เปิดกว้างและเข้าใจการทำแท้งมากขึ้น กับงาน Bangkok Abortion ที่สวนครูองุ่น ทองหล่อ 25 ก.ย. 65

‘การทำแท้ง’ ถือเป็นประเด็นทางกฎหมายและสังคมที่ผู้หญิงจำนวนมากทั่วโลกออกมาเรียกร้องกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้พวกเธอมีสิทธิ์ในร่างกายของตัวเอง  ประเทศไทยมี ‘กฎหมายการทำแท้งฉบับใหม่’ เมื่อปี 2564 ที่อนุญาตให้ผู้หญิงทำแท้งได้ถ้ามีอายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ หากทำแท้งเกินช่วงเวลาดังกล่าว ต้องจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แม้กฎหมายจะปรับให้เนื้อหาก้าวหน้ากว่าเดิม แต่ดูเหมือนว่าจำนวนการทำแท้งในไทยก็ยังไม่เพิ่มมากขึ้นเท่าไหร่นัก สาเหตุหนึ่งอาจเป็นเพราะผู้หญิงส่วนใหญ่ยังไม่รู้ข้อมูลและเข้าไม่ถึงการทำแท้งที่ปลอดภัย ขณะเดียวกันโรงพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์จำนวนไม่น้อยก็ยังมีอคติต่อการทำแท้ง มองว่าเป็นเรื่องบาปหรืออาจทำให้เสียภาพพจน์ได้ เพราะเชื่อว่าการทำแท้งไม่ใช่ทางเลือกที่อันตรายหรือเรื่องน่าอาย กลุ่มทำทาง ​(คุยกับผู้หญิงที่ทำแท้ง) เครือข่ายทำแท้งปลอดภัย และกลุ่ม NGO จึงจัดงาน ‘Bangkok Abortion – กรุงเทพทำแท้ง : ทำแท้งทำได้ ปลอดภัย ไม่ตายนะเธอ’ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้คนได้แลกเปลี่ยนข้อมูลและความรู้เรื่องสิทธิการทำแท้ง ผ่านเสวนาและกิจกรรมที่น่าสนใจ เช่น  – เสียงจากประสบการณ์ของผู้หญิงที่ทำแท้ง – สิทธิประโยชน์ในการให้บริการหลังกฎหมายทำแท้งฉบับใหม่ ที่คนกรุงเทพฯ ก็เข้าถึงได้– ความก้าวหน้าของกฎหมายกับช่องว่างและทิศทางในการติดตามของภาคประชาชน– ประชาธิปไตยกับการทำแท้ง– สิทธิแรงงานกับสิทธิการเข้าถึงบริการทำแท้งใน กทม.– เสียงจาก LGBTQIA+ กับการทำแท้ง ภายในงานยังมีการแสดงดนตรีสดและมีวิทยากรเข้าร่วมพูดคุยมากมาย รวมถึงกิจกรรมที่น่าสนใจอื่นๆ […]

ศาลสูงสุดสหรัฐอเมริกา ลงมติ 6:3 ตัดสิทธิ์ผู้หญิงในการทำแท้ง หลังบังคับใช้มานานเกือบ 50 ปี

ศาลสูงสุดสหรัฐอเมริกา ลงมติ 6:3 ตัดสิทธิ์ผู้หญิงในการทำแท้ง หลังบังคับใช้มานานเกือบ 50 ปี ในขณะที่ทั่วโลกกำลังพูดคุยกันเกี่ยวกับการผลักดันกฎหมายการทำแท้งเสรี ไม่เว้นแม้กระทั่งในประเทศไทยเอง แต่กับประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาที่มีเสรีการทำแท้งมาเกือบ 50 ปี กลับย้อนกลับไปสู่จุดเริ่มต้นเสียอย่างนั้น ล่าสุดเมื่อวันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา ศาลฎีกาสูงสุดของสหรัฐอเมริกาก็ได้มีการลงมติคว่ำคำพิพากษาคดีที่รู้จักกันในชื่อ Roe v. Wade ในปี 1973 ว่าด้วยการอนุญาตให้หญิงในสหรัฐอเมริกาสามารถทำแท้งได้ ที่ผ่านการบังคับใช้มาอย่างยาวนานเกือบ 50 ปี จากการชนะมติ 6 ต่อ 3 จากฝั่งอนุรักษนิยมที่ยึดถือหลักกฎหมายมิสซิสซิปปี ที่ได้รับการสนับสนุนจากพรรครีพับลิกัน ซึ่งการตัดสิทธิการทำแท้งในผู้หญิงครั้งนี้ ส่งผลให้จากเดิมที่สามารถยุติการตั้งครรภ์ในระยะ 12 สัปดาห์แรกได้อย่างเสรี กลายเป็นว่าแต่ละรัฐมีสิทธิ์สั่งห้ามการทำแท้งได้ตามดุลยพินิจโดยไม่ขัดต่อหลักกฎหมาย ข้อมูลจาก Guttmacher องค์กรที่สนับสนุนสิทธิในการทำแท้งกล่าวว่า หลังจากมีมติตัดสิทธิการทำแท้งเสรีเดิม ขณะนี้มีกว่า 20 รัฐทั่วสหรัฐอเมริกาที่กำลังดำเนินการจำกัดการเข้าถึงการทำแท้งของประชาชนในรัฐของตัวเอง โดยบางพื้นที่ตั้งใจที่จะห้ามการทำแท้งตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นตั้งครรภ์ และบางรัฐกำลังแนะนำให้มีการห้ามทำแท้งหลังจาก 6 สัปดาห์ขึ้นไป ทำให้หลังจากนี้จะมีผู้หญิงที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์กว่า 40 ล้านคน ที่ไม่สามารถยุติการตั้งครรภ์ได้ หากไม่มีเหตุจำเป็นตามที่แต่ละรัฐเห็นสมควร […]

Our Body, Our Ground ธีสิสที่เชื่อว่าไม่มีใครอยากท้องเพื่อทำแท้ง

My Body, My Choice เป็นเรื่อง Common Sense ที่สังคมควรตระหนักได้แล้วว่าหน่วยเซนติเมตรที่ถูกวัดตั้งแต่หัวจรดปลายเท้า หรือทุกอวัยวะทั้งภายนอกและภายในซึ่งประกอบกันจนเรียกว่า ‘ร่างกาย’ เป็นของแต่ละบุคคล และบุคคลเหล่านั้นมีสิทธิ์จะทำอะไรกับมันก็ได้ จริงอยู่ที่การเคลื่อนไหวทางประชาธิปไตยในเวลานี้บอกแบบนั้น กลับกัน ชารอน-โอบอุ้ม ลีลาศวัฒนกุล นิสิตจุฬาฯ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาออกแบบนิเทศศิลป์ หลักสูตรนานาชาติ แสดงทัศนะของเธอว่า “หลายคนเรียกร้องสิทธิ ตีแผ่ความเหลื่อมล้ำ ผลักดันความเท่าเทียม แต่ทำไมพอมีคำว่า ‘ทำแท้ง’ เข้ามา ถึงรับไม่ได้ เข้าใจไม่ได้ สรุปคุณก็ไม่เคารพสิทธิเนื้อตัวร่างกายของคนอื่นอยู่ดี” Our Body, Our Ground เว็บไซต์สร้างความเข้าใจถึงประเด็น ‘ท้องไม่พร้อม’ และปริญญานิพนธ์ CommDe Degree Show 2021 ที่เธอเลือกทำ เพื่อบอกสังคมว่าเรื่องนี้ควรพูดกันได้ตามปกติโดยปราศจากการตีตรา เธอใส่ช่องทางช่วยเหลือ ให้คำปรึกษา เสียงของคนเคยท้องหรือทำแท้ง รวมทั้งเหตุผลหลากมิติที่คนคนหนึ่งจะตัดสินใจทำแท้ง เพื่อนำไปสู่การแก้ไขกฎหมายทำแท้งให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น เพราะเมื่อใดที่อคติในสังคมลดลงและช่องโหว่ทางกฎหมายถูกอุด เมื่อนั้นผู้มีมดลูกจะไม่ต้องเสี่ยงกับการทำแท้งเถื่อน หรือกินยาขับเลือดซึ่งมีอันตรายถึงชีวิต 01 On The Ground […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.