เมื่อความเชื่ออยู่เหนือทุกสิ่ง สำรวจจักรวาล Dune ผ่านมุมมองศาสนาและความเชื่อ

คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ‘Dune : Part Two’ กลายเป็นภาพยนตร์ไซไฟขึ้นหิ้งเรื่องใหม่ในทศวรรษนี้ไม่ต่างจาก ‘Star Wars’ หรือ ‘The Matrix’ ในอดีต จากเรื่องราวอันยอดเยี่ยมผ่านปลายปากกาของ Frank Herbert สู่จอเงินด้วยทัศนะของ Denis Villeneuve ผู้กำกับมากวิสัยทัศน์ ที่พาเราท่องไปในจักรวาล Dune ได้อย่างน่าตื่นตาตื่นใจ เรื่องราวของ Dune ไม่ใช่จักรวาลไซไฟในอนาคตอันหรูหราไฮเทค แต่กลับเป็นอนาคตที่ไม่มีคอมพิวเตอร์ หุ่นยนต์ และปัญญาประดิษฐ์ อีกทั้งยังเต็มไปด้วยความป่าเถื่อนและอิทธิพลของศาสนาราวกับวิวัฒนาการย้อนกลับไปในยุคกลาง (Medieval) ทั่วทั้งจักรวาลถูกปกครองภายใต้ระบอบเผด็จการโดยองค์จักรพรรดิเพียงหนึ่งเดียว และแบ่งสันการดูแลดวงดาวให้กับกลุ่มตระกูลขุนนางต่างๆ โดยที่ประชาชนบนดาวผู้เป็นเจ้าของเดิมทำได้เพียงก้มหัวยอมรับผู้ปกครองคนใหม่เท่านั้น จนกระทั่งการมาถึงของ ‘พอล อะเทรดีส’ (Paul Atreides) ผู้ที่จะเปลี่ยนโฉมหน้าของจักรวาลใหม่ทั้งหมด ทำไมผู้มีอำนาจถึงปกครองจักรวาลได้อย่างยาวนานโดยไร้ผู้ต่อต้าน และอะไรที่ทำให้การมาถึงของพอล อะเทรดีส สามารถปลุกระดมผู้คนให้ลุกขึ้นมาต่อต้านอำนาจจักรวรรดิอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน คอลัมน์เนื้อหนังอยากพาทุกคนไปสำรวจจักรวาล Dune ผ่านแนวคิดของ ‘ศาสนา’ และ ‘ความเชื่อ’ ที่ปรากฏในเรื่อง อิทธิพลของศาสนาและจุดกำเนิดความศรัทธาของมนุษย์ โฮโมเซเปียนส์ (Homo Sapiens) คือสิ่งมีชีวิตเดียวที่สามารถสร้างแนวความคิดบางอย่างเพื่อชักจูงและรวบรวมกลุ่มก้อนของตนให้กระทำบางสิ่งที่ต้องการ […]

สำรวจพื้นที่ระหว่างความเชื่อ ความตาย และความเป็นชุมชนในภาพยนตร์ ‘สัปเหร่อ’

หลังจากการเดินทางของหนังชุด ‘ไทบ้านเดอะซีรีส์’ ที่เล่าเรื่องของบรรดาตัวละครมาเป็นจำนวน 3 ภาค โดยมีภาคแยกของตัวละครในจักรวาลนี้ด้วยกันหนึ่งเรื่อง นั่นคือ ‘หมอปลาวาฬ’ รวมไปถึงหนังที่แยกออกจากจักรวาลหลักอย่าง ‘รักหนูมั้ย’ และ ‘เซียนหรั่ง’ ในที่สุดก็มาถึงคราวหนังภาคแยกเรื่องราวของตัวละครที่ทุกคนต่างรอคอยใน ‘สัปเหร่อ’ ซึ่งเป็นเสมือนภาคที่จะคลี่คลายเรื่องราวของตัวละคร ‘เซียง’ และ ‘ใบข้าว’ เมื่อดูผิวเผินจากตัวอย่างและใบปิด เราอาจรู้สึกเหมือนว่า หรือทีมคนทำหนังชุดไทบ้านต้องการทำหนังผีเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดหนังไทย เพราะด้วยภาพต่างๆ ที่เผยออกมาให้ได้ชม เป็นเรื่องราวของคนในหมู่บ้านที่ถูกวิญญาณผีใบข้าวตามหลอกหลอนจนหัวโกร๋น แต่เมื่อได้รับชมตัวหนังจริงๆ ปรากฏว่าเรื่องราวในเรื่องกลับเป็นสิ่งที่ไม่ได้ถูกนำเสนอบ่อยนักในหนังไทย เราจึงไม่แปลกใจที่ผู้ชมที่เริ่มต้องการสิ่งแปลกใหม่จากหนังไทยจะแห่กันไปดูหนังเรื่องนี้อย่างล้นหลาม จนรายได้จะทะลุ 1,000 ล้านแล้วในขณะนี้ นอกจากความแปลกใหม่ของรสชาติที่หนังไทยไม่ค่อยนำเสนอ หนังเรื่องนี้ยังหยิบเอาประเด็นความเป็น-ความตาย ที่เชื่อมโยงกับความเป็นชุมชนในต่างจังหวัดมาบอกเล่าได้อย่างเรียบง่ายและสมจริง ผ่านสายตาของลูกหลานผู้เป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ คอลัมน์เนื้อหนังขอถือโอกาสพาผู้อ่านไปสำรวจแง่มุมเหล่านี้ในสัปเหร่อ เพื่อทำความเข้าใจบริบทประเทศไทยในพื้นที่ที่อาจห่างไกลจากตัวผู้อ่าน ไม่ว่าจะเป็นในเชิงกายภาพหรือความเข้าใจก็ตาม พื้นที่ของความเชื่อ สิ่งที่ทำให้สัปเหร่อโดดเด่นกว่าหนังไทยเรื่องอื่นๆ คือการเข้าไปลงลึกถึงอาชีพของสัปเหร่อ ราวกับเป็นสารคดีงานศพตามหลักความเชื่อและความต้องการของผู้ตายหรือผู้จัดงานให้ หนังค่อยๆ พาผู้ชมไปสำรวจการแสดงความรักต่อผู้ที่จากไปในรูปแบบต่างๆ นานา จากการที่ ‘เจิด’ (นฤพล ใยอิ้ม) ลูกชายคนเล็กของ ‘ศักดิ์’ (อัจฉริยะ ศรีทา) สัปเหร่อประจำหมู่บ้านที่กลับมาบ้านหลังจากไปร่ำเรียนมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ซึ่งนำพาเขาไปพบกับความหลากหลายของการจัดทำพิธีแก่ผู้ที่จากไป ไม่ว่าจะแบบท้องถิ่นของชาวไทยอีสานที่มีวัฒนธรรมการตั้งวงเล่นพนันกันในงานศพ […]

จะผิดไหม ถ้าพึ่งความเชื่อสายมูฯ ในเมื่อทำเต็มที่แล้วแต่ยังไม่สำเร็จเสียที

‘พี่เปิดประตูมา นึกว่าอยู่ในตำหนักไหนสักแห่ง’ นี่คือคำที่คุณแฟนใช้บรรยายมุมหนึ่งในห้องเล็กๆ ของฉันในย่านเอกมัย ที่มีทั้งหินมงคล (เอาออกไปอาบแสงจันทร์ทุกคืนที่พระจันทร์เต็มดวง), เครื่องหอมกำยาน, เครื่องรางเสริมดวงจากครูบาที่มีชื่อเสียงมากมาย, เทวรูปเล็กๆ ของศาสนาฮินดู รวมไปถึงศาสนาพุทธ พร้อมน้ำและดอกไม้ที่คอยเปลี่ยนถวายอยู่เรื่อยๆ คอนโดฯ High-rise ที่มองออกไปเห็นวิวทิวทัศน์รายล้อมด้วยตึกสูงสไตล์โมเดิร์น รอบๆ เป็นบาร์ฮิปๆ ที่มักมีเสียงวัยรุ่นโหวกเหวกทุกคืน โดยเฉพาะช่วงตี 2 – 3 ข้างนอกคอนโดฯ กับข้างในห้องของฉันช่างเป็นภาพที่ดูไม่เข้ากันเหลือเกิน ‘The growth rate of cities urgently requires that we give attention not merely to design and planningbut also to deeper questions of meaning and purpose.We not only live in the world; […]

‘เฮ็ดในสิ่งที่เซื่อ’ ภาพวาดการ์ตูนหัวโตล้อสันดานคน ที่ไม่เชื่อแม้แต่ความจริงตรงหน้า

คน (ไทย) บางคนหยิบสมาร์ตโฟนขึ้นมาถ่ายภาพที่ชอบเป็นพิเศษ ส่องไฟฉายเฉพาะมุมที่สนใจ เสพข่าวแค่บางช่อง บูชาบุคคล และบรรจงเก็บเรื่องราวเหล่านั้นให้ขึ้นใจ เพราะ ‘เชื่อ’ ในสาระสำคัญของสิ่งของ ผู้คน ความเชื่อ รวมถึงวัฒนธรรมตรงหน้า ส่วนพื้นที่รอบข้างหลังเลนส์ที่ไม่ถูกส่อง ไม่เลือกส่อง หรือไม่อยากส่อง ก็ปล่อยไว้แบบนั้น  ถึงความจริงจะฟ้องร้องทนโท่เต็มสองตาก็ไม่สน…เพราะอะไร…เพราะบังคับตัวเองให้ไม่เชื่อยังไงล่ะ “เฮ็ดในสิ่งที่เซื่อ” แปลประโยคอีสานเป็นภาษาภาคกลางได้ว่า ทำในสิ่งที่เชื่อ  ขณะเดียวกันก็เป็นชื่อนิทรรศการศิลปะของ ลำพู กันเสนาะ ศิลปินหญิงที่ฝากลายเซ็น และลายเส้นบนภาพวาดการ์ตูนหัวโตด้วยสีน้ำมัน ซึ่งแฝงเนื้อหาสะท้อนสังคม จิกๆ กัดๆ มันๆ คันๆ ไว้นานถึง 11 ปี  ครั้งนี้พิเศษกว่าครั้งไหน เพราะเป็นครั้งแรกที่เธอเลือกละเลงสีอะคริลิกสีสันฉูดฉาดลงบนผ้าลินิน และทำมันในรูปแบบการ์ตูนช่องที่มีนางแบบ นายแบบเป็นชาวบ้านซึ่งขาดรายได้ช่วงโควิด-19 ในชุมชนอัมพวา โดยหยิบความทรงจำสมัยเด็กที่ชอบนั่งวาดการ์ตูนช่องริมคลอง มาผูกกับเรื่องราวสะท้อนสังคมปัจจุบันให้มีต้น กลาง จบ เหมือนหนังสือขายหัวเราะ หรือมังงะที่ชอบอ่าน  “นิทรรศการเฮ็ดในสิ่งที่เซื่อ ถูกวาดจากความเชื่อของคนในสังคม เสียดสีสถานการณ์ปัจจุบันและการเมือง ที่แต่ละคนมองเห็นสิ่งเดียวกันแต่กลับมองไม่เหมือนกัน เด็กมองอีกแบบ คนแก่มองอีกแบบ แต่ละชนชั้นก็มองกันอีกแบบ และในบางความเชื่อจะมีความเข้าข้างตัวเอง ศรัทธาในตัวเอง พึงพอใจที่จะเลือกว่าอยากจะเชื่ออะไร […]

‘ศาลพระภูมิ’ ยุคใหม่ บทพิสูจน์ที่ยืนหยัดบนความเชื่อ

บริษัทศาลพระภูมิ ‘Holyplus’ ศาลพระภูมิยุคใหม่ ที่เปลี่ยนมุมมองของศาลพระภูมิให้เข้ากับยุคเข้าสมัย และเป็นส่วนหนึ่งของอาคารบ้านเรือน ซึ่งกลมกลืนเข้ากับสิ่งแวดล้อมรอบข้างได้อย่างลงตัวที่แม้กาลเวลาก็ไม่ใช่เงื่อนไขอีกต่อไป

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.