I Feel ‘Them’ Linger in the Air มองความไม่เท่าเทียมในสังคมไทยผ่านละคร ‘หอมกลิ่นความรัก’

บทความนี้มีการเปิดเผยเนื้อหาของละคร ลองตั้งใจดม…นอกจากกลิ่นของความรักแล้ว…คุณรู้สึกถึงกลิ่นอื่นอีกไหม ลองตั้งใจมอง…นอกจากภาพสวยงามของคนรักกัน…คุณเห็นภาพความเหลื่อมล้ำอันแสนเจ็บปวดไหม ลองตั้งใจฟัง…นอกจากเสียงของคำรักพร่ำพลอด…คุณได้ยินเสียงกรีดร้องจากความเจ็บช้ำของผู้ถูกกดขี่หรือไม่ ลองตั้งใจละเลียด…นอกจากรสหวานล้ำของน้ำผึ้งพระจันทร์…คุณสัมผัสได้ถึงรสชาติขมขื่นซับซ้อนที่ถูกแทรกซอนเพิ่มเติมเข้ามาอย่างแนบเนียนบ้างหรือเปล่า แม้เส้นเรื่องหลักจะให้น้ำหนักกับความรักโรแมนติกของสองพระเอกอย่าง ‘พ่อจอม’ (ชานน สันตินธรกุล) และ ‘คุณใหญ่’ แห่งเรือนพลาธิป (รพีพงศ์ ทับสุวรรณ) สมกับชื่อเรื่อง ‘หอมกลิ่นความรัก’ หากแต่เส้นทางชีวิตของตัวละครสมทบที่รายล้อมนั้นก็มีสีสันจัดจ้านและรสชาติเข้มข้นจนไม่อาจมองข้าม เรื่องราวอันแสนตราตรึงนี้กำลังขยายตีแผ่สถานะและความสัมพันธ์หลากหลายรูปแบบ จนพูดได้เต็มปากว่าไม่ใช่เพียง I Feel ‘You’ Linger in the Air เท่านั้น บทโทรทัศน์ถูกรีเสิร์ชมาโดยถ้วนถี่เพื่อเพิ่มเติมเส้นเรื่องตัวรองขึ้นมาอย่างละเมียดละไม จนสามารถขยายขอบเขตของนิยาย Boy’s Love ไปสู่ประเด็นสังคมที่กว้างขวางกว่าเดิมในระดับ I Feel ‘Them’ Linger in the Air ‘They/Them’ หมายความถึงใครบ้าง…หลังจากห้วงกาลของคุณใหญ่เคลื่อนผ่านไปร่วมร้อยปี สรรพนามบุรุษที่ 3 ตามหลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษนี้มิได้หมายถึงแค่ ‘พวกเขา’ เหล่าชายหญิงทั้งหลายอีกแล้ว แต่หมายรวมเพศหลากหลายที่ปฏิเสธจะยึดมั่นการถูกจำแนกให้มีสิทธิ์เป็นได้เพียง ‘He/Him’ หรือ ‘She/Her’ ตามกรอบจำกัดของเพศกำเนิด สรรพนาม They/Them นี้อาจสามารถอ้างอิงถึง ‘นายเหนียว […]

แคมเปญฟุตบอลทรงสี่เหลี่ยม เรียกร้องความไม่เท่าเทียมทางเพศในวงการฟุตบอลที่ครอบครองโดยผู้ชาย

แม้ว่าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ‘ฟุตบอลหญิง’ จะได้รับการพูดถึงและเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น รวมถึงมีพื้นที่ในสื่อกระแสหลักผ่านการนำเสนอของสโมสรระดับโลก แต่เมื่อเทียบกับ ‘ฟุตบอลชาย’ ที่ประสบความสำเร็จมาเป็นหลักร้อยปี นักฟุตบอลหญิงหรือคนทำงานผู้หญิงก็ยังดูต้องต่อสู้ดิ้นรนอย่างหนักในวงการกีฬาประเภทนี้ คู่หูนักออกแบบ ‘Oliver Binnian’ ชาวอังกฤษ และ ‘Willem Slegers’ ชาวดัตช์ ได้สร้างสรรค์ผลงาน ‘UNPLAYABALL’ ซึ่งเป็นฟุตบอลรูปทรงสี่เหลี่ยมสำหรับการแข่งขันฟุตบอลโลกหญิงปี 2023 ที่ใกล้มาถึง เพื่อสื่อสารถึงอุปสรรคที่ผู้หญิงต้องเผชิญทุกครั้งเวลาลงสนาม ตามนัยแล้ว UNPLAYABALL หน้าตาไม่เหมือนลูกบอลทรงกลมที่เราคุ้นเคย เนื่องจากสองนักออกแบบต้องการทำลายบรรทัดฐานเดิมๆ ด้วยทรงสี่เหลี่ยม เพื่อทำหน้าที่เป็นสัญลักษณ์ของความไม่เท่าเทียมทางเพศในวงการกีฬา “อุปสรรคที่นักฟุตบอลหญิงต้องเผชิญนั้นมีมหาศาล ทั้งจากการสเตอริโอไทป์เรื่องเพศ การไม่มีตัวตนบนพื้นที่สื่อ ซึ่งนำไปสู่การขาดแคลนโครงสร้างที่สนับสนุนพวกเขา มันไม่ต่างจากเตะฟุตบอลทรงสี่เหลี่ยมนั่นแหละ” โอลิเวอร์และวิลเลียมอธิบายถึงแนวคิดการออกแบบงานชิ้นนี้ไว้ในเว็บไซต์ของพวกเขา นอกจากนี้ ทั้งคู่ยังแสดงความเห็นว่า ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันฟุตบอลลูกกลมๆ เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความสามัคคีและไม่แบ่งแยกของกีฬาชนิดนี้ ซึ่งความสามัคคีที่ว่าจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากผู้หญิงยังไม่ได้รับการเคารพและพื้นที่ในการแสดงออกอย่างเท่าเทียมทั้งในและนอกสนาม Sources :Designboom | tinyurl.com/2yokuudkOliver and Willem | oliverandwillem.com/11/Yanko Design | tinyurl.com/2aow6mvd

จุฬาฯ เปลี่ยนกิจกรรมวันแรกพบนิสิตใหม่ ไม่มีผู้นำเชียร์ คทากร กลุ่มเชิญพระเกี้ยว ต่อต้านสิทธิพิเศษของคนหน้าตาดี

ในยุคที่สังคมไทยให้ความสำคัญและขับเคลื่อนประเด็นเรื่องสิทธิและความเท่าเทียมมากขึ้นเรื่อยๆ หลายหน่วยงานของภาครัฐและเอกชนจึงต้องกลับมาพิจารณาและเปลี่ยนแปลงกิจกรรมขององค์กรที่อาจส่งต่อวัฒนธรรมการเลือกปฏิบัติ ซึ่งเป็นหนึ่งต้นตอของความไม่เท่าเทียมในสังคม หนึ่งในความเปลี่ยนแปลงล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2565 องค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อบจ.) ได้โพสต์เฟซบุ๊กแจ้งเปลี่ยนแปลงกิจกรรมวันแรกพบนิสิตใหม่แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยประจำปี 2565 (CU First Date 2022) ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 9 กรกฎาคม 2565 พร้อมระบุว่าในวันงานจะไม่มีกิจกรรมใดๆ จากกลุ่มผู้นำเชียร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU Cheerleader) จุฬาฯ คทากร (The Drum Major of Chulalongkorn University) และกลุ่มผู้อัญเชิญพระเกี้ยวแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU Coronet) อบจ. ระบุว่า ความเคลื่อนไหวนี้เกิดขึ้นหลังจากนิสิตจำนวนมากและสาธารณชนตั้งคำถามเกี่ยวกับปัญหาทางสังคมต่างๆ โดยเฉพาะประเด็นเรื่อง ‘สิทธิพิเศษของคนหน้าตาดี’ (Beauty Privilege) ที่เอื้อให้คนหน้าตาดีตรงตาม ‘มาตรฐานความงาม’ (Beauty Standard) มีโอกาสในสังคมมากขึ้น  ดังนั้น อบจ. จึงต้องการแสดงจุดยืนและหยุดส่งวัฒนธรรมการกดขี่และการเลือกปฏิบัติต่อผู้อื่นที่เกิดจากอคติทางรูปร่าง หน้าตา สีผิว เชื้อชาติ และเพศ เพื่อทำให้ทุกคนเท่าเทียมกันตามปฏิญญาการต้อนรับนิสิตใหม่แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยข้อที่ 2 […]

A Convenient Sunset | A Convenient Holdup

เรื่องราวและความโกลาหลและการสูญสิ้นระเบียบเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แม้กระทั่งในสภาพแวดล้อมที่ถูกจัดวางและควบคุมอย่างดีเช่นในร้านสะดวกซื้อ

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.