Plant Workshop Cafe คาเฟ่ที่อยากเป็นพื้นที่ตัวอย่างในการอยู่กับธรรมชาติของคนเมือง

ถ้าคุณเป็นคนเมืองที่โหยหาธรรมชาติ รักการอยู่ท่ามกลางต้นไม้เป็นชีวิตจิตใจ การก้าวเข้ามาใน ‘Plant Workshop Cafe’ คาเฟ่สีเขียวซึ่งตั้งอยู่ใจกลางราชเทวีน่าจะมอบความรู้สึกสบายใจให้คุณได้ไม่น้อย เห็นคำว่าเวิร์กช็อป บางคนอาจคิดว่าที่นี่จัดเวิร์กช็อปเกี่ยวกับต้นไม้ แต่แท้จริงแล้ว ‘ต้อม-กฤษฎา พลทรัพย์’ และ ‘ออม-ดร.มนสินี อรรถวานิช’ เจ้าของคาเฟ่ตั้งใจให้ที่นี่เป็น ‘โรงปฏิบัติการ’ สำหรับคนที่ไม่ได้เชี่ยวชาญในการปลูกต้นไม้แต่ชอบปลูก ในบทบาทหนึ่ง ต้อมกับออมคือนักออกแบบสถาปัตยกรรมและอาจารย์ผู้สนใจเรื่องการสร้างพื้นที่ในเมืองให้เป็นประโยชน์ แต่พวกเขาก็เหมือนเราหลายๆ คน เป็นคนเมืองที่ต้องออกจากห้องแต่เช้า กว่าจะกลับห้องก็ค่ำ จะปลูกต้นไม้ที่ดูแลยากๆ ในห้องก็ใช่ที ในแง่หนึ่ง Plant Workshop Cafe แห่งนี้จึงเป็นพื้นที่ลองผิดลองถูกในการดูแลพืชพรรณของพวกเขา และในอีกมุม มันก็เป็นทั้งคาเฟ่ โคเวิร์กกิ้งสเปซ ที่นั่งแล้วสบายใจ พร้อมเสิร์ฟเครื่องดื่มกับอาหารราคาสบายกระเป๋า บทสนทนาของเราเกิดขึ้นที่ชั้นสองของร้าน ท่ามกลางสีเขียวของหมู่มวลต้นไม้หลากชนิด ที่นั่น เราได้ฟังเรื่องราวความสนใจที่ฝังรากลึก ไปจนถึงเป้าหมายในการสร้างพื้นที่ที่อยู่แล้วสบายใจ มากกว่านั้นคือ เป็นพื้นที่มอบแรงบันดาลใจให้คนเมืองคนอื่นๆ รู้สึกอยากปลูกต้นไม้เช่นกัน สวนหลังบ้าน “เราไม่ได้คิดทำร้านกาแฟ จริงๆ มันคือสวนหลังบ้าน” แค่ความตั้งใจแรกที่ต้อมเล่าให้ฟังก็ทำให้เราเลิกคิ้วอย่างประหลาดใจ ย้อนกลับไปก่อนหน้านี้ ต้อมกับออมได้ตึกแถวเปล่าใจกลางราชเทวีขนาดหนึ่งคูหามาตั้งแต่ก่อนโควิด-19 ระบาด พวกเขาเปิดบริษัทที่ทำงานด้านสถาปัตย์ของตัวเอง จึงเปลี่ยนชั้นสองและชั้นสามเป็นบ้านและออฟฟิศไว้ ส่วนชั้นหนึ่งที่ว่าง […]

TW w/o HM

จากหนังสือ The World Without US ได้กล่าวเอาไว้ว่า “ขอให้นึกภาพโลกที่จู่ๆ มนุษย์เราก็หายไป พรุ่งนี้เลย ทุกสิ่งทุกอย่างยังคงอยู่ตามเดิม แซะออกไปแต่มนุษย์ ลบเราออกไป แล้วดูสิ่งที่เหลืออยู่ถูกปลดปล่อยจากความเครียด ธรรมชาติจะฟื้นฟูพื้นที่เสื่อมโทรมกลับสู่สภาพสวนอีเดนอีกครั้ง” จุดเริ่มต้นของผลงานนี้มาจากสถานการณ์โลกที่เพิ่งผ่านมา พื้นที่สาธารณะต่างถูกจำกัดห้ามทำกิจกรรมเพื่อหยุดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จนทำให้ช่วงหนึ่งโลกของเราดูเหมือนไร้มนุษย์ แต่เมื่อโลกผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปได้ ฝุ่น PM 2.5 ก็เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในประเทศไทย ซึ่งมลพิษที่อันตรายไม่แพ้ไวรัสร้ายที่เพิ่งจบลง ทั้งสองสิ่งนี้ล้วนเกิดจากฝีมือมนุษย์เราที่ทำร้ายบ้านหลังนี้และตัวเราเองให้แย่ลงเรื่อยๆ ในปัจจุบันสิ่งที่เกิดขึ้นจากความรู้ของพวกเราอย่าง AI ที่กำลังเข้ามาเป็นผู้ช่วยสำคัญในการสรรค์สร้างสิ่งต่างๆ จนมีทฤษฎีที่ว่า หากเราไม่ทำความเข้าใจและจำกัดความสามารถของมัน ปัญญาประดิษฐ์จะเป็นสิ่งที่มาแทนที่พวกเราในอนาคต อีกหนึ่งเหตุผลที่ทำงานชิ้นนี้คือ ผมมีชีวิตวัยเด็กที่เติบโตมากับสวนยางของพ่อที่  อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นสถานที่ที่เงียบสงบที่สุดสำหรับผม พ่อสอนให้อยู่ร่วมกับธรรมชาติมาตลอด เพราะต้นยางเป็นทั้งร่มเงาให้หลบแดดร้อน และน้ำยางก็หล่อเลี้ยงครอบครัวผมมาตลอด จนผมได้เข้ามาใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ ที่มีแต่ตึกสูงๆ มันก็ชวนให้คิดถึงบ้านอยู่เรื่อยๆ ทว่า TW w/o HM ยังไม่ใช่ชื่ออย่างเป็นทางการของโปรเจกต์นี้ เป็นเพียงแค่ Code Name ที่เอามาจากหนังสือที่ผมใช้อ้างอิงให้กับผลงานชุดนี้ ได้แก่ The World Without US, […]

สัมผัสเสน่ห์วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และการท่องเที่ยวชุมชนแห่งแดนสตูล 

ช่วงไม่กี่ปีมานี้ ‘การท่องเที่ยวชุมชน’ เป็นอีกหนึ่งรูปแบบการท่องเที่ยวที่คนไทยให้ความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเป็นการเดินทางที่ไม่ได้ให้แค่ความสนุกหรือการพักผ่อนหย่อนใจอย่างเดียว แต่ยังเป็นการพัฒนาท้องถิ่นและส่งเสริมความยั่งยืนให้กับสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมด้วย ถึงอย่างนั้นความท้าทายสำคัญของการท่องเที่ยวประเภทนี้คือการออกแบบพื้นที่เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวและสร้างรายได้ให้กับชุมชน ขณะเดียวกันก็ต้องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรท้องถิ่น รวมถึงป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้ได้มากที่สุด คอลัมน์ Urban Guide ขอชวนทุกคนล่องใต้ไปที่อำเภอละงู จังหวัดสตูล ร่วมกับมูลนิธิเอสซีจี (SCG Foundation) เพื่อสัมผัสอีกหนึ่งเมืองรองของไทยที่การท่องเที่ยวเชิงนิเวศและการท่องเที่ยวชุมชนกำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ที่สำคัญ การจัดการแหล่งท่องเที่ยวของดินแดนชายฝั่งทะเลอันดามันแห่งนี้ยังเกิดจากความร่วมมือระหว่างเครือข่ายท้องถิ่น และเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่กลับมาพัฒนาบ้านเกิด จนหลายๆ คนกลายเป็นต้นแบบที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับคนในชุมชน ‘ต้นกล้าเป็ด’ จากนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสู่นักจัดการท่องเที่ยวชุมชน ความพิเศษของการเดินทางครั้งนี้คือ เรามีไกด์ท้องถิ่นที่พาไปสัมผัสธรรมชาติและวัฒนธรรมของสตูลตามแบบฉบับคนท้องถิ่น นั่นคือ ‘เป็ด-จักรกริช ติงหวัง’ นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ที่ตอนนี้หันมาทำงานด้านการท่องเที่ยวชุมชนอย่างเต็มตัว โดยปัจจุบันเป็ดเป็นประธานกลุ่มการท่องเที่ยวชุมชนบ้านหลอมปืน มากไปกว่านั้น เป็ดยังเป็นอีกหนึ่งตัวอย่าง ‘ต้นกล้าชุมชน’ จากโครงการ ‘Learn to Earn เรียนรู้เพื่ออยู่รอด’ แนวคิดจากมูลนิธิเอสซีจีที่ต้องการให้เด็กและเยาวชนรุ่นใหม่เรียนรู้ ปรับตัว พร้อมรับมือสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เน้นไปที่การเรียนรู้ตลอดชีวิตซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในห้องเรียนเท่านั้น เป็ดเล่าให้ฟังว่า ตัวเองเป็นลูกหลานชาวประมงที่เกิดและโตในพื้นที่อ่าวทุ่งนุ้ย บ้านหลอมปืน ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล เขาเริ่มทำงานชุมชนตามรอยพ่อในงานด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งเป็นการอนุรักษ์ระบบนิเวศเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพในระดับท้องถิ่น […]

‘EKM6’ แพลนต์เบสด์คอมมูนิตี้สเปซใจกลางเอกมัย ที่อยากให้คนเมืองได้สัมผัสธรรมชาติ และกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ

“เราอยากให้คนที่มารู้สึกว่าทุกช่วงเวลาที่อยู่ที่นี่คือ Kind Moment ทั้งกับตัวเอง ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม” ‘แพม-เปรมมิกา ศรีชวาลา’ ผู้ก่อตั้ง ‘EKM6’ แพลนต์เบสด์คอมมูนิตี้สเปซสีเขียวเล็กๆ ภายในซอยเอกมัย 6 บอกกับเราถึงสิ่งที่อยากส่งต่อไปยังผู้เข้าใช้บริการ หลายคนอาจไม่รู้ว่า ภายในใจกลางย่านเอกมัยยังมีสถานที่หนึ่งที่เป็นเหมือนโอเอซิสสำหรับคนรักสุขภาพให้ได้มาใช้เวลาร่วมกับธรรมชาติไปพร้อมๆ กัน โดยชื่อของ EKM6 ถูกตั้งขึ้นให้ล้อไปกับสถานที่ตั้งของตัวโครงการอย่าง ‘ซอยเอกมัย 6’ และคำว่า ‘E(very) K(ind) M(oment)’ ยังเป็นการย้ำเตือนว่าที่นี่จะทำให้คุณได้ดื่มด่ำไปกับธรรมชาติรอบตัว รวมถึงอาหารและผลิตภัณฑ์ในรูปแบบ Plant-based จากผู้ประกอบการรายเล็กในประเทศไทย จนทุกช่วงเวลากลายเป็น Every Kind Moment E(verything) has a beginning. “เราไม่ได้คิดเรื่องธุรกิจตั้งแต่ต้น แต่มันเริ่มมาจากลูกแพ้นมและไข่ แล้วเขาอยากกินไอศกรีม เราเลยลองหาสูตรจากอินเทอร์เน็ตมาทำ จนกลายเป็นไอเดียเล็กๆ ที่ผุดมาจากลูกชายว่าทำไมไม่ลองทำขายดู” แพมเล่าถึงจุดเริ่มต้นที่ทำให้เธอเข้าสู่วงการแพลนต์เบสด์อย่างเป็นทางการ ก่อนเริ่มขยับขยายมาเป็นผู้ประกอบการรายเล็กที่ออกอีเวนต์ขายไอศกรีมแพลนต์เบสด์ในชื่อ Beyond Pops และได้พบกับกลุ่มผู้ประกอบการรายอื่นที่มีความสนใจในเรื่องสุขภาพเหมือนกัน แต่ด้วยความที่เมืองไทยไม่ค่อยมีคอมมูนิตี้ของคนชื่นชอบอาหารแพลนต์เบสด์ให้รวมตัวกัน บวกกับแพมเองก็เห็นช่องว่างว่าบ้านเรายังไม่มีพื้นที่ที่รวมธุรกิจเหล่านี้ไว้และเปิดขายได้ทุกวันโดยไม่ต้องรองานอีเวนต์ นั่นจึงทำให้เธอตัดสินใจสร้างสถานที่แบบนั้นขึ้นมาด้วยตนเอง “เรารู้สึกว่าคนที่มาอีเวนต์เกี่ยวกับแพลนต์เบสด์ มันมีตั้งแต่คนที่ให้ความสนใจแพลนต์เบสด์อยู่แล้วไปจนถึงคนทั่วไปที่เขาสงสัยว่าอาหารประเภทนี้คืออะไร เราเลยคิดเล่นๆ […]

FYI

อารียา พรอพเพอร์ตี้ พา UNBOX กล่อง COMO Botanica II รวมไอเทมพิเศษเพื่อชุบชูใจคนเมืองที่รักธรรมชาติ

เชื่อว่าหลายคนที่ทำงานในเมือง กิจวัตรประจำวันคงหนีไม่พ้นต้องเริ่มต้นจากการเดินทางฝ่ารถติดไปทำงาน โชว์ฝีมือในออฟฟิศอย่างสุดความสามารถ แล้วพาร่างกายที่คล้ายเป็นแบตฯ ใกล้หมดของตัวเองกลับมายังห้องพักสี่เหลี่ยม ไม่แปลกหรอกที่ชีวิตในเมืองจะดูดพลังเราให้ร่อยหรอได้แทบทุกวัน ในขณะเดียวกันก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเมืองมีโอกาสและประสบการณ์ชีวิตที่มีสีสันที่หาไม่ได้จากที่ไหน แต่บางครั้งการได้อยู่ท่ามกลางธรรมชาติที่ให้ความรู้สึกว่าได้พักผ่อนจริงๆ นั้นก็เป็นเรื่องจำเป็นและเป็นสิ่งที่คนเมืองโหยหา โดยเฉพาะกับคนวัยทำงานที่กำลังไปได้ดีทั้งหน้าที่การงานและการสร้างครอบครัว สำหรับมนุษย์ที่ใช้สีเขียวของต้นไม้ ใบหญ้า เสียงน้ำไหลเป็นเครื่องรีชาร์จตอนวันหยุด ทว่าต้องขับรถออกไปคาเฟ่หรือต่างจังหวัดใกล้ๆ ทุกครั้ง จะดีกว่าไหมถ้าเราสามารถเจอสิ่งเหล่านี้ได้ทุกวันโดยที่ไม่ต้องละทิ้งชีวิตในเมืองของเราเลย ถ้าคำตอบของคุณคือใช่ เราขอแนะนำให้รู้จัก COMO Botanica II โครงการบ้านจัดสรรใหม่ล่าสุดของอารียา พรอพเพอร์ตี้ ออกแบบชีวิตให้ชิดธรรมชาติ (Craft Your Own Nature)  เช่นเดียวกับทุกโครงการของอารียา พรอพเพอร์ตี้ พวกเขาดีไซน์ COMO Botanica II อย่างพิถีพิถันเพื่อให้ตอบโจทย์ลูกบ้านมากที่สุด คราวนี้เขามาพร้อมกับคอนเซปต์ ‘ออกแบบชีวิตให้ชิดธรรมชาติ’ (Craft Your Own Nature) ภายใต้การออกแบบสไตล์ Urban Botanical ที่แบ่งสัดส่วนของพื้นที่สีเขียวในบ้านกับการใช้ชีวิตได้ลงตัว พูดง่ายๆ คือคล้ายบ้านใหญ่ในเขตป่าเมืองร้อนที่สามารถใช้ชีวิตได้สะดวกสบาย มีสเปซขนาดใหญ่ ห้องนอนหลายห้อง เหมาะสำหรับคนที่อาจเคยรู้สึกอึดอัดกับชีวิตในห้องสี่เหลี่ยมหรือกำแพงคอนกรีต ที่อยากเปลี่ยนชีวิตให้กลับมาร่มรื่นใกล้ชิดธรรมชาติอีกครั้ง ธรรมชาติที่ดีไซน์เองได้ ความชุบชูใจยังไม่หมดเท่านั้น จากคอนเซปต์ ‘ออกแบบชีวิตให้ชิดธรรมชาติ’ […]

เที่ยวทั่วไทยผ่านเสียงป่าเขา เงาเมฆ นกร้อง กับ ‘Praisan’ เว็บไซต์เสียงธรรมชาติที่รวบรวมเสียงจากเหนือจรดใต้

หลังจากฟังเสียงแอมเบียนต์ธรรมชาติจากสถานที่ในต่างประเทศกันมานาน ในที่สุดเราก็เจอเว็บไซต์ที่รวบรวมเสียงจากสถานที่ธรรมชาติในประเทศไทยกับเขาบ้างแล้ว ‘Praisan’ คือเว็บไซต์เสียงธรรมชาติจาก ‘โครงการสื่อเสียงธรรมชาติเพื่อความงอกงามทั้งจิตใจและความรู้’ ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้รับทุนประจำปี 2565 ภายใต้ ‘สำนักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์’ (Thai Media Fund) ภายในเว็บไซต์ไพรสารมีการรวบรวมเสียงจากสถานที่ทั่วประเทศไทยมาบันทึกและจัดเรียงไว้บนโลกออนไลน์ ให้ผู้ใช้งานเลือกฟังเสียงธรรมชาติได้ตามต้องการจากหมุดบนแผนที่ประเทศไทย หรือเลือกจากลักษณะทางชีวภาพของสถานที่นั้นๆ โดยมีคอนเซปต์หลักคือ ‘หลับตาแล้ว รับฟัง เสียงของธรรมชาติ’ จุดประสงค์ของเว็บไซต์คือ ต้องการให้ผู้ใช้งานได้ทำความรู้จักกับลักษณะระบบนิเวศในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศไทยผ่านสุ้มเสียงต่างๆ ตั้งแต่ป่าดิบชื้นใต้สุดของประเทศ ป่าดิบเขาบนยอดดอย หมู่เกาะกลางทะเล ทุ่งหญ้า แม่น้ำ หรือแม้กระทั่งสวนสาธารณะใจกลางเมือง (รวมไปถึงเสียงจากสิงสาราสัตว์ด้วย) เปรียบเทียบแล้วเว็บไซต์นี้ทำหน้าที่เป็นเหมือนตัวกลางรับ ‘สาร’ จาก ‘ไพร’ (ป่า) ผ่านโลกออนไลน์ เพื่อเป็นตัวการในการนำพาผู้คนกลับคืนสู่ธรรมชาติอีกครั้ง ทั้งยังทำให้เราได้รู้ว่าประเทศไทยยังมีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่หลากหลายและน่าสนใจไม่แพ้ชาติใดในโลก ใครอยากฟังเสียงธรรมชาติของประเทศไทยในระบบนิเวศต่างๆ ลองเข้าไปฟังได้ที่ praisan.org

Underground Library ห้องสมุดใต้ดินที่เหมือนหลุมหลบภัย และซ่อนหนังสือไว้กว่า 3,000 เล่ม

เพียงเดินทางจากสถานีโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น มายังเมืองชิบะ ด้วยระยะเวลาเพียง 90 นาที ก็จะพบกับ ‘Kurkku Fields’ สถานที่ที่รวบรวมการให้บริการแบบฟาร์มสเตย์ มีตั้งแต่ที่พัก อาหาร เวิร์กช็อป งานศิลปะ และ ‘Underground Library’ ห้องสมุดที่ซ่อนตัวอยู่ใต้ดิน รอคอยให้ผู้มาเยือนเข้าไปสัมผัสประสบการณ์การอ่านหนังสือท่ามกลางธรรมชาติ Underground Library เป็นผลงานการออกแบบของ ‘Hiroshi Nakamura & NAP Architects’ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้แขกที่เข้าพักในบริเวณ Kurkku Fields สามารถใช้เวลาภายในห้องสมุดใต้ดินแห่งนี้อย่างอิสระ ต้อนรับการกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้ง หลังจากปิดตัวชั่วคราวเพราะสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศญี่ปุ่น Underground Library เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ด้วยรูปลักษณ์ที่กลมกลืนไปกับธรรมชาติ จากองค์ประกอบวัสดุไม้ที่หลีกเลี่ยงการใช้คานและเสา รวมไปถึงการสร้างพื้นที่ส่วนตัวเล็กๆ ที่กระจายตัวอยู่ภายใน เพื่อความเป็นส่วนตัวแก่นักอ่านที่มาใช้บริการ ยังไม่นับรวมบรรดาหญ้าบนหลังคาที่ให้ความรู้สึกเหมือนเรากำลังซ่อนตัวอยู่ในหลุมหลบภัย ที่ภายในเต็มไปด้วยหนังสือกว่า 3,000 เล่ม หนังสือส่วนใหญ่ของที่นี่เน้นไปทางเนื้อหาเกี่ยวกับธรรมชาติและชีวิตเกษตรกรรม รวมถึงบทกวี ปรัชญา ประวัติศาสตร์ ศาสนา วิทยาศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์ […]

หนีเมืองไปฟังเสียงดนตรีท่ามกลางธรรมชาติในงาน Leaf & Rhyme วันที่ 18 ก.พ. 66 ที่ Baimai Activity Space

อีกหนึ่งอีเวนต์ใกล้กรุงเทพฯ ที่เราอยากชวนทุกคนเดินทางออกจากเมืองไปฟังเสียงเพลง โอบรับเสียงรอบตัว และเชื่อมต่อกับผู้คนที่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งที่จะส่งต่อความรู้ ความเข้าใจ ให้คนอื่นๆ ได้ตระหนักรู้ถึงคุณค่าของธรรมชาติ งาน ‘Leaf & Rhyme’ จัดโดย ‘กลุ่มใบไม้’ ทีมนักกิจกรรมที่เป็นกระบอกเสียงเรื่องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างเข้มแข็งเสมอมา หลักๆ แล้วภายในงานนี้ ทุกคนจะได้พบกับวงดนตรีและพี่น้องศิลปินกว่า 13 รายชื่อที่จะสลับขึ้นโชว์ตั้งแต่บ่ายจวบจนวงล้อมรอบกองไฟยามค่ำคืน ได้แก่ Selina and Sirinya, Youth Brush, สุขเสมอ, เย็นตะวัน, Sao Moonlight Gypsy, JIPI, โจ อาชาไนย (The Voice 7), ปืน เนติ (The Voice 4), นายเป้ ม.เมื่อย, Black Hole, 22 Island, Book และเมธาวี (แมวจร) นอกจากหูที่ได้ฟังดนตรีกันท่ามกลางบรรยากาศของธรรมชาติแล้ว ตาของเรายังได้ชมนิทรรศการศิลปะที่เชื่อมโยงกับงานด้านอนุรักษ์ธรรมชาติกันอย่างเพลิดเพลินอีกด้วย ส่วนใครที่อยากเปลี่ยนที่นอนก็แบกเต็นท์มากางค้างแรมกันได้ในงานนี้ เพราะพื้นที่จัดงานอย่าง Baimai […]

เมืองเชียงรายเที่ยวได้ทั้งปี ธรรมชาติสวยงาม กิจกรรมรองรับทุกฤดู

ใครว่าภาคเหนือต้องไปเที่ยวแต่หน้าหนาว ในที่สุดก็เข้าสู่ช่วงปลายปี ที่แม้จะสัมผัสความหนาวในเมืองได้เพียงเล็กน้อย แต่ก็เพียงพอที่จะรู้สึกว่าถึงเวลาแล้วกับการเก็บกระเป๋า เตรียมตัวไปเที่ยวรับอากาศหนาวที่จุดหมายปลายทางยอดฮิตอย่างภาคเหนือ แล้วถ้าไม่ไปภาคเหนือในหน้าหนาว เราจะไปเที่ยวตอนไหนได้บ้าง แม้ว่าบางจังหวัดและบางสถานที่อาจไม่พร้อมรับนักท่องเที่ยวได้ตลอดเวลา เนื่องจากปัจจัยที่ควบคุมได้ยาก เช่น ความพร้อมของธรรมชาติในพื้นที่ อากาศและฤดูกาล ฯลฯ แต่ใครจะรู้ว่าจังหวัดเชียงรายนั้นเป็นจังหวัดที่สามารถท่องเที่ยวได้ทั้งปี ไม่จำกัดช่วงเวลาหรือฤดูกาล เพราะในแต่ละช่วงก็มีความสวยงามแตกต่างกันไป ต่อให้ไม่ใช่ช่วงหน้าหนาว แต่รับรองว่าบรรยากาศที่เจียงฮายสวยงามติดใจผู้ไปเยี่ยมเยียนแน่นอน การันตีจากช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา ดินแดนเหนือสุดในสยามนี้ติดหนึ่งใน TOP 5 จังหวัดที่มีรายได้จากการท่องเที่ยวสูงสุดเลยทีเดียว เชียงรายมาแรง จังหวัดที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง จังหวัดเชียงรายถือเป็นหนึ่งในจังหวัดที่ติดอันดับความนิยมสูงสุด หลังจากที่เทรนด์การท่องเที่ยวหลังยุคโควิดเปลี่ยนไป เนื่องจากนักท่องเที่ยวหันมาสนใจสถานที่ท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ ศิลปะ วัฒนธรรม  ทำให้เชียงรายเป็นที่นิยมมากขึ้น เห็นได้จากจำนวนนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวจังหวัดเชียงรายในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2565 สูงเกือบ 3 ล้านคน การท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ จึงกลายเป็นเทรนด์ใหม่ของการท่องเที่ยวและช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศได้เป็นอย่างดี  “ในช่วงหลังโควิดฤดูหนาวปีที่แล้ว เรามีนักท่องเที่ยวเข้ามาจังหวัดเชียงรายเยอะมาก ไฟลต์บินสูงถึง 64 เที่ยวบินต่อวันทีเดียว นั่นคือช่วงของการเริ่มต้นเปิดจังหวัดเชียงราย” ‘ภาสกร บุญญลักษม์’ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย พูดถึงความสำเร็จของการท่องเที่ยวในจังหวัด “หกสิบเปอร์เซ็นต์รายได้ของจังหวัดเชียงรายมาจากเรื่องการท่องเที่ยว และเก้าสิบเปอร์เซ็นต์ของการท่องเที่ยวเป็นรายได้จากคนไทย เราเห็นได้ชัดเลยว่าการท่องเที่ยวของเราได้รับการตอบรับจากประชาชนคนไทยเป็นจำนวนมาก ถือเป็นมิติที่นำในเรื่องของการนำรายได้เข้าจังหวัดอยู่แล้ว เราจึงตั้งใจส่งเสริมให้รายได้จากการท่องเที่ยวปีนี้คึกคักขึ้น” […]

‘3200K’ ณ ชั่วขณะนั้นที่มุกดาหาร

ฉันมักใช้เวลาว่างที่เหลือจากการทำงานร้านอาหารของที่บ้าน ออกสำรวจพื้นที่ริมแม่น้ำโขงและบันทึกความทรงจำเกี่ยวกับเส้นทางสายนี้ แม่น้ำที่ไหลผ่านเอื่อยๆ วิถีชีวิตริมน้ำที่ดำเนินไปอย่างเนิบช้า เรียบง่าย ฉันคิดว่าอุณหภูมิ สี และแสงที่ฉาบลงบนภาพตรงหน้าช่างอบอุ่นพิเศษกว่าที่ไหนๆ

‘จักรวาฬ’ ผลกระทบที่วาฬบรูด้า ได้รับจากน้ำมือมนุษย์

ผลงานชุด ‘จักรวาฬ’ เป็นผลงานภาพถ่ายสารคดีที่แสดงให้เห็นถึงผลกระทบที่วาฬได้รับจากมลพิษที่มนุษย์สร้างขึ้น รวมถึงต้องการถ่ายทอดภาพของทรัพยากรธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพ วัฒนธรรม วิถีชีวิตของชุมชนชายฝั่งสิ่งแวดล้อมในทะเลอ่าวไทย ที่ได้รับความเสียหายไม่แพ้กัน 

รมต.ตูวาลู ปราศรัย COP26 ในทะเล ย้ำวิกฤตประเทศจมน้ำ

Simon Kofe รัฐมนตรีต่างประเทศของตูวาลู หวังว่าการกล่าวสุนทรพจน์ของเขาจะชี้ให้ทุกคนเห็นถึงข้อเท็จจริงว่า ประเทศตูวาลูเป็นพื้นที่ที่ต้องเผชิญกับระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นมากลำดับแรกๆ ของโลก รัฐมนตรี Kofe ได้อัดวิดีโอบันทึกปราศรัยให้การประชุมสภาพภูมิอากาศขององค์การสหประชาชาติในเมืองกลาสโกว์ ด้วยการยืนอยู่ในน้ำทะเลระดับเข่า เพื่อเน้นว่าประเทศหมู่เกาะแปซิฟิกที่อยู่ต่ำ กำลังอยู่ในแนวหน้าของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก วิดีโอกลางทะเลของ Simon Kofe ที่ตั้งโต๊ะแถลงในชุดสูท ผูกเนกไท และสวมกางเกงพับขา ได้รับการแชร์อย่างกว้างขวางในสื่อออนไลน์ และสามารถดึงความสนใจคนทั้งโลกไปที่ประเด็นการต่อสู้ของตูวาลูกับระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นเรื่อยๆ Kofe ย้ำสถานการณ์จริงที่ตูวาลูเผชิญผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล เพื่อเน้นย้ำถึงการดำเนินการที่ประเทศแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน วิดีโอนี้ถ่ายทำโดยสถานีโทรทัศน์ TVBC บริเวณปลายสุดของ Fongafale เกาะหลักของเมืองหลวง Funafuti โดยฉายคลิปในการประชุมสุดยอดด้านสภาพอากาศในวันอังคารที่ผ่านมา ขณะที่ผู้นำระดับภูมิภาคผลักดันการดำเนินการเชิงรุกมากขึ้นเพื่อจำกัดผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผู้ก่อมลพิษรายใหญ่จำนวนมากได้ให้คำมั่นว่าจะลดปริมาณคาร์บอนลงในช่วงหลายทศวรรษข้างหน้า โดยมีเป้าหมายหยุดปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ภายในปี 2050 แต่ผู้นำในเกาะแปซิฟิกเรียกร้องให้มีการดำเนินการทั้งหมดทันที โดยชี้ให้เห็นว่าความอยู่รอดของประเทศที่พื้นที่แผ่นดินอยู่ระดับต่ำกำลังอยู่ในความเสี่ยงสูง เนื่องจากข้อจำกัดด้านการเดินทางช่วงโควิด-19  หนึ่งในสามของรัฐและดินแดนที่เป็นเกาะขนาดเล็กในแปซิฟิกจึงไม่สามารถส่งตัวแทนรัฐบาลของตนไปยังสุดยอดการประชุม COP26 ในกลาสโกว์ได้  ฉะนั้นการขาดตัวแทนระดับสูงของประเทศเสี่ยงจมน้ำสูงเหล่านี้ จึงทำให้เกิดความกังวลว่า พวกเขาจะไม่ได้รับการนำเสนอข้อมูลปัญหาและหาหนทางแก้ไขอย่างเหมาะสม ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา รายงานของธนาคารโลกเผยว่า ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นจากที่คาดการณ์ไว้อาจทำให้หมู่เกาะมาร์แชลล์ ซึ่งเป็นประเทศในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือที่อยู่กึ่งกลางระหว่างฮาวายและออสเตรเลียเสียหายได้  หมู่เกาะแห่งนี้มีประชากร 59,000 คน และมีเนื้อที่เพียง 180 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยเกาะต่างๆ 1,156 […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.