รถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์แบบไหนปลอดภัย สังเกตง่ายๆ ดูได้จากท้ายรถ

เวลาขับรถแล้วเจอรถบรรทุกที่มาพร้อมตู้คอนเทนเนอร์ขนาดใหญ่ หลายคนคงใจตุ๊มๆ ต่อมๆ คิดจินตนาการกันไปไกลถึงอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นกับเราเป็นฉากๆ โดยเฉพาะช่วงนี้ที่ความกังวลใจยิ่งทวีความเข้มข้นขึ้น เพราะที่ผ่านมาเรามักเห็นข่าวการเกิดอุบัติเหตุของรถบรรทุกที่ตู้คอนเทนเนอร์พลัดหลุดร่วงลงมาทับรถเล็กข้างๆ อยู่บ่อยครั้ง รวมไปถึงการได้รับข่าวสารมาว่าส่วนใหญ่รถบรรทุกเหล่านี้มักไม่มีการล็อกตู้คอนเทนเนอร์ให้ติดกับตัวรถ เพราะเชื่อว่าหากเกิดอุบัติเหตุจะทำให้รถพลิกคว่ำ จากความอันตรายนี้ก่อให้เกิดความสงสัยว่า แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่ารถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ที่แล่นอยู่ข้างหน้าเรานั้นมีการล็อกตู้บรรทุกสินค้าอย่างแน่นหนาหรือไม่ เพื่อความสบายใจของการขับขี่บนท้องถนน คอลัมน์ Curiocity มีทริกการสังเกตรถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ที่ปลอดภัยแบบง่ายๆ ดูได้จากท้ายรถมาฝากกัน กฎหมายการขนส่งทางบก (พยายาม) คุมเข้ม แม้จะมีข่าวตู้คอนเทนเนอร์ร่วงหลุดจากรถบรรทุกอยู่บ่อยครั้ง แต่ความเป็นจริงแล้วใน ‘พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522’ ได้มีการเขียนไว้อย่างชัดเจนว่า รถบรรทุกที่มีการบรรทุกของนั้นต้องมีอุปกรณ์ตัวล็อกอย่างแน่นหนา และคลุมสิ่งของเหล่านั้นด้วยผ้าที่มีสีทึบ เพื่อไม่ให้ของที่บรรทุกมานั้นตกหล่น ปลิว หรือกระเด็นใส่รถคันอื่นๆ และตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2562 เป็นต้นมา กรมการขนส่งทางบกก็ได้ออกโรงประกาศชัดอีกครั้งว่า รถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์จดทะเบียนใหม่ทุกคันต้องติดตั้ง ‘Twist-lock’ หรืออุปกรณ์ยึดตรึงตู้คอนเทนเนอร์ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ โดยรถบรรทุกทุกคันจำเป็นต้องติดตั้ง Twist-lock ไม่น้อยกว่า 4 จุดต่อ 1 ตู้บรรทุกสินค้า และต้องอยู่ในตำแหน่งที่ทำให้การกระจายน้ำหนักบรรทุกมีความเหมาะสม รวมถึงติดแผ่นสะท้อนแสงหรือสีสะท้อนแสงสีขาว เหลือง และแดง ในรูปสี่เหลี่ยมขนาดไม่น้อยกว่า 50×50 มม. หรือรูปวงกลมเส้นผ่านศูนย์กลางไม่น้อยกว่า […]

ทางออกความรุนแรงผ่าน ‘แนวทางการเสริมสร้างการอยู่ร่วมกันบนความหลากหลายทางสังคม’

ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญความท้าทายทางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจที่ซับซ้อนและหลากมิติ ตั้งแต่ความยากจน ความเหลื่อมล้ำ ความไม่เท่าเทียม การเลือกปฏิบัติ ไปจนถึงการกีดกันหรือไม่ให้ความสำคัญกับชนกลุ่มน้อยทางด้านสัญชาติ เผ่าพันธุ์ ศาสนา หรือภาษา ทั้งหมดนี้คือปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความไม่พึงพอใจและอาจเป็นแรงผลักให้บุคคลหรือกลุ่มคนไปสู่ ‘แนวความคิดสุดโต่งที่นิยมความรุนแรง’ (Violent Extremism) ในระดับสังคม ประเทศ และโลก ถือเป็นภัยคุกคามที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้ง ความรุนแรง รวมถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการฟูมฟักของอุดมการณ์และความคิดสุดโต่งที่อาจพัฒนาไปเป็นเครื่องมือในการสร้างความแตกแยกและความรุนแรง สหประชาชาติเสนอแนะให้ประเทศสมาชิกพิจารณาพัฒนา ‘แผนปฏิบัติการระดับชาติเพื่อป้องกันแนวคิดสุดโต่งที่นิยมความรุนแรง’ (National Action Plans to Prevent Violent Extremism) เพื่อส่งเสริมแนวทางที่มุ่งเน้นแก้ปัญหาต้นตอที่ทำให้คนหันไปนิยมแนวคิดสุดโต่งที่นิยมความรุนแรง โดยแนวทางหลักที่ใช้คือ การสร้างความอดทนอดกลั้น เฉลิมฉลองความแตกต่างหลากหลาย และแก้ปัญหาตัวแปรทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อยกระดับสถานะและความปลอดภัยของกลุ่มเปราะบาง ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง และเป็นการทำงานร่วมมือกันระหว่างภาคส่วนต่างๆ ของสังคม และระหว่างหน่วยงานรัฐทั้งองคาพยพ และที่สำคัญ เป็นแผนที่พัฒนาโดยแต่ละประเทศเอง จึงเหมาะสมกับบริบทของประเทศนั้นๆ แม้ประเทศไทยจะยังไม่มีความรุนแรงสุดโต่งปรากฏให้เห็นชัด แต่สังคมไทยมีความท้าทายหลายมิติ โดยเฉพาะความท้าทายทางเศรษฐกิจ การเมือง และการเข้าไม่ถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของกลุ่มคนชายขอบและกลุ่มเปราะบาง ที่ก่อให้เกิดการแบ่งฝักฝ่ายและขั้วความคิดที่ค่อนข้างชัดเจนขึ้น ทั้งยังมีแนวโน้มที่จะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เพราะเหตุนี้ ประเทศไทยจึงลงนาม ‘แผนปฏิบัติการอาเซียนว่าด้วยการป้องกันและการต่อต้านการขยายตัวของการบ่มเพาะแนวคิดหัวรุนแรงและแนวคิดสุดโต่งที่นิยมความรุนแรง 2562 […]

London Cycling Campaign ประท้วงของนักปั่นจักรยานในกรุงลอนดอน เพื่อทวงคืนถนนที่ปลอดภัยสำหรับผู้หญิง

เป็นเวลากว่า 90 นาทีที่กลุ่มนักปั่นจักรยานกว่า 100 คนในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ รวมตัวกันปั่นจักรยานประท้วงเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2566 เพื่อรณรงค์และทวงคืนเส้นทางจักรยานที่ปลอดภัยสำหรับนักปั่นเพศหญิงในเมืองเนื่องในวันสตรีสากล ภายใต้แคมเปญที่ชื่อว่า ‘London Cycling Campaign (LCC)’ London Cycling Campaign เกิดขึ้นจากความร่วมมือขององค์กร ‘Women’s Network’, ‘The Joyriders Women’s Cycling Organisation’ และ ‘Londra Bisiklet Kulübü’ หลังจากพบว่าการขี่จักรยานในเพศหญิงหลายครั้งมักเกิดอันตรายจากความไม่ปลอดภัยในเส้นทาง รวมไปถึงการก่อกวนและคุกคามจากปัจจัยภายนอก การออกมาประท้วงเดินขบวนในครั้งนี้จึงเป็นเหมือนการส่งสารจากผู้ใช้ถนนจริง ไปถึงนายกเทศมนตรีกรุงลอนดอน เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงในอนาคต  โดยเหล่านักปั่นเริ่มเดินขบวนผ่านสถานที่สำคัญในเมืองตั้งแต่ Marble Arch, Buckingham Palace, Palace of Whitehall ไปจนถึง Trafalgar Square ก่อนจะวนกลับมาที่จุดเริ่มต้น เป็นภาพที่สร้างความสนใจให้แก่ผู้พบเห็นเพราะนักปั่นหลายคนต่างแต่งตัวด้วยชุดแปลกตา พร้อมพาสัตว์เลี้ยงสุดน่ารักไม่ว่าจะเป็นสุนัขหรือแมวนั่งในตะกร้าหน้ารถจักรยานมาด้วย หลังการประท้วงจบลง Sadiq Khan นายกเทศมนตรีกรุงลอนดอนได้ออกมาให้สัมภาษณ์ว่า ตนเองต้องการให้ผู้หญิงรู้สึกปลอดภัยไม่ว่าจะอยู่ที่ใดในลอนดอนเช่นกัน […]

อาคารถล่มในตุรกี เพราะแผ่นดินไหวหนักหรือโครงสร้างไม่ได้มาตรฐาน?

อาคารพังถล่มกว่า 7,000 หลังผู้เสียชีวิตกว่า 41,000 รายผู้ได้รับบาดเจ็บกว่า 100,000 ราย เหล่านี้คือตัวเลขความเสียหายซึ่งเป็นผลพวงจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 7.8 แมกนิจูด ทางตะวันออกเฉียงใต้ของตุรกี ติดกับพรมแดนประเทศซีเรีย เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 ยังไม่รวมถึงประชาชนหลายหมื่นรายที่ยังสูญหาย และผู้รอดชีวิตอีกหลายแสนรายที่ต้องกลายเป็นคนไร้บ้าน (ข้อมูล ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2566) ตุรกีถือเป็นหนึ่งในประเทศที่ประสบเหตุการณ์แผ่นดินไหวบ่อยครั้ง ทำให้ทางรัฐบาลกำหนดข้อบังคับในการก่อสร้างอาคารให้ปลอดภัยและต้านทานต่อแผ่นดินไหวได้มาตั้งแต่อดีต แต่สิ่งที่น่าสังเกตเกี่ยวกับภัยพิบัติครั้งล่าสุดคือ อาคารที่พังถล่มลงมาจำนวนไม่น้อยเป็นอาคารสร้างใหม่ ซึ่งอาจสอดคล้องกับคำเตือนของผู้เชี่ยวชาญในช่วงหลายปีก่อนว่าอาคารใหม่หลายหลังในตุรกีไม่ปลอดภัย เนื่องจากการทุจริตในพื้นที่และนโยบายของรัฐบาล คอลัมน์ Curiocity พาไปหาคำตอบว่า ความเสียหายจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในรอบร้อยปีของตุรกีเกิดจากอะไร เป็นเพราะแผ่นดินไหวที่รุนแรงเทียบเท่าระเบิดนิวเคลียร์ หรือปัญหาเชิงโครงสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน ที่ทำให้ผลกระทบหลังแผ่นดินไหวรุนแรงกว่าควรจะเป็น ประเทศที่อยู่บนแนวรอยเลื่อนเปลือกโลก แผ่นดินไหวคือภัยพิบัติที่เกิดขึ้นบ่อยจนเป็นเรื่องปกติในตุรกี เนื่องจากประเทศนี้ตั้งอยู่บนภูมิภาคที่คร่อมอยู่บนแผ่นเปลือกโลกมากถึงสามแผ่น ซึ่งเป็นสาเหตุของแผ่นดินไหวที่รุนแรง โดยบันทึกทางประวัติศาสตร์ระบุว่า ภูมิภาคนี้เริ่มเกิดแผ่นดินไหวมาอย่างน้อย 2,000 ปีแล้ว ครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อ ค.ศ. 17 ที่ตอนนั้นได้ทำลายเมืองหลายสิบแห่งพังราบเป็นหน้ากลอง แผ่นดินไหวขนาด 7.5 และ 7.8 แมกนิจูดครั้งล่าสุดในตุรกีและซีเรียเกิดขึ้นบริเวณ ‘แนวรอยเลื่อนอานาโตเลียตะวันออก’ […]

ไทยติด 10 ประเทศอันตรายที่สุดในโลกสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติผู้หญิง

ผลสำรวจจาก World Population Review ปี 2022 เผยว่า ‘ประเทศไทย’ ติดอันดับ 10 เมืองอันตรายที่สุดในโลกสำหรับนักท่องเที่ยวผู้หญิง จากทั้งหมด 50 ประเทศทั่วโลก โดยรวบรวมข้อมูลจากสมาคมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ที่สำรวจความคิดเห็นผู้หญิงชาวอเมริกันที่เคยเดินทางท่องเที่ยวภายในหนึ่งปี ไม่ว่าจะไปคนเดียวหรือไปหลายคน ทั้งหมดประมาณ 32 ล้านคน  เกณฑ์การให้คะแนนพิจารณาจากสภาพแวดล้อมและสังคมเป็นหลัก เช่น ความไม่ปลอดภัยบนท้องถนน การเลือกปฏิบัติทางกฎหมาย ความรุนแรงทางเพศ ความไม่เท่าเทียมทางเพศ และทัศนคติต่อความรุนแรง ซึ่งคะแนนเต็มทั้งหมด 800 คะแนน โดยผลสรุป 10 อันดับแรกจากทั้งหมด 50 ประเทศทั่วโลก ได้แก่ – อันดับ 1 แอฟริกาใต้ 772 คะแนน – อันดับ 2 บราซิล 624 คะแนน – อันดับ 3 รัสเซีย 593 คะแนน – อันดับ 4 เม็กซิโก […]

จัดงานสเกลใหญ่ ควรมีมาตรการอย่างไร เพื่อป้องกันเหตุการณ์ Crowd Crush

จากเหตุการณ์ ‘ฝูงชนเบียดกันตาย (Crowd Crush)’ จนมีผู้เสียชีวิตกว่า 154 ราย บริเวณย่านอิแทวอน กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา ทำให้ทั่วโลกหันกลับมาสนใจเกี่ยวกับวิธีรับมือหากพบเจอสถานการณ์ดังกล่าว รวมไปถึงมาตรการรักษาความปลอดภัยสำหรับสถานที่หรืองานเทศกาลที่ต้องรองรับคนจำนวนมาก หากย้อนกลับไปในอดีต ก็มีหลายเทศกาลที่เกิดการรวมตัวของฝูงชนจนเกิดการ Crowd Crush ขึ้นอยู่เรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นเทศกาลดนตรี พิธีกรรมทางศาสนา หรือการชมกีฬานัดสำคัญ แต่ครั้นจะยกเลิกทุกกิจกรรมในอนาคตเพื่อตัดปัญหาตั้งแต่ต้นลมก็คงไม่ใช่วิธีที่ถูกนัก  วันนี้ Urban Creature จึงขอหยิบเอามาตรการความปลอดภัยเบื้องต้นสำหรับการจัดงานที่มีผู้เข้าร่วมจำนวนมากมาฝากกัน เผื่อจะเป็นประโยชน์กับทั้งผู้จัดสำหรับการวางแผนงาน และผู้เข้าร่วมที่ต้องการประเมินความเสี่ยงสำหรับตัวเอง แค่ไหนถึงเรียกว่า Crowd Crush? แม้ส่วนใหญ่สื่อไทยจะใช้คำว่า ‘Crowd Crush’ หรือที่แปลเป็นไทยว่า ‘ฝูงชนเบียดกันตาย’ ในการรายงานข่าว แต่ความจริงแล้วสถานการณ์ดังกล่าวยังสามารถอธิบายด้วยคำว่า ‘Crowd Surge’ ได้เช่นเดียวกัน โดย G. Keith Still ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยของฝูงชนและศาสตราจารย์รับเชิญด้านวิทยาศาสตร์ฝูงชนที่มหาวิทยาลัย Suffolk ประเทศอังกฤษ ได้อธิบายว่า Crowd Crush […]

กลับบ้านอย่างอุ่นใจกับ Safe Walks NYC บริการเดินกลับบ้านเป็นเพื่อนในนิวยอร์กซิตี้ ช่วยปกป้องผู้คนจากเหตุทำร้ายร่างกาย

ในปี 2021 นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา มีรายงานเหตุทำร้ายร่างกายในที่สาธารณะเพิ่มสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะความรุนแรงต่อสตรี ผู้สูงอายุ และชาวเอเชีย เมื่อการเดินทางในเมืองใหญ่ไม่ปลอดภัยและน่ากังวลกว่าเดิม บริการ ‘Safe Walks NYC’ จึงเกิดขึ้น เพื่อปกป้องผู้คนจากเหตุทำร้ายร่างกาย ชิงทรัพย์ การทำอนาจาร รวมถึงอาชญากรรมอื่นๆ Safe Walks NYC คือบริการโดยเครือข่ายอาสาสมัครในนครนิวยอร์ก ที่จะพาชาวนิวยอร์กเดินกลับบ้านหรือเดินไปส่งจุดหมายปลายทางอย่างปลอดภัย สำหรับขั้นตอนการขออาสาสมัคร ผู้ใช้บริการต้องเข้าไปกรอกรายละเอียด เช่น ชื่อ เบอร์โทรศัพท์ วันและเวลานัดพบ สถานที่นัดพบ และจุดหมายปลายทาง ใน Google Form ของ Safe Walks NYC ล่วงหน้าอย่างน้อย 40 นาที หลังจากนั้นเครือข่ายจะส่งอาสาสมัครมาเดินกลับบ้านเป็นเพื่อนคุณ เหมาะกับคนที่อยากอุ่นใจมากขึ้น เมื่อต้องเดินผ่านถนนเปลี่ยวหรือเดินทางช่วงกลางคืน เครือข่าย Safe Walks NYC เกิดขึ้นในย่านบุชวิก เขตบรูกลิน ของนครนิวยอร์ก เมื่อมกราคมปี 2021 Peter Kerre […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.