เมื่อการซื้อดอกไม้หรือของเล็กๆ น้อยๆ ที่ถูกมองว่าเป็นเรื่องสิ้นเปลือง มีความสำคัญในความสัมพันธ์กว่าที่คิด

ในเดือนแห่งความรัก ผู้เขียนขอชวนคุยเรื่องความรัก ที่บางครั้งก็ดูเหมือนน้อยนิดแต่กลับยิ่งใหญ่ นั่นคือการให้ของขวัญแทนการบอกรัก ที่บางคนก็ตั้งหน้าตั้งตารอ อยากได้เหลือเกิน โดยเฉพาะในทุกเทศกาลพิเศษ แต่บางคนกลับมองว่านี่เป็นสิ่งไร้สาระและไม่จำเป็น บ้างยังบอกว่าเป็นสิ่งสิ้นเปลือง ท้าทายอำนาจทุนนิยม ถ้ามองแบบคนไม่โรแมนติกเลยก็เข้าใจได้ว่า การรู้สึกโดนกระตุ้นจากสังคมกลุ่มหนึ่งที่กดดันให้เราต้องเชื่อว่า ‘สิ่งของนอกกาย’ นั้นมีคุณค่ามากกว่าสิ่งอื่น อาจทำให้เรารู้สึกต่อต้านได้ โดยเฉพาะหากของสิ่งนั้นโดนบวกราคาขึ้นหลายเท่าเมื่ออยู่ในบางเทศกาล เช่น ดอกกุหลาบในวันวาเลนไทน์ การต้องจ่ายเงินที่เยอะเกินปกติเพื่อทะนุถนอมความสัมพันธ์ที่มันควรเป็นแค่เรื่องของเรา ก็คงทำให้รู้สึกหงุดหงิดจริงๆ นั่นแหละ แต่ความรู้สึกของอีกคนล่ะ เราอาจต้องมองทะลุไปให้เห็นถึงจิตใจของเขาหรือเปล่า ความน้อยใจจากสังคมในโซเชียลมีเดีย เราอยู่ในยุคที่โลกจริงถูกกลืนเข้าไปอยู่ในโลกโซเชียลมากขึ้นทุกที จนหลายคนยังหลงคิดเลยว่า ถ้าฉันไม่โพสต์รูปลงโซเชียลมีเดีย คนอื่นจะรู้ไหม แล้วถ้าคนอื่นไม่รู้ เรื่องของเรามันจะเป็นเรื่องจริงไหม ด้วยแพลตฟอร์มที่สร้างมาให้ง่ายต่อการเปรียบเทียบกัน ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า โลกโซเชียลมีอิทธิพลอย่างมากในการวัดค่าความรักของตัวเองผ่านเรื่องราวของคนอื่น เช่น การรู้สึกไม่ไว้ใจหากแฟนตัวเองไม่ลงรูปคู่ หรือความรู้สึกน้อยใจที่เห็นแฟนไม่ซื้อดอกไม้มาให้ ทั้งๆ ที่คู่อื่นเขาโชว์ดอกไม้ช่อใหญ่กันเกลื่อนอินสตาแกรมไปหมด ผลกระทบจากโซเชียลมีเดียอาจทำให้ฝ่ายหนึ่งรู้สึกไม่เป็นที่รักมากพอ และอีกฝ่ายหนึ่งก็รู้สึกกดดันที่ต้องแสดงออกซึ่งความรักมากขึ้น ซึ่งปกติเขาอาจไม่ใช่คนที่ทำแบบนั้น อะไรเล็กๆ น้อยๆ แบบนี้อาจกำลังบั่นทอนความสัมพันธ์อยู่ โดยที่ทั้งคู่ไม่ทันฉุกคิดก็ได้ สิ่งที่อยู่ในใจมีมากกว่าแค่ของที่ซื้อให้กัน ผู้หญิงคนหนึ่งอาจโกรธมากที่แฟนลืมซื้อน้ำผลไม้ปั่นที่เธอชอบมาให้ ทั้งๆ ที่เขาขับรถผ่านร้านนั้น ฟังดูเหมือนเป็นเรื่องดูงี่เง่า แต่ลึกๆ แล้วมันไม่ใช่แค่การเจ็บใจที่ไม่ได้ทานของโปรด แต่คือความโดดเดี่ยวในความรู้สึกที่ไม่ได้รับการใส่ใจเป็นพิเศษจากคนรักของตัวเอง ไม่ต่างกัน อีกคนหนึ่งอาจงอนมากที่คนรักไม่เคยซื้อของขวัญอะไรให้เลย […]

Heart GURU การ์ดเกมว่าด้วยเรื่องหัวใจ ความสัมพันธ์ และเพศสัมพันธ์ ที่อยากให้สังคมไทยตระหนักรู้เรื่องความรุนแรงทางเพศมากขึ้น

‘ความรุนแรงทางเพศ’ และ ‘อคติทางเพศ’ ในสังคมไทยเปรียบเสมือนสำนวนภาษาอังกฤษที่ว่า ‘Elephant in the Room’ ซึ่งหมายถึงปัญหาใหญ่ที่ทุกคนรับรู้ดี เห็นได้ชัดเจน แต่กลับหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงหรือตั้งใจทำเป็นมองไม่เห็นมัน ไม่ว่ากี่ปีผ่านไปเราก็ยังเห็นปัญหาเหล่านี้กันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ผ่านเรื่องเล่าของคนใกล้ตัวที่ตกเป็นเหยื่อ หรือแม้แต่พาดหัวข่าวตามสื่อต่างๆ ที่สะท้อนว่าการใช้ความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศได้ฝังรากลึกอยู่แทบทุกแวดวง ไม่ว่าจะเป็นวงการบันเทิง การศึกษา ภาคธุรกิจ หรือแม้แต่ในพรรคการเมืองเองก็ตาม ทว่ายังมีกลุ่มคนจำนวนไม่น้อยที่พยายามส่งเสียงและสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความรุนแรงทางเพศ หนึ่งในนั้นคือ Thaiconsent สื่อออนไลน์ที่อยากชวนสังคมไทยพูดคุยเรื่องเพศและความสัมพันธ์ในเชิงลึก Thaiconsent พยายามสื่อสารประเด็นเรื่องเพศผ่านช่องทางออนไลน์มาตลอด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความรุนแรงทางเพศ การล่วงละเมิดทางเพศ รวมถึงความยินยอมพร้อมใจในการมีเพศสัมพันธ์ (Sexual Consent) และล่าสุด Thaiconsent ต้องการสื่อสารกับผู้คนในรูปแบบใหม่ จึงพัฒนาและออกแบบการ์ดเกม ‘Heart GURU รอบรู้เรื่องหัวใจ’ โดยตั้งใจทำให้เป็นสื่ออีกประเภทหนึ่งที่ส่งต่อข้อมูลที่ถูกต้อง และชวนให้คนแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ในมิติต่างๆ ตามไปคุยกับ ‘นานา-วิภาพรรณ วงษ์สว่าง’ ผู้ก่อตั้ง Thaiconsent ถึงแนวคิดเบื้องหลังการออกแบบการ์ดเกม Heart GURU และความตั้งใจที่จะส่งต่อความรู้เกี่ยวกับหัวจิตหัวใจ ความสัมพันธ์ และเพศสัมพันธ์ ให้ไปถึงคนจำนวนมากที่สุด จุดเริ่มต้นของ Heart GURU นานาเล่าย้อนความให้ฟังว่า […]

ConsentIsHappy แคมเปญที่รองแก้วจาก Thaiconsent ตอกย้ำว่าความสัมพันธ์ที่ดีต้องมีความยินดีเสมอ

ปัจจุบันคนไทยส่วนใหญ่ยังไม่กล้าพูดคุยเรื่องเซ็กซ์กันตรงๆ การใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ช่วยเพิ่มความกล้าจึงกลายเป็นหนึ่งวิธีที่ได้รับความนิยม แต่นั่นคือความเข้าใจที่ผิด เพราะความจริงแล้วการตีความว่าอีกฝ่ายอยากมีเพศสัมพันธ์กับเราอาจนำไปสู่การข่มขืนหรือล่วงละเมิดทางเพศได้ ที่แย่ไปกว่านั้น ผู้เสียหายที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศในสถานการณ์กินดื่มมักถูกสังคมกล่าวโทษและไม่ได้รับความช่วยเหลือ วงจรนี้ทำให้ผู้กระทำผิดได้ใจ และกระทำเช่นนี้ซ้ำไปเรื่อยๆ เพราะคิดว่าเป็นสิ่งที่พวกเขาทำได้ เพราะความเข้าใจเรื่อง Consent ในสังคมไทยยังมีปัญหา ‘Thaiconsent’ สื่อออนไลน์ที่อยากชวนสังคมไทยพูดคุยเรื่องเพศและความสัมพันธ์ในเชิงลึก จึงจัดทำแคมเปญ #ConsentIsHappy เพื่อเพิ่มความตระหนักรู้เกี่ยวกับความยินยอมพร้อมใจในการมีเพศสัมพันธ์ (Sexual Consent) โดยหวังว่าทุกคนจะช่วยกันปกป้องนักดื่มจากผู้ไม่ประสงค์ดีที่หวังฉวยโอกาส และเป็นการย้ำว่า ‘ความสัมพันธ์ที่ดี ต้องมีความยินดีเสมอ’ ‘นานา-วิภาพรรณ วงษ์สว่าง’ ผู้ก่อตั้ง Thaiconsent เล่าว่า เธอเลือกสื่อสารประเด็นเรื่อง Consent ผ่านการทำ ‘ที่รองแก้ว’ ซึ่งมาพร้อมข้อความสองประโยคคือ ‘มอมเหล้า ≠ ยอม’ และ ‘เพราะบางเรื่องไม่ควรเดา จะ ย. ต้อง ข.’ “เราตั้งใจทำที่รองแก้วแจกบาร์ คาเฟ่ และร้านเหล้า เพราะมองว่าเป็นสถานที่ที่ผู้คนควรได้รับข้อความเหล่านี้มากที่สุด เราอยากให้คนที่ไม่เคยรู้จักคำว่า Consent มาก่อนได้รู้จักคำนี้ อาจเริ่มจากการมาร้านเดิมเป็นประจำหรือมาร้านใหม่ก็ตาม เราเชื่อว่าการได้เห็นคำนี้บ่อยๆ จะนำไปสู่การตั้งคำถามและอยากค้นหาความหมายด้วยตัวเอง “เบื้องต้น Thaiconsent ผลิตที่รองแก้วแจกทั้งหมดหนึ่งพันชิ้น […]

มองวิกฤตการณ์ความสัมพันธ์กับบทบาทความเป็นแม่ผ่าน ‘ห่วงโซ่งานดูแลระดับโลก’

ในบรรดาคนดูแลที่ผลัดเวียนกันเข้ามาดูแลยายเราก่อนเสียชีวิต คนที่เราจำได้ดีที่สุดคือ ‘ป้าตู่’ ป้าแกอายุอานามค่อนข้างมากแล้ว แต่ยังคุยเก่ง นั่นอาจเป็นเหตุผลที่ทำให้เข้ากับยายเราได้ดี ภาพที่เห็นจนคุ้นเคยคือป้าตู่เฝ้ายายกินข้าวไม่ให้ข้าวติดคอบ้าง บีบนวดแขนขาบ้าง บางวันก็ถือสมุดเล่มบางๆ ให้ยายฝึกออกเสียง ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นหลังจากยายได้รับวินิจฉัยว่าเป็นโรคกล้ามเนื้อเสียการประสานงานจากสมองน้อยและไขสันหลัง (Spinocerebellar Degeneration — โรคเดียวกับนางเอกในซีรีส์ญี่ปุ่นบ่อน้ำตาแตก One Litre of Tears) ป้าตู่อยู่กับยายเราเป็นปี ฟังดูไม่ได้นานมาก แต่ก็ถือว่านานแล้วถ้าเทียบกับคนดูแลคนอื่นตามแต่จะหาได้ที่หมุนเวียนกันเข้ามาช่วยเฝ้าดูอาการยาย งานดูแลคนแก่ไม่มีอะไรซับซ้อน ออกจะน่าเบื่อด้วยซ้ำ แต่รายละเอียดยิบย่อยของมันและการต้องอยู่โยงเฝ้าคนแก่หนึ่งคนเป็นเวลาทั้งวัน ซ้ำๆ ทุกวัน ก็ไม่ใช่เรื่องสนุกสนานน่ายินดีปรีดาอะไร บ้านเราแบกรับค่าใช้จ่ายพยาบาลอาชีพที่มาจากศูนย์หรือโรงพยาบาลไม่ไหว ที่ผ่านมาเลยได้แต่ถามไถ่แม่บ้านในละแวกว่าพอมีใครว่างหางานอยู่บ้าง ซึ่งนี่อาจเป็นเหตุผลที่พอเข้ามาจับงานได้สักพัก หลายคนก็ขอลาออกและกลับไปทำงานแม่บ้านที่ตัวเองถนัดมากกว่า ที่ยกมาเล่าสู่กันฟัง เพราะวันแม่ปีนี้ชวนให้เราหวนกลับไปนึกถึงคลิปวิดีโอชิ้นหนึ่งที่มีชื่อว่า Who Knows Kids Better? Mums VS Maids ที่เป็นการสัมภาษณ์พี่เลี้ยงเด็กในประเทศสิงคโปร์ด้วยการถามคำถามสั้นๆ เกี่ยวกับเด็ก จากนั้นก็เอาคำถามเดียวกันไปถามคนเป็นแม่ ก่อนปิดท้ายด้วยการให้ลูกๆ มาเฉลยคำตอบ คำถามในคลิปล้วนเป็นคำถามง่ายๆ ไม่ซับซ้อน ยกตัวอย่าง ‘อนาคตเด็กอยากโตไปเป็นอะไร’, ‘เพื่อนสนิทที่โรงเรียนชื่ออะไร’, ‘ชอบเรียนวิชาอะไรที่สุด’ แต่ที่น่าสนใจคือ กลายเป็นว่าคนเป็นพี่เลี้ยงเด็กตอบคำถามได้ถูกต้องกว่าคนเป็นแม่ โดยในคลิปสรุปเป็นตัวเลขให้เลยว่า […]

‘ปล่อยวางเขา แล้วเอางานกับตัวเองให้รอดก่อน’ เมื่อภาวะทางใจคนที่ทำงานมากระทบใจเรา

ชาวออฟฟิศหลายคนล้วนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ในชีวิตหนึ่งสัปดาห์ ใช้เวลาอยู่ที่ทำงานมากกว่าอยู่บ้านเสียอีก ยิ่งช่วงไหนที่ประชุมบ่อย งานด่วน โปรเจกต์ใหม่ใกล้เปิดตัว ฯลฯ บ้านเราจริงๆ ก็มีไว้แค่กลับไปอาบน้ำนอนเท่านั้นแหละ ‘การมี ‘Work BFF’ หรือเพื่อนรักในออฟฟิศคือลาภอันประเสริฐ’ จึงเป็นคำกล่าวที่จริงมาก เพราะสมัยก่อนตอนเราทำงานออฟฟิศ เมื่อไหร่ก็ตามที่มีปัญหา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องส่วนตัวหรือความขัดแย้งกับเจ้านาย ก็ได้เพื่อนสนิทที่นั่งโต๊ะข้างๆ กันนี่แหละคอยแชร์ความเข้าใจ ความห่วงใย กอดคอรอดไปพร้อมๆ กัน แต่ความเจ็บปวดอีกระดับที่จะเกิดขึ้นคือ เมื่อคนที่ควรเป็นที่พึ่งและความอุ่นใจของเรา ดันกลายเป็นพื้นที่ที่ไม่ปลอดภัยแทนซะแล้ว อาจเพราะด้วย ‘ภาวะทางใจ’ ไม่ว่าจะเป็นโรคหรืออาการทางจิตใจต่างๆ ที่กระทบเขาอย่างรุนแรง จนห้วงอารมณ์และความเป็นตัวตนของเขาเปลี่ยนไป จนทำให้เราแทบจำเวอร์ชันเก่าไม่ได้ ส่งผลให้การทำงานของเขาและเรายากขึ้นตามไปด้วย แล้วชีวิตการทำงานของเราจะรอดได้ยังไง หากต้องรับมือเหตุการณ์หนักๆ นี้ไปทุกวัน ‘มันคืออาการหรือโรคที่ทำให้เขาเป็นแบบนี้ ถ้าทุกอย่างปกติ เขาจะไม่ทำกับเราแบบนี้’ เมื่อไหร่ก็ตามที่สภาพจิตใจเผชิญเรื่องราวหนักหนาจนตั้งรับไม่ไหว สภาพร่างกายและอารมณ์ก็จะแสดงความสุดโต่งต่างๆ ออกมา เช่น เกรี้ยวกราด ด่าทอ เฉยชา หงุดหงิดง่าย ฯลฯ สิ่งนี้เรียกว่าระบบป้องกันตัวในยามที่สภาพร่างกายและจิตใจอยู่ในช่วงฉุกเฉิน คนคนนั้นจำเป็นต้องสร้างตัวตนอื่นมาตั้งรับกับสภาวะแปลกใหม่ที่เขากำลังเจออยู่ และแน่นอน ‘นั่นไม่ใช่การรับมือแบบปกติทั่วไป’ เช่น ถ้าเพื่อนของเราเพิ่งสูญเสียสมาชิกครอบครัวอย่างกะทันหัน ส่งผลให้เพื่อนคนนี้เครียดมาก ปล่อยวางไม่ได้ […]

‘ไม่มีใครที่อยากมีความสัมพันธ์แย่ๆ หรอก’ ค่านิยมสุขภาพจิตที่อยากให้ทำความเข้าใจใหม่

เรารักสังคมที่เปิดกว้างและเข้าถึงเรื่องสุขภาพจิตอย่างง่ายดายขึ้นในไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้มากๆ แต่ในขณะเดียวกัน เราก็ไม่รักเลยกับการที่บางคนนำชุดความรู้จิตวิทยาบางอย่างมาวิเคราะห์กับทุกสถานการณ์ ไม่ว่าจะด้วยความตั้งใจหรือไม่ก็ตาม จนลืมไปว่า ทุกเหตุการณ์และตัวบุคคลล้วนมีความละเอียดอ่อนต่างกันโดยสิ้นเชิง  แค่เพียงชุดความคิดเดียวที่แม้จะได้รับการพูดถึงเป็นวงกว้างขนาดไหน ก็ไม่ได้เป็นบทการันตีว่าจะสามารถนำมาใช้กับทุกคนบนโลกได้ ไม่มีใครคนไหนเหมือนกัน และไม่ว่าอะไรแย่ๆ จะเกิดขึ้นในชีวิต ไม่จริงเลยที่สิ่งนั้นจะทำให้เรากลายเป็นคนต้องคำสาป และมันไม่มีหรอก ปัญหาสุขภาพจิตไหนที่โหดร้ายเกินเยียวยา หากคนคนนั้นเลือกที่จะมีความกล้า ให้เวลา และเชื่อมั่นในตัวเอง เพื่อเดินทางไปสู่ชีวิตที่มีสุขภาพจิตดี เพราะอยากให้คนในสังคมเปิดใจ มีมายด์เซตที่ไม่ตัดสินคนอื่นผ่านความสัมพันธ์ของพวกเขาไปก่อน เราขอแชร์บางชุดความคิดที่อยากกระตุ้นให้ทุกคนลองมองในมุมใหม่ดู “เกิดมาในครอบครัวที่ไม่อบอุ่น โตมาก็จะมีความสัมพันธ์ที่ไม่อบอุ่น” เราขอเริ่มด้วยทฤษฎีทางจิตวิทยาที่หลายคนน่าจะคุ้นเคยกัน นั่นคือ ทฤษฎีความสัมพันธ์ในช่วงปี 1950s ที่ชื่อ Attachment Theory โดย John Bowlby  เขาเชื่อว่า ทารกทุกคนเรียนรู้การสร้างความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิดเพื่อเป็นทักษะในการอยู่รอด ซึ่งคนใกล้ชิดของทารกคือ ‘ผู้ดูแล’ นั่นเอง (เราขอใช้คำว่า ผู้ดูแล เพราะคนคนนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นพ่อหรือแม่เท่านั้น ใครก็ตามที่ใกล้ชิดและผูกพันกับเด็ก ไม่ว่าจะเป็นคุณยาย พี่เลี้ยง คนเลี้ยงเด็กในสถานสงเคราะห์ ฯลฯ ก็ถือเป็นผู้ดูแลทั้งสิ้น) John Bowlby ได้ทำการทดลองกับหลายครอบครัว และได้บทสรุปที่กึ่งๆ เป็นคำทำนายอนาคตของเด็กแต่ละครอบครัวมาว่า ‘สิ่งที่คนใกล้ชิดเลือกปฏิบัติต่อเด็กและสิ่งที่เด็กเลือกตอบสนองนั้น จะช่วยสร้างแพตเทิร์นความสัมพันธ์ของเด็กคนนั้น เมื่อเขาโตมามีคนรักเป็นของตัวเอง’ […]

‘คบคนในที่ทำงานไม่ใช่เรื่องน่ากลัว’ ความรักเป็นเรื่องของคนสองคน และไม่มีกฎตายตัว

หลายคนคงเคยได้ยินคำกล่าวที่ออกจะดูไปในแนวคำขู่ ถึงอันตรายของการคบกับคนที่ทำงานในที่เดียวกัน ต้องเจอหน้ากันทุกวัน และอาจเต็มไปด้วยความเสี่ยงมากมายหากรักไปไม่รอด เนื่องในเดือนแห่งความรักนี้ ผู้เขียนเลยอยากเล่าเรื่องราวที่หลายคนไม่ค่อยพูดถึง แต่ทำให้ใจฟูกันบ้าง นั่นคือ ‘ความรักที่เกิดในที่ทำงาน แล้วมันเวิร์ก สวยงาม และยาวนานยั่งยืน’ เราได้มีโอกาสพูดคุยกับชายหนุ่มวัย 30 กลางๆ ขอเรียกเขาว่า ‘พี่บี’ แล้วกัน ตั้งแต่รู้จักกับเขาเมื่อหลายปีมาแล้ว ก็สัมผัสถึงความหอมหวานอบอุ่นของความรักระหว่างเขาและแฟน ซึ่งปัจจุบันคือภรรยาของเขา ที่มีให้กันและกันมาโดยตลอด จากบทสนทนาในครั้งนี้ บอกเลยว่าเราได้อะไรกลับไปมากกว่าแค่เคล็ดลับการทะนุถนอมความรักในที่ทำงานเยอะเลย ถ้าความรักดี การได้อยู่กับคนรักเพิ่มขึ้นเท่ากับได้เวลาที่ดีเพิ่มขึ้น “ความรักในที่ทำงาน มันคือตัวคูณ ถ้ามันดี มันจะมีความสุขแบบทวีคูณ แต่ถ้ามันแย่ มันก็พังเป็นเท่าตัวด้วยเหมือนกัน แต่สิ่งที่มาเป็นเส้นแบ่งเพื่อป้องกันไม่ให้ความรักหลงเดินไปในทางที่แย่คือ วุฒิภาวะของทั้งคู่” พี่บีเริ่มต้นบทสนทนาไว้อย่างนี้ และอธิบายเพิ่มว่า ในประเทศไทย เวลาที่เราอยู่ในที่ทำงานนับเป็นประมาณ 40 กว่าชั่วโมงต่ออาทิตย์ ถ้ามันดี ก็เท่ากับได้เวลาที่ดีที่ได้อยู่กับคนรักตั้ง 40 กว่าชั่วโมง แต่ถ้ามันแย่ เต็มไปด้วยความไม่เชื่อใจ น้อยใจ วุ่นวายใจ ฯลฯ แปลว่า 40 กว่าชั่วโมงนั้นจะเกิดการฝ่าฟันทรหดอยู่พอตัว “แต่มันไม่มีกฎเกณฑ์อะไรตายตัวเลย ว่าคบคนที่ทำงานต่างที่กันจะดีเสมอไป หรือคบคนที่ทำงานที่เดียวกันแล้วจะแย่เสมอไป” […]

‘เราโดน Gaslight หรือเผลอไป Gaslight ใครหรือเปล่า’ บอกทีว่าความสัมพันธ์ที่ดีต่อใจยังมีอยู่จริง

คำว่า ‘Gaslight’ เป็นคำที่คนค้นหาความหมายมากที่สุดในปี 2022 จากเว็บไซต์พจนานุกรมชื่อดัง Merriam-Webster เราจึงคิดว่าควรจะพูดถึงคำนี้ในหลากหลายแง่มุมให้มากที่สุดเกี่ยวกับการ Gaslight (แก๊สไลต์)  ทางเว็บไซต์ได้ให้ความหมายคำนี้ที่เข้าใจอย่างเห็นภาพไว้ว่า ‘The act or practice of grossly misleading someone, especially for one’s own advantage.’ หรือแปลเป็นไทยคือ การกระทำบางอย่างที่ตั้งใจทำให้อีกฝ่ายเข้าใจผิด บิดเบือนความจริง เพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง ต้นกำเนิดของคำนี้มาจากหนังเรื่องหนึ่งในปี 1944 เป็นหนังที่เก่ามากขนาดว่าภาพยังเป็นสีขาว-ดำอยู่เลย หนังเรื่องนี้มีชื่อว่า Gaslight ตรงตัว ว่าด้วยเรื่องราวของ Paula สาวน้อยผู้อ่อนโยน ไร้เดียงสา ที่เผชิญเหตุการณ์เลวร้าย เห็นป้าแท้ๆ ถูกฆาตกรรมต่อหน้าต่อตาในบ้านของตัวเองที่เมืองลอนดอน หลายปีต่อมา เธอเดินทางไปยังประเทศอิตาลี และพบรักกับชายหนุ่มถึงขั้นตัดสินใจแต่งงาน ก่อนเดินทางกลับมาอยู่ที่บ้านหลังใหญ่ของเธอในลอนดอน ซึ่งเป็นมรดกของคุณป้านั่นเอง จุดพลิกผันของเรื่องคือการที่ผู้ชายคนนี้เห็น Paula รวยอู้ฟู่ ก็หวังจะฮุบทรัพย์สินมรดกทุกอย่างของหญิงสาวเอาไว้เอง โดยใช้วิธีการกลั่นแกล้ง ตั้งใจทำให้เธอรู้สึก ‘เป็นบ้า’ ซึ่งคำว่า Gaslight ก็มาจากตะเกียงไฟสมัยก่อน […]

ความสัมพันธ์ Ghosting ผีในสังคมดิจิทัล อยู่ดีๆ ก็หาย ตามไม่ตอบ เจ็บยิ่งกว่าถูกบอกเลิก

A : สวัสดีค่ะผู้อ่านทุกท่าน ขณะนี้คุณกำลังอยู่ในรายการ ‘Shock Urban Creature’ วันนี้เราจะมาเล่าเรื่องสุดสยองขวัญของผู้หญิงคนหนึ่ง เธอกำลังสงสัยว่า คนที่คุยอยู่ตอนนี้เขาเป็น ‘คน’ หรือ ‘ผี’ กันแน่ อ๊ะๆ อ่านแล้วอย่าเพิ่งขนหัวลุก ขอชวนทุกท่านไปช่วยเธอหาคำตอบเรื่องนี้กันก่อนดีกว่า B : ฉันรู้จักเขาผ่านแอปฯ หาคู่ค่ะ ช่วงแรกๆ เราคุยกันดีนะคะ พอผ่านไปสัก 2 – 3 เดือน เขาก็เริ่มมีท่าทีเปลี่ยนแปลงไป ชวนไปเที่ยวก็พูดปัดๆ ว่าไม่เอาไม่อยากไป ให้เหตุผลว่าป่วยบ้างล่ะ เหนื่อยบ้างล่ะ เลยไม่ค่อยอยากออกไปไหน  ที่สำคัญพอเราทักแชตไปก็เหมือนพูดอยู่คนเดียว รู้ว่าอ่านนะแต่ไม่เคยตอบ แถมหาตัวเขาก็ไม่เจอ ไปถามใครก็บอกว่าไม่รู้ ไม่เห็น เหมือนไม่ได้อยู่ในโลกนี้แล้ว พูดแล้วก็ขนลุกเลยค่ะ ล่าสุดที่คุยกัน เขาบอกว่าขอไปอาบน้ำก่อนนะ ตอนนี้ 3 เดือนแล้ว เขายังอาบน้ำไม่เสร็จเลยค่ะพี่ A : อะหรือ หรือ คุณ B คะ คุณกำลังโดนผีหลอกเข้าแล้ว! […]

Sex Worker ก็อยากสมหวังในรัก ‘ถาม’ ซิงเกิลใหม่จาก Patcha ที่อยากให้สังคมยอมรับอาชีพนี้มากขึ้น

เพราะความรักคือสิ่งที่สวยงาม และทุกคนสามารถพบเจอกับความรักที่ดีได้ในสักวัน ไม่ว่าคนคนนั้นจะเป็นใครหรือทำอาชีพไหนก็ตาม นี่คือความเชื่อและแรงบันดาลใจเบื้องหลังมิวสิกวิดีโอเพลง ‘ถาม’ ซิงเกิลใหม่จาก ‘พัดชา (Patcha)’ ที่นำเสนอเรื่องราวและพูดถึงความรักในมุมมองของ ‘ผู้ค้าบริการทางเพศ (Sex Worker)’ หลังได้พบกับลูกค้าหนุ่มขาประจำหลายครั้ง จนทั้งคู่เริ่มมีความรู้สึกดีๆ ให้กันมากเป็นพิเศษ แต่ทั้งสองก็ยังไม่กล้าพัฒนาความสัมพันธ์ไปมากกว่านี้ เพราะไม่แน่ใจว่า แท้จริงแล้วความรู้สึกเหล่านั้นเกิดจาก ‘ความรัก’ หรือ ‘ความปรารถนาทางเพศ’ กันแน่ พัดชาอยากใช้ซิงเกิลนี้พูดถึงความรักของ Sex Worker ที่อยากจะสมหวังในความรักเหมือนคนอื่นๆ เพราะเขาเชื่อว่าความรักคือสิ่งสวยงาม ไม่ว่าจะเป็นใครหรือทำอาชีพไหน ทุกคนสามารถเจอความรักที่ดีได้ในสักวัน และอยากให้สังคมไทยเปิดใจและยอมรับคนที่ทำอาชีพ Sex Worker มากขึ้น พัดชา (อดีตสมาชิกวง Chanudom) คือศิลปินคนแรกในสังกัด Red Clay ค่ายเพลงน้องใหม่ที่ก่อตั้งโดย กวิน อินทวงษ์ โปรดิวเซอร์ชื่อดังที่อยู่เบื้องหลังเพลงฮิตยอดวิว 100 ล้านมากมาย เช่น เพลง ‘อ้าว’ ‘Please’ และ ‘ทางของฝุ่น’ ของศิลปิน อะตอม ชนกันต์ และยังเคยทำงานร่วมกับศิลปินคนอื่นๆ […]

‘ความรักอัดกระป๋อง’ ขายในตู้อัตโนมัติ บริการใหม่จากบริษัทหาคู่ในญี่ปุ่น

ตู้ขายสินค้าอัตโนมัติเป็นเหมือนอีกสัญลักษณ์หนึ่งของญี่ปุ่นไปแล้ว ไม่ใช่แค่ปริมาณที่มีอยู่ทั่วเมืองเท่านั้น แต่ความล้ำของสินค้ายังพัฒนาและใส่ไอเดียไปต่อได้ไม่มีที่สิ้นสุด มีขายตั้งแต่เครื่องดื่มสารพัดชนิด ไปจนถึงขนมและอาหารหลากหลายยี่ห้อ จนล่าสุดบริษัทหาคู่ในญี่ปุ่นเกิดไอเดียสนุกๆ เอา ‘ความรัก’ มาอัดกระป๋องขายในตู้อัตโนมัติ ให้คนโสดได้แวะเลือกช้อปโปรไฟล์คนที่อยากเดตได้ เพราะอยากให้คนญี่ปุ่นมีความรักและแต่งงานกันมากขึ้น  ‘ความรักอัดกระป๋อง’ คือไอเดียของบริษัทจัดหาคู่ Matching Advisor Press (MAP) ที่นำเจ้าตู้สุดแปลกนี้ไปตั้งไว้ที่เมืองคาตายามะในโตเกียว มองภายนอกดูไม่ต่างจากตู้เครื่องดื่มทั่วไปเลยสักนิด เพราะเป็นกระป๋องอะลูมิเนียมเหมือนกัน แต่ต่างกันตรงที่ไม่มีเครื่องดื่มข้างใน และคุณจะได้โอกาสในการคุยกับบริษัทจัดหาคู่แทน (ไม่ได้คุยกับคนในกระป๋องโดยตรงอย่างที่คิด) กระป๋องสีชมพูคือโปรไฟล์ของผู้หญิง ส่วนสีครีมคือของผู้ชาย ซึ่งบริการนี้ของ MAP ไม่ได้ทำเอาสนุกเท่านั้น แต่พวกเขาหวังจะช่วยให้คนโสดในญี่ปุ่นได้เจอความสัมพันธ์ที่จริงจัง ไปจนถึงขั้นแต่งงานกันเลย  ความรักกระป๋องสนนราคาอยู่ที่ 3,000 เยน (ประมาณ 900 บาท) ถือว่าราคาไม่ได้โหดร้ายเกินไป เมื่อแลกกับโอกาสที่อาจจะเจอรักแท้ แต่ถึงจะเลือกคนที่เราอยากเดตได้ บริการนี้ก็ไม่ได้การันตีว่าซื้อไปแล้วจะได้ออกเดตจริงๆ และคนที่เราได้เดตอาจจะไม่ใช่คนจากกระป๋องที่เราเลือกจริงๆ ก็ได้ ที่กระป๋องจะมีแค่โปรไฟล์สั้นๆ ที่เขียนโดยที่ปรึกษาของ MAP ซึ่งทำหน้าที่เป็นแม่สื่อแปะอยู่ และระบุอายุเอาไว้ให้จินตนาการต่อเท่านั้น ไม่ได้มีรูปหรือข้อมูลส่วนตัวแปะไว้แต่อย่างใด เช่น “ฉันคือที่ปรึกษาของอิชิกาวะ เธออายุ 27 ปี และอยากแต่งงาน ฉันสามารถแนะนำให้คุณได้นะ” […]

ฉันยังจำได้ – Remember ชุดภาพถ่ายที่เกิดขึ้นจากการสูญเสีย ‘อาม่า’

ภาพถ่ายชุด ‘ฉันยังจำได้’ เกิดขึ้นจากการสูญเสีย ‘อาม่า’ บุคคลอันเป็นที่รักมากในชีวิต ผมจึงหยิบเอาความรักและความผูกพันของผมกับอาม่า ห้องครัว เพื่อนำมาถ่ายทอดความรู้สึกและความทรงจำผ่านเกี่ยวกับเรื่องราวในสถานที่ต่างๆ ที่ตัวเองและอาม่าได้เคยใช้เวลาร่วมกันมา ซึ่งแม้เวลาจะผ่านไปนานมากแค่ไหนก็ตาม พื้นที่ในอดีตเหล่านี้ ก็ยังคงมีความทรงจำที่แสนอบอุ่นใจ ซึ่งทำให้ผมรู้สึกและรำลึกอยู่เสมอว่า ‘อาม่ายังไม่ได้จากไปไหน’

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.