กฎหมายทำแท้งเปลี่ยนแล้ว แต่ทำไมการทำแท้งปลอดภัยยังเข้าถึงยาก คุยกับ ‘กลุ่มทำทาง’

ในฐานะคนที่สนใจเรื่องสิทธิมนุษยชนและความเท่าเทียมทางเพศ ชื่อของ กลุ่มทำทาง ผ่านหูผ่านตาเราหลายหน เราเคยเห็นข่าวคราวของการรณรงค์เรื่องทำแท้งปลอดภัย เคยอ่านบทความที่ออกมาแชร์ประสบการณ์จริงของผู้หญิงที่เคยทำแท้งจากเว็บไซต์และเพจของพวกเธอ และเคยฟังพอดแคสต์ที่ชวนคิดชวนคุยในหัวข้อเดียวกันนี้มาบ้าง กระทั่งเมื่อต้นปีที่แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยที่ชี้ว่าประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 301 ซึ่งกำหนดความผิดแก่หญิงที่ทำให้ตนเองแท้งว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ นำมาซึ่งการแก้ไขกฎหมายให้สามารถทำแท้งได้ภายในอายุครรภ์ 12 สัปดาห์โดยไม่ถือว่ามีความผิดทางอาญา นอกจากนี้ยังแก้กฎหมายอาญา มาตรา 305 ให้หญิงที่มีอายุครรภ์ 12 – 20 สัปดาห์สามารถยุติการตั้งครรภ์ได้เช่นกัน แต่ต้องตรวจและรับคำปรึกษาจากผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและผู้ประกอบวิชาชีพอื่น การแก้ไขกฎหมายเรื่องนี้นำมาซึ่งเสียงวิพากษ์วิจารณ์หลายขั้วจากคนในสังคม แม้จะล่วงเลยเวลามานานกว่าหนึ่งปีก็ยังเป็นที่พูดถึงบนหน้าไทม์ไลน์ฉันเสมอ ในวาระที่กลุ่มทำทางเพิ่งจัดงาน ‘Bangkok Abortion กรุงเทพทำแท้ง’ เสร็จไปหมาดๆ เราเลยไม่พลาดที่จะนัดคุยอัปเดตสถานการณ์เรื่องนี้กับพวกเธอ น่าสนใจที่เมื่อเราถามความรู้สึกของ ‘นิศารัตน์ จงวิศาล’ หนึ่งในสมาชิกที่มานั่งคุยกับเราวันนี้ต่อกฎหมายยุติการตั้งครรภ์ข้อปัจจุบัน เธอบอกว่า ‘ยังไม่แฮปปี้’ และการปรับเปลี่ยนข้อกฎหมายก็ไม่ได้แปลว่าผู้ที่อยากยุติการตั้งครรภ์เข้าถึงการรับการบริการมากขึ้น ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น-ให้บทสนทนาในบรรทัดถัดไปเล่าให้ฟัง ​​ทำไมคุณถึงยังไม่แฮปปี้กับกฎหมายทำแท้งที่เพิ่งอัปเดต เราว่าการเปลี่ยนข้อกฎหมายมันก็ดี ในแง่ที่ทำให้ผู้ให้บริการสบายใจขึ้น และผู้รับบริการรู้สิทธิ์ตัวเอง มันดีหมดแหละ แต่สิ่งที่เราอยากได้จริงๆ ตั้งแต่แรกคือการยกเลิกมาตรา 301 ไปเลย คนที่ทำแท้งต้องไม่มีความผิดทุกกรณี อันนี้คือจุดมุ่งหมายแรกของเรา Pain Point ที่กลุ่มทำทางเจอคือการไม่มีสถานที่บริการทำแท้ง ซึ่งถึงจะแก้กฎหมายแล้วก็ไม่ได้ดีขึ้น […]

Our Body, Our Ground ธีสิสที่เชื่อว่าไม่มีใครอยากท้องเพื่อทำแท้ง

My Body, My Choice เป็นเรื่อง Common Sense ที่สังคมควรตระหนักได้แล้วว่าหน่วยเซนติเมตรที่ถูกวัดตั้งแต่หัวจรดปลายเท้า หรือทุกอวัยวะทั้งภายนอกและภายในซึ่งประกอบกันจนเรียกว่า ‘ร่างกาย’ เป็นของแต่ละบุคคล และบุคคลเหล่านั้นมีสิทธิ์จะทำอะไรกับมันก็ได้ จริงอยู่ที่การเคลื่อนไหวทางประชาธิปไตยในเวลานี้บอกแบบนั้น กลับกัน ชารอน-โอบอุ้ม ลีลาศวัฒนกุล นิสิตจุฬาฯ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาออกแบบนิเทศศิลป์ หลักสูตรนานาชาติ แสดงทัศนะของเธอว่า “หลายคนเรียกร้องสิทธิ ตีแผ่ความเหลื่อมล้ำ ผลักดันความเท่าเทียม แต่ทำไมพอมีคำว่า ‘ทำแท้ง’ เข้ามา ถึงรับไม่ได้ เข้าใจไม่ได้ สรุปคุณก็ไม่เคารพสิทธิเนื้อตัวร่างกายของคนอื่นอยู่ดี” Our Body, Our Ground เว็บไซต์สร้างความเข้าใจถึงประเด็น ‘ท้องไม่พร้อม’ และปริญญานิพนธ์ CommDe Degree Show 2021 ที่เธอเลือกทำ เพื่อบอกสังคมว่าเรื่องนี้ควรพูดกันได้ตามปกติโดยปราศจากการตีตรา เธอใส่ช่องทางช่วยเหลือ ให้คำปรึกษา เสียงของคนเคยท้องหรือทำแท้ง รวมทั้งเหตุผลหลากมิติที่คนคนหนึ่งจะตัดสินใจทำแท้ง เพื่อนำไปสู่การแก้ไขกฎหมายทำแท้งให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น เพราะเมื่อใดที่อคติในสังคมลดลงและช่องโหว่ทางกฎหมายถูกอุด เมื่อนั้นผู้มีมดลูกจะไม่ต้องเสี่ยงกับการทำแท้งเถื่อน หรือกินยาขับเลือดซึ่งมีอันตรายถึงชีวิต 01 On The Ground […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.