ทำไมบางเมืองถึงยอมแลกความเจริญกับการถูกถอดออกจากมรดกโลก

‘รักษาสิ่งเก่า’ หรือ ‘พัฒนาไปสู่สิ่งใหม่’ ถ้าสองอย่างนี้สามารถดำเนินไปด้วยกันได้คงจะดี แต่บางครั้งเราก็จำเป็นต้องเลือก โดยเฉพาะยามที่มีเรื่องผลประโยชน์ของส่วนรวมเข้ามาพัวพันด้วย ‘เมืองอยุธยาเสี่ยงจะถูกถอดออกจากมรดกโลกเพราะรถไฟความเร็วสูง’ หากมองจากสายตาคนนอก คงเป็นเรื่องน่ากังวลสำหรับโบราณสถานที่มีอายุมากกว่าหลายร้อยปี แต่ในสายตาของคนท้องถิ่น คนจำนวนไม่น้อยต้องการความเจริญอย่างรถไฟความเร็วสูงมากกว่าการเป็นมรดกโลก และสิ่งนี้ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในไทย ก่อนอื่นขออธิบายก่อนว่า ‘แหล่งมรดกโลก’ คือพื้นที่ทางธรรมชาติหรือสิ่งก่อสร้างรวมไปถึงเมือง ที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือด้านอื่นๆ ซึ่งได้รับการปกป้องคุ้มครองทางกฎหมายตามอนุสัญญาว่าด้วยเรื่อง ‘มรดกโลก’ ของยูเนสโก เพื่อให้ประชาชนเกิดการตระหนักรู้ในการอนุรักษ์ให้คงอยู่สืบทอดต่อไป และที่สำคัญคือ การเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์จะนำรายได้ไม่น้อยมาให้ท้องถิ่นและชุมชน ทุกอย่างเหมือนจะดูดี แต่เหรียญย่อมมีสองด้านเสมอ บางครั้งกฎเกณฑ์ที่มากเกินไปอาจทำให้การพัฒนาพื้นที่ทำได้ยากกว่าเดิม จึงมีบางประเทศเลือกที่จะยอมถูกถอดออกจากมรดกโลกเพื่อต้องการพัฒนาเมืองให้ดีกว่าเดิม ยกตัวอย่าง เมืองลิเวอร์พูล (Liverpool) ประเทศอังกฤษ และเมืองเดรสเดิน (Dresden) ประเทศเยอรมนี ที่ชาวเมืองสนับสนุนการพัฒนาเมืองมากกว่าการเป็นเมืองมรดกโลก หรือมรดกโลกอาจขัดขวางการพัฒนาเมือง จากความจริงที่ว่า ‘เมืองไม่เคยหยุดนิ่ง’ จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นและเม็ดเงินที่ไหลเวียนเข้ามา ย่อมนำมาซึ่งการขยับขยายพัฒนาเมืองเพื่อตอบโจทย์ชาวเมือง ปฏิเสธไม่ได้ว่า การขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทำให้เมืองไม่สามารถขยับตัวพัฒนาในบางจุดได้เท่าที่ควร และในเมื่อต้องเลือกเพียงแค่อย่างใดอย่างหนึ่ง หนึ่งในเมืองที่ขึ้นทะเบียนเมืองมรดกโลกอย่าง ‘ลิเวอร์พูล’ จึงเลือกหันหลังให้มรดกโลกเพื่อแลกกับความเจริญ ‘ลิเวอร์พูล มาริไทม์ เมอร์แคนไทล์ ซิตี’ (Maritime Mercantile City) […]

Urban Regeneration of Hat Yai Inner City ธีสิสฟื้นฟูเมืองหาดใหญ่ สร้างย่านเศรษฐกิจใหม่จากพื้นที่เดิม

‘หาดใหญ่’ เปรียบเสมือนเมืองหลวงของภาคใต้ที่มีพหุวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของผู้คนที่หลากหลาย เนื่องด้วยเป็นชุมทางรถไฟสายใต้ที่มีพื้นที่ติดต่อค้าขายกับประเทศมาเลเซีย แต่ปัจจุบันเมืองท่าแห่งนี้กลับเงียบเหงากว่าอดีตมาก หลังจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 เมื่อหลายปีที่ผ่านมา เพราะมีการปิดพรมแดนระหว่างไทย-มาเลเซีย ซึ่งถือเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในพื้นที่ ด้วยเหตุนี้ ‘เกรท-กมลฉัตร ชื่นจิตต์ศิริ’ อดีตนิสิตภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เกิดและเติบโตในพื้นที่หาดใหญ่ ตัดสินใจทำธีสิส ‘Urban Regeneration of Hat Yai Inner City’ ออกแบบพื้นที่ไฮไลต์ในตัวเมืองหาดใหญ่ใหม่ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในบ้านเกิดให้กลับมาคึกคักอีกครั้ง คอลัมน์ Debut ชวนทุกคนนั่งรถไฟลงใต้ ไปสำรวจความเป็นไปได้ของการพัฒนาเมืองที่ใหญ่ที่สุดในภาคใต้ผ่านธีสิสของลูกหลานหาดใหญ่คนนี้กัน จุดเริ่มต้นการฟื้นฟูของหาดใหญ่ “เราโตมากับหาดใหญ่ พอได้ทำธีสิสเลยเลือกพื้นที่ตรงนี้มาพัฒนา เพราะเห็นว่าปัจจุบันตัวเมืองค่อนข้างเงียบเหงา ซึ่งเรามองว่าหาดใหญ่สามารถไปได้ไกลกว่านี้” เกรทเล่าถึงความตั้งใจในการทำธีสิส โดยยึดจากปัญหาที่พบในบ้านเกิดของเธอเอง เดิมทีหาดใหญ่ได้รับความเจริญจากการเข้ามาของ ‘สถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่’ ที่แบ่งการเดินทางแยกออกเป็น 2 สาย คือ ปลายทางสถานีรถไฟสุไหงโก-ลก และปลายทางเมืองบัตเตอร์เวิร์ท ประเทศมาเลเซีย นอกจากนี้ยังมีท่าอากาศยานหาดใหญ่ ที่ทำให้เมืองนี้มีบทบาทเป็นพื้นที่จุดศูนย์กลางการเดินทาง ควบตำแหน่งเมืองการค้าที่สำคัญเนื่องจากติดกับชายแดน แหล่งรวมความหลากหลายทางวัฒนธรรมของชุมชนคนไทย จีน และมุสลิม ที่ตั้งรกรากอยู่ในพื้นที่ มากไปกว่านั้น ทางเทศบาลนครหาดใหญ่ยังมีการวางแผนสร้างระบบ ‘รถไฟฟ้ารางเดี่ยว’ […]

Creative Art District : TOYS  ธีสิสที่ใช้ ‘ของเล่น’ มาพัฒนาเมือง ให้สร้างสรรค์ผ่าน ‘ย่านสะพานเหล็ก’

การพัฒนาเมืองยังคงต้องเกิดขึ้นทุกวันไม่มีหยุด เพื่อปรับเปลี่ยนไปตามวิถีชีวิตของผู้อยู่อาศัย หลายสถานที่เป็นไปตามแบบแผน และอีกหลายพื้นที่ก็ยังคงเป็นปัญหา โดยเฉพาะปัญหาจากการเข้ามาของสิ่งใหม่ที่ผลักให้คุณค่าของความดั้งเดิมทั้งชุมชน วิถีชีวิต ภูมิปัญญา หรือวัฒนธรรมต่างๆ สูญหายไป ‘แนน-นภัสสร จันทรเสนา’ บัณฑิตจบหมาดๆ จากสาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้สนใจการพัฒนาเมืองในเรื่องของวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของชุมชนดั้งเดิม ได้จัดทำผลงานวิทยานิพนธ์ชื่อว่า ‘โครงการฟื้นฟูบูรณะเมืองและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ย่านสะพานเหล็ก สู่ย่านของเล่นร่วมสมัย’ ขึ้นมาเพื่อสะท้อนให้เห็นว่า การพัฒนาเมืองนั้นมีหลายวิธี และ ‘การพัฒนาย่านสร้างสรรค์’ เป็นหนึ่งวิธีที่ธีสิสนี้เลือกใช้ คอลัมน์ Debut วันนี้พาไปรู้จักวิทยานิพนธ์ดีเด่นด้านความคิดสร้างสรรค์จากเวที TOY ARCH Thailand ประจำปี 2566 กับไอเดียการพัฒนาเมืองที่มีแนวคิดจาก ‘ของเล่น ของสะสม’ จะนำไปสู่การเป็นเมืองสร้างสรรค์ในรูปแบบไหนได้บ้าง ไปดูกัน ‘ของเล่น ของสะสม’สู่แนวคิดการพัฒนาย่านสร้างสรรค์ แนนมีบ้านเกิดอยู่จังหวัดร้อยเอ็ด เธอเลือกเข้ามาเรียนคณะสถาปัตยกรรมฯ ที่จุฬาฯ เพราะมีความชอบด้านงานศิลปะและการออกแบบเป็นทุนเดิม บวกกับที่เธอชอบการท่องเที่ยวและเป็นนักสำรวจพื้นที่ใหม่ๆ จากการได้มาใช้ชีวิตเรียนหนังสือในเมืองอย่างกรุงเทพฯ ทำให้ทุกๆ วันจะได้พบกับมุมมองที่ต่างออกไป ตลอดระยะเวลา 4 – 5 ปีของการศึกษา แนนพบว่าตัวเองนั้นอยากพัฒนาเมืองในเรื่องวัฒนธรรมหรือภูมิปัญญาของชุมชนดั้งเดิม […]

‘ศรีเทพ’ ได้ขึ้นเป็นมรดกโลก แต่ ‘เวนิส’ เสี่ยงหลุดจากลิสต์ เหตุเพราะน้ำท่วมและนักท่องเที่ยว

ในวันที่ ‘เมืองศรีเทพ’ ของไทยได้รับประกาศจากองค์การยูเนสโก (UNESCO) ให้เป็นเมืองมรดกโลกแห่งล่าสุด ในช่วงเวลาเดียวกัน ‘เวนิส’ ได้รับคำเตือนว่าอาจจะขึ้นบัญชีดำที่มีความเสี่ยงสูงที่จะถูกถอดออกจากรายชื่อมรดกโลก ที่เป็นเช่นนั้นเพราะรัฐบาลอิตาลีและการปกครองท้องถิ่นเวนิสไม่ได้มีมาตรการหรือกลไกที่ผลักดันการปกป้องความอ่อนไหวของการมีสถานภาพเป็นเมืองมรดกโลก ที่ให้คนเข้าไปศึกษา ชื่นชม และเรียนรู้ จนอาจทำให้เกิดการสูญเสียความเป็นแก่นแท้ของสถานที่ นอกจากนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมของยูเนสโกก็ยังเสนอให้นำเมืองเวนิสไปอยู่ในลิสต์ของการเป็นมรดกโลกที่เสี่ยงต่อการถูกทำลายอย่างไม่สามารถกู้คืนกลับมาได้ในสถานภาพของการเป็นมรดกโลก โดยมีเหตุผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศในปี 2019 ที่เกิดน้ำท่วมใหญ่ในเวนิส ไปจนถึงการเกิดปรากฏการณ์ Overtourism หรือปัญหานักท่องเที่ยวล้นทะลัก ที่ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ สภาพแวดล้อม และสภาพการเป็นเมืองมรดกโลก ถ้าย้อนไปดูตั้งแต่ปี 1987 ที่เวนิสได้รับการประกาศให้เป็นเมืองมรดกโลก ยูเนสโกได้ส่งคำเตือนถึงประเด็นนี้เป็นครั้งที่ 2 แล้วจากการพัฒนาเมืองที่มากเกินไปเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว และผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมที่ทำให้อาคารเก่าแก่ทั้งหลายมีความเสี่ยงถูกทำลาย รวมถึงการท่องเที่ยวขนาดใหญ่ ที่ผ่านมารัฐบาลอิตาลีและเมืองเวนิสได้พยายามออกนโยบายและสร้างแผนการปกป้องเมืองด้วยการจำกัดไม่ให้เรือขนาดใหญ่แล่นผ่านคลองของเมือง เปิดใช้งานกำแพงกันน้ำท่วมอย่างเต็มรูปแบบเมื่อปี 2020 และมีแผนเก็บค่าธรรมเนียมการเดินทางของนักท่องเที่ยวด้วย แต่ถึงอย่างนั้น ยูเนสโกก็มองว่าทั้งหมดนี้ยังไม่เพียงพอต่อการรักษาสภาพของการเป็นเมืองมรดกโลกตามมาตรฐาน และจากปัญหานักท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อการอยู่อาศัย ทำให้คนเวนิสจำนวนไม่น้อยย้ายออกไปจากเมืองจนตอนนี้เหลือคนในพื้นที่เพียงห้าหมื่นคนเท่านั้น ซึ่งนั่นย่อมสั่นคลอนต่อสถานภาพการเป็นเมืองมรดกโลกทางวัฒนธรรมที่ยังมีชีวิตอยู่ของเวนิส Sources :APOLLO | tinyurl.com/2y7zwe4eBBC | tinyurl.com/283cvvg5Podcast : ‘เมือง-หมา-นุด’ EP.51 Venice กับความเสี่ยงถูกถอนออกจากเมืองมรดกโลก | tinyurl.com/2xwdvvwfTravel and […]

สิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นในเมืองปี 2022 ที่ชาว Urban Creature ยกนิ้วให้

ดนตรีในสวน เทศกาลกรุงเทพฯ กลางแปลง แคมเปญการเมือง พื้นที่สาธารณะแห่งใหม่ ฯลฯ เหล่านี้คือตัวอย่างมูฟเมนต์ที่เกิดขึ้นในเมืองตั้งแต่เดือนแรกจนถึงเดือนสุดท้ายของปี 2022 ปฏิเสธไม่ได้ว่าปีนี้เป็นปีที่มีหลายสิ่งหลายอย่างเกิดขึ้น โดยเฉพาะในช่วงเวลาหลังโรคระบาดที่สถานการณ์เริ่มกลับมาเป็นปกติ ผู้คนกล้าออกไปใช้ชีวิต อีเวนต์มากมายเกิดขึ้น ความคิดสร้างสรรค์และพลังการขับเคลื่อนได้รับการเติมเชื้อเพลิง ชาว Urban Creature เลยขอคัดเลือกมูฟเมนต์เจ๋งๆ ที่เกิดขึ้นในเมืองปีนี้ มารวบรวมให้ทุกคนย้อนนึกถึงกันอีกครั้ง เพื่อเป็นหลักฐานของความหวังต่อบ้านเมืองนี้ เราจะได้มีแรงไปใช้ชีวิตและขับเคลื่อนความเชื่อของตัวเองกันต่อในปีหน้า ปลดล็อกท้องถิ่น โดยคณะก้าวหน้าชื่อผู้เลือก : เดือนเพ็ญ จุ้ยประชาตำแหน่ง : Senior Content Creator  ด้วยความที่ย้ายจากนครปฐมไปอยู่ชลบุรีตั้งแต่ตอนเรียนประถมฯ ผสมกับเข้ากรุงเทพฯ อยู่เนืองๆ จนสุดท้ายได้มาเรียนมหาวิทยาลัยและทำงานที่กรุงเทพฯ ประสบการณ์และความเป็นอยู่ทั้งชีวิตสอนให้รู้ว่า ถ้าอยากมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในแง่สาธารณูปโภคและการงานกับเงินเดือน ให้ย้ายมาอยู่กรุงเทพฯ  เพราะต่อให้เมืองมันจะไม่น่าอยู่ เต็มไปด้วยมลพิษและปัญหารถติด แต่อย่างน้อยการมีขนส่งสาธารณะที่ค่อนข้างครอบคลุม เดินทางไปไหนมาไหนสะดวก ได้ทำงานในสายงานที่สนใจ มีร้านหนังสืออิสระ โรงหนัง แกลเลอรี และสวนสาธารณะดีๆ รายล้อม ยังไงมันก็ดีกว่าการอยู่ในที่ที่ถ้าไม่มีรถยนต์ก็ไปไหนเองแทบไม่ได้ ไม่มีสายงานที่สนใจให้ทำ และมีแต่ห้างฯ กับสถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติให้ไปเยือน เราจึงดีใจมากที่เห็นคณะก้าวหน้าออกมาขับเคลื่อนเรื่องการเมืองในสเกลย่อย และได้มีการล่ารายชื่อปลดล็อกท้องถิ่น เพื่อกระจายอำนาจจากส่วนกลางมาให้คนทำงานในพื้นที่ได้มีอำนาจอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยสักที ยิ่งพอได้ไปพูดคุยกับอาจารย์ปิยบุตร […]

Citizen Activist การพัฒนาเมืองด้วยประชากร กับอุ้ม Mayday | Unlock the City EP.14

ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ที่คนรุ่นใหม่ตื่นตัวทางการเมืองและสนใจประเด็นทางสังคมกันอย่างเข้มข้น เกิดเป็นปรากฏการณ์ Citizen Activist ที่ผู้คนลุกขึ้นมาขับเคลื่อนและทำงานในแนวทางที่ตนเชื่อ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เมือง จากกระแสสังคมนี้ก่อให้เกิด Advocacy Planner ผู้ทำหน้าที่ตรงกลาง เชื่อมต่อระหว่างภาครัฐกับเอกชนและภาคประชาชน โดยมุ่งเน้นสนับสนุนประชาชนในมิติต่างๆ เพื่อให้พวกเขามีส่วนร่วมกับการพัฒนาเมือง คนทำงานส่วนนี้ถือว่าเป็นพลังสำคัญในการพัฒนาเมืองไม่น้อย เพราะหากรัฐมีหน้าที่จัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานแล้ว การมีคนที่ช่วยเป็นปากเสียง ให้ความรู้ และลงมือทำอะไรบางอย่างเพื่อส่วนรวม เมืองก็จะไปต่อได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งในหลายๆ ประเทศทั่วโลกที่ต่อให้เป็นประเทศพัฒนาแล้วก็ล้วนแล้วแต่มีกลุ่มคนที่ทำงานด้านนี้กันทั้งนั้น เพื่อไขข้อสงสัยต่อบทบาทหน้าที่ของ Advocacy Planner ว่าพวกเขาทำสิ่งนี้ไปเพื่ออะไร เอารายได้มาจากไหน และการที่ประชาชนลุกขึ้นมาพัฒนาเมืองเอง ถือว่าเป็นความล้มเหลวของรัฐหรือไม่ ‘พนิต ภู่จินดา’ โฮสต์รายการ Unlock the City จึงชวนสมาชิกกลุ่ม Mayday ที่ทำงานเรื่องขนส่งสาธารณะอย่าง ‘อุ้ม-วิภาวี กิตติเธียร’ มาให้คำตอบในเอพิโสดนี้

นั่งรถรางส่องประวัติศาสตร์กับ Co-create Chiang Rai โปรเจกต์พัฒนาเชียงรายให้เป็นเมืองสร้างสรรค์

01 ความทรงจำน้อยนิดระหว่างเราและจังหวัดเชียงราย คงเป็นวันหนึ่งในฤดูฝน แดดเช้าเย็นฉ่ำด้วยอายกลิ่นเมฆครึ้มในร้านกาแฟ ชาวเมืองต่างแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดที่ต้องไปให้ได้เมื่อมาเยือนแดนเหนือถิ่นนี้ เช่น เดินชมงานที่ ขัวศิลปะ ไป วัดร่องขุ่น ดูลวดลายฝีมืออาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ และที่ขาดไม่ได้คือ บ้านดำ พิพิธภัณฑ์แห่งชีวิตของถวัลย์ ดัชนี ซึ่งทุกสถานที่ที่เอ่ยมาล้วนอยู่นอกเมือง วิธีเดินทางง่ายๆ ที่แนะนำต่อกันมาคือ การเช่ารถยนต์สักคันเพื่อประหยัดทั้งเงินและเวลา เราอดคิดซ้ำๆ ในใจไม่ได้ว่าขนส่งสาธารณะทุกๆ ที่ควรเร่งปรับปรุงแก้ไขได้เสียที กลับมาเชียงรายอีกครั้งในฤดูกาลเดียวกันกับคราวก่อน รอบนี้เราไม่ได้ออกไปนอกเมือง แต่กำลังนั่งอยู่บนรถรางไฟฟ้า  “วันนี้เป็น Test Day ทดลองใช้และดูระยะการปรับปรุงระบบขนส่งมวลชนขนาดเล็กภายในเมือง รวมถึงการพัฒนาพื้นที่ต่างๆ ในเมืองเชียงราย” อาจารย์จากคณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยกรุงเทพ พูดผ่านไมค์เป็นการทักทายสำหรับการนำทัวร์เมืองล้านนาในวันนี้ ปกติแล้วรถรางไฟฟ้าของทางเทศบาลจะให้บริการในเมืองวันละ 2 รอบ แล่นไปยัง 4 จุดสำคัญ เป็นเส้นทางรถรางเชิงท่องเที่ยวสำหรับไหว้พระในเมืองเก่าเชียงรายที่มีหลายสิบวัด  แต่เพื่อการซัปพอร์ตมิติที่หลากหลายของผู้คนในเมืองมากขึ้น Test Day วันนี้เลยเพิ่มรอบรถรางเป็นทั้งหมด 8 รอบ ในบริเวณ 10 จุดสถานที่ที่ทางสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA), สำนักงานในจังหวัดเชียงราย, กลุ่มนักสร้างสรรค์ท้องถิ่น และคนในชุมชน […]

เชียงใหม่ ฉันจะดูแลเธอ กลไกตี้ยะเจียงใหม่หื้อยั่งยืน

“เชียงใหม่ ฉันจะดูแลเธอ คืออะไร?” เป็นคำถามที่คนทั่วไปน่าจะสงสัยเมื่อได้เห็นเพจและเว็บไซต์นี้เป็นครั้งแรก เกือบปีแล้วที่เพจ ‘เชียงใหม่ ฉันจะดูแลเธอ’ กลับมามีชีวิตชีวาบนโลกออนไลน์ โดยการรวมพลังของทีมดูแลเพจจำนวน 5 คน ได้แก่ ภูวา-จิรันธนิน กิติกา, หมูใหญ่-คมสัน ไชยวงศ์, ดรีม-ธนกร เจริญเชื่อมสกุล, ตา-สุวารี วงศ์กองแก้ว และแป้ง-อาคิรา ศิริวัฒนานุกุล ที่แท็กทีมด้วยความตั้งใจทำประเด็นเกี่ยวกับพื้นที่ รวบรวมข้อมูลเมืองเจียงใหม่ นำเสนอกรณีศึกษาที่สำคัญ และสร้างกลไกให้เกิดการขับเคลื่อนภาคประชาชนบนแพลตฟอร์มออนไลน์ทั้งบนเฟซบุ๊กเพจ และขาของเว็บไซต์ www.ChiangmaiWeCare.com โปรเจกต์ดูแลเมืองที่รวมหัวใจของคนเจียงใหม่นี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงงานวิจัย ‘การพัฒนากระบวนการเพื่อขับเคลื่อนประชาคมเมืองเชียงใหม่’ แผนงานคนไทย 4.0 โดยมีทัพทีมวิจัยที่เชี่ยวชาญอย่าง ตา สุวารี, ภูวา จิรันธนิน, รศ. ดร.สันต์ สุวัจฉราภินันท์ และ อ.อจิรภาส์ ประดิษฐ์ ทำงานสอดประสานกับภาคประชาสังคม ภาครัฐ และคนเมืองเจียงใหม่ เพื่อให้ความฝันที่อยากเห็นเมืองดีเกิดขึ้นได้จริง และเกิดการขับเคลื่อนเมืองอย่างมีส่วนร่วม นำไปสู่การออกแบบแผนเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Plan) และผังออกแบบเชิงแนวคิด (Conceptual Design […]

A Convenient Sunset | A Convenient Holdup

เรื่องราวและความโกลาหลและการสูญสิ้นระเบียบเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แม้กระทั่งในสภาพแวดล้อมที่ถูกจัดวางและควบคุมอย่างดีเช่นในร้านสะดวกซื้อ

Flowing Through The Wreckage of Despair

ภาพถ่ายบันทึกเหตุการณ์นํ้าท่วมครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 50 ปีของประเทศไทย ปี 2554
ถ่ายทอดบรรยากาศของกรุงเทพฯ และพื้นที่ข้างเคียง

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.