Urban Regeneration of Hat Yai Inner City ธีสิสฟื้นฟูเมืองหาดใหญ่ สร้างย่านเศรษฐกิจใหม่จากพื้นที่เดิม

‘หาดใหญ่’ เปรียบเสมือนเมืองหลวงของภาคใต้ที่มีพหุวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของผู้คนที่หลากหลาย เนื่องด้วยเป็นชุมทางรถไฟสายใต้ที่มีพื้นที่ติดต่อค้าขายกับประเทศมาเลเซีย แต่ปัจจุบันเมืองท่าแห่งนี้กลับเงียบเหงากว่าอดีตมาก หลังจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 เมื่อหลายปีที่ผ่านมา เพราะมีการปิดพรมแดนระหว่างไทย-มาเลเซีย ซึ่งถือเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในพื้นที่ ด้วยเหตุนี้ ‘เกรท-กมลฉัตร ชื่นจิตต์ศิริ’ อดีตนิสิตภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เกิดและเติบโตในพื้นที่หาดใหญ่ ตัดสินใจทำธีสิส ‘Urban Regeneration of Hat Yai Inner City’ ออกแบบพื้นที่ไฮไลต์ในตัวเมืองหาดใหญ่ใหม่ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในบ้านเกิดให้กลับมาคึกคักอีกครั้ง คอลัมน์ Debut ชวนทุกคนนั่งรถไฟลงใต้ ไปสำรวจความเป็นไปได้ของการพัฒนาเมืองที่ใหญ่ที่สุดในภาคใต้ผ่านธีสิสของลูกหลานหาดใหญ่คนนี้กัน จุดเริ่มต้นการฟื้นฟูของหาดใหญ่ “เราโตมากับหาดใหญ่ พอได้ทำธีสิสเลยเลือกพื้นที่ตรงนี้มาพัฒนา เพราะเห็นว่าปัจจุบันตัวเมืองค่อนข้างเงียบเหงา ซึ่งเรามองว่าหาดใหญ่สามารถไปได้ไกลกว่านี้” เกรทเล่าถึงความตั้งใจในการทำธีสิส โดยยึดจากปัญหาที่พบในบ้านเกิดของเธอเอง เดิมทีหาดใหญ่ได้รับความเจริญจากการเข้ามาของ ‘สถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่’ ที่แบ่งการเดินทางแยกออกเป็น 2 สาย คือ ปลายทางสถานีรถไฟสุไหงโก-ลก และปลายทางเมืองบัตเตอร์เวิร์ท ประเทศมาเลเซีย นอกจากนี้ยังมีท่าอากาศยานหาดใหญ่ ที่ทำให้เมืองนี้มีบทบาทเป็นพื้นที่จุดศูนย์กลางการเดินทาง ควบตำแหน่งเมืองการค้าที่สำคัญเนื่องจากติดกับชายแดน แหล่งรวมความหลากหลายทางวัฒนธรรมของชุมชนคนไทย จีน และมุสลิม ที่ตั้งรกรากอยู่ในพื้นที่ มากไปกว่านั้น ทางเทศบาลนครหาดใหญ่ยังมีการวางแผนสร้างระบบ ‘รถไฟฟ้ารางเดี่ยว’ […]

‘เฮ็ดหยังอยู่’ โปรเจกต์จดหมายเหตุกรุงเทพฯ ในหัวข้อฉูดฉาด ‘สวัสดี ข้นE-3’

มีใครสงสัยเหมือนเราบ้างว่า ทำไมในกรุงเทพฯ ถึงมีร้านส้มตำอยู่ทุกหัวมุมถนน ทุกหนแห่ง แค่นึกอยากจะกินก็มีให้เลือกอยู่ในรัศมีไม่เกิน 5 กิโลเมตรจากที่ที่เราอยู่เสมอ ทำไมเนื้อหาของละครทีวีช่วงค่ำยุคปัจจุบันถึงได้เปลี่ยนจากเซตติงที่เป็นคุณหญิงคุณชายในรั้ววัง มาเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับคณะหมอลำซึ่งมีฉากหลังเป็นทุ่งนาต่างจังหวัดกันมากขึ้น มากไปกว่านั้นคือตัวละครทั้งหมดล้วนพูดภาษาถิ่นอีสานกันทั้งหมด ทั้งที่ฉายไปทั่วประเทศ ขยับเข้ามาในระดับที่แคบขึ้นอีกนิด ทำไมคนขับแท็กซี่มักเป็นคนร้อยเอ็ด ทำไมนางแจ๋วในละครถึงต้องเป็นคนอีสาน ทำไมถึงมีคำศัพท์ใหม่อย่าง ‘v้นE-3’ แพร่หลายเป็นมุกตลกทั่วไปของเด็กรุ่นใหม่บางกลุ่ม จนกลายเป็นชนวนของการทะเลาะใหญ่โตบนโลกอินเทอร์เน็ตอย่างไม่มีที่สิ้นสุด วันเวลาผ่านไป ตั้งแต่ยุคที่คนกุลายังร้องไห้ จนมีลูกหลานเป็นสาวน้อยหัวใจติดดิน สวมกางเกงยีนส์เก่าๆ ใส่เสื้อตัว 199 มุ่งหน้าไปสู่การเป็นนางเอกละครเย็นในช่วงเรตติงดีที่สุด ประดับซับไตเติลเป็นภาษาไทยกลาง เพราะเว้าภาษาอีสานกันทั้งเรื่อง เกิดอะไรขึ้นกับคนอีสานอพยพใน ค.ศ. 2022 ตามมาเบิ่งปรากฏการณ์นี้ในหนังสือ ‘เฮ็ดหยังอยู่’ ธีสิสจบการศึกษาของ ‘ข้าวตัง-ศศิตา มณีวงษ์’ นักศึกษาคณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ ภาควิชานิเทศศิลป์ สาขาวิชานิเทศศิลป์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กันแหน่เด้อ เฮ็ดหยังอยู่ ก่อนจะพูดถึงโปรเจกต์ที่ช่วยไขสารพัดข้อสงสัยเรื่องคนอีสานอพยพ เราขอย้อนความก่อนว่า ศศิตาหรือผู้เขียนบทความนี้เป็นเด็กกรุงเทพฯ ที่มีตาเป็นคนอำนาจเจริญ และยายเป็นคนสุรินทร์ เติบโตมากับเรื่องเล่าของการถูกปลิงกัดเมื่อดำนา การซักผ้าด้วยขี้เถ้า และการเดินเท้าเกือบสิบกิโลเพื่อไป-กลับโรงเรียน ตายายหยิบเอาเรื่องราวการดำรงชีวิตอยู่ในอำเภอห่างไกลความเจริญเมื่อห้าสิบปีก่อนมาใช้แทนนิทานเรื่องเจ้าหญิงต่างๆ ก่อนจะเข้านอนทุกคืน ในวัยนั้นเราต้องยอมรับว่าเรื่องที่ทั้งคู่เล่าสนุกกว่านิทานพวกนั้นมาก แล้วจะมีเหตุผลอะไรที่เราจะไม่บันทึกมันไว้เมื่อยังมีโอกาส ไม่มีใครทราบได้ว่าโอกาสนั้นกลับมาอีกครั้งในรูปแบบของการศึกษาศิลปะ […]

‘The new form of imprisonment’ ธีสิสทัณฑสถานเปิดในแนวตั้ง ที่อยากให้นักโทษและคนทั่วไปใช้พื้นที่ร่วมกัน

จะเป็นอย่างไรถ้ามีสถานที่หนึ่งที่เปิดให้ ‘นักโทษ’ และ ‘บุคคลทั่วไป’ ได้ทำกิจกรรม ในพื้นที่เดียวกัน เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยให้นักโทษปรับตัวเข้ากับสังคมภายนอก ก่อนที่จะถูกปล่อยตัวตามกำหนดเวลา เป็นระยะเวลาเกือบ 1 ปีเต็มๆ ที่ ‘บีม-ธัญลักษณ์ ตัณฑรัตน์’ อดีตนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร ปลุกปั้นธีสิสจบของตัวเองในชื่อ ‘การคุมขังรูปแบบใหม่ของทัณฑสถานไทย (The new form of imprisonment)’ จุดประสงค์คือต้องการทำให้คนในสังคมเข้าใจและเปิดใจให้นักโทษที่กำลังจะพ้นโทษมากขึ้น ผ่านสถาปัตยกรรมที่จะมาควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ จากการศึกษาว่าระบบของเรือนจำมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ต้องขังอย่างไร และการกักขังแบบไหนที่จะทำให้นักโทษได้เรียนรู้การใช้ชีวิต ไม่ถูกลืมจากคนภายนอก และไม่กลับไปกระทำผิดซ้ำเมื่อพ้นโทษ คอลัมน์ Debut ชวนไปดูจุดตั้งต้นของธีสิสนี้ และค้นหาพร้อมกันว่า การออกแบบสถาปัตยกรรมจะเข้ามามีบทบาทในการควบคุมพฤติกรรมและช่วยเหลือผู้ต้องขังให้ได้ทดลองใช้ชีวิตก่อนออกสู่สังคมภายนอกได้อย่างไร ทัณฑสถานไทยไม่เอื้อต่อการกลับตัว “ธีสิสนี้เป็นการออกแบบเรือนจำให้เหมาะกับนักโทษที่เตรียมการก่อนปล่อยตัวออกสู่สังคม เพราะจากการหาข้อมูลเราพบว่า สาเหตุหนึ่งที่นักโทษกลับไปทำผิดซ้ำๆ เนื่องจากหลังการพ้นโทษผู้ต้องขังไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมที่เปลี่ยนไปได้” บีมเล่าให้เราฟังว่า ก่อนหน้าที่จะทำธีสิสนี้ เธอมีความสนใจเกี่ยวกับสถาปัตย์และการออกแบบที่สามารถเข้ามากำหนดและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของมนุษย์อยู่แล้ว และเพื่อทำให้ฟังก์ชันของการออกแบบที่ช่วยควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์เห็นภาพได้ชัดขึ้น เธอจึงเลือกทำธีสิสในรูปแบบของ ‘ทัณฑสถาน’ หรือ ‘เรือนจำ’ หลังจากพบว่าในปี 2562 มีปริมาณนักโทษที่กลับมากระทำผิดซ้ำภายใน 1 ปีมากที่สุดถึง 21,187 คน […]

‘เมืองลิง’ ออกแบบเมืองเก่าลพบุรี สร้างเมืองใหม่ให้ลิง เพื่อการอยู่ร่วมกันของคนและสัตว์ป่า

ปี 2499 อันธพาลครองเมือง ส่วนปี 2564 ลิงครองเมืองลพบุรี  เหตุการณ์วันนั้นเกิดขึ้นที่สี่แยกไฟแดงกลางเมือง บริเวณถนนรอบพระปรางค์สามยอด-หน้าศาลพระกาฬ แลนด์มาร์กสำคัญของจังหวัดลพบุรี  จ่าฝูงแก๊งลิงพระปรางค์สามยอดยกพวกจำนวนมากปีนรั้วลงถนน ทางด้านลิงจากฝั่งธนาคารออมสินและลิงถิ่นตลาด ก็ยกพวกทั้งหมดวิ่งกรูเข้ามาเตรียมเข้าปะทะกันท่ามกลางสายตาของชาวบ้านและนักท่องเที่ยว เสียงดังอื้ออึงมาจากเสียงกรีดร้องเจ็บปวด เสียงตะโกนสร้างความฮึกเหิม รวมถึงเสียงบีบแตร เบิ้ลเครื่องยนต์ของชาวเมือง สงครามวานรครั้งนั้นทำให้ ตาต้า-ชญตา ลีวงศ์เจริญ นิสิตปริญญาตรีภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเรื่องขำกลิ้งลิงกับเมืองที่มีความตลกร้ายแฝงอยู่บนปัญหาระดับวิกฤตที่ยังหาทางแก้ไม่ตก มาใช้เป็นสารตั้งต้นกำหนดหัวข้อธีสิสที่ชื่อว่า ‘โครงการบูรณะพื้นที่เมืองเก่าลพบุรี เพื่อการอยู่ร่วมกันของคนและสัตว์ป่า’ ในวันที่สงครามสงบลงแล้ว เราอยากพาไปดูหนึ่งในไอเดียการแก้ปัญหาลิงครองเมืองลพบุรี เพื่อที่อนาคตจะได้ไม่เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นอีก แถมคนกับสัตว์อาจอยู่ร่วมกันในเมืองได้อย่างสันติ เรื่องมันเริ่มมาจากลิง ปัญหาใหญ่และหนักสุดระดับวิกฤตของจังหวัดลพบุรีคือ ‘ลิง’ เพราะจำนวนของพวกมันที่เพิ่มมากขึ้นในแต่ละปีเป็นเรื่องที่ควบคุมได้ยาก ปัจจัยหลักๆ คือการที่มนุษย์หยิบยื่นอาหารให้ลิงจนเป็นเรื่องปกติ ทำให้เดิมทีลิงที่หากินเองออกลูกได้ปีละตัว กลับออกลูกได้สองตัวต่อปี ปัญหาที่ตามมาจากการเพิ่มจำนวนดังกล่าวคือเจ้าหน้าที่จับลิงมาทำหมันได้ยากขึ้น ชาวบ้านบางคนถึงกับบอกว่า “ลิงมันสื่อสารกันรู้เรื่อง มันหนีทันตลอด” ปีนี้ผลสำรวจพบว่า ชุมชนลิงในเมืองลพบุรีมีจำนวนถึงห้าพันกว่าตัว และคาดว่าในอีกห้าปีข้างหน้าน่าจะขยายเผ่าพันธุ์เพิ่มอีกเป็นหมื่นๆ ตัว  ตาต้าเล่าว่า ลิงเป็นสัตว์สังคมไม่ต่างจากมนุษย์ มีการจับกลุ่ม รวมแก๊ง แบ่งก๊กเป็น 7 พวกหลักๆ แบ่งเป็น 3 […]

Once Upon a Book ธีสิสร้านเช่าหนังสือออนไลน์ที่ให้ใครก็ได้มาปล่อยเช่า

กาลครั้งหนึ่ง ‘ร้านเช่าหนังสือ’ เคยเป็นแลนด์มาร์กที่ทำให้บางคนพบหนังสือเล่มโปรดราวกับว่าเป็นพรหมลิขิต และเป็นสถานที่อัปเดตนิยายแจ่มใส มังงะโชโจ ค้นหนังสือคลาสสิกจนมือเปื้อนหมึก คุยกับเฮียเจ้าของร้านจนได้ส่วนลด หรือเป็นแหล่งนัดเจอชาวแก๊งหลังเลิกเรียนยอดฮิต…พูดแล้วก็คิดถึง จากที่เคยเป็นพื้นที่เบาใจของนักอ่านหนังสือ เผลอแป๊บเดียวช่วงหลายปีมานี้ ราคาหนังสือสูงขึ้นสวนทางกับค่าครองชีพที่ต่ำ ร้านเช่าหนังสือเป็นหนึ่งในฟันเฟืองที่ช่วยกระชับช่องว่างความเหลื่อมล้ำทางรายได้ และทำให้ผู้คนเข้าถึงความรู้ที่หลากหลาย กระตุ้นให้คนเข้าถึงหนังสือได้โดยไม่ต้องจ่ายราคาเต็ม ต้องปิดตัวลงเพราะเศรษฐกิจประเทศซบเซา  วันที่ไม่สามารถบอกเพื่อนได้ปุ๊บปั๊บว่า “มึง วันนี้ไปยืมหนังสือร้าน…กัน” และแทบหาร้านเช่าหนังสือใกล้บ้านได้ยาก ‘Once Upon a Book’ ธีสิสร้านเช่าหนังสือออนไลน์ของ ไข่มุก-แพรวา สุจริตกุล แพรว-พลอยไพลิน เมืองสิทธิ์ และ มายด์-รัชนนท์ สามารถ บัณฑิตวิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม เอกคอมพิวเตอร์เพื่อการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จะเป็นพื้นที่ทวงคืนเรื่องเล่ากาลครั้งหนึ่งในหนังสือให้กลับมาโลดแล่นในใจนักอ่านอีกครั้งด้วยราคาที่เอื้อมถึง ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหน คุณสามารถเลือกเช่าหนังสือได้บนเว็บไซต์ และไม่ว่าคุณจะเป็นนักสะสมหนังสือตัวยงที่ชั้นเก็บหนังสือเต็มแล้ว ร้านเช่าหนังสือออนไลน์แห่งนี้มีบริการให้คุณ และใครก็ได้มาปล่อยเช่า 01 หนอนหนังสือที่โตมากับร้านเช่าหนังสือ ไข่มุก แพรว มายด์ เป็นยอดนักอ่านที่ทุกงานเทศกาลหนังสือจะเจอพวกเธอขนหนังสือกลับบ้านอย่างต่ำ 10 เล่ม อย่างมาก 80 เล่ม จนแทบจะต้องใช้กระเป๋าลากมาช่วยขน  ‘ไข่มุก’ ชอบอ่านหนังสือเชิงปรัชญา หรืออะไรก็ได้ที่ภาษาสละสลวย […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.