Life in KKC วิถีขอนแก่น

‘ขอนแก่น’ เป็นอีกเมืองที่น่าสนใจจากประสบการณ์ที่เราได้มีโอกาสไปทำงานที่นั่น และได้ใช้เวลาอยู่ในเมืองนั้นสักพักหนึ่ง ทำให้เราได้บันทึกภาพชุดนี้ขึ้นมา ภาพชุดนี้เป็นเรื่องราวประจำวันที่เราได้เจอหรือว่าผ่านตามา เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งของและสิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่ทั้งธรรมดาและแปลกตา ซึ่งคนในเมืองอย่างพวกเราคงไม่ค่อยมีโอกาสได้เห็น รูปชุดนี้แบ่งเป็นสองส่วน ได้แก่ ภาพที่บันทึกในชีวิตประจำวัน และภาพจากตลาดวัว เราเลือกสองเรื่องนี้มานำเสนอเพราะแต่ละรูปคือขอนแก่นที่เราได้รู้จักและไปพบเจอ ไม่ว่าจะเป็นป้ายหน้ายิ้มที่มันดูแปลกตา มุ้งที่คลุมท้องฟ้า ตึกสีแปลกๆ ป้ายร้านก๋วยเตี๋ยวร้านโปรดของเรา แล้วก็ไม่รู้สังกะสีหรือกิ้งก่ากันแน่ที่มันปรับตัวเข้าหากัน รวมถึงวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ด้วย ส่วนเหตุผลที่เราเลือกตลาดวัวมานำเสนอ เพราะเราชื่นชอบเรื่องราวของตัวตลาดมาก ไม่ว่าจะเป็นการต้องตื่นเช้ามืดเพื่อไปตลาด หรือวัวแปลกๆ ที่เราได้ไปเจอ รวมไปถึงผู้คนที่มาเร่ขายวัว ทั้งหมดเป็นประสบการณ์ที่แปลกใหม่สำหรับเรา จึงอยากนำมาเล่าผ่านภาพให้ทุกคนได้เห็นกัน ติดตามผลงานของ ปีติ์ สายแสงทอง ต่อได้ที่ Instagram : georgecallmedadddy และหากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

Tainan Market ออกแบบหลังคาตลาดค้าส่งในไต้หวัน ให้เป็นสวนสาธารณะที่ผู้คนใช้งานได้มากยิ่งขึ้น

การใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่ายังคงเป็นสิ่งที่นักออกแบบคำนึงถึงอยู่เสมอ เพราะการพัฒนาฟังก์ชันการใช้งานของอาคารให้หลากหลายมากยิ่งขึ้น ย่อมส่งผลดีต่อตัวอาคารและทำให้ผู้คนใช้งานสถานที่เหล่านั้นได้อย่างเต็มประสิทธิภาพด้วย ทาง MVRDV หรือสำนักงานออกแบบสถาปัตยกรรมและผังเมืองชื่อดังในประเทศเนเธอร์แลนด์ ก็ยังคงมุ่งเดินหน้าออกแบบความท้าทายใหม่ๆ ของการสร้างสถาปัตยกรรมที่ยกระดับต่างไปจากเดิม ด้วยการออกแบบโครงการตลาดค้าผักและผลไม้แห่งใหม่ที่ชื่อว่า ‘Tainan Market’ ในย่านไถหนาน ประเทศไต้หวัน ที่สร้างแล้วเสร็จไปเมื่อปี 2022 โครงการนี้เกิดขึ้นเนื่องจากทีมสถาปนิกเชื่อว่า ตลาดค้าส่งเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าและอาหารที่หล่อเลี้ยงผู้คน และจะมีประโยชน์มากยิ่งขึ้นไปอีกหากมีฟังก์ชันให้ผู้คนสามารถมาพบปะ สังสรรค์ รับประทานอาหาร หรือทำกิจกรรมร่วมกันได้ด้วย MVRDV จึงออกแบบหลังคาโลหะซึ่งเป็นภาพคุ้นเคยของตลาดทั่วไป ให้กลายเป็นหลังคาที่เป็นพื้นที่สาธารณะให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการใช้งานได้ บริเวณส่วนหนึ่งบนหลังคาถูกออกแบบให้เปิดโล่ง มีพื้นที่กลางแจ้งที่เรียบง่าย มองไกลๆ จะเห็นหลังคาสีเขียวนี้มีลักษณะเป็นเนินภูเขา มีบันไดที่ชวนให้ผู้คนเดินขึ้นไปยังพื้นที่ต่างๆ รวมถึงจุดสูงสุดเพื่อชมวิวทิวทัศน์รอบๆ อาคารที่ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวในภูมิภาค โดยในอนาคตหลังคาของตลาดแห่งนี้ยังอาจพัฒนาเพิ่มเติมให้มีพื้นที่สำหรับปลูกผักและผลไม้ด้วย ส่วนพื้นที่อีกด้านหนึ่งของหลังคาคืออาคารสี่ชั้นที่ประกอบด้วยสำนักงานบริหารของตลาด และยังมีศูนย์นิทรรศการที่สามารถจัดแสดงสินค้าเกษตรจากภูมิภาคต่างๆ ซึ่งการต่อเติมอาคารนี้ได้ทำการเจาะโครงสร้างหลัก ทำให้มีช่องทางเดินเข้าออกไปยังบริเวณหลังคาพื้นที่สาธารณะได้ บอกเลยว่าการจับจ่ายซื้อของจะทำได้อย่างสบายอารมณ์ เพราะในส่วนด้านล่างที่เป็นพื้นที่ของตลาดยังถูกออกแบบให้มีความเรียบง่ายและเต็มไปด้วยประโยชน์ใช้สอยที่หลากหลาย โดยจัดสรรโครงสร้างให้เปิดออกทุกด้านและยกเพดานสูงโปร่งเพื่อช่วยถ่ายเทอากาศ รวมไปถึงการเจริญเติบโตของพืชนานาชนิดบนหลังคาในอนาคต ยังจะช่วยให้ตลาดแห่งนี้มีความเย็นแม้ไต้หวันจะอยู่ในช่วงฤดูร้อน Source :Åvontuura | bit.ly/3JgNeZG

ย้อนรอยตลาดเก่าแก่กลางพระนคร ก่อน ‘ท่าเตียน’ จะเปลี่ยนแปลง

‘ท่าเตียน’ ย่านที่คุ้นหูของคนมาแทบทุกรุ่น อย่างคนรุ่นเก่าหน่อยอาจจะรู้จักว่าเป็นตลาดค้าส่ง ส่วนคนรุ่นหลังมาน่าจะนึกถึงพวกของทะเลแปรรูปที่มีกลิ่นเป็นเอกลักษณ์ ขณะที่ทุกวันนี้ท่าเตียนกลายเป็นเพียงทางผ่านของนักท่องเที่ยวและท่าเรือข้ามฟาก  แต่จริงๆ แล้วที่นี่เป็นชุมชนชาวจีนเก่าแก่ที่มีความเป็นมายาวนานพอๆ กับกรุงเทพฯ ตั้งอยู่ในทำเลแทบจะใจกลางเกาะรัตนโกสินทร์ โดยซ่อนตัวอยู่เบื้องหลังของอาคารแบบตะวันตกสีเหลืองอายุกว่าร้อยปี ที่เรียงแถวโดดเด่นคู่กับพระบรมมหาราชวังและวัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์) จนหลายคนยามได้ไปเดินทอดน่องเตร็ดเตร่โซนเมืองเก่า อาจจะเดินผ่านไปมาโดยไม่รู้ว่ามีตลาดและบ้านเรือนอยู่ด้านใน ในวันที่กระแสการพัฒนาและความเจริญถาโถมเข้าสู่ย่านเมืองเก่าต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ท่าเตียนเป็นหนึ่งในย่านที่สายลมนั้นพัดผ่าน เราเดินลัดเลาะเข้าตรอกเล็กๆ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา พร้อมกับชาวท่าเตียนที่เกิดและโตที่นี่ พาสำรวจร้านค้าต่างๆ ที่ยังหลงเหลืออยู่คู่กับตลาดเก่าแก่ที่สร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เพื่อพูดคุยเรื่องการเปลี่ยนแปลง และการปรับตัวของร้านกับคนในชุมชนตั้งแต่อดีตจนถึงทุกวันนี้-วันที่ท่าเตียนกำลังเผชิญการปรับปรุงครั้งใหญ่อีกครั้ง ย่านการค้าเก่าแก่ ผู้คนจอแจเดินขวักไขว่ การขนถ่ายสินค้าขึ้นลงจากเรือที่มาจากทั่วสารทิศ เป็นภาพที่คนรุ่นปัจจุบันไม่ทันเห็น แต่ความทรงจำนี้ยังแจ่มชัดอยู่ในความนึกคิดของชาวท่าเตียน ‘เฮียหมึก-พจน์ตะวัน ชินนาสวัสดิ์’ คือหนึ่งในประจักษ์พยานที่ทันเห็นท่าเตียนในเวอร์ชันดั้งเดิม วันที่ตลาดยังไม่เงียบเหงา และการค้ายังไม่ซบเซาเช่นทุกวันนี้ “ตอนผมเด็กๆ ทุกแผงมีการค้าหมด ไม่ได้เงียบๆ แบบนี้ ขายสารพัด ทั้งผักผลไม้ ของอุปโภคบริโภค” รองประธานชุมชนท่าเตียนชวนย้อนวันเวลา ตรงตำแหน่งที่ตั้งของท่าเตียนแต่เดิมนั้น เป็นที่อยู่ของชุมชนชาวจีนและญวนมาตั้งแต่ก่อนหน้าจะสร้างกรุงเทพฯ ด้วยที่ตั้งที่อยู่ริมฝั่งน้ำ ทำให้สินค้าจากที่ต่างๆ มาลงตรงนี้ ก่อนพัฒนาเป็นตลาดค้าส่งที่สำคัญของกรุงเทพฯ ในยุคสมัยหนึ่ง ทว่าท่าเตียนในวันนี้มีเพียงซอยเดียวที่ยังมีการค้าขาย ลูกค้าที่มาซื้อก็บางตา แผงที่เหลือปิดไปเยอะเกินครึ่ง บ้างถูกใช้เป็นที่เก็บของ เช่นเดียวกับอาคารบ้านเรือนรอบๆ […]

กาดเกรียงไกรมาหามิตร การกลับมาของโรงงานกระเทียมดองเก่าแก่เพื่อเป็นกาดช่วยชุมชนแม่ริม

“ว่ากันว่าใครก็ตามที่มีโอกาสเคยได้มาเรียนที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เกินกว่าครึ่ง ถ้าได้ไปใช้ชีวิตอยู่ที่อื่นจะต้องอยากกลับมาใช้ชีวิตอยู่ที่เชียงใหม่อีกครั้ง” นี่คือประโยคของ ตุ้ย-เนรมิต สร้างเอี่ยม นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชื่อดังของไทย อดีตผู้บริหารบริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ จำกัด ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของโครงการคอนโดมิเนียมแบรนด์ยูดีไลท์ โครงการบ้านบ้าน วิภาวดี 20 ที่ได้รับรางวัลโครงการอสังหาริมทรัพย์เพื่อคุณภาพชีวิตดีเด่น ประจำปี 2562 ที่ไม่กี่ปีมานี้เขาเลือกที่จะวางตำแหน่งของเขาลง และย้ายชีวิตของเขากลับมาอยู่ที่เชียงใหม่ แถมยังเข้าซื้อกิจการโรงงานผักและผลไม้ดองเก่าแก่ของอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ที่ยอดขายกำลังซบเซา …เขาคิดอะไรของเขาอยู่ ไม่นานมานี้ตุ้ยได้ตอบข้อสงสัยนั้นด้วยการประกาศเปิดตัว ‘กาดเกรียงไกรมาหามิตร’ ตลาดของฝากที่รวมงานคราฟต์ สินค้ายะด้วยใจ๋ (ทำด้วยใจ) ของผู้คนในอำเภอแม่ริม ซึ่งตอนนี้กำลังได้รับความสนใจอย่างมาก จนกลายเป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ที่ผู้คนต้องแวะเมื่อมีโอกาสมาเที่ยวที่อำเภอแม่ริม แถมการอุดหนุนสินค้าต่างๆ ของที่นี่ยังทำให้คุณได้มีส่วนร่วมช่วยส่งเสริมชุมชนต่างๆ ในอำเภอแม่ริมให้แข็งแรงยิ่งขึ้นอีกด้วย  คุณเนรมิตสามารถเนรมิตโรงงานผักและผลไม้ดองที่กำลังซบเซาให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้งอย่างไร วันนี้ตุ้ยจะพาคุณทำความรู้จักกับตลาดแห่งนี้ทุกซอกทุกมุม ตั้งแต่หน้าตลาดจนถึงท้ายตลาดที่เป็นเบื้องหลังการเกิดขึ้นของกาดเกรียงไกรมาหามิตร กรุงเทพฯ-เชียงใหม่นิยาย ความตาย ความรัก เรื่องราวทั้งหมดเริ่มต้นขึ้นจากความรู้สึกอยากกลับมาอยู่ที่เชียงใหม่… “เดิมผมเป็นคนกรุงเทพฯ สมัยเป็นนักเรียนผมจะต้องนั่งรถข้ามสะพานพุทธทุกวันเพื่อไปโรงเรียน เวลาข้ามสะพานผมจะเห็นตึกต่างๆ ที่อยู่ริมน้ำ ก็เกิดความคิดกับตัวเองขึ้นมาว่าสักวันถ้าเรามีลูกแล้วได้บอกลูกว่าตึกนี้พ่อเป็นคนทำมันคงจะรู้สึกดีนะ หลังจากนั้นเลยทำให้ผมตัดสินใจที่จะเลือกเรียนด้านวิศวะ และต้องเป็นวิศวะโยธาเท่านั้น “ทีนี้ผมเคยอ่านนิยายเล่มหนึ่งเกี่ยวกับความรักนักศึกษาในรั้วมหา’ลัยที่ดังมากๆ เป็นมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เขาเขียนบรรยาย มช. ไว้ได้โรแมนติกมากๆ เราไม่เคยเห็นหรอกตอนนั้น แต่จินตนาการภาพตามจากตัวหนังสือ เลยทำให้ตอนสอบเข้าผมตัดสินใจเลือกสมัครที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ไว้ด้วย ซึ่งพอได้เข้าไปเรียน มช. ก็โรแมนติกจริงๆ […]

EVTG เดลิเวอรีสายกรีน ใช้รถไฟฟ้าและบอกลาพลาสติก

“บนถนนเต็มไปด้วยรถเดลิเวอรีเต็มไปหมดเลย ถ้าเราจะทำเหมือนๆ กันไปหมดมันก็ยิ่งทวีคูณทั้งขยะพลาสติก ทั้งมลพิษ” ท่ามกลางสมรภูมิเดลิเวอรีที่แข่งขันกันอย่างดุเดือด Urban Creature ได้มีโอกาสพบกับ ‘EVeryThing’s Good’ บริการส่งถึงที่น้องใหม่ที่ใช้สิ่งแวดล้อมเป็นตัวนำทาง เพราะใช้รถไฟฟ้าร้อยเปอร์เซ็นต์ในการขนส่งสินค้าถึงมือผู้บริโภค แม้แต่ยูนิฟอร์มพนักงาน ผ้ากันเปื้อนที่ใส่ก็ทำมาจากใยสับปะรด ของทุกอย่างมาจากวัสดุที่มีความยั่งยืน ความน่ารักในการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของ ‘EVeryThing’s Good’ จะมีอะไรให้เราตื่นเต้นอีกบ้าง มาดูกัน

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.