เจ้าของพื้นที่รู้ ผู้อยู่สบายใจ ตึกสูงแบบไหนถูกกฎหมายควบคุมอาคาร

‘กฎหมายควบคุมอาคาร’ อาจฟังดูเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับใครหลายคน ชนิดที่ว่าถ้าไม่ได้กำลังจะซื้อที่ดินสำหรับปลูกสิ่งก่อสร้างหรือลงทุนอสังหาริมทรัพย์ที่ไหนสักแห่ง เราคงไม่มีทางหยิบตัวบทกฎหมายนี้ขึ้นมาศึกษาอย่างจริงๆ จังๆ แต่จากหลากหลายเหตุการณ์ในช่วงที่ผ่านมา เราเชื่อว่าหลายคนอาจกำลังสนใจตัวกฎหมายที่เกี่ยวกับสิ่งปลูกสร้างกันมากขึ้น เพราะเริ่มร้อนๆ หนาวๆ ว่าตึกสูงที่เรากำลังใช้ชีวิตกันอยู่ มีส่วนไหนที่ผิดเพี้ยนไปจากที่เขียนไว้ในข้อกฎหมายบ้างหรือไม่ วันนี้ Urban Creature ขออาสาขมวดย่อกฎหมายควบคุมอาคารในหมวด 1 ที่ว่าด้วยลักษณะของอาคาร เนื้อที่ว่างภายนอกอาคารและแนวอาคารออกมาให้ทุกคนทำความเข้าใจกันได้ง่ายขึ้น เผื่อเป็นเช็กลิสต์คร่าวๆ สำหรับคนที่กำลังจะเช่าหรือซื้อคอนโดฯ ในตึกสูงช่วงนี้ เข้าใจกฎหมายควบคุมอาคาร ก่อนอื่นเราต้องมาทำความรู้จักกันก่อนว่า ‘พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร’ หรือที่ใครหลายคนเรียกกันจนติดปากว่า ‘กฎหมายอาคาร’ คืออะไร พ.ร.บ.ควบคุมอาคารที่เราใช้กันทุกวันนี้เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยเรื่องของความปลอดภัยของอาคาร เพื่อควบคุมการก่อสร้างอาคารให้มีความมั่นคงแข็งแรง มีระบบความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้อาคาร ถ้าพูดถึงอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ ในตัวกฎหมายจะใช้วิธีการแบ่งจากขนาดพื้นที่อาคารรวมกันทุกชั้นได้ออกเป็น 2 กรณี ได้แก่ กรณีพื้นที่อาคารไม่เกิน 30,000 ตารางเมตร และกรณีพื้นที่อาคารเกิน 30,000 ตารางเมตร ดูอาคารยังไง ออกแบบแบบไหนไม่ผิดกฎหมาย ใน 2 กรณีที่ว่านี้มีส่วนที่แตกต่างกันอยู่ที่ขนาดของถนนสาธารณะที่ติดกับตัวพื้นที่ โดยกรณีพื้นที่อาคารไม่เกิน 30,000 ตารางเมตร ถนนสาธารณะต้องมีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 10 เมตร และยาวต่อเนื่องกันโดยตลอดจนไปเชื่อมต่อกับถนนสาธารณะอื่นที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 10 เมตรเช่นกัน […]

O_building เปลี่ยนเส้นทางระหว่างอาคารที่มืดทึบให้น่าเดิน ด้วยกระจกครึ่งบาน รับแสงแดดและเพิ่มพื้นที่

เมื่อพูดถึงอาคารที่อยู่อาศัย เรามักนึกถึงตึกสูงที่ตั้งชิดกันจนแทบไม่เหลือพื้นที่ว่างให้เดิน เช่นเดียวกันกับเมือง Musashino ในเมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ที่มีอาคารพาณิชย์ตั้งเรียงรายจนทำให้เกิดทางเดินที่คับแคบและมืดทึบ สตูดิโอ Yohei Kawashima Architects จึงออกแบบ ‘O_building’ อาคารที่ล้อมรอบไปด้วยกระจกครึ่งบานและทางเดินที่เต็มไปด้วยธรรมชาติ เพื่อเพิ่มมุมมองที่สวยงามของเมืองโตเกียว O_building เป็นอาคารสามชั้นที่ออกแบบโดยสถาปนิกชื่อ ‘Yohei Kawashima’ มีลักษณะเป็นอาคารที่อยู่อาศัยรูปทรงเสาธง (Flagpole-shaped Residence) ที่ล้อมรอบไปด้วยธรรมชาติทั้งทิศเหนือและทิศใต้ของโครงสร้างอาคาร Yohei Kawashima Architects พยายามออกแบบให้พื้นที่ทางเดินด้านข้างมีชีวิตชีวามากขึ้นด้วยการวางแผ่นกระจกครึ่งบานไว้ตามทาง เพื่อทำหน้าที่รับแสงและเงาของแดดที่ส่องผ่านเข้ามาตามช่องว่าง ทั้งยังช่วยให้ผู้อยู่อาศัยรู้สึกว่ามีพื้นที่มากขึ้นจากการสะท้อนภาพอาคารและด้านหลังของอาคารอีกฝั่งหนึ่งที่อยู่ติดกันด้วย นอกจากนี้ ทางทีมสถาปนิกยังเสริมความน่ามองของทางเดินด้วยต้นไม้เขียวขจี เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยมาใช้เวลาพักผ่อนตรงบริเวณนี้ หรือผู้คนที่ผ่านไปผ่านมาได้สัมผัสกับธรรมชาติ และพวกเขายังเชื่อว่าทางเดินเล็กๆ ข้างอาคารแห่งนี้จะช่วยเปลี่ยนประสบการณ์การเดินท่ามกลางแสงแดดให้สดชื่นขึ้น รวมถึงเปลี่ยนคุณภาพพื้นที่ที่เชื่อมต่อระหว่างอาคารได้อย่างแน่นอน Source :Designboom | bit.ly/40A77Cm

Micro Condo ที่อยู่อาศัยขนาดเล็ก เทรนด์ใหม่หรือจำใจต้องเลือก?

จำไม่ได้แล้วว่าตั้งแต่เมื่อไหร่ที่การหาห้องพักใจกลางกรุงเทพฯ ขนาดพอเหมาะประมาณ 30 – 40 ตารางเมตร และไม่แพงจนเกินไป ถึงกลายเป็นเรื่องยากขนาดนี้  เพราะไม่ว่าจะมองไปทางไหนก็มีแต่ห้องพักแบบสตูดิโอขนาด 21 – 25 ตารางเมตรที่ไม่ได้แยกสัดส่วนชัดเจน หรือที่เรียกกันว่า ‘Micro Condo’ ถ้าอยากมีห้องพักที่กว้างขวางและมีสัดส่วนชัดเจน ก็ต้องยอมจ่ายราคาที่แพงกว่าห้องสตูดิโอหลายเท่าตัว เมื่อห้องพักราคาจับต้องได้มีอยู่ค่อนข้างจำกัด นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์จึงมองว่าที่อยู่อาศัยแบบ Micro Condo จะเป็นเทรนด์ใหม่มาแรงของโลกในอนาคต วันนี้คอลัมน์ Curiocity จึงอยากพาไปหาคำตอบว่า จริงๆ แล้ว Micro Condo คืออะไร การออกแบบห้องพักขนาดเล็กกว่าปกติเช่นนี้สอดคล้องกับกฎหมายที่ประเทศไทยกำหนดหรือไม่ และทำไมห้องพักไซซ์มินิถึงกำลังกลายเป็นเทรนด์ที่อยู่อาศัยของคนเมืองในอนาคตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ Micro Condo คืออะไร ทำไมถึงกลายเป็นเทรนด์ แม้คำว่า ‘Micro Condo’ หรือ ‘คอนโดมิเนียมขนาดเล็ก’ จะไม่มีการนิยามอย่างเป็นทางการ แต่วงการอสังหาริมทรัพย์กลับให้ความสนใจคำคำนี้มานานแล้ว โดยในปี 2014 ทาง ‘Urban Land Institute’ ได้นิยามไว้ว่า Micro Condo คือรูปแบบห้องพักแบบสตูดิโอขนาดเล็กทั่วไปที่มีพื้นที่น้อยกว่า 32 […]

Sick Building Syndrome โรคตึกเป็นพิษ โรคฮิตของคนใช้ชีวิตในห้องสี่เหลี่ยม

การอาศัยอยู่ในเมืองหลวงประเทศไทย ก็เหมือนการใช้ชีวิตในกล่องสี่เหลี่ยมหลายๆ กล่อง ที่สับเปลี่ยนหมุนเวียนไปในแต่ละช่วงเวลา  ตั้งแต่การตื่นนอนในห้องสี่เหลี่ยมบนตึกสูง การเดินทางด้วยรถรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าระหว่างวัน เพื่อย้ายตัวเองไปยังห้องทำงานสี่เหลี่ยมไซซ์เล็กใหญ่ใจกลางเมือง หรือแม้แต่ไปเดินห้างสรรพสินค้าทรงเหลี่ยมที่กระจายตัวอยู่แทบทุกหัวมุมถนน จะว่าไปแล้ว ในแต่ละวันที่เราต้องเปลี่ยนห้องสี่เหลี่ยมไปเรื่อยๆ มีสถานที่ไหนบ้างไหมที่เมื่อคุณเข้าไปทีไรก็จะรู้สึกปวดศีรษะ เวียนหัว คลื่นไส้ ระคายเคืองตา จมูก ผิวหนัง หรือคอจนเกิดอาการไอแห้งไปซะทุกครั้ง หากคุณตกอยู่ในอาการเหล่านี้ทุกครั้งที่เข้าไปในสถานที่เดิมๆ คุณอาจกำลังเผชิญอยู่กับ ‘Sick Building Syndrome’ หรือ ‘โรคตึกเป็นพิษ’ อยู่ก็ได้นะ Sick Building Syndrome อาการป่วยของคนในเมืองใหญ่ ‘Sick Building Syndrome (SBS)’ หรือชื่อภาษาไทยว่า ‘โรคตึกเป็นพิษ’ เป็นกลุ่มอาการที่ปรากฏครั้งแรกในช่วงปี 1970 และถูกบันทึกลงในรายงานขององค์การอนามัยโลก (WHO) ในปี 1984 เพื่ออธิบายผู้ป่วยที่มักมีอาการไม่สบายอย่างเฉียบพลัน เช่น ปวดศีรษะ ระคายเคืองตา จมูก หรือลำคอ จาม มีน้ำมูก คันตามผิวหนัง หน้ามืด คลื่นไส้ ขาดความกระตือรือร้นในการทำงาน รวมไปถึงอาการแพ้จะกำเริบมากขึ้นในผู้ที่มีโรคภูมิแพ้อยู่ก่อนแล้ว เมื่อเข้าไปภายในอาคารบางแห่ง […]

ชาวคอนโดฯ ทำอะไรได้บ้าง ถ้ามีตึกสูงมาสร้างข้างๆ บดบังวิวที่เคยมองเห็น

เมื่อไม่นานนี้ มีข้อถกเถียงเกี่ยวกับการเกิดขึ้นของตึก One City Centre ตึกสำนักงานสร้างใหม่ที่อยู่ติดกับตึก 98 Wireless คอนโดมิเนียมสุดหรูที่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองกรุงเทพฯ  ข้อถกเถียงที่ว่าคือ ทำไมตึกที่ดูใหญ่โตขนาดนี้ถึงสร้างติดกับคอนโดมิเนียมซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยได้อย่างใกล้ชิดสุดๆ จนสร้างความรู้สึกกังวลใจให้ผู้คนในแถบนั้น นอกจากประเด็นความเป็นส่วนตัวของผู้อยู่อาศัยที่น่าขบคิดต่อแล้ว การที่มีสิ่งก่อสร้างมาตั้งตระหง่านบดบังทิวทัศน์ ซึ่งนับเป็นหนึ่งในตัวเพิ่มมูลค่าการซื้อ-ขายของห้องที่อยู่บนชั้นสูงๆ ก็ดูเป็นปัญหาใหญ่ และในอนาคต เราคาดเดาว่ากรุงเทพฯ น่าจะมีกรณีแบบนี้ให้เห็นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในยุคที่คนรุ่นใหม่เลือกอยู่คอนโดมิเนียมมากกว่าบ้านเดี่ยวในสมัยก่อน คำถามสำคัญคือ ถ้าหากวันหนึ่ง คอนโดฯ ที่เราทำงานเก็บเงินเช่าหรือซื้อ เพื่อให้ได้มองวิวสวยๆ เกิดมีตึกสูงใหญ่มาสร้าง บดบังสิ่งที่เคยเห็นทั้งหมด เราในฐานะเจ้าของห้องจะทำอะไรได้ไหม สิทธิของผู้อยู่อาศัย และตัวกฎหมายที่เกี่ยวกับเรื่องนี้มีข้อมูลชุดใดที่ควรรู้และตั้งคำถามต่อบ้าง เราจึงชวน แทนศร พรปัญญาภัทร กรรมการผู้จัดการ และสถาปนิกผังเมือง บริษัท เออเบิ้น รูม จำกัด ที่คลุกคลีกับการทำงานพัฒนากรุงเทพฯ มาเกือบสิบปี มาพูดคุยถึงประเด็นนี้ รวมถึงบริบทรอบข้างที่อาจเป็นประโยชน์กับคนเมืองในอนาคต อาคารสูงกวนตาเป็นปัญหากวนใจ เริ่มด้วยข้อควรรู้เกี่ยวกับอาคารสูงให้ทุกคนเข้าใจร่วมกัน ที่จริงแล้วประเทศไทยมีกฎหมายเกี่ยวกับอาคารมาตั้งแต่ปี 2533 แต่เมื่อเริ่มมีการพัฒนาอาคารสูงกันมากขึ้น รัฐจึงบัญญัติคำว่าอาคารสูงขึ้นในปี 2543 โดยนิยามของอาคารสูงตามกฎหมายคือ อาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 23 เมตรหรือ 8 […]

Wuhan City Pavilion & Kindergarten อาคารในอู่ฮั่นที่เป็นทั้งพาวิลเลียน โรงเรียนอนุบาล และที่จัดนิทรรศการ

เมื่อไม่นานมานี้ ทีมสตูดิโอสถาปนิกสัญชาติจีนชื่อ ATELIER XI ได้ออกแบบสร้างอาคารพาวิลเลียนและโรงเรียนอนุบาลเมืองอู่ฮั่น (Wuhan City Pavilion & Kindergarten) จนเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งตัวอาคารแห่งนี้ตั้งอย่างโดดเด่นอยู่ใน Hankou ซึ่งห่างจากจุดที่เคยมีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ครั้งแรกเพียง 1 กิโลเมตร สถาปัตยกรรมนี้เพิ่งสร้างเสร็จแบบสดๆ ร้อนๆ หลังแผนการสร้างได้ถูกระงับไปในช่วงครึ่งหลังของปี 2019 เพราะเชื้อโควิดที่ปะทุขึ้นมาทั่วทั้งเมือง ทว่าเมื่อเมืองกลับมาเปิดได้ใหม่อีกครั้ง โครงการก็สามารถดำเนินการต่อได้อย่างราบรื่นดี ในปี 2019 ทีมสถาปนิก ATELIER XI ได้รับการว่าจ้างให้ดีไซน์โรงเรียนอนุบาลที่มีขนาด 6 ห้องเรียนมาตรฐานในเมืองอู่ฮั่น นอกจากความท้าทายด้านงานก่อสร้างตึกในช่วงวิกฤติเชื้อไวรัสแพร่ระบาด โจทย์แสนยากต่อมา ก็คือการสร้างอาคารที่รับบทบาทเป็นทั้งพาวิลเลียนขายสินค้าชั่วคราว เป็นห้องโถงจัดแสดงนิทรรศการในปีแรกที่สร้างแล้วเสร็จ และจะเป็นโรงเรียนอนุบาลสำหรับเด็กๆ ในภายหลัง โดยทำให้อาคารมีความพร้อมต่อการปรับเปลี่ยนฟังก์ชันได้ในช่วงเวลาต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ โครงการนี้จึงตั้งใจสร้างด้วยแนวคิดการประหยัดต้นทุน เพื่อให้ใช้สอยพื้นที่ได้อย่างคุ้มค่าและอรรถประโยชน์ โดยหลีกเลี่ยงการรื้อถอนตึกซึ่งจะสร้างผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมได้ในอนาคต ทีมออกแบบ ATELIER XI พยายามจะแบ่งย่อยอาคารนี้ให้เป็นยูนิตต่างๆ ที่ปรับเปลี่ยนได้ ฟังก์ชันเชิงพื้นที่จึงสามารถเปลี่ยนแปลงได้เรื่อยๆ โดยตัวโครงสร้างที่เสร็จสมบูรณ์ของอาคารจะมี ‘ช่องว่าง’ ต่างๆ ที่เชื่อมต่อกันด้วยช่องว่างภายในที่มีรอยพับอันซับซ้อน ซึ่งเราสังเกตเห็นได้ทั้งในบริเวณด้านหน้าและหลังคาที่อยู่ภายนอกอาคาร ช่วงเริ่มต้นของการออกแบบ […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.