‘The new form of imprisonment’ ธีสิสทัณฑสถานเปิดในแนวตั้ง ที่อยากให้นักโทษและคนทั่วไปใช้พื้นที่ร่วมกัน

จะเป็นอย่างไรถ้ามีสถานที่หนึ่งที่เปิดให้ ‘นักโทษ’ และ ‘บุคคลทั่วไป’ ได้ทำกิจกรรม ในพื้นที่เดียวกัน เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยให้นักโทษปรับตัวเข้ากับสังคมภายนอก ก่อนที่จะถูกปล่อยตัวตามกำหนดเวลา เป็นระยะเวลาเกือบ 1 ปีเต็มๆ ที่ ‘บีม-ธัญลักษณ์ ตัณฑรัตน์’ อดีตนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร ปลุกปั้นธีสิสจบของตัวเองในชื่อ ‘การคุมขังรูปแบบใหม่ของทัณฑสถานไทย (The new form of imprisonment)’ จุดประสงค์คือต้องการทำให้คนในสังคมเข้าใจและเปิดใจให้นักโทษที่กำลังจะพ้นโทษมากขึ้น ผ่านสถาปัตยกรรมที่จะมาควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ จากการศึกษาว่าระบบของเรือนจำมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ต้องขังอย่างไร และการกักขังแบบไหนที่จะทำให้นักโทษได้เรียนรู้การใช้ชีวิต ไม่ถูกลืมจากคนภายนอก และไม่กลับไปกระทำผิดซ้ำเมื่อพ้นโทษ คอลัมน์ Debut ชวนไปดูจุดตั้งต้นของธีสิสนี้ และค้นหาพร้อมกันว่า การออกแบบสถาปัตยกรรมจะเข้ามามีบทบาทในการควบคุมพฤติกรรมและช่วยเหลือผู้ต้องขังให้ได้ทดลองใช้ชีวิตก่อนออกสู่สังคมภายนอกได้อย่างไร ทัณฑสถานไทยไม่เอื้อต่อการกลับตัว “ธีสิสนี้เป็นการออกแบบเรือนจำให้เหมาะกับนักโทษที่เตรียมการก่อนปล่อยตัวออกสู่สังคม เพราะจากการหาข้อมูลเราพบว่า สาเหตุหนึ่งที่นักโทษกลับไปทำผิดซ้ำๆ เนื่องจากหลังการพ้นโทษผู้ต้องขังไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมที่เปลี่ยนไปได้” บีมเล่าให้เราฟังว่า ก่อนหน้าที่จะทำธีสิสนี้ เธอมีความสนใจเกี่ยวกับสถาปัตย์และการออกแบบที่สามารถเข้ามากำหนดและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของมนุษย์อยู่แล้ว และเพื่อทำให้ฟังก์ชันของการออกแบบที่ช่วยควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์เห็นภาพได้ชัดขึ้น เธอจึงเลือกทำธีสิสในรูปแบบของ ‘ทัณฑสถาน’ หรือ ‘เรือนจำ’ หลังจากพบว่าในปี 2562 มีปริมาณนักโทษที่กลับมากระทำผิดซ้ำภายใน 1 ปีมากที่สุดถึง 21,187 คน […]

ร่วมลงชื่อเรียกร้องให้ศาลยืนข้างประชาชน พิจารณาคดีการเมืองตามหลักรัฐธรรมนูญ และอนุญาตปล่อยตัวผู้ต้องหา 112 ชั่วคราว

26 พฤษภาคม 2565 ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก มีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัว ตะวัน-ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ นักกิจกรรมกลุ่มทะลุวังวัย 20 ปี ผู้ต้องหาคดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 โดยมีกำหนดระยะเวลา 1 เดือน พร้อมเงื่อนไข 5 ข้อ หลังจากที่ตะวันอดอาหารประท้วงความยุติธรรมมานานถึง 37 วัน จนร่างกายอยู่ในสภาพย่ำแย่ ทั้งนี้ ตะวันควรได้รับการปล่อยตัวตั้งแต่ 37 วันที่แล้ว โดยปราศจากการวางเงื่อนไขที่ลิดรอนเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นรวมไปถึงการเดินทาง เนื่องจากรัฐธรรมนูญระบุไว้ว่า การควบคุมหรือคุมขังผู้ต้องหาหรือจำเลย ให้กระทำได้เพียงเท่าที่จำเป็น เพื่อป้องกันไม่ให้มีการหลบหนี ผู้ต้องหาทุกคนมีสิทธิได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว ซึ่งเป็นหลักแม่บทในเรื่องการประกันตัวผู้ต้องหาในทุกคดี สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) เปิดเผยสถิติที่ชี้ให้เห็นว่า สำหรับคดีอื่นๆ ประเทศไทยใช้หลักการตามรัฐธรรมนูญเป็นส่วนใหญ่ โดยมอบสิทธิ์ในการประกันตัวให้ผู้ต้องหาถึง 90 เปอร์เซ็นต์ของคดีทั้งหมด รวมถึงการให้ประกันตัวในคดีข่มขืนของ ปริญญ์ พานิชภักดิ์ ก็เกิดขึ้นเพราะเจ้าหน้าที่ใช้หลักการนี้เช่นกัน แต่สำหรับคดีที่เกี่ยวข้องกับ ม.112 กลับไม่เป็นไปตามหลักการดังกล่าว และปัจจุบันยังมีผู้ต้องหาทางการเมืองอีก 10 คนที่ยังอยู่ในเรือนจำและยังไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว เพราะเหตุนี้จึงทำให้หลายคนตั้งคำถามกลับไปยังต้นทางแห่งความยุติธรรมอย่างองค์กรศาลหรือผู้พิพากษา ที่ควรรักษาความยุติธรรมและเป็นที่พึ่งให้ประชาชน การที่ประชาชนถูกตั้งข้อหาว่ากระทำผิด […]

‘คุก’ พื้นที่ไร้สิทธิที่ไม่เคยเป็นส่วนหนึ่งของเมืองในมุมมอง ‘รุ้ง ปนัสยา’

รุ้ง-ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล แกนนำนักศึกษาหญิงจากแนวร่วมธรรมศาสตร์ฯ ถูกจองจำในเรือนจำมาแล้ว 3 ครั้ง ส่วนอีก 1 ครั้งหลังคือ การใส่กำไล EM จำกัดพื้นที่ในเคหสถาน ถ้าย้อนกลับไปเกือบสามปีก่อน เราคงจินตนาการไม่ออกเลยว่าการเรียกร้องประชาธิปไตยจะมาไกลและมีการพูดถึงปัญหาตรงไปตรงมาอย่างในตอนนี้ แต่การกล้าตั้งคำถาม การเสนอแนวทางให้สถาบันปรับตัว และการขับไล่เผด็จการ ก็ต้องแลกมาด้วยพันธนาการผู้เรียกร้องครั้งแล้วครั้งเล่า  จากการติดตามข่าวคราวของรุ้งและแกนนำคนอื่นๆ ช่วงที่อยู่ในเรือนจำ เราสังเกตเห็นว่าข่าวเหล่านี้ถูกเล่าในวงจำกัด มีการนำเสนอเฉพาะกลุ่มบนโซเชียลมีเดีย จากบุคคลหรือสำนักข่าวเจ้าเดิมๆ ส่วนสื่อกระแสหลัก หรือสื่ออนุรักษนิยม เราไม่เคยได้รับข้อมูลที่ตีแผ่ความเป็นจริงส่วนนี้เลย ช่วงเกือบสิ้นปีที่แล้ว ก่อนรุ้งเข้าเรือนจำเป็นครั้งที่สาม เราถามเธอ จากข้อสังเกตส่วนตัวว่า คิดยังไงที่ ‘ทัณฑสถาน’ หรือ ‘คุก’ เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของเมืองที่แทบไม่เคยถูกพูดถึง และแน่นอน มันเป็นพื้นที่ลับแลที่คนส่วนหนึ่งไม่แยแสว่ามีปัญหามากมายสะสม นั่นหมายถึงคุณภาพชีวิตต่ำเตี้ยเรี่ยดินของผู้ต้องขังที่ไม่เคยถูกยกระดับ และกระบวนการยุติธรรมบิดเบี้ยวที่ไม่เคยได้รับการแก้ไข คุก : พื้นที่ห่างไกลเมืองและศิวิไลซ์  “คุก ส่วนใหญ่อยู่ไกลจากพื้นที่ชุมชน โดยเฉพาะคุกที่เกิดขึ้นใหม่ หรือคุกในต่างจังหวัด เพื่อให้ตั้งอยู่ไกลจากเมือง และเพื่อให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่ เขาคงไม่อยากให้คุกอยู่ในชุมชน แต่ถ้าคุกอยู่ไกลชุมชนมากๆ ก็จะทำให้ผู้ต้องขังลำบากมาก เพราะทนายความและญาติไปเยี่ยมได้ยาก สิ่งนี้สำคัญต่อผู้ต้องขังมาก ถ้าขาดตัวกลางนี้ไปก็แปลว่าคนข้างในจะไม่ได้รู้เรื่องข้างนอกเลย “มันจะทำให้คนข้างในมีความเครียดสูงขึ้นมากๆ […]

Anstalten ดีไซน์เรือนจำให้เป็นมิตร เพื่อเยียวยาผู้ต้องขังกลับสู่สังคม

Schmidt Hammer Lassen (SHL) ออกแบบ ‘Anstalten’ เรือนจำที่มีความปลอดภัยสูงสุดในเกาะกรีนแลนด์ให้เหมือนหมู่บ้านขนาดย่อมที่รองรับนักโทษได้ 76 คน

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.