ส่องความคิดสร้างสรรค์ของคนไทยที่สะท้อนถึงปัญหาการใช้ชีวิตในเมือง ผ่านหนังสือ ‘สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด’

งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติรอบนี้ นักอ่านคนไหนที่ชื่นชอบเรื่องเมืองแล้วยังไม่รู้ว่าจะซื้อเล่มไหนดี Urban Creature ขอแนะนำรวมบทความที่มีชื่อว่า ‘365 DAYS OF THAI URBAN MESS ARCHITECTURE สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด’ หนังสือเล่มนี้เป็นผลงานของ ‘ชัช-ชัชวาล สุวรรณสวัสดิ์’ สถาปนิกและนักเขียนเจ้าของหนังสือ ‘อาคิเต็กเจอ’ (และคอลัมนิสต์ของ Urban Creature) โดยภายในจะเป็นการบันทึกเรื่องราวสั้นๆ พร้อมภาพสเก็ตช์ 4 สี สิ่งของรอบตัวที่เห็นได้เรี่ยรายรอบเมือง ซึ่งเกิดจากฝีมือผู้คนตัวเล็กๆ ที่ดีไอวายสิ่งของเหล่านี้มาเพื่อแก้ปัญหาและตอบโจทย์การใช้งานในชีวิตจริง ในโปรเจกต์นี้ชัชวาลตั้งใจใช้เวลาหนึ่งปีวาดภาพสิ่งของและงานดีไซน์ไทยๆ ก่อนพบว่าเมืองที่อาศัยอยู่นี้มีปัญหาของผู้คนทาบทับอยู่ตามตึกรามบ้านช่องและสิ่งของที่เดินเจอในทุกวัน ตามไปซื้อหนังสือสถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราดได้ที่บูท Salmon Books งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 52 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม – 8 เมษายน 2567 เวลา 10.00 น. เป็นต้นไป หรือสั่งซื้อออนไลน์ได้ที่ store.minimore.com/salmonbooks/items/365Days  นอกจากนี้ ผู้อ่านยังติดตามคอลัมน์ ‘ดีไซน์-เค้าเจอ’ ของชัชวาลได้ทุกเดือนทางเพจ […]

Imaginary Objects สตูดิโอออกแบบที่เชื่อในพลังของสนามเด็กเล่นกับการสร้างเมืองและมนุษย์ที่ดี

ภาพของเด็กๆ วิ่งเล่นชุลมุน ส่งเสียงเจี๊ยวจ๊าวเฮฮา บนเครื่องเล่นสีสันสดใส คือบรรยากาศที่เราสัมผัสได้เสมอเมื่อไปเยี่ยมเยือนสนามเด็กเล่น สนามเด็กเล่นคือพื้นที่แห่งความสุขของเด็ก เป็นพื้นที่ที่พวกเขา (และเราในอดีต) ได้ใช้เวลากระโดดโลดเต้นกับเพื่อนฝูงโดยไม่ต้องคิดอะไรมาก นอกเสียจากจะเล่นอย่างไรให้สนุกที่สุด มองแบบผิวเผิน เหมือนว่าสนามเด็กเล่นจะเป็นแค่พื้นที่ให้เด็กเล่นสนุก ปลดปล่อยพลังอันเหลือล้นจนเหนื่อยหอบ แต่ ‘ญารินดา บุนนาค’ และ ‘โรเบร์โต้ เรเกโฮ เบเล็ตต์’ (Roberto Requejo Belette) กลับมองว่าสนามเด็กเล่นมีประโยชน์และมีหน้าที่ที่ยิ่งใหญ่มากกว่านั้น และมันคือองค์ประกอบสำคัญในการสร้างเมืองที่น่าอยู่ ญารินดาและโรเบร์โต้ คือสองสถาปนิกผู้ก่อตั้ง Imaginary Objects ออฟฟิศออกแบบที่ทำงานหลากหลายรูปแบบ นอกจากผลงานสถาปัตยกรรมและการออกแบบภายใน พวกเขายังเชื่อมั่นกับการออกแบบสนามเด็กเล่น และฝากผลงานออกแบบไว้มากมาย เช่น Play Objects ต้นแบบสนามเด็กเล่นสำหรับชุมชนในงาน Bangkok Design Week 2020, Thawsi Playground สนามเด็กเล่นที่โรงเรียนทอสี หรือ Kitblox ผลงานเครื่องเล่นตัวต่อหลากสีหลายรูปทรงสำหรับเด็ก ในมุมมองของพวกเขา สนามเด็กเล่นจะช่วยสร้างเมืองที่น่าอยู่ได้อย่างไร นอกจากการเป็นสถานที่เล่นสนุก สนามเด็กเล่นมีประโยชน์อะไรอีกบ้าง และไอเดียเบื้องหลังการสร้างสนามเด็กเล่นของพวกเขาคืออะไร มาโลดแล่นไปในบทสนทนาและค้นหาคำตอบพร้อมกันในบทความนี้ เล่าให้ฟังหน่อยว่าตอนเด็กๆ คุณเติบโตมากับสนามเด็กเล่นแบบไหน […]

‘โกเบ’ เมืองแห่งการออกแบบที่เติบโตได้ด้วยความคิดสร้างสรรค์

‘เมืองโกเบ’ ประเทศญี่ปุ่น ไม่ได้เป็นแค่แหล่งผลิตเนื้อวัวเกรดพรีเมียมชื่อดังระดับโลกอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่ที่นี่ยังเป็นศูนย์รวมการค้าระหว่างประเทศของญี่ปุ่นมาช้านาน และเป็นเมืองที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมมากที่สุดแห่งหนึ่งของแดนปลาดิบ เท่านั้นไม่พอ โกเบยังนำการออกแบบและความคิดสร้างสรรค์มาใช้ฟื้นฟูและพัฒนาเมืองอย่างรอบด้าน ทำให้ยูเนสโกประกาศให้เมืองท่าแห่งนี้เป็น ‘เมืองแห่งการออกแบบ’ (City of Design) ในปี 2018 โดยโกเบตั้งใจใช้การออกแบบสร้างเมืองที่ส่งเสริมคนทุกกลุ่มให้ใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข แต่การออกแบบที่เรากำลังพูดถึงไม่ได้มีแค่สีสันและโครงสร้างของเมืองเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการสนับสนุนให้ผู้คนใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างเมืองที่น่าอยู่ด้วย แนวทางการพัฒนาเมืองตามแบบฉบับของโกเบเป็นแบบไหน คอลัมน์ City in Focus ชวนไปหาคำตอบพร้อมกัน การพัฒนาทิวทัศน์ของเมือง มิติแรกของการออกแบบในเมืองโกเบที่อยากพูดถึงคือ ‘ภาพทิวทัศน์ของเมือง’ หรือ ‘Cityscape’ ที่โดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมที่แปลกตา และอยู่ใกล้ทั้งท้องทะเลและภูเขา โดยโกเบได้พัฒนา Cityscape ผ่าน 4 แนวทางหลักๆ ได้แก่ 1) การปรับปรุงย่านซันโนะมิยะ : ซันโนะมิยะ (Sannomiya) เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวที่เปรียบเสมือนประตูสู่เมืองโกเบ ที่สำคัญย่านนี้ยังมีกิจกรรมมากมาย เป็นที่ตั้งของเส้นทางรถไฟหลายสาย ทั้งยังอยู่ติดกับท้องทะเลและมีบรรยากาศของภูเขาเป็นฉากหลัง โกเบได้พัฒนาย่านซันโนะมิยะใหม่ เพื่อทำให้พื้นที่แห่งนี้น่าตื่นเต้นและสะดวกสบายสำหรับผู้อยู่อาศัยมากขึ้นผ่านโครงการต่างๆ เช่น โปรเจกต์ภาพถ่าย ‘1000 SMiLE Project’ ที่รวบรวมรอยยิ้มและภาพฝันที่ชาวโกเบอยากเห็นในอนาคต รวมถึงการเปลี่ยนสี่แยกซันโนะมิยะ (Sannomiya […]

FYI

‘LIVE OUR WAY อยากอยู่อย่างนี้…ด้วยกัน’ แคมเปญจากบุญถาวร ที่อยากให้สมาชิกในบ้านเห็นภาพบ้านใหม่ตรงกัน

ปัจจุบัน การชุบชีวิตบ้านหลังเก่าด้วยการรีโนเวทกลายเป็นเทรนด์ที่คนรุ่นใหม่หลายคนสนใจ ด้วยค่าครองชีพที่สูงขึ้น ภาระในชีวิตก็หลากหลาย การจะตัดสินใจซื้อบ้านใหม่ก็อาจไม่คุ้มค่าเท่ากับการรีโนเวทบ้านที่อยู่มาตั้งแต่เด็ก เพราะถ้าไม่นับเรื่องค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่าการย้ายบ้าน การอยู่ในพื้นที่ที่เต็มไปด้วยความทรงจำของคนหลายรุ่นนั้นถือเป็นตัวเลือกที่ดี แต่นั่นแหละคือประเด็น มีคนหลายคนอยู่ในบ้าน และทุกคนล้วนมีความทรงจำของตัวเอง การจะเปลี่ยนหน้าตา ฟังก์ชั่น และบรรยากาศของบ้านที่เคยสร้างความทรงจำเหล่านั้นถือเป็น ‘เรื่องใหญ่’  หนึ่งในปัญหาสุดคลาสสิกที่ครอบครัวส่วนมากต้องเผชิญเมื่อยามต้องรีโนเวทบ้านคือ ความต้องการและภาพในหัวของคนในบ้านแต่ละคนไม่เหมือนกัน  บางคนอาจหวงพื้นที่ ไม่อยากให้ทำอะไรกับบ้านที่ตัวเองอยู่มาทั้งชีวิต บางคนอยากให้เหลือเค้าโครงของบ้านไว้แล้วเปลี่ยนรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ได้ตามใจ หรือบางคนก็อยากให้ทุบห้อง เปลี่ยนใหม่หมดเลย อุปสรรคใหญ่ที่เปรียบเหมือนกำแพงสูงคือการสื่อสารกันของคนในบ้าน บางครั้งการหาตรงกลางของความต้องการเหล่านั้นก็เป็นเรื่องไม่ง่าย เมื่อการสื่อสารกันกลายเป็นเรื่องยาก คนในบ้านก็อาจไม่ได้ข้อสรุปสักที สุดท้ายการรีโนเวทจึงกลายเป็นหัวข้อที่ทำให้ทุกคนไม่อยากคุยกันอีก เพราะเป็นแบรนด์ที่ให้บริการรีโนเวทบ้านแบบครบวงจร อยู่เป็นเพื่อนคนรักบ้านมายาวนานกว่า 40 ปี บริษัท บุญถาวรวัสดุภัณฑ์ จำกัด จึงเข้าใจ Pain Point เรื่องการปรับปรุงที่อยู่อาศัยอย่างทะลุปรุโปร่ง พวกเขาเห็นปัญหาการเห็นภาพบ้านใหม่ไม่ตรงกันของสมาชิกในบ้าน และอยากเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหานั้นด้วยแคมเปญ LIVE OUR WAY อยากอยู่อย่างนี้…ด้วยกัน   บุญถาวรอยากให้ทุกบ้านได้อยู่อย่างที่อยาก มากกว่านั้นคืออยากกระตุ้นให้สมาชิกในบ้านคุยกันมากขึ้น ในแคมเปญนี้พวกเขาจึงสร้างเว็บไซต์แนวอินเทอร์แรกทีฟที่ชวนให้คนอยากรีโนเวทบ้านมานั่งหน้าคอมพ์ (หรือถ้ามาพร้อมกันทั้งบ้านได้ยิ่งดี) แล้วตอบคำถาม ‘ผีในบ้าน’ เกี่ยวกับที่อยู่ในฝัน เพื่อนำไปออกแบบหน้าตาของบ้านใหม่จากคำตอบเหล่านั้น ความพิเศษคือจะได้รับ Door […]

ผลักดันคาแรกเตอร์ไทยไปให้สุด กับงานแฟร์ ‘CHANGE 2023’ วันที่ 1 – 2 ส.ค. 66 ที่หอศิลปกรุงเทพฯ

ช่วงหลังมานี้วงการสร้างสรรค์คึกคักขึ้นมาก นอกจากงานศิลปะที่หลากหลายขึ้นแล้ว แวดวงดีไซน์ที่รวมไปถึงการออกแบบคาแรกเตอร์ก็เริ่มมีที่ทางขึ้นมาก ซึ่งคาแรกเตอร์ที่ว่านี้ก็นำไปต่อยอดได้มากมาย ตั้งแต่การเป็นหน้าตาของแบรนด์ คอลแลบกับโปรเจกต์สนุกๆ หรือกลายไปเป็นอาร์ตทอยน่าเก็บสะสม หลังจากพยายามผลักดันการสร้างคาแรกเตอร์ (Character Design) มาพักใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ก็ขอจัดงาน ‘CHANGE 2023 : งานแฟร์อึกทึกคึกคักรักคาแรกเตอร์ไทยไปให้สุด’ เพื่อสนับสนุนครีเอเตอร์ผู้สร้างสรรค์คาแรกเตอร์ไทยสุดน่ารัก รวมถึงเปิดเผยเบื้องหลังการทำงานและการสร้างรายได้จากงานออกแบบนี้ ภายในงานเราจะได้พบกับคาแรกเตอร์กว่า 30 ตัวผ่านการจัดแสดงสินค้า จัดจำหน่าย และกิจกรรมเสวนา เพื่อขยายโอกาสต่อยอดทางธุรกิจให้ครีเอเตอร์ไทยด้วยคาแรกเตอร์สุดเจ๋งให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง และจุดประกายไอเดียสร้างสรรค์ให้แก่ครีเอเตอร์ใหม่ๆ นอกจากนี้ยังมีการเล่าถึงเบื้องหลังการสร้างรายได้จากทรัพย์สินทางปัญญา จากผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างแบรนด์และผู้ประกอบการธุรกิจชั้นนำระดับประเทศ ที่มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์และแลกเปลี่ยนแง่มุมต่างๆ ที่น่าสนใจ โดยมีเวทีเสวนาหลากหลายหัวข้อ เช่น ต่อยอดผลงานสร้างสรรค์ด้วยคาแรกเตอร์ไทย, แบรนดิ้งให้สินค้าเกษตรด้วยคาแรกเตอร์ไทย และคาแรกเตอร์ไทย : สัญลักษณ์เมืองแห่งศตวรรษนี้ เป็นต้น งาน ‘CHANGE 2023 : งานแฟร์อึกทึกคึกคักรักคาแรกเตอร์ไทยไปให้สุด’ จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 1 – 2 สิงหาคม 2566 ที่ห้องอเนกประสงค์ ชั้น […]

‘แพรรี่ ธัญพิชชา’ Set Designer คนไทยในฮอลลีวูดที่ได้ออกแบบฉากให้ซีรีส์ Netflix

ภาพเฟดดำ ก่อนจะค่อยๆ ปรากฏภาพหญิงสาวผู้สวมแว่นตาที่นั่งอยู่หน้าคอมฯ บนหน้าจอเต็มไปด้วยภาพทำเนียบขาวของประเทศสหรัฐอเมริกาในยุคอดีตจนถึงปัจจุบัน พร้อมคำอธิบายประกอบอย่างละเอียด เร็วเท่าความคิด, ภาพทำเนียบขาวที่เธอดีไซน์ในหัวปรากฏขึ้นในพื้นที่ว่างเปล่าข้างตัว…ถ้าเรื่องราวดำเนินในยุคนี้ มีตัวละครหลักเป็นคนนิสัยแบบนี้ ทำเนียบขาวควรจะมีหน้าตาเป็นยังไง…เธอออกแบบตั้งแต่ข้างนอกตึกไปจนถึงพื้นที่ภายใน ชั้นที่ 1 ถึง 5 เจาะลงไปถึงรายละเอียดเล็กๆ กระทั่งสีผนังและกลอนประตู นี่คือสิ่งที่ ‘แพรรี่-ธัญพิชชา ไตรวุฒิ’ ต้องทำในซีรีส์ใหม่ของ Netflix เรื่อง The Residence ซึ่งว่าด้วยคดีฆาตกรรมในทำเนียบขาว ย้อนกลับไปราวต้นปี 2023 เธอได้มีโอกาสเข้าไปเป็นหนึ่งในทีมนักออกแบบฉาก (Set Designer) ประจำโปรเจกต์นี้ ความเจ๋งคือเธอเป็นคนไทยเพียงคนเดียวที่เป็นทีมงานเบื้องหลัง และเท่าที่เรารู้ เธอเป็นคนไทยหนึ่งในไม่กี่คนที่มีโอกาสได้ทำงานให้หนังและซีรีส์ฮอลลีวูด ไม่เคยฝันว่าจะมาถึงตรงนี้ได้เหมือนกัน-เธอสารภาพกับเราในเช้าที่เราวิดีโอคอลคุยกัน ก่อนจะเริ่มเล่าเรื่องราวอดีตเด็กสาวช่างฝันผู้รักศิลปะ ผู้ที่กว่าจะค้นพบว่าตัวเองชอบออกแบบฉากก็ตอนได้ทำละคอนถาปัดในรั้วจามจุรี ก่อนจะตัดสินใจเดินตามฝันในวัยใกล้ 30 จนสำเร็จ แน่นอนว่าหลังจากฟังเธอเล่าจบ ภาพจำที่เรามีต่อฉากในหนังหรือซีรีส์ก็ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ซีนแรกกรุงเทพฯ, 2011 ภาพเฟดดำ ก่อนจะค่อยๆ ปรากฏภาพเด็กหญิงธัญพิชชาในโรงภาพยนตร์ หน้าจอปรากฏภาพจากหนังในตำนานอย่าง Star Wars และ Jurassic Park เด็กหญิงหัวเราะคิกคัก สนุกสนานไปกับเรื่องราว ไม่รู้หรอกว่าวันหนึ่งตัวเองจะได้ทำงานเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างโลกในจอ […]

สวยด้วยนะ รักโลกด้วยนะ ถูกใจมากๆ ‘Absolut Vodka’ ออกแบบขวดกระดาษที่ทั้งสวยงามและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไร้สีในขวดแก้วใสคือภาพจำของวอดก้าที่สายดื่มคุ้นชิน แต่ล่าสุด ‘Absolut Vodka’ ได้ออกแบบขวดวอดก้ารูปแบบล่าสุดที่มีความโดดเด่น สวยงาม และเป็นมิตรกับธรรมชาติ เพราะทำจากกระดาษ 57 เปอร์เซ็นต์ ที่เหลือเป็นขวดพลาสติกรีไซเคิล 43 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ขวดวอดก้าถูกออกแบบให้อยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่ใกล้เคียงกับกล่องน้ำผลไม้ ไม่ใช่รูปแบบเดิมๆ ที่เป็นขวดแก้ว ขวดกระดาษนี้เป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือระหว่าง Paper Bottle Company (Paboco), Coca-Cola Company, Carlsberg, P&G และ L’Oréal โดยผ่านการทดสอบครั้งแรกที่งานเทศกาลต่างๆ ในสหราชอาณาจักรและสวีเดน และพร้อมวางจำหน่ายในเทสโก้ 22 แห่งทั่วมหานครแมนเชสเตอร์ในช่วงฤดูร้อนนี้ เพื่อดูว่าขวดรูปแบบใหม่ส่งผลต่อตลาดอย่างไร ขวดรูปแบบใหม่ที่สร้างขึ้นยังคงออกแบบภายใต้รูปทรงเดิมที่เป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ โดยขวดมีขนาด 500 มิลลิลิตร ซึ่งมีปริมาณแอลกอฮอล์อยู่ที่ 40 เปอร์เซ็นต์ แทนที่จะเป็น 5 เปอร์เซ็นต์แบบเครื่องดื่ม Absolut Mixt พร้อมดื่ม และจำหน่ายในราคาประมาณ 690 บาท ที่สำคัญขวดนี้ยังมีน้ำหนักเบากว่ากระจกถึง 8 เท่า ทำให้ง่ายต่อการพกพาและขนส่ง อีกทั้งยังนำขวดไปรีไซเคิลได้เช่นเดียวกับกระดาษและขยะอื่นๆ ทั่วไปในบ้าน […]

ไม่ต้องตบก้นขวดอีกต่อไป Heinz ดีไซน์ขวดที่มีฝาปิดสองฝั่ง บีบซอสมะเขือเทศได้หมดจนหยดสุดท้าย

สาวกซอสมะเขือเทศคงรู้ดีว่า การเทซอสออกจากขวดนั้นต้องใช้เทคนิคสารพัด ทั้งการเขย่าขวดครั้งแล้วครั้งเล่าก่อนเปิดฝาครั้งแรก ไปจนถึงการตบก้นขวดหรือเขย่าแรงๆ เพื่อเทซอสที่เหลืออยู่ก้นขวดให้ไหลออกมา ซึ่งวิธีนี้มักทำให้ซอสกระเด็นและหกเลอะเทอะไปทั่ว เป็นปัญหาน่าหงุดหงิดใจที่คนชอบกินซอสต้องเจอ แบรนด์ซอสมะเขือเทศระดับโลก Heinz จึงปิ๊งไอเดีย คิดค้น ‘Heinz Ketch-Up & Down Bottle’ ซอสมะเขือเทศรุ่นพิเศษที่มีฝาปิดอยู่สองฝั่งตรงข้ามกัน เพื่อให้ผู้บริโภคเทซอสได้ง่ายมากขึ้น ซึ่งเป็นไอเดียที่ต่อยอดจากซอสขวดคว่ำที่ทางแบรนด์เคยเปิดตัวเมื่อปี 2010 ทาง Heinz เปิดเผยว่า แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากการศึกษาความชอบและพฤติกรรมของผู้บริโภค โดยทางแบรนด์พบว่าลูกค้าแต่ละคนมีวิธีการใช้สินค้าที่แตกต่างกันไป บางคนชอบบีบขวดแรงๆ ขณะที่บางคนอาจชอบเขย่าขวดซอสก่อนใช้ ส่วนวิธีจัดเก็บก็เป็นเรื่องที่ซับซ้อนอยู่ไม่น้อย เพราะบางคนอาจวางขวดให้ตั้งตรง คว่ำ หรือตั้งตะแคง “จากความสำเร็จของขวดซอสกลับหัวที่เปิดตัวเมื่อปี 2010 เรามองเห็นโอกาสที่จะแก้ไขปัญหาอื่นๆ ที่ผู้บริโภคหลายคนของ Heinz เผชิญอยู่ หากแก้ปัญหาได้ตรงจุดมากขึ้น เราอาจพลิกโฉมการทานซอสมะเขือเทศให้ผู้บริโภคก็เป็นได้” Passant El Ghannam หัวหน้าฝ่ายการตลาดของ Heinz กล่าว ตอนนี้ Heinz Ketch-Up & Down Bottle เป็นเพียงแนวคิดต้นแบบเท่านั้น ยังไม่ได้ผลิตเพื่อจำหน่ายจริง แต่ถ้าทาง Heinz […]

Robarts Library ความอบอุ่นสบายตาในสเปซที่แข็งกร้าว โซนอ่านหนังสือรีโนเวตใหม่ในห้องสมุดสไตล์ Brutalist

ห้องสมุดมหาวิทยาลัย คือหนึ่งในสถานที่พักผ่อนและใช้ประโยชน์มากมายของนักศึกษาและบุคลากรในมหาวิทยาลัยนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นทั้งพื้นที่เรียน อ่านหนังสือ ติว นั่งเรื่อยเปื่อย หรือกระทั่งที่สร้างแรงบันดาลใจ ทำให้นอกจากพื้นที่ใช้สอยที่ตอบโจทย์การเรียนรู้ของนักศึกษาแล้ว ดีไซน์และการออกแบบภายในก็เป็นองค์ประกอบสำคัญที่มองข้ามไปไม่ได้ เมื่อไม่นานมานี้ มหาวิทยาลัยโทรอนโต ในประเทศแคนาดา ได้มีการปรับปรุงโซนห้องอ่านหนังสือในห้องสมุด ‘Robarts’ ของมหาวิทยาลัย ซึ่งที่นี่ถือเป็นตัวอย่างงานสถาปัตยกรรมแนว Brutalist ที่โดดเด่น สถาปัตยกรรมแนว Brutalist คือสิ่งก่อสร้างที่มีภาพจำเป็นคอนกรีตเปลือย กระจก เหล็ก ที่ให้ภาพลักษณ์แข็งกร้าวทะมึนขึงขัง โดยโปรเจกต์รีโนเวตห้องอ่านหนังสือเป็นส่วนหนึ่งในการฟื้นฟูห้องสมุดที่สำคัญของมหาวิทยาลัยโทรอนโต และอาคารห้องสมุดวิชาการที่ใหญ่ที่สุดในแคนาดา ‘Superkül’ สตูดิโอผู้รับผิดชอบโปรเจกต์นี้ได้ปรับปรุงพื้นที่เพื่อตอบโจทย์การเรียนรู้แบบร่วมสมัยของนักศึกษาและคณาจารย์ ในขณะเดียวกันก็ยังให้ความเคารพกับสถาปัตยกรรมที่ได้รับการขึ้นทะเบียนมรดก นอกจากการเชื่อมต่อโครงสร้างแนว Brutalist ที่มีอยู่ดั้งเดิมกับส่วนต่อขยายของโถงห้องสมุดที่อยู่ติดกันแล้ว ยังมีการเพิ่มมุมเรียนรู้ในพื้นที่ห้องขนาด 1,886 ตารางเมตรที่เพดานสูงสองชั้น ซึ่งให้ความรู้สึกโปร่งโล่ง สบาย ภายในสเปซนั้นประกอบไปด้วยพื้นที่เรียนรู้ส่วนบุคคล สถานีการเรียนรู้แบบดิจิทัล ห้องให้คำปรึกษา และโซนแสงบำบัด (Light Therapy) อีกสองโซน อีกทั้งยังมีการนำวัสดุธรรมชาติมาใช้งานเพื่อสร้างความอบอุ่นให้กับอาคารคอนกรีต รวมถึงให้ความสำคัญกับการเข้าถึงการเรียนรู้ ผ่านมุมเรียนรู้ที่ผู้ใช้งานสามารถปรับความสูงโต๊ะ กำหนดค่าที่นั่ง และปรับแสงตามต้องการได้ นอกจากนี้ ตัวสตูดิโอยังทำงานกับทีมผู้เชี่ยวชาญด้านความรู้เรื่องเสียงในการสร้างระบบลดเสียง โดยใช้แผ่นไม้เจาะรูและแผ่นโลหะที่ออกแบบมาอย่างกลมกลืนกับสถาปัตยกรรมภายใน ช่วยให้เสียงของกลุ่มคนที่ต้องสนทนากันไม่ไปรบกวนนักศึกษาคนอื่นๆ “เพื่อเป็นเกียรติแก่รูปทรงเรขาคณิตและวัสดุอันโดดเด่นที่ทำให้ห้องสมุด Robarts […]

12 โปรแกรมไฮไลต์ภายใต้ธีม ‘เมือง-มิตร-ดี’ จากเทศกาล Bangkok Design Week 2023

สุดสัปดาห์นี้จะเข้าสู่สัปดาห์ของ ‘เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2566’ หรือ ‘Bangkok Design Week 2023 (BKKDW2023)’ เทศกาลสุดสร้างสรรค์ระดับโลกที่นำเสนอผลงานสุดครีเอทีฟและขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาให้กรุงเทพฯ เติบโตและกลายเป็นเมืองที่ดีขึ้น Bangkok Design Week ครั้งที่ 6 มาในธีม ‘urban‘NICE’zation เมือง-มิตร-ดี’ ที่เน้น ‘การออกแบบ’ เพื่อพัฒนา ‘คุณภาพชีวิต’ ของผู้คน โดยอาศัยหลักการสร้างเมืองที่เป็นมิตรต่อคน และสร้างคนที่เป็นมิตรต่อเมือง ผ่าน 6 มิติ ได้แก่ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม ความหลากหลาย คนเดินทาง ธุรกิจ และชุมชน  งานครั้งนี้จัดขึ้นใน 9 ย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ทั่วกรุงเทพฯ พร้อมกิจกรรมสร้างสรรค์ขับเคลื่อนเมืองกว่า 550 โปรแกรม เช่น นิทรรศการ การบรรยาย เวิร์กช็อป ตลาดนัดสร้างสรรค์ในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ ฯลฯ เพราะรู้ว่าผู้อ่านคงไปไม่ครบทุกกิจกรรมแน่ๆ คอลัมน์ Urban’s Pick อาสาคัดเลือก 12 […]

ซื้อหนึ่ง ได้บริจาคอีกหนึ่งให้เด็กๆ เฟอร์นิเจอร์โต๊ะ-เก้าอี้ จาก ‘บริ-บุญ’ พร้อมสลักชื่อหรือข้อความได้ด้วย

หลังจากเปิดตัวและให้บริการขายพวงหรีดกับบริจาคโลงศพที่ทำหน้าที่เป็นสะพานบุญให้คนทั่วไป ‘บริ-บุญ’ ธุรกิจใหม่ในเครือสุริยาหีบศพ (สาขาศิริราช) ก็มีโปรเจกต์น่ารักๆ ออกมาให้คนเข้าถึงง่ายมากขึ้น นั่นคือ ซื้อเฟอร์นิเจอร์โต๊ะหรือเก้าอี้ 1 ตัว = บริจาคโต๊ะหรือเก้าอี้อีก 1 ตัว เฟอร์นิเจอร์ที่ว่านั้นประกอบด้วยโต๊ะกับเก้าอี้รูปทรงต่างๆ ที่รับรองว่าถูกใจเด็กๆ (และผู้ใหญ่) แน่นอน ตั้งแต่เก้าอี้พี่ยีราฟ โต๊ะเขียนหนังสือน้องสุนัขพันธุ์ชเนาเซอร์ เก้าอี้น้องสุนัขพันธุ์พุดเดิล โต๊ะและเก้าอี้น้องแมว และเฟอร์นิเจอร์ตัวเปิดปี 2023 เก้าอี้น้องเบคอน ที่ทั้งน่ารัก น่ากิน และน่านั่งสุดๆ  นอกจากหน้าตารูปทรงที่เอาใจเด็กๆ แล้ว ตัวเฟอร์นิเจอร์ยังผลิตจากวัสดุคุณภาพดี ไม่เป็นพิษต่อผิวที่บอบบางของเด็ก ไม่ว่าจะเป็นไม้ปาร์ติเกิล ไม้อัด หินอ่อน ไม้สักทอง ทั้งยังปรับขนาดและความสูงได้ ขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้า  โปรเจกต์นี้เกิดขึ้นจากความตั้งใจของ ‘คณกฤษ สุริยเสนีย์’ ทายาทสุริยาหีบศพ และที่ปรึกษา ‘นิธิศ บัญชากร’ ที่อยากทำเพื่อสังคม เริ่มตั้งแต่ต้นทางอย่างแนวคิดการออกแบบและผลิต จนถึงปลายทางที่เป็นการจำหน่าย “เราใช้เครื่องจักรผลิตโปรดักต์ แต่ผมดีไซน์ดีเทลให้ประกอบได้ง่าย โดยสอนสกิลการประกอบให้คนในชุมชน เพื่อสร้างงานและกระจายรายได้ให้พวกเขา เพื่อทำให้ธุรกิจนี้มีความยั่งยืนในด้านการช่วยเหลือสังคม ทั้งยังอยู่ด้วยตัวเองได้” นิธิศที่รับหน้าที่ออกแบบเฟอร์นิเจอร์ทั้งหมดอธิบายให้เราฟัง […]

Teeth Time คลินิกทำฟันสุดอบอุ่นที่ใช้ดีไซน์เยียวยาความกลัวของคนไข้และจิตใจทันตแพทย์

ฟาซาดขนาดมหึมาโดดเด่นเห็นมาแต่ไกล มองเข้าไปด้านในเจอเฟอร์นิเจอร์ไม้สไตล์นอร์ดิกจัดวางอย่างเป็นระเบียบ ลึกเข้าไปหน่อยคือสวนสวยที่มีต้นเสม็ดแดงชูยอดรับแดดจากช่องหลังคาทรงกลม แวบแรกดูเหมือนห้างฯ มองดีๆ แล้วคล้ายคาเฟ่ แต่นาฬิกาเรือนใหญ่ที่มีเข็มหน้าปัดเป็นรูปแปรงสีฟันบนฟาซาดก็ยืนยันว่า เรากำลังยืนอยู่หน้าคลินิกทำฟัน Teeth Time ไม่ผิดแน่ พูดตามตรง ใครจะคิดว่าริมถนนพุทธมณฑล สาย 4 ที่เสียงรถเร่งเครื่องขึ้นสะพานเป็นแบ็กกราวนด์จะมีคลินิกทำฟันมาตั้งอยู่ตรงนี้ แถมยังเป็นคลินิกที่หน้าตาและบรรยากาศแตกต่างจากคลินิกที่เราเคยคุ้น ยามสายที่แดดอ่อนๆ ทอแสงในสวน เราจึงนัดสนทนากับเจ้าของคลินิกอย่าง ปฐวี นวลพลับ, ทันตแพทย์หญิงอัญชลี สุจิวโรดม ภรรยาของปฐวี และ กาจวิศว์ ริเริ่มวนิชย์ ผู้ก่อตั้งและดีไซน์ไดเรกเตอร์ของสตูดิโอ Physicalist ผู้เปลี่ยนพื้นที่ว่างเปล่าริมถนนให้กลายเป็นคลินิกทำฟัน ซึ่งลบภาพจำเก่าๆ ไปจนไม่เหลือเค้าโครงเดิม Spooky Time ตึกแถวที่ดูลึกลับ แบ่งห้องอย่างไม่ซับซ้อน มีส่วนต้อนรับขนาดเล็กซึ่งมองเข้าไปจะเห็นลูกค้าแออัดเนืองแน่น และแน่นอนว่าต้องเปิดโทรทัศน์ทิ้งไว้ตลอดเวลา ภาพจำของคลินิกทำฟันของหลายคนน่าจะเป็นแบบนั้น ปฐวีก็เช่นกัน มากกว่านั้นคือเขารู้สึกอยู่ตลอดว่าคลินิกทำฟัน ‘น่ากลัว’ “ตั้งแต่จำความได้ ผมมองคลินิกทำฟันว่าเป็นสถานที่ที่ไปแล้วทุกข์ทรมาน ไปเจอความเจ็บปวด มีเสียงเหมือนอยู่ในห้องเชือดตลอดเวลา หมอฟันก็ดูเป็นคนใจร้ายไปโดยปริยาย” เขาเล่าขำๆ แต่สีหน้าจริงจัง ยืนยันว่าหมายความตามนั้นจริง  ก่อนที่อัญชลีจะเสริมต่อว่า ในฐานะหมอฟันผู้เคยทำงานทั้งในโรงพยาบาลรัฐและคลินิกเอกชน แพตเทิร์นเดิมๆ ของห้องทำฟันส่งผลให้คนทำงานอย่างเธอรู้สึกเบื่อหน่าย […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.