‘การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน’ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยกระบวนการคิดและนวัตกรรมนโยบาย

‘ขอนแก่น’ คือหนึ่งในเมืองที่หลายฝ่ายจับตามอง เพราะที่นี่เปรียบเสมือน ‘ศูนย์กลางความเจริญ’ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ การศึกษา หรือแม้แต่ความหลากหลายของวัฒนธรรมอีสาน แต่การเติบโตของเมืองย่อมตามมาด้วยปัญหาที่ซับซ้อน โดยเฉพาะการหลั่งไหลเข้ามาของประชากรที่ก่อให้เกิดความท้าทายอื่นๆ เช่น ปัญหาที่อยู่อาศัย การแย่งงานของคนในพื้นที่และคนต่างถิ่น รวมถึงความเหลื่อมล้ำและคนจนเมือง เพื่อส่งเสริมการเติบโตของเมืองโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง Thailand Policy Lab ร่วมกับ UNDP Accelerator Lab Thailand จากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) และวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดกิจกรรม ‘Policy Innovation Journey’ หรือ ‘เส้นทางสานฝันสร้างนโยบายครั้งที่ 4’ โดยยกห้องปฏิบัติการไปที่อำเภอเมืองขอนแก่น เพื่อนำเสนอ ‘นวัตกรรมนโยบาย’ ให้แก่นักวางแผนนโยบายระดับท้องถิ่น ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน การจัดทำเส้นทางสานฝันสร้างนโยบายครั้งที่ 4 นี้ไม่ได้มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนในจังหวัดขอนแก่นเพียงแห่งเดียวเท่านั้น แต่ยังรวมถึงพื้นที่อื่นๆ ทั่วภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เห็นได้จากผู้เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ที่มาจากหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ภาครัฐ อบจ. อบต. ผู้นำชุมชน ภาคประชาสังคม และภาคเอกชนจากทั่วภาคอีสาน เครื่องมือนโยบายที่ Thailand Policy Lab […]

ร่วมออกแบบนโยบายเพื่อยกระดับ ‘การท่องเที่ยวชุมชนของสระบุรี’ ให้เป็นเศรษฐกิจที่สร้างสรรค์และยั่งยืน

‘สระบุรี’ คือจังหวัดเมืองรองในภาคกลางที่ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสัก มีพื้นที่ราบสลับกับพื้นที่ภูเขา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมผสมผสานกับพื้นที่การเกษตร ทว่านอกจากเป็นเมืองทางผ่านที่สำคัญต่อภาคอุตสาหกรรมอันดับต้นๆ ของประเทศแล้ว สระบุรียังเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและประวัติศาสตร์กระจายตัวอยู่มากมาย ที่เป็นเช่นนั้นเพราะชุมชนส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในลุ่มแม่น้ำป่าสักของสระบุรี เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อพยพย้ายถิ่นมาไม่น้อยกว่า 150 ปี ที่นี่จึงเป็นแหล่งรวบรวมความหลากหลายของชาติพันธุ์ต่างๆ เช่น ไทยวน ลาวเวียง พวน มอญ และจีน ทำให้สระบุรีมีมรดกทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่น่าสนใจ ที่กำลังรอให้นักท่องเที่ยวมาสัมผัสด้วยตัวเอง ทั้งนี้ สระบุรีและอีก 3 จังหวัดในบริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสัก ได้แก่ เพชรบูรณ์ ลพบุรี และพระนครศรีอยุธยา กลับต้องเผชิญกับความท้าทายด้านการท่องเที่ยวชุมชนในมิติต่างๆ เช่น ชุมชนไม่ได้รับผลประโยชน์จากการท่องเที่ยว เพราะส่วนใหญ่จะตกอยู่ในมือภาคธุรกิจขนาดใหญ่ รวมไปถึงการสร้างเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์จากทุนทางวัฒนธรรม การพัฒนาทรัพยากรบุคคล การเปลี่ยนกรอบความคิดของคนในชุมชน การสร้างผู้ประกอบการเชิงสร้างสรรค์ และการพัฒนามาตรฐานของสินค้าและบริการต่างๆ เป็นต้น เพื่อยกระดับและพัฒนา ‘การท่องเที่ยวชุมชน’ ของสระบุรีให้กลายเป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทาง Thailand Policy Lab และ UNDP Accelerator Lab Thailand จากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ได้จัดกิจกรรม ‘Policy Innovation […]

สำรวจนิยามครอบครัวหลากหลายผ่าน 5 รสชาติไอศกรีมที่ Diversity Cafe

ช่วงสัปดาห์ส่งท้ายเดือน Pride Month เราขอชวนทุกคนไปค้นหานิยามครอบครัวในแบบฉบับของตัวเองที่ ‘Diversity Cafe’ นิทรรศการว่าด้วยเรื่อง ‘ครอบครัวหลากหลาย’ ภายใต้รูปแบบคาเฟ่ไอศกรีม เพื่อส่งเสริมสิทธิของทุกคนและทุกเพศอัตลักษณ์กับการสร้างครอบครัวในรูปแบบของตัวเอง นอกจากผู้เข้าร่วมงานจะได้ชิมไอศกรีม 5 รสชาติใหม่ๆ ที่สะท้อนรูปแบบครอบครัวในฝันของแต่ละคนแล้ว ภายในงานยังเล่าเรื่องของ 6 ครอบครัวที่มีนิยามแตกต่างกันเพื่อสะท้อนความหลากหลายในสังคมไทย รวมไปถึงปัญหาเชิงนโยบายและค่านิยมของสังคมที่มองคำว่าครอบครัวในนิยามของพ่อ-แม่-ลูกเท่านั้น นิทรรศการ Diversity Cafe จัดโดย Thailand Policy Lab ห้องปฏิบัติการนโยบาย ก่อตั้งโดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ร่วมกับภาคีเครือข่ายอย่างกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNFPA Thailand) สยามพิวรรธน์ วอร์นเนอร์ มิวสิค ประเทศไทย และแสนสิริ จุดแรกที่นิทรรศการธีมคาเฟ่ไอศกรีมเตรียมไว้ต้อนรับเราคือ พื้นที่ให้ความรู้เกี่ยวกับ ‘ครอบครัวยุคใหม่ในนิยามของฉัน’ ที่พาไปสำรวจนิยามของครอบครัวยุคปัจจุบันที่ไม่ได้จำกัดแค่พ่อ-แม่-ลูกเหมือนแต่ก่อน แต่มีรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น บางครอบครัวผูกพันกันทางสายเลือด ขณะที่บางครอบครัวอาจเป็นคู่รักเพศหลากหลายที่กฎหมายยังไม่รองรับ ครอบครัวที่อยู่กับเพื่อน ครอบครัวที่อยู่กับสัตว์เลี้ยง หรือแม้แต่ตัวเราคนเดียวก็เป็นครอบครัวให้ตัวเองได้ นอกจากนี้ยังมีข้อมูลและสถิติเกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศไทย เช่น จำนวนคนอยู่คนเดียวที่เพิ่มสูงขึ้น คนไทยอายุยืนขึ้น คนไทยแต่งงานช้าลง คนไทยมีลูกน้อยลง ทั้งหมดสะท้อนให้เห็นว่า ครอบครัวของสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก […]

เจาะลึกนโยบายพัฒนาเมือง กับนักผังเมืองพรรคก้าวไกล | Unlock the City EP.28

เมื่อพรรคก้าวไกลคือพรรคที่มีแนวโน้มมากที่สุดที่จะได้จัดตั้งเป็นรัฐบาล Urban Creature ชวนนักผังเมืองรุ่นใหม่ไฟแรง ‘ณัฐพงศ์ เปรมพูลสวัสดิ์’ ว่าที่ ส.ส. เขต 21 กรุงเทพฯ มาคุยกันถึงเรื่องนโยบายผังเมืองให้ประชาชนเห็นภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นนโยบายภาพใหญ่ของพรรค และนโยบายภาพย่อยของเขต

เปิดนโยบายสิ่งแวดล้อมของพรรคการเมือง เลือกตั้ง ปี 2566

เข้าสู่โค้งสุดท้ายของการเลือกตั้ง 66 แล้ว เพราะเหลือเวลาอีกแค่ไม่กี่สัปดาห์เท่านั้น ก็จะถึงช่วงเวลาตัดสินชะตาชีวิตคนไทยในอีก 4 ปีข้างหน้า ที่ผ่านมาได้มีการนำเสนอจุดยืนและนโยบายของเหล่าพรรคการเมืองที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างการเมือง ด้านเศรษฐกิจ ด้านสาธารณสุข ด้านค่าครองชีพ มาเยอะแล้ว Urban Creature จึงอยากพาทุกคนไปดูนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของพรรคการเมืองที่มีชื่อติดโพลใหญ่ๆ และน่าจับตามองกันบ้าง เพราะเราคงมีชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืนไม่ได้แน่ๆ หากผู้มีอำนาจไม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และปล่อยให้ประชาชนใช้ชีวิตท่ามกลางเมืองหม่นๆ ที่เต็มไปด้วยฝุ่นควัน รวมถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่อาจรุนแรงขึ้นในอนาคต พรรคภูมิใจไทย เบอร์ 7 ประเดิมด้วยพรรคแรกกับการไล่จากเลขเบอร์น้อยไปยังเลขมาก กับ ‘พรรคภูมิใจไทย’ ซึ่งนำโดย ‘อนุทิน ชาญวีรกูล’ ที่ปัจจุบันนั่งแท่นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ‘พูดแล้วทำ’ คือสโลแกนที่พรรคภูมิใจไทยนำมาชูสำหรับการเลือกตั้งครั้งนี้ และเมื่อเราเข้าไปดูข้อมูลนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมก็พบว่า ตัวพรรคไม่ได้เซตนโยบายสิ่งแวดล้อมไว้อย่างชัดเจนนัก แต่มีนโยบายที่เกี่ยวกับพลังงานเข้ามาแทน นั่นคือ นโยบายพลังงานสะอาด ลดรายจ่ายประชาชน เพราะมองว่าค่าใช้จ่ายด้านพลังงานทั้งค่าน้ำมันและค่าไฟฟ้าคือภาระใหญ่หลวงที่ประชาชนต้องแบกรับ และกระบวนการผลิตพลังงานเหล่านี้ยังก่อให้เกิดมลภาวะ อากาศพิษ ทำร้ายสุขภาพประชาชน และเป็นต้นเหตุของโลกร้อน ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพของประชาชน พรรคภูมิใจไทยจึงเสนอนโยบายผ่าน 2 โครงการ นั่นคือ ประชาชนจะได้รับสิทธิ์เข้าร่วมโครงการใช้หลังคาบ้านติดตั้งโซลาร์เซลล์ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ใช้ในบ้านเรือนตัวเอง คิดเป็นกระแสไฟฟ้าไม่น้อยกว่า 450 […]

สนทนาถึงปัญหาสัตว์จรจัดกับ ‘นัชญ์ ประสพสิน’ แห่งบ้านพักพิงแมวจร ‘Catster by Kingdomoftigers’

ในขณะที่คนรุ่นใหม่นิยมเลี้ยง ‘สัตว์เลี้ยง’ แทนการมี ‘ลูก’ มากขึ้น และมีแนวโน้มที่จะเลี้ยงแมวมากกว่าแต่ก่อน เนื่องจากแมวเป็นสัตว์ที่สามารถอยู่อาศัยในพื้นที่จำกัดและดูแลตัวเองได้ แต่จากการพูดคุยกับ ‘นัชญ์ ประสพสิน’ เจ้าของบ้านพักพิงแมวจร ‘Catster by Kingdomoftigers’ หรือหลายคนอาจคุ้นหูมากกว่าในชื่อเพจ ‘ทูนหัวของบ่าว’ ช่องทางที่ให้ความช่วยเหลือแมวและสัตว์จรจัดมาอย่างต่อเนื่องกว่า 10 ปี เรากลับพบว่าการที่คนให้ความสนใจในการเลี้ยงสัตว์มากขึ้นแต่ขาดความเข้าใจและความรับผิดชอบ ก็เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้เกิดสัตว์จรจัดไม่ต่างจากในอดีต แถมยังเพิ่มมากขึ้นด้วยซ้ำในช่วงโรคระบาด จากสาเหตุนี้เอง ทำให้ Catster by Kingdomoftigers หรือที่เรียกกันง่ายๆ ว่าบ้านพักพิงแมวจร ที่รับดูแลตั้งแต่การปรับนิสัย ปรับพฤติกรรม รักษาสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตของแมวเพื่อรอการหาบ้าน มีแมวจรจัดต่อคิวเข้าอยู่เป็นจำนวนมาก “ปัจจุบันคนรักสัตว์มีเยอะขึ้น แต่คนที่ไม่รักและมองว่าสัตว์ไม่ควรได้รับความช่วยเหลือก็ยังมีอยู่ เราอยากให้คนมีความรู้เกี่ยวกับแมวจรมากขึ้น เพราะเวลาสัตว์เป็นอะไรนิดๆ หน่อยๆ คนจะเริ่มกังวลและไม่ดูแล เอาไปทิ้งก็เยอะ” จากเพจ ‘ทูนหัวของบ่าว’ กลายมาเป็น ‘Catster by Kingdomoftigers’ ได้อย่างไร จุดเริ่มต้นของ Catster by Kingdomoftigers มาจากการที่เราทำเพจทูนหัวของบ่าวมาประมาณ 10 กว่าปี และพบว่าแม้เราจะพยายามช่วยเหลือสัตว์จรจัด […]

เส้นทางสู่ความมั่นคงทางอาหารของภาคใต้ ให้ผู้คนกินดี อยู่ดี ชีวิตเป็นสุขจังฮู้

เมื่อพูดถึง ‘ภาคใต้’ หลายคนคงนึกถึงดินแดนที่อุดมไปด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติ ภูมิประเทศที่ขนาบสองฝั่งด้วยทะเลอ่าวไทยและอันดามัน ภาคการเกษตรที่ปลูกพืชเศรษฐกิจอย่างยางพาราและปาล์มมากที่สุดในไทย รวมไปถึงบรรดาอาหารปักษ์ใต้ที่ใครได้ลิ้มลองก็ต้องติดใจ เพราะรสชาติทั้งเผ็ด กลมกล่อม และจัดจ้านเป็นเอกลักษณ์แบบสุดๆ แต่รู้หรือไม่ว่า เบื้องหลังความอุดมสมบูรณ์ที่ทุกคนเห็น ภาคใต้เองก็มีปัญหาใต้พรมอย่าง ‘วิกฤตขาดแคลนอาหาร’ และ ‘อาหารไม่ปลอดภัย’ ซ่อนอยู่มานานหลายปี ซึ่งทำให้ชาวใต้จำนวนมากประสบปัญหาสุขภาพระยะยาว ส่วนเด็กๆ ในพื้นที่ก็ยังเผชิญภาวะทุพโภชนาการเฉียบพลันที่กระทบต่อการเจริญเติบโตทางร่างกายและการพัฒนาสมองของพวกเขาด้วย เพราะอยากให้ชาวใต้มีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ภาคีเครือข่ายหลักของภาคใต้ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม หน่วยงานท้องถิ่น นักวิชาการ โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ผ่านทางสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงได้ทำงานเพื่อพัฒนาและผลักดันประเด็นเรื่อง ‘ความมั่นคงทางอาหาร’ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการขับเคลื่อน 14 จังหวัดแห่งแดนใต้สู่ ‘ภาคใต้แห่งความสุข’ และยังได้นวัตกรรมจาก Thailand Policy Lab และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) เข้ามาช่วยแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ และกำหนดนโยบายที่ตอบโจทย์ประชาชน Urban Creature ขอพาไปหาคำตอบว่า ภาคใต้มีแนวคิดและแนวทางขับเคลื่อนเรื่องระบบอาหารอย่างไร เพื่อให้ประชาชนอยู่ดี กินดี มีความสุข และเข้าถึงอาหารที่มีคุณภาพได้อย่างยั่งยืน […]

กรุงเทพฯ ติดอันดับ 5 เมือง ‘Work ไร้ Balance’ ของโลก

คุณเคยอยู่ในสถานการณ์เจองานด่วน ต้องแก้เดี๋ยวนี้! หรือโดนทักไลน์มาตอนสามทุ่ม ช่วยทำงานให้พี่นิดหนึ่งได้ไหม แน่นอนละว่าจังหวะนี้คงปฏิเสธไม่ได้ พร้อมเปิดคอมฯ ทำงานงกๆ จนเงยหน้ามาอีกที อ้าว! เที่ยงคืนแล้ว ทำไมเรายังไม่นอน ไม่กินข้าว และยังไม่ได้พักผ่อนเลย รู้ตัวอีกทีก็หมดวันซะแล้ว บางคนอาจจะมองว่า การทำงานหนัก ทำงานเกินเวลานิดหน่อยคงไม่เป็นไร ไม่ว่าจะที่ไหนก็เป็นกันทั้งนั้น แต่ความเป็นจริงแล้วกรุงเทพฯ ติดอันดับรั้งท้าย 5 เมืองสุดท้ายที่มี ‘Work-life Balance’ หรือเมืองที่มีความสมดุลระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิต อ้างอิงข้อมูลจาก Kisi บริษัทให้คำปรึกษาด้านการทำงานในปี 2022 โดยเก็บข้อมูลทั้งหมด 100 ประเทศทั่วโลก และกรุงเทพฯ ได้อันดับที่ 96  สำหรับอันดับที่ 1 คือ เมืองออสโล ประเทศนอร์เวย์ ได้ 100 คะแนนเต็ม อันดับที่ 2 เมืองเบิร์น ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้ 99.46 คะแนน และอันดับที่ 3 คือ เมืองเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ […]

สัตว์เลี้ยงกับนโยบายเมืองที่ต้องปรับตัว กับ จุฑามาส เบ็ญจนิรัตน์ | Unlock the City EP.08

หมาแมวไม่ได้น่ารักสำหรับทุกคน โดยเฉพาะหมาแมวจรจัดที่เป็นปัญหาเรื้อรังของเมือง เรื่องสัตว์ในเมืองไม่ใช่หัวข้อใหม่ในสังคม แต่เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันไม่จบไม่สิ้น ยิ่งในยุคที่คนฮิตเลี้ยงสัตว์เสมือนเป็นลูกคนหนึ่ง ซึ่งในขณะเดียวกันก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่เลี้ยงสัตว์ตามกระแสนิยมแล้วปล่อยสัตว์ที่เลี้ยงให้เร่ร่อน เพิ่มปริมาณสัตว์จรจนกลายเป็นปัญหาที่เพิ่มพูน  แต่เมื่อรัฐได้พยายามกำหนดนโยบาย และออกกฎการควบคุมสัตว์เลี้ยงกับสัตว์จรขึ้นมา ก็มักตามมาด้วยดราม่าใหญ่โตทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียนสัตว์เลี้ยง หรือกระทั่งวิธีการควบคุมปริมาณสัตว์จรด้วยการฉีดยาให้หลับ ยังไม่นับรวมความเข้มข้นของกฎหมายคุ้มครองสัตว์ และการนำสัตว์มาใช้ประโยชน์ ที่ประชาชนมักหยิบมาถกเถียงกันให้เห็นเนืองๆ ชวนทำความเข้าใจกับ ‘จุฑามาส เบ็ญจนิรัตน์’ อาจารย์สัตวแพทย์ประจำคลินิกพฤติกรรมสุนัขและแมว โรงพยาบาลสัตว์เล็ก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงความเป็นไปของปัญหานี้ที่ไม่เคยแก้ไขได้ในบ้านเรา ไปจนถึงการออกแบบเมืองกับนโยบายเกี่ยวกับการจัดการควบคุมสัตว์ที่ล้วนแล้วแต่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้อยู่อาศัยในเมือง ติดตามฟัง Urban Podcast ได้ทาง YouTube : https://bit.ly/3PN7rHQ Spotify : https://spoti.fi/3R2EcCp Apple Podcasts : https://apple.co/3KiDXR5 Podbean : https://bit.ly/3PJQ6PN

เพราะโลกนี้มีหลายเฉดสี! ชัชชาติสนับสนุนให้ข้าราชการ กทม. แต่งกายตามเพศวิถี ขอแค่ทำงานดีก็พอ

1 มิถุนายน 2565 ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เข้าร่วมงาน ‘Samyan Mitr Pride 100% Love เพราะความรักมีหลากหลาย’ ที่ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ เพื่อร่วมเฉลิมฉลองให้กับ ‘เดือนแห่งความภาคภูมิใจของกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ’ หรือ ‘Pride Month’ ชัชชาติให้สัมภาษณ์ภายในงานว่า การตระหนักรู้ถึงความหลากหลายทางเพศคือเรื่องสำคัญ ในอดีตสังคมอาจไม่ค่อยยอมรับเรื่องนี้ แต่ปัจจุบันโลกของเราเปลี่ยนไปแล้ว การยอมรับความหลากหลายทางเพศจะทำให้คนในสังคมมีความเข้าใจกัน ซึ่งจะนำไปสู่การยอมรับความแตกต่างเรื่องอื่นๆ มากขึ้นด้วย ที่สำคัญ ชัชชาติยังพูดถึงการยอมรับให้ข้าราชการกรุงเทพมหานครแต่งกายตามเพศวิถี โดยย้ำว่าความชอบส่วนบุคคลนั้นไม่ใช่เรื่องสำคัญ ขอให้บริการประชาชนได้เต็มที่ ทำงานให้ดี ไม่บกพร่องก็พอ เพราะเรื่องการแต่งกายเป็นแค่ส่วนประกอบเท่านั้น โดย กทม. จะต้องทบทวนกฎระเบียบปัจจุบันอีกครั้งว่ามีรายละเอียดอย่างไรบ้าง ซึ่งชัชชาติมองว่าการแต่งกายตามเพศวิถีคือเรื่องสำคัญที่ควรได้รับการสนับสนุน มากไปกว่านั้น ชัชชาติยังพูดถึงการส่งเสริมความต้องการของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ เช่น บริการด้านสาธารณสุข บริการด้านจิตวิทยา ความปลอดภัย และห้องน้ำสาธารณะ รวมไปถึงการให้ความรู้ในโรงเรียน การจัดงาน และการจัดกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ในพื้นที่ กทม. เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้สังคมเข้าใจเรื่องความหลากหลายทางเพศมากขึ้น ชัชชาติระบุว่า “ทั่วโลกยอมรับเรื่องความหลากหลายกันแล้ว ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องธรรมดาแล้ว โลกไม่ใช่ศูนย์กับหนึ่ง ไม่ใช่มีแค่ขาวกับดำ ผมคิดว่ามันมีสเปกตรัม […]

รัฐแจกถุงยาง-ยาคุมฟรี ม.เชียงใหม่มีสวัสดิการผ้าอนามัยฟรี ก้าวใหม่ของสุขอนามัยทางเพศไทย

เมื่อไม่นานมานี้ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้ประกาศแจกยาคุมกำเนิดและถุงยางอนามัยฟรี รวมถึงเพิ่มจุดบริการให้ประชาชนเข้าถึงง่าย เพื่อเป็นสิทธิประโยชน์ด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค  รายละเอียดการแจกยาคุมกำเนิดคือ ยาคุมกำเนิดที่แจกเป็นยาชนิดเม็ดรับประทาน ให้บริการแก่หญิงไทยอายุ 15 – 59 ปี โดยผู้รับบริการมารับยาได้ครั้งละไม่เกิน 3 แผง คนละไม่เกิน 13 แผง/ปี ด้วย 2 วิธีการคือ จองผ่านบริการเสริมสร้างสุขภาพ เมนูกระเป๋าสุขภาพ ในแอปพลิเคชัน ‘เป๋าตัง’ แล้วเลือกหน่วยบริการที่จะไปรับ หรือให้แสดงบัตรประชาชนเพื่อขอรับยาคุมกำเนิด ที่หน่วยบริการสุขภาพที่ร่วมโครงการ ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ส่วนถุงยางอนามัย ให้บริการแก่คนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป รับบริการได้ครั้งละ 10 ชิ้น/สัปดาห์ รอบการแจก 7 วัน รับได้ 1 ครั้ง ไม่จำกัดจำนวนถุงยาง/คน/ปี วิธีการคือ Add Line สปสช. (@nhso) แล้วสแกน QR Code ในหน่วยบริการที่เข้าร่วมโครงการแจกถุงยางอนามัย […]

Park-PFI โปรเจกต์ดิ้นรนหาสเปซสีเขียวของญี่ปุ่น เกาะพื้นที่ไม่มากแต่ประชากรหนาแน่นมาก

รู้จัก Park-PFI โครงการที่รัฐบาลญี่ปุ่นจับมือกับภาคเอกชนเสริมสวยสวนสาธารณะเพื่อสร้างที่สีเขียวให้กระตุ้นเศรษฐกิจในนัดเดียว

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.