ชวนสำรวจประเพณี ‘การสักยันต์’ แบบไทย ที่นิทรรศการ TRANCE / FIGURATION ใน 3 จังหวัด 21 เม.ย. – 21 ส.ค. 65

การสักลายไม่ใช่เพียงสัญลักษณ์ที่สะท้อนตัวตนหรือศิลปะบนเรือนร่างของมนุษย์เท่านั้น แต่สำหรับคนบางกลุ่ม ลายเส้นเหล่านี้ยังเปรียบเสมือนเวทมนตร์ที่ให้การคุ้มครอง ความสามารถพิเศษ และโชคลาภแก่เจ้าของรอยสักด้วย ใครอยากสัมผัสหรือทำความเข้าใจการสักลายตามความเชื่อของไทย เราอยากชวนทุกคนไปงาน ‘TRANCE / FIGURATION สักยันต์ Tattoos from Birth to Death’ นิทรรศการจัดแสดงผลงานอันน่าทึ่งเกี่ยวกับประเพณี ‘การสักยันต์’ ของไทย ผ่านการผสมผสานสื่อหลายประเภท ทั้งภาพยนตร์ เสียง และการจัดวาง ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจถึงแก่นของการสักยันต์อย่างหลากมิติยิ่งขึ้น นิทรรศการนี้มีแรงบันดาลใจมาจากประเพณีการสักยันต์แบบไทยโบราณ ที่เชื่อว่าร่างกายมนุษย์เป็นดั่งผืนผ้าใบ ทุกอณูบนผิวหนังจึงถูกแต่งแต้มไปด้วยอักขระศักดิ์สิทธิ์และรูปสัตว์จากเรื่องราวในตำนาน ซึ่งในประเทศไทย กัมพูชา เมียนมา และลาว ช่างสักเปรียบเสมือนหมอผีที่สร้างเวทมนตร์ที่ช่วยให้เจ้าของรอยสักมีโชคลาภ แคล้วคลาดจากภัยอันตราย และอยู่ยงคงกระพัน ที่สำคัญ ผู้รับการสักยันต์ยังต้องเข้าสู่ ‘พิธีไหว้ครู’ พิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ที่ทำให้จิตของผู้ที่ศรัทธาเข้าสู่ภวังค์หรือที่เรียกว่าอาการของขึ้น เนื่องจากถูกครอบงำโดยจิตวิญญาณแห่งรอยสัก นอกจากจัดแสดงภาพถ่ายและประวัติศาสตร์ร่วมสมัยแล้ว ในนิทรรศการยังมีการร่วมพูดคุยกับนักชาติพันธุ์วิทยาและนักสังคมวิทยาเกี่ยวกับบทบาททางสังคมของรอยสักในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และพื้นที่อื่นๆ ของโลก  TRANCE / FIGURATION สักยันต์ Tattoos from Birth to Death จะเกิดขึ้นจากการเดินทางผ่าน 3 จังหวัด ตลอดระยะเวลา […]

ศราวุธ แววงาม ชาว Punk ที่ผันเป็นช่างสักขาลาย อนุรักษ์รอยสักล้านนาโบราณที่แทบสาบสูญ

หากสังเกตจิตรกรรมฝาผนังโบราณล้านนา เราจะพบว่าบริเวณขาของชายทุกคนจะมีลวดลายจากการสักอยู่ นี่คือหนึ่งในอัตลักษณ์ของวัฒนธรรมล้านนาที่เรียกกันว่า ‘การสักขาลาย’ ซึ่งเกิดมาจากความเชื่อในอดีตของชาวล้านนาว่า เด็กผู้ชายเมื่อจะก้าวเข้าสู่ความเป็นผู้ใหญ่ ทุกคนต้องผ่านพิธีการสักขาลายเสียก่อน  นอกจากจะพิสูจน์ความกล้า ความอดทน ยังเชื่อกันว่าเป็นการแสดงความนอบน้อมต่อครอบครัว แสดงความกตัญญูทดแทนพระคุณแม่ และพร้อมที่จะเป็นหัวหน้าครอบครัวต่อไป ถึงขั้นมีจารึกบันทึกไว้เลยว่า หากหญิงใดจะดูว่าชายนั้นเหมาะเป็นคู่ครองหรือไม่ ส่วนหนึ่งคือให้ดูว่าชายนั้นสักขาลายแล้วหรือยัง ด้วยเหตุนี้ผู้ชายชาวล้านนาในอดีตทุกคนจึงสักขาลายกันทั้งสิ้น อย่างไรก็ตามตลอดช่วง 50 ปีที่ผ่านมา ค่านิยมการสักขาลายก็ถูกลดทอนลงจนใกล้จะสาบสูญเต็มที เหลือหลักฐานให้ได้เห็นอยู่บ้างบนเรือนร่างของผู้เฒ่าต่างๆ โชคดีที่ยังมีคนจำนวนหยิบมือหนึ่งยังเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมการสักขาลาย และเข้ามาช่วยอนุรักษ์ สืบสานวัฒนธรรมนี้ให้คงอยู่ต่อไป หนึ่งในคนจำนวนนั้นก็คือ อ๊อด-ศราวุธ แววงาม ช่างสักอดีตเด็กพังก์ (Punk) ที่ผันตัวมาศึกษาวัฒนธรรมการสักขาลายอย่างจริงจัง โดยเดินทางไปศึกษากับอาจารย์ชาวปกาเกอะญอที่ยังคงสักอยู่ และสืบทอดวิชาการสักขาลาย รวมถึงอนุรักษ์การสักขาลายด้วยการบันทึกรอยสักนั้นไว้ลงบนเรือนร่างของผู้ที่สนใจ อะไรที่ทำให้เด็กพังก์ ไว้ทรงโมฮอว์ก สวมเสื้อหนัง ห้อยโซ่ รองเท้าบูตติดหนาม ถึงผันตัวมาสวมใส่เสื้อม่อฮ่อม กางเกงสะดอ และเปลี่ยนจากสักลายร่วมสมัยด้วยเครื่องสัก มาจับเข็มสักโบราณ รับแต่งานสักขาลายโดยเฉพาะ The Professional คราวนี้เราจึงขอนำเสนอเรื่องราวของชายผู้นี้ อ๊อดเริ่มต้นการเป็นช่างสักตั้งแต่อายุ 18 ปี พร้อมๆ กับการหันมาสนใจวัฒนธรรมพังก์ “เราสนใจความเป็นพังก์ เพราะว่าตอนนั้นยังไม่เป็นที่นิยมในสังคมไทย คนไม่ค่อยแต่งตัวแบบนี้ พังก์น่าสนใจตรงที่การทำสีผม […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.