แกะรหัสความเกรงใจ และมุมมองความเป็นไทยของ Phum Viphurit จากอัลบั้ม The Greng Jai Piece

Darling, I got my trust issues. เสียงร้องอันเป็นเอกลักษณ์จากชายหนุ่มรูปร่างสูงโปร่ง ขณะเดินจีบสาวริมชายหาด พร้อมด้วยรอยยิ้มนักรักของ ‘Lover Boy’ เมื่อหลายคนได้ยินเพลงนี้คงเผลอโยกตัวเบาๆ ด้วยดนตรีจังหวะ Medium พลางสงสัยว่าศิลปินคนนี้คือใคร แต่เมื่อเลื่อนลงไปอ่านชื่อกลับยิ่งน่าสนใจกว่าเดิม เมื่อเพลงสากลที่มีทำนองและเนื้อร้องอย่างตะวันตก กลับเป็นฝีมือของศิลปินชาวไทยชื่อ ‘Phum Viphurit’ ทันทีที่เพลง Lover Boy ถูกปล่อยสู่โลกดนตรี การออกทัวร์ต่างประเทศนับครั้งไม่ถ้วนของภูมิก็เริ่มต้นขึ้น เขากลายเป็นศิลปินอินดี้ที่น่าจับตามองในระดับสากลอย่างที่คนไทยไม่เคยมีมา ทั้งการได้เล่นในเทศกาลดนตรีระดับโลก หรือการคอลแลบกับศิลปินต่างประเทศชื่อดังมากมาย แต่นี่ก็ผ่านมาแล้ว 6 ปี หลังจากความสำเร็จของ Lover Boy มีการเปลี่ยนแปลงและเติบโตผ่านประสบการณ์มากมายจากเส้นทางดนตรีที่ชายหนุ่มเก็บเกี่ยวเรียนรู้ สบโอกาสพอดีกับที่เขายังไม่ได้ข้ามประเทศไปไหน เราจึงชวนภูมิมาพูดคุยถึงมุมมองความแตกต่างของวงการดนตรีในไทยกับต่างประเทศ ชีวิตของศิลปินในยุคโซเชียล และการตั้งคำถามถึงความเป็นไทยที่เขาตีความออกมาเป็นความเกรงใจจากอัลบั้มล่าสุด The Greng Jai Piece เด็กชายภูมิที่เติบโตในต่างวัฒนธรรม อย่างที่หลายคนทราบว่า ภูมิเกิดและเติบโตในไทย จนเมื่ออายุ 9 ขวบ เขาย้ายไปอยู่ที่ประเทศนิวซีแลนด์ตั้งแต่ปี 2005 – 2013 เพราะคุณแม่ได้งานที่เมืองเล็กๆ ชื่อ […]

จากราชบุรีถึงอเมริกา ฟังเสียงเพลงจากชีวิตของ ‘ราม-เอกศักดิ์ ชานาง’ วง Selina and Sirinya

“ถ้าจังหวะมันไม่ได้ก็แค่พักไว้ก่อนและฝึกฝนไปด้วย ชีวิตต้องมีรายได้ และค่าใช้จ่ายต่างๆ ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องจัดการ แต่ถ้าเวลาผ่านไปแล้วเราไม่ทำสิ่งที่รัก แน่นอนว่ามันย้อนกลับไปไม่ได้ ทุกวันคือต้องทำ ยิ่งทำก็ยิ่งก่อตัว “เราอยากให้เพลงที่ทำช่วยเยียวยาคนอื่น เป็นส่วนหนึ่งในความสร้างสรรค์ที่ให้แรงบันดาลใจ และส่งเสริมสังคมให้ดีขึ้น” ‘ราม-เอกศักดิ์ ชานาง’ ครองตนเป็นศิลปินมาจนถึงปัจจุบันในวัย 39 ปี เริ่มตั้งแต่เขาเติบโตเล่าเรียนในบ้านเกิดที่จังหวัดราชบุรี พอย่างเข้าวัยรุ่นก็เรียนที่ช่างศิลปสุพรรณ และไปเป็นเด็กวิจิตรศิลป์ที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในช่วงมหาวิทยาลัย ช่วงเวลานี้เองที่เขาได้พบรักกับสองสิ่ง หนึ่งคือ Selina (เซลิน่า) แบ็กแพ็กเกอร์สาวชาวอเมริกันที่มาเที่ยวที่ไทย สองคือ วงดนตรีที่ร่วมสร้างขึ้นมากับเพื่อนซี้สุดซัดมาด ‘เอ๊ะ-นที ศรีดอกไม้’ ในนาม Selina and Sirinya จากการพบรักก่อตัวเป็นสิ่งที่รัก ชีวิตศิลปินของรามได้ออกเดินทางครั้งใหญ่ เขาโยกย้ายไปอยู่กับครอบครัวที่มีภรรยาและลูกอีกสองคนที่ประเทศอเมริกาเป็นเวลาสิบกว่าปี เดือนไหนที่อาชีพคนสวนในฟาร์มกัญชาของเขาสามารถหยุดงานได้ รามจะพาครอบครัวบินกลับมาที่ไทย และใช้ชีวิตออกทัวร์เล่นดนตรีกับเพื่อน  เรานึกถึงบทสนทนาข้ามทวีปในช่วงสิ้นปีที่ได้คุยกับราม ถึงจุดเริ่มต้นของการไปใช้ชีวิตอยู่ในอเมริกา เรื่องราวเหล่านั้นประกอบด้วยงานเพลง ความฝัน ความนึกคิด ความเป็นศิลปิน รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงของเมืองที่เขาอาศัยอยู่ เนื่องในเดือนกุมภาพันธ์นี้ วง Selina and Sirinya กำลังมีทัวร์เปิดอัลบั้มสามที่กรุงเทพฯ คอลัมน์ Think Thought […]

@modernbiology ชายผู้สร้างเสียงดนตรีจากพืช เพื่อระดมเงินปกป้องผืนป่า

ในสมัยเด็ก เวลาเราเล่นเลียนเสียงธรรมชาติกัน เสียงที่เลียนแบบได้ง่ายๆ คงหนีไม่พ้นเสียงของสัตว์ต่างๆ หรือถ้าเป็นเสียงลมก็ยังพอจะนึกออกทำได้อยู่บ้าง แต่ถ้ามีใครบอกให้ทำเสียง ‘เห็ด’ ‘ใบไม้’ หรือ ‘แตงโม’ เราคงขมวดคิ้วไปสักพักใหญ่ ว่าสิ่งเหล่านี้มีเสียงกับเขาด้วยหรือ? สำหรับคนทั่วไป พืชเหล่านี้อาจจะไม่มีเสียง แต่สำหรับ Tarun Nayar อดีตนักชีววิทยาที่ผันตัวมาเป็นนักดนตรี ไม่ว่าจะเป็นพืชชนิดไหนก็มีเสียงด้วยกันทั้งนั้น เพราะเขาสามารถดึงเอาเสียงเพลงออกมาจากธรรมชาติเหล่านี้ได้ด้วยการเสียบอุปกรณ์ผ่านเครื่องสังเคราะห์เสียง (Synthesizer) เข้ากับพืช ผัก และผลไม้ที่เขาต้องการ อาทิ เห็ด ต้นกระบองเพชร ใบเฟิร์น ลูกเบอร์รี หรือแม้กระทั่งผลมะม่วงสุก จนได้ออกมาเป็นเพลงให้พวกเราได้ฟังกัน โดยการดึงเอาเสียงออกมาไม่ใช่การที่พืชสร้างเสียงเพลงขึ้นมาได้เอง แต่ Tarun Nayar ใช้การเคลื่อนที่ของน้ำภายในพืชเหล่านั้นในการสร้างเป็นโน้ตเพลงที่แตกต่างกันออกไปขึ้นมา และเรียกสิ่งนี้ว่า ‘Environmental Music’  ไม่ใช่แค่การค้นพบหรือมอบสิ่งที่แปลกใหม่ให้ผู้คนฟังเท่านั้น แต่ Tarun Nayar มีเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่กว่านั้นในการตั้งมั่นตั้งใจที่จะทำหน้าที่ปกป้องผืนป่าที่ให้เสียงดนตรีกับเขาด้วย “ผมกำลังพยายามควบคุมพลังงาน ความสนใจ ความตระหนัก และเงินทุนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้จากโครงการนี้ เพื่อปกป้องพื้นที่ป่า” Tarun Nayar กล่าว และสำหรับใครที่สงสัยว่าเสียงจากพืชมีลักษณะเป็นอย่างไร สามารถเข้าไปฟังเพลงที่สร้างจากเสียงของธรรมชาติได้อย่างใกล้ชิดมากขึ้นผ่านแอ็กเคานต์ TikTok […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.