‘ผังเมืองจะทำให้เห็นเมืองของเราในอนาคต’ คลี่คลายทุกความสงสัยเรื่องผังเมืองกับ ‘นพนันท์ ตาปนานนท์’

เมื่อไม่นานมานี้ ประเด็นเรื่องผังเมืองรวม กทม. กลายเป็นประเด็นร้อนแรงปลุกให้คนกรุงเทพฯ หันมาสนใจว่าตอนนี้เกิดอะไรขึ้น ทำไมคีย์เวิร์ด ‘ผังเมืองใหม่เอื้อกับนายทุน’ โผล่มาให้เห็นบ่อยๆ ตามสื่อโซเชียลมีเดีย จนทำให้ กทม.แถลงชี้แจง และขยายระยะเวลารับฟังความคิดเห็นของประชาชนไปจนถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ และแน่นอนว่าในฐานะคนเมือง เราย่อมได้ยินคำว่าผังเมืองอยู่บ่อยๆ โดยเฉพาะเวลาพูดถึงปัญหาเมืองเรื้อรังที่แก้ไขไม่ได้ เช่น รถติด การเดินทางไม่สะดวก หรือกระทั่งเรื่องอากาศร้อน Urban Creature ชวน ‘รศ. ดร.นพนันท์ ตาปนานนท์’ อาจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ นักวิชาการจากศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านยุทธศาสตร์เมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นหนึ่งในผู้จัดทำ ‘ร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ปรับปรุงครั้งที่ 4’ มาให้ความเข้าใจถึงเรื่องผังเมืองอย่างง่ายๆ ว่าคืออะไร และปัจจัยนี้เป็นสาเหตุของหลายปัญหาเมืองจริงไหม ลองไปหาคำตอบจากบทสัมภาษณ์นี้กัน ในเชิงวิชาการ คำว่า ‘ผังเมือง’ มีความหมายว่าอย่างไร ถ้าให้ผมสรุปสั้นๆ ผังเมืองเป็นการกำหนดภาพอนาคตของเมือง เป็นกายภาพ มองเห็น จับต้องได้ เพื่อรู้ว่าเมืองนี้มีภาพในอนาคตข้างหน้าเป็นอย่างไร หน่วยงานภาครัฐใช้ภาพนี้ดำเนินการตามบทบาทหน้าที่ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม ขนส่ง สาธารณูปโภค สาธารณูปการ ส่วนเมืองมีการพัฒนาโดยภาคเอกชนและประชาชน คือ การสร้างที่อยู่อาศัย การสร้างอาคารพาณิชย์ […]

สำรวจภัยธรรมชาติถล่มโลกปี 2023 ผลกระทบจาก ‘ภาวะโลกเดือด’

ถ้าคุณคิดว่าสภาพอากาศของปีนี้ร้อนกว่าปีก่อนๆ หรือรู้สึกว่าตัวเองได้ยินข่าวคราวภัยพิบัติทางธรรมชาติบ่อยขึ้นก็ไม่ต้องแปลกใจ เพราะวิกฤตการณ์ Climate Change ทวีความรุนแรงขึ้นจริงๆ ยืนยันโดยสหประชาชาติที่ประกาศเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาว่า ยุคของ ‘ภาวะโลกร้อน’ (Global Warming) ได้สิ้นสุดลงแล้ว และโลกกำลังย่างเข้าสู่ยุคของ ‘ภาวะโลกเดือด’ (Global Boiling) อย่างเต็มตัว คอลัมน์ Report อยากพาไปสำรวจผลพวงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผ่านส่วนหนึ่งของภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นทั่วโลกในปีนี้ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงวิกฤตโลกร้อนที่แปรปรวนและน่ากังวลกว่าเดิม คลื่นความร้อนปกคลุมทั่วโลก สัญญาณที่บ่งบอกว่าโลกของเราร้อนถึงขั้นเดือดแล้วคือการที่นักวิทยาศาสตร์เตือนว่า เดือนกรกฎาคม ปี 2023 จะเป็นเดือนที่ร้อนที่สุดนับตั้งแต่โลกเริ่มมีการบันทึกสภาพภูมิอากาศ ซึ่งก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ เพราะอุณหภูมิอากาศเฉลี่ยพื้นผิวโลกเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาแตะระดับสูงถึง 16.95 องศาเซลเซียส สูงกว่าอุณหภูมิเฉลี่ย 16.63 องศาเซลเซียสที่เคยบันทึกไว้เมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2019 เพราะเหตุนี้ หลายภูมิภาคทั่วโลกจึงเผชิญกับ ‘คลื่นความร้อน’ (Heatwave) ที่รุนแรงเป็นประวัติการณ์ โดยเฉพาะทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป และเอเชีย สำหรับสหรัฐอเมริกา ในช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมามีชาวอเมริกันมากถึง 1 ใน 3 หรือราว 113 ล้านคน ได้รับการแจ้งเตือนอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด โดยพื้นที่ที่เจอคลื่นความร้อนหนักที่สุดคือรัฐทางตอนใต้ เช่น […]

Resilient City ออกแบบเมืองให้พร้อมรับมือปัญหาน้ำท่วม

ในปัจจุบันกรุงเทพฯ ยังคงประสบปัญหาน้ำท่วมอยู่เป็นประจำ สาเหตุนั้นมาจากหลากหลายองค์ประกอบ ทั้งการขยายตัวของเมือง การสร้างถนน ตึกและสิ่งก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นทุกปี ผลที่ตามมาคือ เมืองหลวงของไทยมีพื้นที่รับน้ำน้อยลง ส่วนคลองที่เคยเป็นช่องทางเดินน้ำก็มีขนาดเล็กลงและระบายน้ำยากขึ้นทุกวัน นี่ยังไม่รวมถึงลักษณะทางภูมิศาสตร์ของกรุงเทพฯ ที่เป็นแอ่งกระทะ และมีพื้นที่เป็นดินเหนียวอุ้มน้ำ มีขยะจำนวนมากอุดตันขวางทางเดินน้ำ ผังเมืองเจ้าปัญหา รวมถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ซึ่งล้วนส่งผลให้ปริมาณน้ำฝนมีมากกว่าปกติ น้ำจากภูมิภาคทางเหนือที่ไหลบ่าลงมา และการหนุนสูงของน้ำทะเลก็มากขึ้น กรุงเทพฯ จึงเกิดปัญหาน้ำท่วมขังและมีสภาพเป็นเสมือนประตูระบายน้ำที่ต้องรอการระบายหนักกว่าเดิมในทุกๆ ปี ด้วยเหตุนี้ คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากหยิบนวัตกรรมและการรับมือปัญหาน้ำท่วมจากเมืองต่างๆ ทั่วโลกมานำเสนอ เพราะไอเดียเหล่านี้น่าจะมีส่วนช่วยทำให้เมืองที่เราอาศัยอยู่สามารถรับมือน้ำท่วมได้ดียิ่งขึ้น ปัญหาระดับโครงสร้างเมือง พื้นที่ชุ่มน้ำ ‘สวนสาธารณะ’ นอกจากจะเป็นพื้นที่สีเขียวให้คนเมืองพักผ่อนหย่อนใจหรือใช้ออกกำลังกายแล้ว ยังเป็นพื้นที่รับน้ำให้กับเมืองได้ด้วย เช่น Climate Park ในเมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ซึ่งเป็นสวนสาธารณะที่มีการออกแบบพื้นที่ให้สามารถรองรับน้ำได้เป็นอย่างดี มีลักษณะขั้นบันไดที่ด้านล่างเป็นแอ่งกระทะและใช้เป็นสนามกีฬาได้ เมื่อน้ำมาก็กลายเป็นสระน้ำให้ผู้คนมานั่งเล่นพักผ่อนได้ อย่างในกรุงเทพฯ ก็มีสวน 100 ปี จุฬาฯ ที่ตั้งใจออกแบบพื้นที่สาธารณะซึ่งตอบโจทย์หลากหลายฟังก์ชันทั้งการทำกิจกรรม เป็นพื้นที่สีเขียว และเป็นแหล่งรับน้ำของเมือง ถือเป็นตัวอย่างของการออกแบบที่หน่วยงานต่างๆ ควรนำไปปรับใช้กับพื้นที่สีเขียวทั่วเมือง เพิ่มท่อระบายน้ำขนาดใหญ่ การทำให้เส้นเลือดใหญ่อย่าง […]

The Bliss Sofa โซฟาชูชีพที่ไม่ได้ออกแบบให้นั่งสบาย แต่ให้ตระหนักถึงสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง

‘โซฟา’ เป็นเฟอร์นิเจอร์ที่สร้างความรู้สึกที่แสนสบายเวลานั่งหรือนอนเหยียดอย่างเต็มตัว แต่ถ้าให้นึกถึงการอยู่บนโซฟาระหว่างที่ลอยอยู่ท่ามกลางน้ำท่วมก็คงเป็นเหตุการณ์ที่ไม่น่าอภิรมย์เท่าไหร่นัก แถมโซฟาทั่วไปก็อาจจะจมน้ำไปก่อน ไม่สามารถเป็นที่พึ่งพิงให้กับเจ้าของได้ เพราะเหตุนี้ ‘Mother’ บริษัทครีเอทีฟที่มีสาขาทั้งในลอนดอนและนิวยอร์กจึงเปิดตัว ‘The Bliss Sofa’ ชุดโซฟาลอยน้ำได้ที่มาพร้อมกับมาตรวัดระดับน้ำ ไฟฉุกเฉินในที่วางแขน และไม้พายที่เก็บไว้ในพนักพิงไม้ ซึ่งเกิดจากแนวคิดที่อยากเปลี่ยนโซฟาให้เป็นแพชูชีพได้ ดังนั้นโซฟาชุดนี้จึงหุ้มด้วยผ้า Sunbrella กันน้ำสีส้ม มาพร้อมกับสายรัดอเนกประสงค์สีดำแบบเดียวกันกับเสื้อชูชีพที่เราคุ้นตากัน หากเกิดเหตุการณ์น้ำท่วม ตัวเบาะที่ไม่ได้ยึดติดกับฐานไม้รีไซเคิลจะสามารถเปลี่ยนเป็นอุปกรณ์ลอยน้ำได้ แถมตัวโซฟาชุดนี้ยังมาพร้อมกับเก้าอี้ทรงเหลี่ยมเข้าชุดที่สามารถเปิดออกและใส่สิ่งของต่างๆ อย่างเช่นอุปกรณ์ทำค็อกเทลสำหรับจิบระหว่างรอน้ำลดก็ได้ ‘Paul Malmstrom’ ผู้ก่อตั้ง Mother กล่าวว่า โซฟาชุดนี้เหมาะสำหรับบุคคลที่มีรายได้สูงที่ต้องการนั่งเอนหลังพักผ่อนเมื่อน้ำมา แม้ว่า Bliss จะมาพร้อมกับอุปกรณ์ที่หลากหลาย รวมถึงคู่มือแนะนำเชิงเสียดสีว่าควรจะปฏิบัติตัวอย่างไรเพื่อกระตุ้นให้รู้สึก ‘ผ่อนคลาย’ ในขณะที่ลอยอยู่ในน้ำ แต่ความจริงแล้วเขาไม่ได้ต้องการให้ใครที่ได้ใช้โซฟารู้สึกผ่อนคลายระหว่างใช้งานจริงๆ ที่เป็นเช่นนั้นเพราะเฟอร์นิเจอร์ที่ดูเหนือจินตนาการชุดนี้คือผลงานส่วนหนึ่งจากงาน New York Design Week ที่ออกแบบเพื่อเหน็บแนมไปพร้อมๆ กับสร้างความตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศในปัจจุบัน ทางบริษัท Mother มีแผนที่จะวางขาย The Bliss Sofa และจะนำรายได้บางส่วนไปบริจาคให้กับสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติอีกด้วย Source :Dezeen | tinyurl.com/mryztcf3

#SAVEUBON ระดมทุนและส่งของช่วยผู้ประสบภัยในอุบลราชธานี เจอน้ำท่วมหนักสุดในรอบ 44 ปี

ตอนนี้ที่จังหวัดอุบลราชธานีกำลังประสบภัยน้ำท่วมหนักอีกครั้ง โดยปีนี้อุบลฯ น้ำท่วมหนักกว่าปี 2562 ที่ผ่านมา และถือเป็นน้ำท่วมครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 44 ปี โดยสถานการณ์ฝนตกหนักและพายุรุนแรง ทำให้น้ำสูงขึ้นจนเส้นทางในหลายพื้นที่ถูกตัดขาด ผู้คนจำนวนมากได้ขอความช่วยเหลือและอัปเดตข้อมูลน้ำท่วมผ่านทางแฮชแท็ก #น้ำท่วมอุบล จนขึ้นเทรนด์ทวิตเตอร์อันดับหนึ่งเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา น้ำท่วมครั้งนี้ได้สร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนในพื้นที่อย่างมาก บ้านเรือนหลายหลังได้รับความเสียหาย ในบางอำเภอน้ำท่วมบ้านทั้งหลังจนมิดหลังคา และสถานการณ์ยังมีแนวโน้มจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จึงมีการเปิดระดมทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยในจังหวัดอุบลราชธานีหลายช่องทาง ดังนี้ ศูนย์น้ำมิตร Nammit Centre 869-238118-7 ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เครือข่ายเภสัชกร จังหวัดอุบลราชธานี 321-0-12970-3 ธนาคารกรุงไทย สาขาถนนชยางกูร สภานักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 869-249758-0 ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี หรือหากใครสะดวกก็สามารถร่วมบริจาคเป็นสิ่งของร่วมกับทางศูนย์น้ำมิตร, UBU Save Ubon, องค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, สโมสรนักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และสโมสรนักศึกษาทุกคณะของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้เช่นกัน สามารถนำของไปบริจาคได้จนถึงวันที่ 14 ตุลาคมนี้ ที่บริเวณ 2 จุด ได้แก่  ศูนย์น้ำมิตร ณ โถงโรงละคร […]

สำรวจปริมาณน้ำฝนของกรุงเทพฯ ปี 2565 ฝนอาจตกหนักสุดในรอบ 30 ปี 

วันนี้ฝนจะตกไหม? แล้วน้ำจะท่วมอีกหรือเปล่า? บทสนทนาเรื่องฟ้าฝนและน้ำท่วมดูเหมือนจะเป็นท็อปปิกใหญ่ของชาวกรุงเทพฯ ช่วงนี้ เพราะไม่ว่าจะอาศัยอยู่แถวไหนก็ดูจะเสี่ยงน้ำท่วมไปเสียทุกที่ อุปกรณ์กันฝนที่พกติดตัวทุกวันก็แทบจะไม่สามารถต้านทานฝนที่ตกหนักได้เลยสักวัน เมื่อฝนตกหนัก ก็ส่งผลให้น้ำระบายไม่ทันจนเกิดน้ำท่วมตามมา แน่นอนว่าการระบายน้ำช้าเป็นหนึ่งปัจจัยของปัญหาน้ำท่วมขัง แต่ก็อาจไม่ใช่ทั้งหมด เพราะเราและคนรอบตัวเองก็เห็นตรงกันว่า ปีนี้ฝนตกหนักมากกว่าปีก่อนๆ จนสังเกตได้ วันนี้ คอลัมน์ City by Numbers จึงอยากพาทุกคนย้อนดูปริมาณน้ำฝนช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (2563 – 2565) เพื่อเปรียบเทียบว่าแต่ละปีมีปริมาณน้ำฝนต่างกันมากน้อยขนาดไหน และปี 2565 มีฝนตกหนักกว่าเดิมอย่างที่คิดจริงหรือไม่ บทความนี้อ้างอิงข้อมูลมาจาก สำนักการระบายน้ำ ที่อัปเดตข้อมูลปริมาณน้ำฝนให้เราได้ติดตามกันทุกวัน และสามารถเทียบความแตกต่างของปริมาณฝนผ่านชุดข้อมูลอย่าง ‘กราฟเปรียบเทียบปริมาณฝนรายเดือนสะสม’ ซึ่งเป็นปริมาณฝนรายเดือนสะสมเฉลี่ย 30 ปี (2534 – 2563) และปริมาณฝนรายเดือนตั้งแต่ปี 2563 – 2565  ที่แจ้งว่าในแต่ละปีนั้นมีปริมาณน้ำฝนสะสมเท่าไรบ้าง ปริมาณฝนรายเดือนสะสม เฉลี่ยคาบ 30 ปี (2534 – 2563) อยู่ที่ 1,689.7 มม. ปริมาณฝนรายเดือนสะสม […]

ฝนตก รถติด รู้ก่อน เลี่ยงได้ เช็กการจราจรแบบเรียลไทม์ผ่านกล้องวงจรปิดของ กทม.

ช่วงนี้ชาวกรุงเทพฯ ต้องเผชิญกับมรสุมฝนตกหนักต่อเนื่อง จนหลายพื้นที่กลายเป็นทะเลกรุงเทพฯ ไปแล้ว จะกลับบ้านตอนเย็นทีไร ก็ต้องตามอ่านสถานการณ์จากในออนไลน์ หรือไปเสี่ยงดวงระหว่างทางว่าวันนี้รถจะติด ฝนจะตก หรือน้ำจะท่วมมากน้อยแค่ไหนทุกที วันนี้เราเลยอยากแนะนำอีกหนึ่งช่องทางที่ช่วยให้วางแผนการเดินทางในแต่ละวันได้ง่ายขึ้น ผ่านกล้องวงจรปิด (CCTV) ที่ติดตั้งตามท้องถนนและทางแยกในกรุงเทพฯ  เพียงเข้าไปที่เว็บไซต์ www.bmatraffic.com หรือแอปพลิเคชัน @CCTVBANGKOK ของสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กรุงเทพมหานคร แล้วเลือกกล้องวงจรปิดในถนนส่วนที่ต้องการเห็นภาพการจราจร แค่นี้ก็จะเช็กภาพสถานการณ์ที่แสดงผลแบบเรียลไทม์จากบริเวณดังกล่าวได้แบบฟรีๆ ถึงแม้ว่าภาพที่ได้จะไม่ได้คมชัดถึงขั้นมองเห็นเลขทะเบียนรถ แต่อย่างน้อยก็เพียงพอให้เห็นถึงสถานการณ์จราจร และสภาพน้ำท่วมได้แบบคร่าวๆ เพื่อวางแผนเส้นทางกลับบ้านได้ นอกจากนี้ ภาพจากกล้องวงจรปิดยังเป็นประโยชน์สำหรับผู้ประสบอุบัติเหตุบนท้องถนนที่ต้องการหลักฐานอีกด้วย เพราะปัจจุบันทางกรุงเทพฯ เปิดให้ผู้ที่ต้องการข้อมูลขอไฟล์ออนไลน์ผ่านทางเว็บไซต์และแอปพลิเคชันได้ฟรี โดยจะได้รับไฟล์ภาพภายใน 24 ชั่วโมง ดาวน์โหลดไฟล์ภาพได้ไม่เกินระยะเวลา 7 วันหลังเกิดเหตุ และขอข้อมูลได้ไม่เกินครั้งละ 6 กล้อง รวมเวลาไม่เกิน 3 ชั่วโมง หากกรณีที่ต้องการไฟล์ภาพมากกว่า 3 ชั่วโมงขึ้นไปหรือไฟล์ต้นฉบับ สามารถขอได้ที่ศูนย์ CCTV ทั้ง 13 แห่ง ตลอด 24 ชั่วโมง เรียกว่าเป็นขั้นตอนที่สะดวกขึ้นมาก เนื่องจากเดิมทีต้องใช้เวลานานถึง […]

Traffy Fondue เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ ติดตามสถานการณ์น้ำท่วมจากข้อมูลผู้ใช้งานในพื้นที่จริง

Traffy Fondue เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ ติดตามสถานการณ์น้ำท่วมจากข้อมูลผู้ใช้งานในพื้นที่จริง พี่วินมอเตอร์ไซค์ปากซอยทำนายว่าฝนจะถล่มลงมาช่วงเย็น ถ้าคำทำนายของพี่วินฯ เป็นจริงนั่นเท่ากับว่าคนกรุงเทพฯ ในเมืองชีวิตดีๆ ที่ลงตัว จะต้องเลิกงานลงมาเจอกับห่าฝนที่ต่อให้ตกต่อเนื่องไม่ถึงชั่วโมงน้ำก็ท่วมถึงหัวเข่า รถราบนท้องถนนติดแจ บางคนอาจต้องรอรถเมล์จนยืนร้องไห้ บ้างอาจต้องใช้เงินแก้ปัญหาเพื่อจะได้กลับบ้านไปพักผ่อนไวๆ หลังเจองานหนักหน่วงช่วงกลางสัปดาห์ ดูแล้วปัญหาฝนตกน้ำท่วมน่าจะยังไม่มีทางจบสิ้นในเร็ววัน แต่อย่างน้อยหนึ่งในวิธีที่จะช่วยทุเลาปัญหานี้ไปได้ก่อนระหว่างฤดูฝน นั่นคือการใช้ฟีเจอร์ใหม่ของ ‘Traffy Fondue’ แพลตฟอร์มสีน้ำตาลคู่ใจชาวเมือง ฟีเจอร์ที่ว่านี้ทำให้เราสามารถติดตามสถานการณ์น้ำท่วมได้อย่างทันท่วงที โดยใช้ข้อมูลของผู้ใช้งานที่แจ้งระบบเข้ามาในรัศมี 500 เมตร ภายในเวลา 6 ชั่วโมงก่อนหน้า มาแสดงผลเพื่อให้พวกเราวางแผนการเดินทางจากบ้านหรือที่ทำงานได้ เรียกว่าร่วมด้วยช่วยกันเพื่อไม่ให้ต้องเอามือพายเรือระหว่างทาง แถมลดโอกาสเสี่ยงเท้าราน้ำอีกด้วย วิธีตรวจสอบน้ำท่วมนั้นก็แสนสะดวก เริ่มจาก Add LINE เพิ่มเพื่อนที่ bit.ly/3BC4uWI จากนั้นมองหาไอคอนรูปบ้านโดนน้ำท่วมสีเขียวด้านล่าง เพื่อขอตรวจสอบน้ำท่วม โดยส่งพิกัดที่อยากรู้และรอผล หรือหากอยากแจ้งปัญหาอื่นๆ เช่น ต้นไม้ล้ม เสาไฟหัก ก็ทำได้ด้วยการเลือกไอคอนสีเหลือง ‘แจ้งเรื่องใหม่’ ได้เลย ติดตามความคืบหน้าของการรายงานปัญหา หรือเข้าไปแจ้งปัญหาเส้นเลือดฝอย รวมถึงดูคู่มือการใช้งาน Traffy Fondue ได้ที่ https://www.traffy.in.th/

ฝนตกใหญ่ น้ำท่วมฉับพลัน ทำไมระบบรถไฟฟ้าใต้ดินของไทยถึงน้ำไม่ท่วม?

ที่ผ่านมา หลายคนคงได้เห็นข่าวที่ฝนตกหนักจนน้ำท่วมเข้าไปในระบบรถไฟฟ้าของหลายประเทศ เช่น จีน อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และล่าสุดคือกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ที่ชาวเน็ตพากันแชร์คลิปน้ำท่วมไหลบ่าจากพื้นดินสู่สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ไปจนถึงสิ่งก่อสร้างภายในที่ได้รับความเสียหายจากน้ำที่ซึมผ่านเข้ามา เห็นเหตุการณ์แบบนี้ เราเลยสงสัยว่าไทยเองก็น้ำท่วมบ่อย แถมเมื่อปี 2554 กรุงเทพฯ เองก็เจอน้ำท่วมใหญ่นานเป็นเดือนๆ จนหลายคนถึงขนาดต้องทิ้งบ้านทิ้งรถหนีน้ำย้ายไปอยู่ที่อื่นชั่วคราว แล้วระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) บ้านเราเป็นยังไงบ้างนะ จะโดนน้ำท่วมหรือได้รับผลกระทบแบบที่ประเทศอื่นเจอหรือไม่ หลังจากหาข้อมูลและสอบถามคนกรุงเทพฯ รอบตัว ผลปรากฏว่า ระบบรถไฟฟ้าใต้ดินบ้านเราไม่เคยมีน้ำท่วมแบบที่ต่างประเทศประสบเลย นั่นเพราะ MRT ไทยมีมาตรการและระบบป้องกันน้ำท่วมที่ออกแบบมาแล้ว ทำให้ไม่ว่าจะฝนตกหนักแค่ไหน หลายพื้นที่ประสบน้ำท่วมจนต้องดับรถ เดินลุยน้ำสูงระดับเอว ผู้ใช้งานที่ติดอยู่ในสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน จะไม่ประสบกับน้ำท่วมไหลบ่าเข้ามาในสถานีจนเป็นอันตรายต่อชีวิตแน่นอน คอลัมน์ Curiocity จึงอยากชวนไปดูเบื้องหลังมาตรการความปลอดภัยของ MRT ในไทย ว่าทำไมเราถึงไม่ต้องกังวลว่าจะประสบภัยแบบที่ต่างประเทศพบเจอ ก่อนอื่นชวนมาทำความเข้าใจก่อนว่า ด้วยความที่กรุงเทพฯ มักประสบปัญหาน้ำท่วมอยู่บ่อยๆ ทำให้ระบบรถไฟฟ้า MRT มีการออกแบบโดยคำนึงถึงความปลอดภัยและป้องกันน้ำท่วมภายในสถานีกับอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินไว้ตั้งแต่แรกแล้ว โดยใช้ค่าระดับน้ำท่วมสูงสุดในรอบ 200 ปีของกรุงเทพฯ เป็นเกณฑ์ในการออกแบบทางเข้า-ออก และช่องเปิดต่างๆ เพื่อป้องกันน้ำไหลเข้าสู่ระบบรถไฟฟ้า  การยกระดับทางเข้า-ออกสถานี ปล่องระบายอากาศ และช่องเปิดต่างๆ MRT […]

BKK Follow Up แพลตฟอร์มจาก WeVis ชวนสำรวจปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ ส่องงบประมาณ และนับจำนวนครั้งที่น้ำท่วม

มาเช็กกันว่าละแวกบ้านเราน้ำท่วมมาแล้วกี่ครั้ง! ฤดูฝนมาเยือนทีไร ชาวกรุงเทพฯ ต่างต้องเตรียมตัวเตรียมใจเจอปัญหา ‘น้ำท่วมถนน’ ที่ทำให้การจราจรในหลายพื้นที่หยุดชะงัก หลายคนต้องยืนรอน้ำระบายอยู่หลายชั่วโมงถึงจะเดินทางกลับบ้านได้ จะพูดว่าชาวกรุงหลายคนชินชากับปัญหา ‘ฝนตก รถติด น้ำท่วม’ แล้วก็คงไม่ผิด เพราะพวกเขาต้องเผชิญปัญหาน้ำท่วมขังมานานนับ 10 ปีแล้ว แต่ทำไมเราต้องเจอปัญหาน้ำรอการระบายซ้ำซาก ทั้งที่กรุงเทพมหานครมีอำนาจในการบริหารงบประมาณและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน เพราะเหตุนี้ WeVis องค์กรไม่แสวงหากำไรที่ทำงานด้านข้อมูลทางการเมือง ร่วมกับสถาบันพระปกเกล้า และคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงสร้างเว็บไซต์รวบรวม ‘ข้อมูลน้ำท่วมถนน’ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2555 – 2564) เพื่อให้ประชาชนเข้าใจปัญหาน้ำท่วมขังในเขตต่างๆ รวมไปถึงจำนวนงบประมาณที่ กทม. เคยใช้แก้ไขปัญหานี้ ถ้าอยากรู้ว่าละแวกบ้านเราน้ำท่วมมาแล้วกี่ครั้ง สามารถย้อนดูปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ ได้ที่ bkkfollowup.wevis.info/dashboard/น้ำท่วมถนน แพลตฟอร์มนี้จะช่วยให้ผู้คนเห็นภาพรวมของปัญหาน้ำท่วมถนนผ่านข้อมูลของแต่ละปีที่ระบุ ‘จำนวนครั้งที่น้ำท่วมขังถนน’ และ ‘ระดับน้ำท่วมบนถนนโดยเฉลี่ย’ ของแต่ละเขตทั่ว กทม. ตัวอย่างเช่น ในปี 2555 เขตที่เจอน้ำท่วมถนนมากที่สุดถึง 99 ครั้งก็คือ ‘ราชเทวี’ โดยมีระดับน้ำท่วมบนถนนโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 80 – […]

ไม่เพียงระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นจากโลกร้อน! เมืองใหญ่ทั่วโลกเสี่ยงน้ำท่วมเพราะทรุดตัวจากที่อยู่หนาแน่น ใช้ทรัพยากรใต้ดิน ฯลฯ

เชื่อว่าเราคงเห็นข่าวหรือได้ยินว่าเมืองใหญ่ๆ ของโลกมีโอกาสจมน้ำเพราะระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ด้วยวิกฤตสภาวะโลกร้อนมาแล้ว แต่งานวิจัยจากวารสาร Geophysical Research Letters ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 24 มีนาคม อาจจะชวนกระตุกต่อมความเชื่อและท้าทายงานวิจัยเดิม เพราะเขาบอกเราว่า การเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเลอาจจะไม่รวดเร็วเท่ากับอัตราที่เมืองใหญ่ทรุดตัวลง ในงานวิจัยชื่อว่า ‘Subsidence in Coastal Cities Throughout the World Observed by InSAR (สำรวจการทรุดตัวลงของเมืองชายฝั่งทั่วโลกโดยเรดาร์ InSAR)’ ผู้วิจัยสามคนคือ Pei-Chin Wu Meng Wei และ Steven D’Hondt ได้สำรวจ 99 เมืองใหญ่ติดชายฝั่งทะเลทั่วโลกผ่านระบบเรดาร์ และค้นพบว่า อย่างน้อย 33 เมืองทรุดตัวลงด้วยความเร็วมากกว่า 1 เซนติเมตรต่อปี นั่นคือตัวเลขที่มากกว่าความเร็วการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลกว่า 5 เท่า ผลจากการทรุดตัวของเมืองนั้น คณะผู้วิจัยแจกแจงว่ามี 3 ปัจจัยหลักด้วยกัน คือ การสูบน้ำบาดาล การสร้างที่อยู่อาศัยหนาแน่น และการขุดเจาะแหล่งพลังงานธรรมชาตินั่นเอง เมืองส่วนใหญ่ที่เป็นที่น่ากังวลที่สุดอยู่ใกล้ตัวเรากว่าที่คิด […]

รวมช่องทางช่วยเหลือน้ำท่วมภาคใต้ บริจาคได้ทั้งเงิน อาหาร สิ่งของ  และอุปกรณ์ช่วยเหลือที่จำเป็น

Urban Creature ชวนทุกคนติดตามข่าวอุทกภัยในภาคใต้ที่ครั้งนี้ถือว่ารุนแรงที่สุดในรอบ 60 ปี จากสถานการณ์คลื่นลมแรงและฝนตกหนักถึงหนักมาก ส่งผลให้ 4-5 วันที่ผ่านมาจนถึงตอนนี้ มวลน้ำได้ไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือนของประชาชนในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ นครศรีธรรมราช พัทลุง ปัตตานี ยะลา และโดยเฉพาะจังหวัดนราธิวาสที่ผู้ว่าฯ นราธิวาส ประกาศเขตภัยพิบัติทั้ง 13 อำเภอแล้ว นอกจากความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่างๆ ในเบื้องต้นเรื่องเร่งด่วนที่เราทำได้คือ การกระจายข่าวสารทั้งทางออนไลน์-ออฟไลน์ และสนับสนุนเจ้าหน้าที่ด้วยสิ่งของจำเป็น รวมถึงช่วยเหลือชาวบ้านผู้ประสบภัยน้ำท่วม ช่องทางช่วยเหลือน้ำท่วมภาคใต้มีดังนี้ บริจาคสิ่งของ เครื่องอุปโภคบริโภค น้ำดื่ม ข้าวสาร อาหารแห้ง (ตั้งแต่วันนี้ – 3 มีนาคม 2565)สมาคมกู้ภัยร่มเมืองตากใบ 9/3 หมู่ 5 ตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส โทร 065-3930456 สนับสนุนเป็นเงินเพื่อนำไปจัดซื้อข้าวกล่อง น้ำดื่ม ข้าวสารอาหารแห้งชื่อบัญชี เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยและผู้ยากไร้ มูลนิธิคนช่วยฅน (Khon Chuay Khon)เลขที่บัญชี 061-1-10425-3 […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.