์ลง ‘Wakker Dier’ องค์กรสิทธิสัตว์ และ ‘Mutant’ บริษัทเอเจนซีโฆษณาในเบอร์ลิน ได้ร่วมมือกันผลิต ‘Goose Liver’ บอร์ดเกมที่มีสีสันและภาพประกอบสดใส เลียนแบบ ‘Game of the Goose’ บอร์ดเกมแบบดั้งเดิมในศตวรรษที่ 15 แม้ว่าภาพจะดูน่าเล่น แต่เนื้อหาในเกมนั้นกลับเป็นการย้ำให้เห็นถึงความเป็นจริงอันโหดร้ายในอุตสาหกรรมการผลิตฟัวกราส์ ที่ถึงจะมีการห้ามผลิตในหลายประเทศของยุโรป แต่การบริโภคและการนำเข้ายังคงมีปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ บอร์ดเกมนี้จะพาไปดูเส้นทางในขั้นตอนการผลิตฟัวกราส์ ทั้งกระบวนการที่ได้มาซึ่งตับห่าน ก่อนจะเปลี่ยนให้เป็นอาหารรสเลิศ ซึ่งในการทอยลูกเต๋าแต่ละครั้ง เลขแต้มที่ได้อาจพาผู้เล่นไปตกอยู่ในสถานการณ์อันโหดร้ายอย่างการบังคับป้อนอาหารที่สะท้อนถึงการทารุณห่านเหล่านี้ นอกจากนี้ยังมีอุปสรรคอีกมากมายตลอดทั้งเส้นทาง ไม่ว่าจะเป็นช่องที่เปลี่ยนให้ห่านของเราต้องเป็นอาหารแมวหลังจากพบว่าคุณสมบัติไม่เพียงพอที่จะกลายเป็นฟัวกราส์ ช่องที่พาเรากลับไปยังจุดเริ่มต้นกับการทนทุกข์ทรมานใหม่ทั้งหมดเพราะปัญหาไข้หวัดนกระบาด หรือช่องที่ต้องย้อนกลับไปที่โรงงานผลิตเพราะไขมันที่ตับห่านยังไม่เพียงพอ เป็นต้น โดยทาง Wakker Dier ได้ส่งเกม Goose Liver ให้อินฟลูเอนเซอร์ด้านสิทธิสัตว์ รวมไปถึงร้านอาหารที่ยังมีเมนูฟัวกราส์ขาย เพื่อเป็นการให้ความรู้และเตือนสติถึงการกระทำที่ไร้มนุษยธรรมเบื้องหลังเมนูนี้ Sources :DesignTAXI | tinyurl.com/2p8we4n3The Stable | tinyurl.com/2vjd6ysp

‘No Worries If Not’ สำรวจความกดดันในการใช้ชีวิตของผู้หญิงผ่านบอร์ดเกมที่จำลองจากสถานการณ์จริง

จุดร่วมของผู้หญิงทั่วโลกคือ การรู้สึกว่าสังคมออกจะกดดันการใช้ชีวิตของพวกเธอมากเกินไป ต้องผจญกับอุปสรรค ต่อสู้กับกรอบความคิดต่างๆ ราวกับอยู่ในเกมที่ไม่ได้อยากเล่น แต่ถึงอย่างนั้น ผู้หญิงก็อยากลองเอาชนะกับสิ่งที่ต้องพบเจอดูบ้าง ทางสตูดิโอออกแบบ ‘Little Troop’ และ ‘Billie’ แบรนด์ความงามจากสหรัฐอเมริกา จึงร่วมมือกันนำปัญหาต่างๆ ที่ผู้หญิงต้องเจอมาออกแบบและพัฒนาเป็นบอร์ดเกมที่มีชื่อว่า ‘No Worries If Not’ เพื่อพาผู้เล่นไปสำรวจความคาดหวังและความกดดันจากสังคมที่ผู้หญิงต้องเจอ ‘Georgina Gooley’ ผู้ร่วมก่อตั้ง Billie กล่าวถึงไอเดียของเกมว่า ได้มาจากแนวคิดการใช้ชีวิตในฐานะผู้หญิงในปัจจุบัน ที่ทำให้หลายคนรู้สึกเหมือนกำลังเล่นเกมที่ไม่สามารถควบคุมและทำอย่างไรก็เอาชนะไม่ได้เลย จึงตัดสินใจนำความคิดเหล่านี้มารวมเข้ากับบอร์ดเกม No Worries If Not ถึงแม้ว่าตัวเกมจะสดใส สนุกสนาน ดูเหมือนมองโลกในแง่ดี แต่ Little Troop เลือกที่จะสร้างความไม่เป็นธรรมให้กับผู้เล่นด้วยอุปสรรคที่นำมาจากปัญหาที่ผู้หญิงต้องเผชิญ เช่น การขอโทษมากเกินไป การที่ต้องทำให้คนอื่นพอใจ หรือแม้แต่คำพูดว่าคิดมากไป เพราะทางสตูดิโออยากให้บอร์ดเกมนี้เป็นพื้นที่ที่ให้ผู้หญิงได้เล่นและควบคุมชีวิตตัวเองเพื่อลองเป็นผู้ชนะบ้าง โดยเนื้อหาที่นำมาใช้บนตัวเกมนั้นอ้างอิงมาจากการสัมภาษณ์กลุ่มหญิงสาวถึงความคาดหวังทางเพศและความท้าทายที่ต้องเจอในการใช้ชีวิตแต่ละวัน ส่วนวิธีการเล่นก็เหมือนกับบอร์ดเกมทั่วไป ที่ผู้เล่นต้องทอยลูกเต๋าเพื่อพาตัวเกมของตนเดินตามจำนวนที่ทอยได้ โดยระหว่างทางจะเจอกับหลุมพรางต่างๆ บนกระดาน เช่น The Wage Gap (ความแตกต่างของค่าจ้างระหว่างผู้ชายและผู้หญิง), Smile […]

Patani Colonial​ Territory บอร์ดเกมที่ชวนทุกคนตามรอยประวัติศาสตร์ที่หายไปของปาตานี

Patani (ปาตานี) คือพื้นที่ที่ครอบคลุมจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และบางอำเภอในจังหวัดสงขลา ผู้คนที่อาศัยส่วนใหญ่เป็นชาวมลายูและมุสลิม อาณาจักรปาตานีเคยรุ่งเรืองเมื่อสี่ร้อยปีก่อนจะถูกสยามยึดครองในช่วงต้นของยุครัตนโกสินทร์ และแบ่งพื้นที่สืบต่อมาเป็นจังหวัดต่างๆ ของภาคใต้เช่นปัจจุบัน ‘Patani Colonial​ Territory’ คือบอร์ดเกมที่เป็นผลผลิตจากกลุ่ม ‘Chachiluk​ (จะจีลุ)’ ร่วมกับสำนักพิมพ์ KOPI และได้รับทุนสนับสนุนโดย Common School มูลนิธิคณะก้าวหน้า โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งต่อประวัติศาสตร์ของอาณาจักรนี้ไม่ให้หายไป กลุ่มจะจีลุเล่าถึงที่มาของชื่อกลุ่มว่ามาจากการละเล่นพื้นบ้านของเด็กๆ ในพื้นที่ปาตานี โดยเหตุผลที่ใช้ชื่อนี้เพราะอยากทำหน้าที่เป็นตัวแทนความสนุกสนาน และหวังเป็นสื่อในการเชื่อมต่อผู้คนให้ได้รับรู้เรื่องราวประวัติศาสตร์ รวมถึงนำเสนอเรื่องราวของปาตานีผ่านความสนุกในโลกของบอร์ดเกมที่จะชวนผู้เล่นมาประลองไหวพริบและกระตุ้นเตือนความทรงจำ ​ท้าทายให้ทุกคนได้ลองร้อยเรียงลำดับเหตุการณ์​การผนวก​รวมปาตานีเข้ากับสยาม โดยเกมนี้จะใช้จำนวนผู้เล่น 3 – 5 คน กับระยะเวลาเล่นราว 15 – 30 นาที  ในบอร์ดเกมหนึ่งชุดนั้นประกอบด้วย 1) การ์ดเกม 52 ใบ โดยแบ่งออกไปเป็น 4 สี สีละ 13 ใบ  2) โทเคน 30 ชิ้น ประกอบด้วยโทเคนที่มีตัวเลข […]

บอร์ดเกม ‘นักสืบของอดีต’ ที่ยกประวัติศาสตร์และชาติพันธุ์แม่ฮ่องสอนมาให้คนหยิบเล่นได้

ที่ผ่านมาประวัติศาสตร์และชาติพันธุ์ได้กลายเป็นประเด็นที่ผู้คนพูดถึงในวงกว้าง จากที่หลายคนเคยมองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องไกลตัวก็เริ่มอยากเรียนรู้ศึกษามากขึ้น ซึ่งคงดีไม่น้อยถ้ามีแหล่งเรียนรู้ที่เข้าถึงง่าย สร้างความเข้าใจ และสนุกด้วย ด้วยเหตุนี้ เราจึงตื่นเต้นมากเมื่อได้เห็นบอร์ดเกมชุด ‘นักสืบของอดีต’ ที่จัดทำโดยทีมวิจัยจากคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และชาติพันธุ์ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน แน่นอนว่าถ้าความรู้ชุดนี้อยู่แค่ในรูปแบบงานวิจัย มันคงมีคุณค่าและถูกหยิบมาใช้งานในกลุ่มคนวิชาการเท่านั้น ทว่าเมื่อข้อมูลทั้งหมดได้แปลงร่างมาเป็นสื่อร่วมสมัย ที่มีทั้งข้อมูลสนุกๆ ภาพประกอบ กราฟิกสวยๆ และเล่นได้อย่างบอร์ดเกม ย่อมทำให้ประชาชนคนทั่วไปอยากลองเรียนรู้ โปรเจกต์นี้เป็นงานวิจัยเชิงทดลองที่นำผลงานวิจัยทางด้านโบราณคดี มานุษยวิทยา และประวัติศาสตร์ของทีมวิจัยมาประยุกต์ใช้ผ่านการเรียนรู้จากบอร์ดเกม จำนวน 3 ชุดความรู้ ได้แก่ บอร์ดเกมที่ 1 นักสืบชาติพันธุ์ จุดประสงค์คือ ส่งเสริมการเรียนรู้และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับความหลากหลายของชาติพันธุ์และวัฒนธรรม การใช้ทรัพยากรในจังหวัดแม่ฮ่องสอน และจังหวัดอื่นๆ ทำให้รู้จักเกิดความเข้าใจคนต่างวัฒนธรรม บอร์ดเกมที่ 2 ปริศนาโลงไม้ ทีมผู้จัดทำเล่าว่าเป็นชุดเกมใหญ่และซับซ้อนซ่อนเงื่อนที่สุด สร้างความเข้าใจและความรับรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมโลงไม้ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในอำเภอปางมะผ้าที่มีอายุเก่าถึงสองพันกว่าปี การปฏิสัมพันธ์กันระหว่างคนและสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคอาเซียน ลักษณะทางวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงทั้งในอดีตและปัจจุบัน บอร์ดเกมที่ 3 นักสืบของอดีต ทำเพื่อส่งเสริมทักษะในการสืบค้นเรื่องราวของคน สังคมและวัฒนธรรมในอดีต ด้วยกระบวนการทางโบราณคดี โดยมุ่งให้เกิดความตระหนักรู้และสร้างกระบวนการคิดเชิงวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา พร้อมกับให้ความเพลิดเพลินแก่ผู้เล่นในทุกระดับวัย บอร์ดเกมชุดนี้ได้รับการออกแบบ ตรวจสอบข้อมูล และนำตัวเกมไปทดสอบกับคนหลายกลุ่มอย่างพิถีพิถัน เรียกว่าครบทั้งความสนุกและความรู้ […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.