Waiting for a Snake รถไฟฟ้ามาหานคร

พ.ศ. 2542 เป็นปีที่คนไทยได้สัมผัสกับระบบขนส่งมวลชนแบบใหม่ในนาม ‘รถไฟฟ้า’ เป็นครั้งแรก ก่อนที่เวลาต่อมา มันจะซอกซอนและยืดเหยียดไปตามพื้นที่ต่างๆ ของกรุงเทพฯ และปริมณฑล เหมือนงูยักษ์ที่เลื้อยไปตามถนน ย่าน และสถานที่สำคัญต่างๆ ของเมือง นอกจากจะทำหน้าที่ขนส่งมวลชนแล้ว ทุกที่ที่งูเหล่านี้เลื้อยผ่าน ยังทำให้ภูมิทัศน์ของเมืองเปลี่ยนแปลงไปทุกมิติทั้งเชิงบวกและลบ อาคารที่อยู่อาศัยแนวตั้งและอาคารพาณิชย์มากมายผุดขึ้นตามเส้นทางของมัน ที่ดินราคาสูงขึ้น และโอกาสในการทำงานของคนในพื้นที่ก็เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ค่าเช่าที่พักอาศัยในบริเวณนั้นก็มักจะสูงตาม อีกทั้งการก่อสร้างมันขึ้นมายังทำให้เกิดมลพิษทั้งทางน้ำและอากาศ โดยเฉพาะที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุดคงหนีไม่พ้นอาการขัดข้องและอุบัติเหตุจากระบบต่างๆ รวมถึงอัตราราคาที่ต้องจ่ายเพื่อใช้บริการมัน รถไฟฟ้าจึงเปรียบเสมือนงูใหญ่ที่มอบโอกาสในการเดินทาง และอสรพิษที่สามารถทำร้ายผู้คนได้ แม้จะไม่ได้ตั้งใจ แต่ไม่ว่าอย่างไร ชาวเมืองก็ยังจำเป็นต้องพึ่งพาเจ้างูตัวนี้ เพื่อการเดินทางที่มีความแน่นอนทางเวลา (หากระบบไม่รวน) รวมไปถึงความปลอดภัยเมื่อเทียบกับการเดินทางบนท้องถนน หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

Finding Dating Places in Bangkok รวมสถานที่เดตในเมืองใหญ่จากชาว Urban Creature

เนื่องในเดือนแห่งความรัก ที่เหล่าคนมีคู่ฮาๆ คนโสดฮือๆ สิ่งหนึ่งที่ชาวโซเชียลเสิร์ชหาในอินเทอร์เน็ต คงหนีไม่พ้นสถานที่เดตสุดโรแมนติก แต่ไม่ว่าจะหาเท่าไหร่สุดท้ายก็ไปจบที่เดินห้างฯ กินอาหารที่ร้านอาหารสักแห่ง หรือนั่งจับมือดูหนังกันสักเรื่อง เชื่อเถอะว่าต้องมีคนจำนวนไม่น้อยที่อยากหาสถานที่ดีๆ สำหรับทำกิจกรรมร่วมกับหวานใจ แบบที่ถ้าหวนกลับไปนึกถึงเมื่อไหร่ก็ต้องรู้สึกประทับใจทุกครั้ง แต่ถ้าไม่ใช่สถานที่อย่างห้างฯ ใจกลางกรุง แล้วกรุงเทพฯ จะมีที่ไหนให้ไปกับเขาบ้าง เราเลยขอรวบรวมสถานที่เดตในฝันของชาว Urban Creature ที่จะมาทำให้เห็นว่า จริงๆ แล้วในเมืองของเราก็มีสถานที่ดีๆ เหมาะกับการออกเดตอยู่เหมือนกัน สถานที่เดต : สวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ)โลเคชัน : จตุจักร (maps.app.goo.gl/Tth6TLpnTZSe9hMy7)ชื่อผู้เลือก : เดือนเพ็ญ จุ้ยประชาตำแหน่ง : ​Managing Editor นอกจากร้านหนังสืออิสระที่มักชวนคนไปเดต สวนสาธารณะก็เป็นหนึ่งในสถานที่เดตที่เราชวนคนไปด้วยบ่อยๆ เพราะด้วยความที่เป็นคนชอบเดินอยู่แล้ว และคิดว่าการได้มีบทสนทนากันเยอะๆ จะช่วยให้เรารู้จักกันและกันมากขึ้น แต่ถ้าเป็นสวนสาธารณะที่มีขนาดพื้นที่ไม่กว้างขวาง ก็อาจเดินครบจบไวไปหน่อย เราเลยขอเลือก ‘สวนรถไฟ’ สวนสาธารณะขนาดใหญ่ที่กินพื้นที่เป็นร้อยๆ ไร่ มีหลากหลายส่วนให้ไปสำรวจ รวมถึงมีกิจกรรมให้ทำเยอะแยะ ตั้งแต่เดินเล่น ปั่นจักรยาน หรือนั่งพักผ่อนอ่านหนังสือ แถมบางทีก็มีดนตรีในสวนให้ฟังด้วย มากไปกว่านั้น การเดินเล่นพูดคุยในสวนที่มีสีเขียวล้อมรอบก็ทำให้เรารู้สึกสดชื่น หายใจได้เต็มปอด […]

นิทรรศการศิลปะ ‘เมืองลับแล’ บอกเล่าเรื่องกรุงเทพฯ ที่มองไม่เห็น วันนี้ – 23 มี.ค. 67 ที่ SAC Gallery

‘กรุงเทพฯ ดุจเทพสร้าง เมืองศูนย์กลางการปกครอง วัดวังงามเรืองรอง เมืองหลวงของประเทศไทย’ คำขวัญกรุงเทพฯ ที่พูดถึงความเจริญของเมืองผ่านแง่มุมที่สวยหรู แต่ด้วยการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน ทำให้กรุงเทพฯ ในจินตนาการนั้นแตกต่างกับความเป็นจริง ‘เมืองลับแล’ (Invisible Town) คือนิทรรศการที่สะท้อนถึงผู้คนและกรุงเทพฯ เมืองที่กำลังพัฒนาผ่านผลงานศิลปะของ ‘มาเรียม-ธิดารัตน์ จันทเชื้อ’ ศิลปินหญิงชาวมุสลิม ที่มองเห็นถึงปัญหาทั้งการขยายตัวอย่างรวดเร็วของเมือง ความบกพร่องในการวางผังเมือง และการคอร์รัปชัน รวมไปถึงบางพื้นที่ชาวบ้านต้องอาศัยอยู่ในบริเวณเดียวกันกับแหล่งทิ้งขยะขนาดใหญ่และโรงงานอุตสาหกรรม ที่หลายคนอาจมองข้ามผลกระทบที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันไป ผลงานในนิทรรศการนี้มีแนวความคิดการสร้างสรรค์ผลงานร่วมกับสิ่งของเหลือใช้ เช่น กระป๋องบุบ มุ้งลวดกันยุง กระดาษลังใช้แล้ว กล่องนม เหล็กดัด และใช้ผ้ามัดย้อมหรือผ้าพิมพ์ลายภาพสถานที่สื่อถึงการตระหนักรู้เรื่องหมอกควัน แสดงให้เห็นถึงมลพิษทางอากาศที่เป็นปัญหาแก่ผู้คนในประเทศไทยและกรุงเทพฯ นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอในลักษณะเหมือนช่องหน้าต่างและฉากกั้นห้อง ที่เป็นองค์ประกอบหนึ่งภายในบ้านแบบไทยและบ้านในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงมีการนำเอาผนังรีไซเคิลมาสร้างเป็นงานจิตรกรรมขนาดใหญ่อีกด้วย เปิดประสบการณ์เมืองลับแล (Invisible Town) ที่ SAC Gallery ตั้งแต่วันนี้ – 23 มีนาคม 2567 ทุกวันอังคาร-วันเสาร์ เวลา 11.00 – 18.00 น.

Harmony of Thai-Chinese ไทยจีนสัมพันธ์

นอกจากวันแห่งความรัก เดือนนี้ก็นับว่าเป็นช่วงเวลาสำคัญสำหรับชาวไทยเชื้อสายจีน เพราะมีวันตรุษจีนให้ระลึกถึงบรรพบุรุษที่จากไป มากไปกว่าตรุษจีนที่เป็นหนึ่งในประเพณีอันเป็นภาพแทนของความเป็นไทยเชื้อสายจีน ด้วยความใกล้ชิดสนิทสนมจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของกันและกันมาตั้งแต่อดีต จึงเป็นเรื่องธรรมดามากๆ ที่เราจะพบเจอศิลปวัฒนธรรมจีนในไทย ตั้งแต่สเกลเล็กๆ อย่างบนร่างกายผู้คน ในอาคารสถานที่ ไปจนถึงระดับเมือง และหากให้นึกถึงพื้นที่ที่เป็นตัวแทนความเป็นจีนในกรุงเทพฯ ย่อมหนีไม่พ้นย่านเยาวราชอยู่แล้ว ในฐานะที่อดีตผมเคยเป็นคนในพื้นที่ ภาพของผู้คนที่พากันมาซื้อของและขนมที่ใช้ไหว้ในช่วงเทศกาล วัตถุต่างๆ ที่มีองค์ประกอบของฟอนต์ภาษาจีน รวมไปถึงสภาพแวดล้อมของอาคารและวิถีชีวิต ทั้งหมดที่กล่าวมานั้นนับว่าเป็นสิ่งที่เห็นจนชิน เมื่อเวลาผ่านมาจนผมเติบโตเป็นผู้ใหญ่ และได้กลับมาในบริเวณนี้อีกครั้งพร้อมกับกล้องถ่ายรูปคู่ใจ ผมย่อมรู้สึกต่างไปจากเมื่อก่อน จากเดิมที่เคยมองความเป็นจีนในไทยจนชินตา เมื่อเวลาผ่านไปกลับน่าสนใจยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในยุคที่อะไรก็หมุนไวไปหมด ทำให้อดไม่ได้ที่จะบันทึกเป็นภาพชุดนี้ขึ้นมา

ชื่อบ้านนามตรอกรอบ ‘ซอยวานิช 1’ เส้นเลือดใหญ่ของชาวจีนโพ้นทะเล ในโมงยามที่ชื่อย่านรางเลือน

หลายเวลา หลายวาระ สยามคือปลายทางหนึ่งของชาวจีนที่หันหัวเรือลงใต้ แสวงหาชีวิตที่ดีกว่ายังดินแดนใหม่ และหนีสารพัดภัยที่ต้องเจอในบ้านเกิด เข้ามาทำกิจการใต้ร่มบรมโพธิสมภาร เมื่อเก็บเงินได้จึงส่งกลับไปให้ครอบครัวที่อยู่เมืองจีน กลายเป็นเรื่องเล่าประจำบ้านชาวไทยเชื้อสายจีนที่ไม่ว่าใครก็เคยได้ยิน แทบทุกตำนานการเดินทาง ฉากแรกๆ ของผู้คนในสมัยนั้นคือ ‘สำเพ็ง’ ศูนย์กลางของชาวจีนในไทย ที่รับหน้าที่เป็นทั้งปลายทางให้ตั้งรกรากและจุดแวะพักเหนื่อยหลังเดินทางไกล ก่อนมุ่งหน้าต่อไปยังจังหวัดอื่น วันนี้เสียงพูดคุยด้วยภาษาจีนระหว่างชาวจีนพลัดถิ่นในสำเพ็งเบาลงทุกขณะ แทนที่ด้วยภาษาไทยสำเนียงแปร่งปร่าจากปากชาวจีนโพ้นทะเลกลุ่มใหม่ที่เพิ่งเข้ามา พร้อมกับป้ายร้านอักษรไทยฟอนต์ Tahoma และอักขรวิธีการสะกดคำที่อ่านแสนยาก ซึ่งนั่นหมายความว่ารากเหง้าของจีนเก่าที่มาก่อนก็กำลังถูกลบเลือนหายไปด้วยเช่นกัน เทศกาลตรุษจีนนี้ คอลัมน์ Neighboroot นัดพบกับพ่อค้าเชือกและนักประวัติศาสตร์ประจำย่านอีกครั้ง ชวนคุยเรื่องเก่าในละแวกบ้าน โดยมีแผนที่การค้าเก่าที่ปีนี้อายุครบร้อยปีพอดีเป็นตัวช่วยชี้ทาง เพื่อตามหาชื่อบ้านนามเมืองในสำเพ็งที่ทยอยหล่นหายไปตามเวลา ถนนคนเดินเบียดเสียด ละลานตาไปด้วยแสงไฟ อาหารสตรีทฟู้ดหลากหลาย กลายเป็นภาพจำของ ‘ไชนาทาวน์’ เมืองไทย ผู้คนจากทั่วสารทิศมาเยือนถนนสายมังกรด้วยเป้าหมายต่างกันออกไป ไม่น้อยเป็นคนไทยที่มาหาของกินยามค่ำ ไม่น้อยเป็นนักท่องเที่ยวที่มาเยือนแลนด์มาร์กต่างบ้านต่างเมือง และก็มีไม่น้อยที่เป็นกลุ่มทุนจีนใหม่ที่เข้ามาทำธุรกิจ เพื่อกอบโกยเม็ดเงินกลับไปยังต้นทาง หลายเวลา หลายวาระ สยามคือปลายทางหนึ่งของชาวจีนที่หันหัวเรือลงใต้ แสวงหาชีวิตที่ดีกว่ายังดินแดนใหม่ และหนีสารพัดภัยที่ต้องเจอในบ้านเกิด เข้ามาทำกิจการใต้ร่มบรมโพธิสมภาร เมื่อเก็บเงินได้จึงส่งกลับไปให้ครอบครัวที่อยู่เมืองจีน กลายเป็นเรื่องเล่าประจำบ้านชาวไทยเชื้อสายจีนที่ไม่ว่าใครก็เคยได้ยิน แทบทุกตำนานการเดินทาง ฉากแรกๆ ของผู้คนในสมัยนั้นคือ ‘สำเพ็ง’ ศูนย์กลางของชาวจีนในไทย ที่รับหน้าที่เป็นทั้งปลายทางให้ตั้งรกรากและจุดแวะพักเหนื่อยหลังเดินทางไกล ก่อนมุ่งหน้าต่อไปยังจังหวัดอื่น วันนี้เสียงพูดคุยด้วยภาษาจีนระหว่างชาวจีนพลัดถิ่นในสำเพ็งเบาลงทุกขณะ […]

หลงเหลือ เหนือกาลเวลา ตามหาร่องรอยเก่าในกรุงเทพฯ

ระหว่างแวะทานราดหน้าแถวบางโพ เราเหลือบไปเห็นแท่งเหล็กแท่งหนึ่งแปะข้างผนังตึกที่ถัดจากร้านนี้ไปประมาณ 2 – 3 คูหา จากรูปทรงเป็นเกลียวๆ ก็พอเดาได้ว่าเคยเป็นร้านทำผมมาก่อนแน่ๆ ทำให้นึกถึงตัวเองที่ชอบถ่ายรูปตามตึกต่างๆ ในเวลาว่าง อย่างล่าสุดช่วงปีใหม่ เราไปย่านประดิพัทธ์แล้วเจอใบปลิวอายุไม่ต่ำกว่า 50 ปีซ่อนอยู่ใต้ระแนงเหล็ก นี่เลยเป็นที่มาของ One Day Trip กับตัวเอง ที่พกกล้องไปตามหาตึกเก่าในกรุงเทพฯ ว่ามีร่องรอยอะไรหลงเหลืออยู่ โดยเฉพาะร่องรอยที่ดู ‘เหนือกาลเวลา’ แต่จะให้ตระเวนทั่วกรุงเทพฯ อาจจะไม่ไหว เลยจำกัดเอาเฉพาะย่านที่เคยไปบ่อยๆ อย่างเขตดุสิต บางซื่อ ถนนประดิพัทธ์ สวนมะลิ และตรอกโรงเลี้ยงเด็ก และนี่คือตัวอย่างภาพที่ได้จากการท้าทายตัวเอง ตามหาสิ่งของที่ยังหลงเหลืออยู่แต่ปัจจุบันนี้เลิกใช้ หรือร้านที่เลิกกิจการไปแล้วแต่คงเหลือไว้แค่รอยป้าย หรือป้ายที่ยังสภาพสมบูรณ์แต่แค่ซีดจางไปตามกาลเวลา สัญลักษณ์อะไรสักอย่างตรงทางเข้าชุมชนบ้านพักองค์การทอผ้า คาดว่าเป็นสัญลักษณ์ขององค์การทอผ้า เพราะเท่าที่พยายามค้นหาจาก Google ก็ไม่พบสัญลักษณ์ที่พอจะเทียบได้ พบเพียงแต่เอกสารพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การทอผ้า พ.ศ. 2498 จากเว็บไซต์ของคลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ (parliament.go.th) ไฟหมุนร้านทำผม ดูจากลักษณะของฟอนต์ที่กล่องเหล็กด้านหลังไฟหมุนนั้น คาดว่ามีอายุไม่ต่ำกว่า 40 ปี ติดอยู่ข้างร้านชำแห่งหนึ่งที่อยู่ถัดจากร้านราดหน้าบางโพไปประมาณ 3 – 4 คูหา […]

My Diary of Culture Shock in BKK บันทึกการเดินทางของเด็กต่างจังหวัด เมื่อเข้ามาเยือนเมืองกรุงครั้งแรก

ฉันเป็นนิสิตฝึกงานชั้นปีที่ 4 ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคอีสาน ฉันเป็นคนอีสานโดยกำเนิด เกิดมาไม่เคยเข้ากรุงเทพฯ เลยสักครั้ง เมื่อก่อนฉันคิดว่าการเข้าเมืองกรุงเป็นเรื่องยากมากๆ มันเลยทำให้ฉันไม่กล้าออกไปเผชิญกับสิ่งใหม่ๆ ทว่าด้วยเวลาที่ประจวบเหมาะกับเป็นช่วงฝึกงานของนิสิตชั้นปีสุดท้ายก่อนจบการศึกษา ฉันก็เลยมีความคิดอยากท้าทายตัวเองด้วยการลองก้าวข้าม Comfort Zone หาสิ่งใหม่ๆ ให้ตัวเองเรียนรู้ จนได้มีโอกาสเดินทางมาฝึกงานในกรุงเทพมหานครกับ Urban Creature เพจที่เล่าเรื่องเมืองและอยากทำให้คนรักเมืองมากขึ้น นับจากวันแรกถึงตอนนี้ ฉันเก็บข้าวของแบกกระเป๋าขึ้นเครื่องบิน เหินฟ้ามาสัมผัสรสชาติความเจริญในเมืองกรุงเพื่อฝึกงานได้รวมๆ เกือบจะหนึ่งเดือนแล้ว นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ฉันเห็นความแตกต่างโดยสิ้นเชิงของกรุงเทพฯ กับจังหวัดมหาสารคามที่ฉันอยู่ ซึ่งมีทั้งเรื่องชวนให้ตื่นเต้น แปลกใจ และเข้าใจ ผสมปนๆ กันไป พร้อมกับการพยายามปรับตัวให้เข้ากับวิถีชีวิตของคนกรุงเทพฯ ให้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้ขนส่งสาธารณะ การจราจร อากาศ และสภาพแวดล้อมต่างๆ ของเมืองแห่งนี้ อากาศแบบใด ก่อนอื่นเลยตอนที่ฉันมาถึงกรุงเทพฯ วันแรก ก้าวขาออกจากสนามบินปุ๊บ ไอร้อนก็ตีแสกหน้าทันที ถึงแม้ว่าจะเริ่มเข้าสู่ฤดูหนาวแล้วก็เถอะ แต่กรุงเทพฯ ไม่มีท่าทีว่าจะหนาวให้ฉันได้กอดผ้าอุ่นๆ ดูตึกสูงระฟ้ายามค่ำคืนดื่มด่ำความมโน ทั้งๆ ที่ตอนนี้จังหวัดของฉันหรืออีกหลายจังหวัดคงเริ่มหนาวจนผิวแตกเป็นข้าวจี่แล้ว ยิ่งช่วงฤดูหนาวแบบนี้ ถ้าเกิดอยากสูดอากาศบริสุทธิ์ในยามเช้าเหมือนอยู่บ้านที่ต่างจังหวัดก็ทำไม่ได้นะ เพราะแค่ออกไปข้างนอกก็เจอฝุ่น PM 2.5 ที่พร้อมจะทำให้เป็นภูมิแพ้ ทั้งอากาศร้อนอบอ้าว ทั้งฝุ่นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ […]

ชวนเธอมาชมดาวกลางกรุงส่งท้ายปีกับ ‘Starry Night over Bangkok’ คืนวันที่ 23 ธ.ค. 66 ที่สวนเบญจกิติ

ถ้าจะมีครั้งไหนที่เราได้มีโอกาสรวมตัวดูดาวใจกลางกรุงเทพฯ ร่วมกัน ก็คงต้องเป็นครั้งนี้แหละ ‘Starry Night over Bangkok’ คืองานดูดาวกลางกรุงที่ ‘NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ’ และ ‘กรุงเทพมหานคร’ อยากชวนทุกคนเปิดประสบการณ์ชมดาวกลางกรุงครั้งยิ่งใหญ่กับคาราวานกล้องโทรทรรศน์ส่งท้ายปี มีกิจกรรมดาราศาสตร์มากมายให้เข้าร่วม ไม่ว่าจะเป็นการชมดาวเคล้าเสียงเพลงตลอดทั้งงาน การเรียนรู้การดูดาวบนท้องฟ้าจริงเพื่อรู้จักกลุ่มดาวที่น่าสนใจ การ DIY เรียนรู้กลุ่มดาวต่างๆ ผ่าน Stellar Light Box สนุกไปกับสติกเกอร์เรืองแสง Glow in the Dark Stars & Planets ไปจนถึงล้อมวงฟัง Special Talk เรื่องการสำรวจดวงจันทร์ และอื่นๆ อีกมากมาย นอกจากนี้ ผู้ร่วมงานยังสามารถร่วมลุ้นรับ ‘กล้องโทรทรรศน์’ และของรางวัลสุดพิเศษได้ตลอดทั้งงานอีกด้วย งาน Starry Night over Bangkok จัดขึ้นที่อัฒจันทร์กลาง สวนเบญจกิติ ในคืนวันเสาร์ที่ 23 ธันวาคม 2566 ตั้งแต่เวลา 18.00 – […]

Colors of Everyday Life in Bangkok สีสันรายวันของกรุงเทพฯ

เราชอบดูงานศิลปะมาก ไม่ว่าจะเป็นงานภาพถ่าย ภาพวาด งานจิตรกรรม หรืองานแขนงอื่นๆ แต่ในทุกครั้งจะมีองค์ประกอบหนึ่งที่ผมสนใจเป็นพิเศษคือเรื่องของ ‘สี’ เพราะสีเป็นสิ่งหนึ่งที่ให้อารมณ์ที่หลากหลาย เช่น สนุก เศร้า ผ่อนคลาย มีความหวัง ทั้งยังสื่อสารกับความรู้สึกของผู้คนได้ ด้วยเหตุนี้ ทุกครั้งที่ออกจากบ้านผมจะพกกล้องคอมแพคตัวเล็กๆ ติดตัวไว้ตลอดเวลา เพื่อถ่ายภาพสิ่งต่างๆ ที่เจอในชีวิตประจำวัน โดยจะนำเสนอผ่านสไตล์ที่ผสมผสานกัน นั่นคือ Minimal, Abstract, Art และให้ ‘สี’ เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ภาพดูน่าสนใจและสนุกมากขึ้น ด้วยความที่เมืองไทยเป็นเมืองแห่งสีสัน ไม่ว่าเดินไปทางไหนเราจะพบเจอตึกรามบ้านช่อง พาหนะ การแต่งกายของผู้คน ที่ล้วนแล้วแต่น่าสนใจและมีความงามซ่อนอยู่ในทุกๆ ที่ จากมุมมองนี้ทำให้ผมคิดว่า ไม่ว่าเราจะเจอเรื่องดีหรือไม่ดี สุขหรือเศร้า อย่างน้อยก็เป็นสีสันของชีวิต หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

ฝนตกช่วงเลิกงาน ไม่ใช่พระพิรุณไม่เห็นใจ แต่เพราะความร้อนที่สูงไปของเขตเมือง

พอใกล้ถึงเวลาเลิกงานในช่วงหน้าฝนทีไร ถ้าเป็นไปได้ชาวออฟฟิศหลายคนคงอยากจะเคลียร์งานให้เสร็จก่อนเวลา แล้วรีบเดินทางกลับบ้านก่อนที่ฝนห่าใหญ่จะเทลงมาจนต้องติดแหง็กอยู่ที่ออฟฟิศหรือหาที่หลบฝนระหว่างทางจนเกือบค่อนคืน แต่ในระหว่างที่เราเผชิญกับสถานการณ์เหล่านี้กัน มีใครเคยสังเกตไหมว่า ทำไมฝนมักจะตกลงมาในตอนเย็นและลากยาวไปจนถึงดึกในแต่ละวัน เหมือนหลอกให้เราตายใจในตอนเช้า แล้วเล่นตลกกับเราในตอนเย็นอยู่เสมอๆ เลย แต่จริงๆ แล้วปรากฏการณ์ฝนตกในช่วงเลิกงานแบบนี้ มีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์เรียกว่า ‘ปรากฏการณ์เกาะความร้อน’ หรือ ‘Urban Heat Island (UHI)’ มารองรับอยู่เหมือนกัน วันนี้คอลัมน์ Curiocity อยากพาทุกคนไขคำตอบไปพร้อมๆ กันว่า ปรากฏการณ์ UHI คืออะไร และเพราะอะไรเกาะความร้อนเมืองที่ว่านี้ถึงทำให้ฝนตกในช่วงเวลาเย็นเหมือนตั้งเวลาเอาไว้ ฝนตกเพราะเมืองร้อน อย่างที่หลายคนทราบดีว่า ฝนที่ตกในทุกๆ วันล้วนเกิดจากกระบวนการที่เราเรียนกันตั้งแต่เด็กอย่าง ‘วัฏจักรของน้ำ’ ที่น้ำจากแหล่งน้ำต่างๆ จะระเหยกลายเป็นไอลอยขึ้นไปในอากาศ จากนั้นจะเกิดการกระทบความเย็นควบแน่นเป็นละอองน้ำเป็นก้อนเมฆ ก่อนจะตกลงมาเป็นฝน วนเวียนเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ซึ่งวัฏจักรนี้จะทำให้สถานการณ์ฝนตกในแต่ละพื้นที่เกิดขึ้นในเวลาที่ต่างกัน และจะมีปริมาณฝนมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอุณหภูมิภายในพื้นที่นั้นๆ ที่ก่อให้เกิดอัตราการควบแน่นบริเวณแหล่งน้ำที่แตกต่างกันออกไปนั่นเอง แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีบางเมืองที่มีลักษณะฝนตกเป็นแพตเทิร์นซ้ำๆ คือตกหนักในช่วงเวลาเลิกงานแบบสั้นบ้างยาวบ้างในแต่ละวัน เหตุการณ์เช่นนี้เป็นผลมาจาก ‘ปรากฏการณ์เกาะความร้อน’ หรือ ‘Urban Heat Island (UHI)’ ที่เกิดขึ้นในเขตเมือง จนทำให้พื้นที่ในเมืองมีอุณหภูมิสูงกว่าบริเวณรอบนอกอย่างมีนัยสำคัญนั่นเอง เมืองร้อนเพราะสมดุลเปลี่ยน ความร้อนของเมืองที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์ UHI […]

สงสัยไหม ทำไมกรุงเทพฯ มีซอยตันเยอะ

หลายครั้งการขับรถผิดทางทำให้เราต้องเกิดอาการหัวร้อนหงุดหงิด โดยเฉพาะเวลาเลี้ยวเข้าผิดซอย แต่ก็ไม่สามารถไปต่อหรือกลับรถตรงนั้นได้ เพราะซอยที่ว่านั้นทั้งแคบและยังเป็น ‘ซอยตัน’ ที่บังคับให้คนขับรถต้องเข้าเกียร์ R ถอยหลังออกไปตั้งหลักใหม่อย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งคนที่ขับรถในกรุงเทพฯ จะรู้ว่าเมืองหลวงของเรามีซอยตันเยอะมากเสียด้วย ทำให้เกิดความสงสัยว่า ทำไมในมหานครแห่งนี้ถึงได้มีซอยตันกระจายตัวแทบจะทุกพื้นที่เลย นอกจากจะเป็นอุปสรรคในการขับรถแล้ว ซอยตันยังส่งผลอะไรต่อการใช้ชีวิตของคนกรุงเทพฯ อีกบ้าง คอลัมน์ Curiocity จะพาไปเปิดทางตันและหาคำตอบของเส้นทางเล็กๆ เหล่านี้กัน เมืองขยายตัว เกิดซอยจำนวนมาก ในยุคหนึ่งที่เป็นช่วงการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ประเทศไทยเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม ซึ่งกรุงเทพฯ ได้กลายเป็นจุดมุ่งหมายที่ผู้คนหลากหลายกลุ่มจากหลากหลายจังหวัดเดินทางเข้ามาทำงาน เกิดความหนาแน่นของประชากร ตามมาด้วยการขยายงานและที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน เพราะเหตุนี้ เมืองจึงขยายตัวออกไปในแถบชานเมืองและรอบนอกที่ยังมีพื้นที่สำหรับก่อสร้างอาคารและที่อยู่อาศัยเพิ่มเติม โดยที่ดินแถบนั้นส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ขนาดใหญ่สำหรับทำเกษตรกรรม ซึ่งเจ้าของพื้นที่มักจะตัดแบ่งที่ดินเพื่อขายหรือสร้างสิ่งปลูกสร้างให้ได้จำนวนมากขึ้น จึงเกิด ‘ซอย’ หรือ ‘ถนนเส้นเล็กๆ’ เชื่อมต่อถนนหลักขึ้นตามการแบ่งพื้นที่ขายในหลายพื้นที่ทั่วกรุงเทพฯ นั่นเอง กว่า 45 เปอร์เซ็นต์ของความยาวถนนในกรุงเทพฯ เป็นซอยตัน เมื่อการแบ่งที่ดินและการสร้างถนนเล็กๆ เพื่อขายเกิดขึ้นโดยไม่ได้คำนึงถึงผังเมืองกรุงเทพฯ หรือไม่ได้วางแผนเพื่อเชื่อมต่อซอยต่างๆ กับถนนหลัก จึงทำให้ซอยเหล่านี้กระจายตัวอย่างไม่เป็นระเบียบ ทั้งมีขนาดเล็ก มีความซับซ้อน รวมถึงยังเป็นซอยที่มีทางเข้า-ออกเพียงแค่ทางเดียว โดยปลายทางของถนนเล็กๆ เหล่านี้ยังไม่สามารถทะลุออกไปไหนได้ หรือที่เรียกกันว่า ‘ซอยตัน’ นั่นเอง ปี […]

ผลนิด้าโพล ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ นำโด่งจากสำรวจอยากได้ใครเป็นผู้ว่าฯ กทม. ครั้งล่าสุด

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา สำนักนิด้าโพลได้เผยผลการสำรวจประชาชนชาวกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งแล้วในหัวข้อ ‘อยากได้ใครเป็นผู้ว่าฯ กทม.’ เป็นครั้งที่ 10 ซึ่งถือเป็นครั้งล่าสุด หลังจากที่นิด้าจัดทำโพลนี้ขึ้นมาอย่างต่อเนื่องในช่วงก่อนหน้า ผลลัพธ์ที่ได้ชี้ให้เห็นว่า ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ ยังเป็นแคนดิเดตที่มีคะแนนนำลิ่วเป็นอันดับที่ 1 ทิ้งห่าง ‘สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์’ ตัวแทนจากพรรคประชาธิปัตย์ที่ตามมาเป็นอันดับที่ 2 และ อันดับที่ 3 ตามมาติดๆ คือ ‘อัศวิน ขวัญเมือง’ เจ้าของตำแหน่งผู้ว่าฯ คนล่าสุดที่ได้รับการแต่งตั้งมาจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) การสำรวจโพลโดยสำนักนิด้าครั้งล่าสุดนี้ เป็นการสำรวจความคิดเห็นของผู้คนระหว่างช่วงวันที่ 31 มกราคม – 2 กุมภาพันธ์ 2565 จากกลุ่มประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ซึ่งมีสิทธิ์เลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครได้ โดยมีกลุ่มคนทุกระดับชั้นการศึกษา หลากอาชีพ และมีรายได้ที่แตกต่างกัน รวมเป็นจำนวนทั้งหมดถึง 1,324 ตัวอย่าง  ครั้งนี้ Urban Creature ขอเลือกนำเสนอเพียง […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.