ออกไปมองฟ้ากว้างยามค่ำคืน มีเรื่องเครียดอะไรก็ปล่อยให้ลอยไปกับดวงดาวและท้องฟ้าตอนมืดมิด

เวลาเครียดๆ ทุกคนทำอะไรกัน เล่นเกม? ฟังเพลง? หรือจะลองออกจากห้องไปหยุดยืนมองผืนฟ้ายามค่ำคืนบ้างดี เรารู้กันอยู่แล้วว่า พื้นที่สีเขียว พื้นที่โล่งกว้าง หรือแม้แต่ท้องฟ้าแจ่มใสนั้นช่วยให้สภาพจิตใจของเราดีขึ้น แต่ไม่ใช่แค่ท้องฟ้าสดใสในช่วงกลางวันเท่านั้นที่ส่งผลดีต่อจิตใจของเรา เพราะที่จริงแล้วท้องฟ้าในช่วงกลางคืนเองก็มีส่วนช่วยฟื้นฟูให้สภาพจิตใจดีขึ้นได้ด้วยเช่นกัน โฟกัสที่ดวงดาวแทนความเครียดที่มี มีการศึกษาหนึ่งในปี 2564 ที่เผยแพร่ใน Journal of Destination Marketing & Management พบว่า การดูดาวเป็นกิจกรรมที่ช่วยบรรเทาความเครียดได้ แถมยังมีส่วนช่วยฝึกสมาธิ อีกทั้งยังเป็นวิธีที่ดีต่อสุขภาพจิตในการจดจ่อกับช่วงเวลาปัจจุบัน เพราะความคิดและความสนใจในเวลานั้นจะมุ่งไปยังดวงดาว ทำให้เราดื่มด่ำกับภาพตรงหน้าอย่างเต็มที่ สนใจความสวยงามและความกว้างใหญ่ไพศาลของท้องฟ้า มากกว่าใช้เวลาไปกับการวิตกกังวลหรือสนใจกับสิ่งที่คิดวนเวียนอยู่ในจิตใจ ไม่ใช่แค่เพิ่มความสงบทางจิตใจเท่านั้น แต่การดูดาวยังเป็นวิธีการที่ช่วยให้ออกห่างแสงจากจอ และไปสัมผัสกับแสงจากธรรมชาติแทน ช่วยให้ร่างกายผลิตเมลาโทนินเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยส่งเสริมการนอนหลับที่ดีด้วย ท้องฟ้าไม่มีดาวก็ใช้วิธี Skychology แทน จะให้ไปมองดวงดาว แต่ปัญหาใหญ่ของคนเมืองนอกเหนือจากการไม่มีเวลามองฟ้าแล้ว พอเข้าสู่ช่วงกลางคืน มลภาวะทางแสงในเมืองยังรบกวนจนทำให้การดูดาวกลายเป็นเรื่องยาก ถึงอย่างนั้น การจะลดความเครียดไม่จำเป็นต้องดูดาวอย่างเดียวเท่านั้น เพราะยังมีแนวคิด Skychology ที่จะช่วยให้จิตใจสงบได้เหมือนกัน Skychology เป็นแนวคิดและสาขาวิชาที่สร้างขึ้นโดย Paul Conway นักจิตวิทยาที่ทำการศึกษาว่า การมองขึ้นไปบนท้องฟ้าสามารถเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพจิตของเรา และยังเป็นการทำสมาธิในทางหนึ่ง เพราะช่วยให้เกิดความรู้สึกสงบ ลดความเครียดและความวิตกกังวลได้ […]

‘ความมืดนั้นสำคัญไฉน’ เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดกับผลกระทบต่อเมือง ธรรมชาติ และสิ่งมีชีวิต

‘ฟ้ามืดทีไรมันเหงาทุกคืน’ ท่อนหนึ่งในเพลงฟ้ามืดทีไร ของวง Dept ว่าไว้อย่างนั้น อย่างที่คุ้นชินกันว่า ความมืดมักถูกยึดโยงกับสิ่งไม่ดี ชั่วร้าย ความเศร้าซึม หรือความเหงา แต่แท้จริงแล้วความมืดมิดยามค่ำคืนกลับมอบสุนทรียศาสตร์ที่ไม่มีสิ่งไหนสามารถแทนที่ได้ แต่รู้หรือไม่ว่า อุปสรรคใหญ่ที่คอยขัดขวางความมืดคือมลภาวะทางแสงยามค่ำคืน ซึ่งเป็นสิ่งที่หลายคนมองข้าม โดยที่ไม่รู้ถึงผลกระทบต่อธรรมชาติ ทั้งต่อสัตว์ป่าและระบบนิเวศในตอนกลางคืน แน่นอนว่ารวมถึงการศึกษาด้านดาราศาสตร์ที่จำเป็นต้องพึ่งพาความมืดมิดในการสังเกตธรรมชาติและดวงดาว จนนำไปสู่การจัดตั้ง ‘เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืด’ ด้วย ในประเทศไทยรวมถึงทั่วโลกเริ่มมีการพูดถึงและเพิ่มจำนวนเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดมากขึ้นทุกปี คอลัมน์ Curiocity จึงอยากพาทุกคนลดแสงไฟ มุ่งหน้าสำรวจความมืดมิดถึงที่มาของเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืด ความสำคัญของความมืดต่อเมือง และตัวอย่างนโยบายการจัดการแสงสว่างจากทั่วโลก เมื่อเมืองสว่างเกินไปจนลดความมืดของธรรมชาติ แสงรถ แสงไฟจากตึกรามบ้านช่อง และการใช้งานแสงสว่างด้านอื่นๆ ของมนุษย์ ล้วนเติบโตขยายตามขนาดของเมืองและเทคโนโลยีในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 จนเกิดการใช้แสงสว่างเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดมลพิษทางแสงที่ลดความมืดของท้องฟ้าในยามค่ำคืนตามมา ทั้งเรื่องเล่าจากดวงดาว ทางช้างเผือกที่พาดผ่านในยามค่ำคืน และจินตนาการในอวกาศอันไกลโพ้นล้วนค่อยๆ ถูกลบหายไปพร้อมกับแสงสว่างจ้าที่บดบังความสวยงามในธรรมชาติ มิหนำซ้ำแสงเหล่านี้ยังรบกวนพฤติกรรมของสัตว์ป่าและการนอนหลับของมนุษย์อีกด้วย แต่ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจมลภาวะทางแสงเสียก่อน ‘มลภาวะทางแสง’ คือแสงสว่างที่ปรากฏให้เห็นบนท้องฟ้าในเวลากลางคืน ซึ่งเกิดจากการติดตั้งแหล่งกำเนิดแสงอย่างไม่ถูกต้อง ไม่ได้ควบคุมปริมาณและทิศทางให้เหมาะสมกับบริเวณที่จำเป็นต้องใช้ ทำให้แสงเหล่านี้ส่องสว่างไปบนท้องฟ้า ส่งผลให้ท้องฟ้าที่เคยมืดมิดกลับไม่มืดสนิทอย่างที่ควรจะเป็น เราสามารถแบ่งมลพิษทางแสงออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ แสงเรืองบนท้องฟ้า แสงจ้าบาดตา และแสงรุกล้ำ […]

Mahanakhon Sky เมืองสูงเสียดฟ้าที่เราต่างมีเวลาเพียงชั่วคราว

เหนือฟ้ายังมีฟ้า เหนือตึกสูงยังมีตึกสูงกว่าที่กำลังเร่งสร้างให้ทันกำหนดการ  อยู่มหานครแห่งนี้ต้องกอบโกย มีความหวังกับการหาบางอย่างที่ยังทำให้ชีวิตเคลื่อนไปข้างหน้า บางสิ่งเข้ามาบางคนจากไป เพราะที่นี่ไม่ใช่บ้าน เมืองศูนย์กลางแห่งนี้ไม่มีความสดใสใดฉายออกมา แม้แต่ความสวยงามของฟ้าสิ้นปีก็ไม่อาจเป็นใจ เพราะฝุ่นมากมายบดบังแสงตะวัน  เลิกงาน รถติด วิถีชีวิตคนเมืองอันแสนเหนื่อยอ่อน ความสงบหาได้น้อย ที่พักใจแทบไม่มี  จะหมดปีอีกแล้ว สิ่งที่หวังคงไม่ต่างจากเก่า ในเมืองสูงเสียดฟ้าที่เราต่างมีเวลาเพียงชั่วคราว  คือปีหน้าต้องเป็นปีที่ดีกว่าเดิม  ติดตามผลงานของ ณัฐวุฒิ เตจา ต่อได้ที่ Instagram : toey_nthv และหากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected]

‘คนรักมวลเมฆ’ ชมรมคนชอบมองท้องฟ้าเยียวยาจิตใจ และสอนดูฝน ฟ้า อากาศให้เป็นเรื่องใกล้ตัว

ขอชวนคุณผู้อ่านทุกท่านพักความเหนื่อยล้าจากการทำงานเพียงสักนิด และลองมองออกไปนอกหน้าต่างชมท้องฟ้าใกล้ตัวกันสักหน่อย เพราะวันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักเพื่อนใหม่ที่ชื่อว่า ‘ก้อนเมฆ’ และ ‘ท้องฟ้า’ กัน ถ้าตอนนี้สภาพท้องฟ้าปลอดโปร่งสดใส คาดว่าจะได้เจอน้องหมั่นโถว เมฆสีขาวลอยตัวเป็นก้อนเดี่ยวๆ ลักษณะคล้ายกับขนมหมั่นโถวรูปทรงกลม จริงๆ มีชื่อทางการคือ คิวมูลัส (Cumulus) หากเจอน้องโผล่มาทักทายเมื่อไหร่ ก็เป็นสัญญาณบอกได้เลยว่า ตอนนี้อากาศกำลังดี แต่ถ้าเมฆหมั่นโถวก้อนนี้เริ่มมีขนาดสูงขึ้นจนมากกว่าความกว้างของเมฆ และฐานเมฆเป็นสีเทาเข้ม ขอให้ทุกคนรีบหาร่มให้ไว เพราะน้องกำลังปล่อยฝนลงมาหาพวกเราแล้ว ถ้าคุณดูท้องฟ้าตอนเย็นช่วงพระอาทิตย์ตกไปสักพักหนึ่ง ก็อาจจะเจอ ‘Twilight Arch’ สังเกตขอบท้องฟ้าเป็นสีเหลือง ส้ม แดง และม่วงโผล่ขึ้นมาประมาณ 5 นาที (สามารถเจอตอนพระอาทิตย์ขึ้นได้เช่นเดียวกัน) หรืออาจเจอ ‘Vanilla Sky’ ท้องฟ้าสีส้มอมชมพูคล้ายกับสีขนมหวานมาทักทายก่อนที่ท้องฟ้าจะเปลี่ยนเป็นสีดำมืดเข้าสู่ตอนกลางคืน หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ดูท้องฟ้าแล้วรู้สึกเพลิดเพลิน แถมยังชอบเหม่อมองก้อนเมฆทุกๆ วัน แสดงว่าตอนนี้คุณอาจจะตกหลุมรักก้อนเมฆเข้าให้แล้ว อาการแบบนี้มีชื่อเรียกว่า ‘Ouranophile’ เป็นคำมาจากภาษากรีกแปลว่า ‘ผู้หลงรักในท้องฟ้า’ ปัจจุบันมีคนไทยหลายแสนคนที่ชื่นชอบก้อนเมฆรวมตัวกันแบ่งปันภาพท้องฟ้าในแต่ละท้องที่ให้เชยชมกันใน ‘ชมรมคนรักมวลเมฆ’ กลุ่มคอมมูนิตี้ในเฟซบุ๊กที่จัดตั้งโดย ‘ชิว-ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ’ นักวิทยาศาสตร์และคอลัมนิสต์ผู้ให้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มากมาย ที่วันนี้เขาจะเล่าให้เราฟังว่าความสุขของการดูก้อนเมฆนั้นช่วยเยียวยาจิตใจคนได้อย่างไร และเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับเจ้าก้อนสีขาวนี้ไปพร้อมกัน ก่อมวลเมฆ […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.