สตาร์ทอัปญี่ปุ่นเปลี่ยนขยะทะเลเป็น ‘HOTAMET’ หมวกนิรภัยจากเปลือกหอย เบา ทนทาน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

เปลือกหอยที่ถูกปล่อยทิ้งเอาไว้ แม้จะย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ แต่หากมีจำนวนมากจนเกินไป สสารที่เป็นของแข็งเหล่านี้ก็อาจกลายเป็นขยะในท้องทะเลได้  ตัวอย่างเช่น ในแต่ละปี หมู่บ้านซารุฟุสึ ประเทศญี่ปุ่น จะมีเปลือกหอยเชลล์ถูกทิ้งให้กองเป็นภูเขาปกคลุมหลุมฝังกลบประมาณ 40,000 ตัน โดยทั้งหมดมาจากกระบวนการแปรรูปหอยเชลล์ในอุตสาหกรรมอาหาร ก่อนหน้านี้ ขยะเปลือกหอยเคยส่งออกไปยังประเทศอื่นๆ เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการผลิตใช้ใหม่ แต่หลังจากที่ญี่ปุ่นหยุดส่งออกเปลือกหอยไปยังประเทศอื่นๆ ในปี 2564 เปลือกหอยจำนวนมากจึงต้องมากองเกลื่อนหมู่บ้านแห่งนี้ เพราะปัญหาขยะล้นพื้นที่ Quantum บริษัทสตาร์ทอัปในประเทศญี่ปุ่นจึงปิ๊งไอเดียนำเปลือกของสัตว์น้ำกลุ่มนี้มารีไซเคิลเป็น ‘HOTAMET’ หมวกนิรภัยที่มีน้ำหนักเบา ทนทาน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รูปทรงของ HOTAMET ถูกออกแบบให้มีหน้าตาคล้ายกับเปลือกหอย เพื่อบอกให้ผู้สวมใส่รู้ว่าหมวกใบนี้ผลิตมาจากเปลือกหอยเชลล์รีไซเคิล แต่การใช้เปลือกหอยมาเป็นวัสดุเพียงชนิดเดียวอาจจะไม่เหมาะสมที่จะผลิตหมวกสำหรับสวมป้องกันศีรษะเท่าไหร่นัก  Quantum จึงเพิ่มวัสดุอย่างพลาสติกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อเพิ่มคุณสมบัติให้ตัวหมวกมีความทนทาน แข็งแรง เหมาะสำหรับการสวมใส่ในสถานการณ์ต่างๆ ตั้งแต่กิจกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น การเดินทางด้วยจักรยาน ไปจนถึงการทำงานที่เสี่ยงอันตราย เช่น การตรวจสอบไซต์งานและการป้องกันภัยพิบัติ เป็นอุปกรณ์ป้องกันตัวที่นอกจากจะมีดีไซน์สวย ยังเหมาะกับการใช้งานที่หลากหลายด้วย Quantum จะเริ่มวางจำหน่ายหมวกเปลือกหอย HOTAMET ในช่วงเดือนมีนาคม 2566 ในราคาใบละ 4,800 เยน หรือประมาณ 1,200 บาท […]

‘แล เล่น รักษ์ เล’ พื้นที่สาธารณะริมชายหาดต้นแบบ ใส่ใจสิ่งแวดล้อมผ่านแนวคิด ‘CityLab’ ที่ป่าตอง

พาไปชมพื้นที่สาธารณะริมชายหาดต้นแบบที่ป่าตอง โดยความร่วมมือกันระหว่างสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) และเทศบาลเมืองป่าตอง  โปรเจกต์นี้เป็นการเปลี่ยนพื้นที่ในลานโลมา หาดป่าตอง จังหวัดภูเก็ตให้กลายเป็นพื้นที่ทดลอง CityLab Patong ‘แล เล่น รักษ์ เล’ พื้นที่สาธารณะริมชายหาดต้นแบบที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมผ่านแนวคิด ‘CityLab’ ด้วยการทดลองปรับปรุงพื้นที่สาธารณะที่มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน ทำได้ง่าย รวดเร็ว และใช้ทุนต่ำ เพื่อเป็นการขับเคลื่อนและพัฒนาเมืองในระยะยาว ทีม Healthy Space Forum อธิบายถึงโครงการ CityLab Patong ‘แล เล่น รักษ์ เล’ ว่าเป็นหนึ่งในการพัฒนาพื้นที่สาธารณะริมชายหาดต้นแบบที่ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการมีกิจกรรมอย่างสร้างสรรค์ผ่านพื้นที่เล่น โดยเฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชน ตลอดจนเป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจสำหรับครอบครัว ซึ่งตัวพื้นที่นี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1) ‘แล’ ที่หมายถึงการมองดูในภาษาใต้ เป็นนิทรรศการจัดแสดงที่จะถ่ายทอดความรู้ด้านพื้นที่สาธารณะ กิจกรรม และการมีส่วนร่วมต่อชุมชน 2) ‘เล่น’ เชิญชวนให้ทุกคนมาร่วมกิจกรรมในพื้นที่ และขยับร่างกายผ่านเฟอร์นิเจอร์กับเครื่องเล่นที่จะปรับเปลี่ยนเป็นสนามเด็กเล่นในภายหลัง 3) […]

เที่ยวส่งท้ายปีที่พิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน ในงาน Night at the Museum 2022 วันที่ 23 – 25 ธ.ค. 65 โซนปริมณฑลและ ตจว.

‘Night at the Museum Festival 2022’ คือเทศกาลที่หนึ่งปีมีครั้งเดียว หลายคนคงได้ไปเดินเล่น ชมความสวยงามของแสงไฟ และทำกิจกรรมสนุกๆ เพลิดเพลินไปกับช่วงเวลายามค่ำคืนกับหลากหลายพิพิธภัณฑ์ที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ อย่างเต็มอิ่ม  หลังจากงานโซนกรุงเทพฯ เพิ่งจบไปหมาดๆ Night at the Museum Festival 2022 ก็สานต่อความสนุกด้วยการยกขบวนไปจัดงานในพื้นที่ปริมณฑลและต่างจังหวัดหลายแห่ง ยกตัวอย่าง ที่ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. สำนักงานกลาง จังหวัดนนทบุรี กับนิทรรศการพลังงานไฟฟ้ายามค่ำคืน ส่วนที่พิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์ไทย จังหวัดนครปฐม ก็มีกิจกรรมฉายหนัง จำหน่ายสินค้างานคราฟต์ อาหาร และเครื่องดื่ม ส่วนใครที่อยู่จังหวัดปทุมธานี อนุสรณ์สถานแห่งชาติก็มีนิทรรศการรูปแบบใหม่ให้ผู้เข้าร่วมได้เล่นเกม VR เสมือนจริงด้วย นอกจากนี้ ที่อุทยานฯ ร.2 จังหวัดสมุทรสงคราม ได้เปิดให้ชมพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน เช่น พิพิธภัณฑ์หุ่นกระบอก พิพิธภัณฑ์มรดกทางวัฒนธรรมอัมพวา เป็นต้น ส่วนทางหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ จังหวัดฉะเชิงเทรา ขอร่วมงานนี้ด้วยการชวนทุกคนมาชมนิทรรศการดาราศาสตร์ ในขณะที่ชาวสิงห์บุรีเตรียมตื่นตาตื่นใจไปกับ Lighting Installation ที่มิวเซียมสิงห์บุรีได้เลย ขยับไปฝั่งอีสาน ใครไปจังหวัดนครราชสีมา […]

‘Treecard’ บัตรเดบิตรักษ์โลกจากไม้เชอร์รีและพลาสติกรีไซเคิล ที่ปลูกต้นไม้จากการใช้จ่ายของบัตร

เมื่อคนทั่วโลกหันมาใช้จ่ายเงินในรูปแบบ Cashless เพื่อลดการสัมผัสและการใช้เงินสด สิ่งหนึ่งที่เราอาจคาดไม่ถึงว่าอาจเป็นปัญหาคือ ขยะพลาสติกจากการผลิตบัตรเครดิตและเดบิต เพื่อแก้ปัญหาการใช้บัตรพลาสติก ‘Treecard’ สตาร์ทอัปด้านฟินเทคในกรุงลอนดอน ได้พลิกโฉมบัตรเดบิตที่ปกติทำมาจากพลาสติก ด้วยการเปลี่ยนมาใช้วัสดุไม้จากต้นเชอร์รีและเสริมแกนของการ์ดให้แข็งแรงขึ้นด้วยขวดพลาสติกรีไซเคิล เพื่อทำให้ Treecard เป็นบัตรเดบิตที่แม้จะไม่แข็งแรงเท่าพลาสติก แต่ก็ไม่เปราะบางจนแตกหักง่าย Treecard กล่าวว่า ต้นเชอร์รีเพียงต้นเดียวในสหราชอาณาจักรใช้ทำบัตรเดบิตเพื่อส่งต่อให้ผู้ใช้งานได้มากกว่า 300,000 ใบ ซึ่งใช้ทรัพยากรน้อยกว่าบัตรพลาสติกรูปแบบเดิมหลายเท่า Treecard เป็นบัตรเดบิตที่เชื่อมต่อกับบัญชีธนาคารที่มีอยู่และใช้ชำระเงินแบบไร้สัมผัส (Contactless) ได้ทุกที่บนโลกที่รับบัตรมาสเตอร์การ์ด ไม่ต่างจากบัตรพลาสติกในอดีต และในขณะเดียวกันยังเชื่อมต่อกับกระเป๋าเงินดิจิทัลอย่าง Apple Pay, Google Pay และ Samsung Pay ตลอดจนทำงานร่วมกับบัญชี Venmo ได้ นอกจากนี้ 80 เปอร์เซ็นต์ของค่าธรรมเนียมการค้าจะมอบให้กับกองทุนปลูกป่า และทุกๆ การใช้งาน 50 ดอลลาร์สหรัฐ (1,740 บาท) โดยบัตร Treecard จะเปลี่ยนให้กลายเป็นต้นไม้จริงในพื้นที่กว่า 30 ประเทศทั่วโลก แถมผู้ถือบัตรยังติดตามการเจริญเติบโตของต้นไม้เหล่านี้ผ่านแอปพลิเคชันในชื่อเดียวกันบน iOS และ Android ได้ด้วย […]

ตีลังกาเตะบอลบนโต๊ะปิงปองโค้ง รู้จักกับ ‘Teqball’ กีฬาชนิดใหม่ ขวัญใจคนไทย หัวใจเซปักตะกร้อ

ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา หลายคนคงเห็นคลิปวิดีโอที่นักกีฬาไทยกระโดดตีลังกาเตะลูกฟุตบอลบนโต๊ะที่คล้ายโต๊ะปิงปองแต่มีลักษณะที่โค้งกว่าผ่านหน้าไทม์ไลน์กันไม่น้อย จากแมตช์การแข่งขัน ‘เทคบอล (Teqball)’ กีฬาชนิดใหม่ระหว่างไทยและบราซิล แม้เป็นกีฬาชนิดใหม่ที่เพิ่งเป็นที่รู้จักขึ้นมาในประเทศไทยได้ไม่นาน แต่ความจริงแล้วกีฬาชนิดนี้เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศฮังการี ตั้งแต่ปี 2012 โดยเป็นการหยิบเอากีฬาฟุตบอลและปิงปองมาผสมผสานกัน รวมถึงออกแบบโต๊ะที่ใช้ในการเล่นให้มีพื้นผิวโค้ง เพื่อให้วิถีของลูกบอลโค้งรับไปกับเท้าของผู้เล่น เทคบอลถูกบรรจุเป็นกีฬาสากลอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2016 โดยมี ‘โรนัลดินโญ’ อดีตนักฟุตบอลชาวบราซิลเป็นหนึ่งในทูตเทคบอล และจัดการแข่งขัน ประจำปีในชื่อ ‘Teqball World Championships’ โดย Fédération Internationale de Teqball (FITEQ) ครั้งแรกขึ้นในปีถัดมา ก่อนได้รับความสนใจขึ้นเรื่อยๆ ส่วนประเทศไทยเองก็ได้ก่อตั้ง ‘สมาคมกีฬาเทคบอลแห่งประเทศไทย’ ขึ้นในปี 2021 โดยมี ‘พลเอก รณชัย มัญชุสุนทรกุล’ ดำรงตำแหน่งเป็นนายกสมาคม หลังจากเล็งเห็นว่าเป็นกีฬาที่เหมาะกับคนที่มีความคุ้นชินกับกีฬาเซปักตะกร้ออยู่เดิมแล้ว หลังจากฝึกซ้อมได้ไม่นาน ทางสมาคมฯ ก็สามารถส่งนักกีฬาลงสนามไปเมื่อวันที่ 23 – 27 พฤศจิกายนที่ผ่านมา และถูกทั่วโลกจับตามองจากทักษะการตีลังกาเตะลูกบอลในสไตล์กีฬาตะกร้อ จนพานักกีฬาประเภทชายคู่ได้รางวัล Favourite Team และลงเล่นใน […]

ทำไมจู่ๆ คนเราถึงลุกขึ้นมาใช้ความรุนแรง UNDP ชวนสำรวจสารตั้งต้นความรุนแรง ที่ผลักให้หลายคนกลายเป็น ‘ผู้ก่อการร้าย’

เชื่อว่าทุกคนคงเคยเห็นภาพการก่อการร้ายและได้ยินข่าวการใช้ความรุนแรงของกลุ่มต่างๆ ผ่านสื่อ เราอาจคุ้นเคยกับภาพเจ้าหน้าที่เข้าจับกุมคนเหล่านั้นหลังก่อเหตุ แต่ถ้าหากเราย้อนเวลากลับไปได้ ก่อนที่ใครคนหนึ่งจะได้สถานะ ‘คนร้าย’ หรือ ‘ผู้ก่อการร้าย’ หากเราสำรวจหาเหตุผลเบื้องหลัง เราอาจพบสารตั้งต้นที่จะเปลี่ยนชีวิตพวกเขาไปตลอดกาล การป้องกันความรุนแรงจากอุดมการณ์สุดโต่ง (Preventing Violent Extremism) อยู่ภายใต้ยุทธศาสตร์การต่อต้านการก่อการร้ายระดับโลก (UN Global Counter-Terrorism Strategy) ที่จัดทำโดยองค์การสหประชาชาติ แนวทางนี้ไม่ได้มองบุคคลเป้าหมายเป็นศัตรูที่ต้องกำจัด แต่เน้นการจัดการและแก้ไขโครงสร้างสังคมที่ผลักผู้คนให้ลุกขึ้นมาใช้ความรุนแรง คำถามคือ ทำไมจู่ๆ คนเราถึงลุกขึ้นมาใช้ความรุนแรงล่ะ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ หรือ UNDP เสนอว่า เราต้องเข้าใจรากเหง้าของความรุนแรงที่ปรากฏออกมาเพื่อที่จะแก้ไขได้ตรงจุด ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับอุดมการณ์ทางการเมือง การถูกเลือกปฏิบัติเพราะศาสนาหรือชาติพันธุ์ ความเหลื่อมล้ำ ความยากจน และการขาดโอกาสจากรัฐ ปัญหาเหล่านี้กระตุ้นให้ผู้ที่มีความคับข้องใจเลือกวิถีแห่งความรุนแรงเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้ในสภาวะปกติ แม้ว่าเราจะพูดคำว่า ‘ไม่เป็นไร’ กันจนติดปาก และพยายามจะ ‘สบายๆ’ กับทุกอย่าง แต่สังคมไทยกำลังเผชิญความขัดแย้งหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งด้านอัตลักษณ์ เช่น ที่สามจังหวัดชายแดนใต้ ความขัดแย้งทางการเมืองจากมุมมองอันแตกต่าง และความขัดแย้งเรื่องปากท้องและการจัดสรรทรัพยากรที่ทำให้หลายชุมชนเกิดความคับแค้นใจเมื่อรู้สึกว่าเสียงของพวกเขาไม่ถูกรับฟัง และนำไปสู่การเรียกร้องและเดินขบวนอย่างสันติวิธี หากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องยังไม่ออกมารับฟังอย่างจริงใจและพูดคุยเพื่อหาทางออกร่วมกัน ในที่สุดพวกเขาก็อาจจะเลือกจับอาวุธและใช้ความรุนแรง UNDP ทำงานโดยใช้ข้อมูลและหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-Based) ผ่านการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อรับฟังสถานการณ์จากภาคประชาสังคมและพันธมิตรทางวิชาการ […]

สำรวจแสงสีกรุงเทพฯ ยามราตรี กับงาน Awakening Bangkok 2022 ที่ย่านเจริญกรุง วันนี้ – 25 ธ.ค. 65

อากาศเย็นมีน้อยต้องใช้สอยอย่างประหยัด บรรยากาศดีๆ แบบนี้ ไม่มีอะไรเพลิดเพลินไปกว่าการออกไปเดินเล่นถ่ายรูปชมแสงไฟที่งาน ‘Awakening Bangkok 2022’ อีกแล้ว ปีนี้ทุกคนจะได้พบกับงานศิลปกรรมไฟกว่า 40 ชิ้น จัดแสดงใน 22 โลเคชันทั่วย่านเจริญกรุง-ตลาดน้อย ภายใต้ธีม ‘Endless Tomorrow : เพื่อพรุ่งนี้ และตลอดไป’ เพื่อชวนทุกคนออกไปค้นหาคำตอบของ ‘ชีวิตในวันพรุ่งนี้’ ว่าเราจะใช้ชีวิตและปรับตัวอย่างไรถึงจะทนต่อความเปลี่ยนแปลง และทำให้โลกตลอดจนสิ่งรอบข้างอยู่ยืนยาวไปกับเรา อีกความพิเศษของงานครั้งนี้คือ ทางงานได้เพิ่ม 2 โลเคชันใหม่ ได้แก่ อาคาร East Asiatic ตึกเก่าอายุกว่าร้อยยี่สิบปีในซอยเจริญกรุง 40 และ Swan Hotel โรงแรมวินเทจในซอยเจริญกรุง 36 ให้ได้เพลิดเพลินกับแสงไฟในบรรยากาศแบบย้อนยุค ใส่ความเซอร์ไพรส์เข้าไปอีกด้วยผลงาน Projection Mapping ที่อิมพอร์ตมาจากเทศกาล i Light Singapore พิกัดที่ Warehouse 30 นอกจากนี้ยังมีบ้านสีเหลืองแห่งใหม่ข้างๆ อาคารไปรษณีย์กลาง ที่มีบาร์ให้แวะพักจิบเครื่องดื่มและนิทรรศการศิลปะบริเวณด้านบนชั้น 3 ให้ชมอีกด้วย […]

ดุดันและใช้กำลังไฟ! T4 รถแทรกเตอร์ไฟฟ้าไร้คนขับ เสียงไม่ดัง และปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์

ภาคการเกษตรทั่วโลกกำลังเร่งพัฒนานวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อก้าวเข้าสู่ความยั่งยืนอย่างเต็มตัว ล่าสุดได้มีการเปิดตัว ‘รถแทรกเตอร์ไฟฟ้าอัตโนมัติ’ คันแรกของอุตสาหกรรมเกษตรโลก หวังเป็นต้นแบบของการทำเกษตรสีเขียวออกมาแล้ว ‘New Holland T4 Electric Power’ คือรถแทรกเตอร์ไฟฟ้าที่พัฒนาโดยบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านอุปกรณ์และบริการด้านการเกษตรระดับโลกอย่าง CNH Industrial ซึ่งทาง CNH มีเป้าหมายที่จะทำให้รถแทรกเตอร์รุ่นนี้ช่วยให้เกษตรกรทำงานได้อย่างสะดวกสบายและมีอิสระมากขึ้น ทั้งยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะเจ้ารถไถคันนี้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ สำหรับการใช้งาน รถแทรกเตอร์ T4 มีขนาดกำลังและแรงในการขับเคลื่อนอยู่ที่ 120 แรงม้า ด้วยความเร็วสูงสุด 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ถ้าใช้งานปกติ แบตเตอรี่ของ T4 จะอยู่ได้ตลอดทั้งวัน แต่ถ้าวันไหนใช้งานเยอะเป็นพิเศษ ก็อาจต้องเติมแบตฯ ระหว่างวันบ้าง แต่ไม่ต้องกลัวเป็นปัญหาต่อการทำงาน เพราะใช้เวลาชาร์จเพียงหนึ่งชั่วโมงก็เต็มแล้ว แถมตัวรถยังมีแหล่งพลังงานสำรองสำหรับกรณีฉุกเฉินด้วย เทคโนโลยีที่น่าสนใจของ T4 คือกล้องและเซนเซอร์ที่ติดตั้งไว้ทั่วคัน ทำให้ขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องใช้คนขับ มากไปกว่านั้น เกษตรกรยังควบคุมรถแทรกเตอร์ได้จากสมาร์ตโฟน ทำให้พวกเขามอนิเตอร์รถรุ่นนี้ระหว่างทำงานอื่นๆ จากระยะไกลได้ ที่สำคัญ T4 ยังมีเสียงรบกวนลดลงถึง 90 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับรถแทรกเตอร์ทั่วไป เปิดโอกาสให้เกษตรกรทำงานในช่วงกลางคืนได้โดยไม่รบกวนสัตว์เลี้ยงหรือผู้คนในพื้นที่ใกล้เคียง รถแทรกเตอร์โมเดลใหม่จาก CNH […]

สหราชอาณาจักรผุดไอเดียรักษ์โลก ‘Reuser’ แก้วกาแฟจากน้ำมันพืชที่สามารถยืมใช้และส่งคืนได้ตามจุด

ในแต่ละวัน สหราชอาณาจักรมีแก้วกาแฟใช้แล้วกว่า 500,000 แก้วถูกทิ้งไว้ในถังขยะ เพราะไม่สามารถนำไปรีไซเคิลต่อได้ ด้วยเหตุนี้ ‘Reuser’ บริษัทในกรุงลอนดอนที่ให้ความสำคัญกับการใช้วัสดุแบบหมุนเวียน จึงจับมือกับ ‘IDC (Industrial Design Consultancy)’ บริษัทออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชั้นนำ และ ‘Naiad Plastics’ บริษัทขึ้นรูปพลาสติก เพื่อสร้างแก้วกาแฟจากวัตถุดิบที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ขึ้นมา ภายใต้ชื่อเดียวกับบริษัท Reuser เพื่อการใช้แบบหมุนเวียนภายในเมือง โดยมีเป้าหมายหลักคือลดปริมาณขยะในเมือง ส่งให้สหราชอาณาจักรกลายเป็นรายแรกที่ใช้พลาสติกชีวภาพชนิดใหม่นี้ในการแก้ปัญหาขยะจากแก้วกาแฟล้นโลก วัสดุที่ใช้ทำแก้ว Reuser คือ Bio-PP ‘Bornewables’ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ในการสร้างผลิตภัณฑ์ชีวภาพขึ้นจากพืช สาหร่าย หรือน้ำมันพืชใช้แล้ว จากนั้นจะนำไปกลั่นจนเป็นเม็ดพลาสติก ก่อนจะเข้าสู่กระบวนการฉีดขึ้นรูปเป็นแก้วกาแฟและผลิตภัณฑ์ที่มีความแข็งแรง ทนทาน และใช้ซ้ำได้  สหราชอาณาจักรมีน้ำมันพืชเหลือใช้ค่อนข้างเยอะ จึงทำให้ทางบริษัทผลิตแก้ว Reuser ได้จำนวนมาก ส่งผลให้ราคาต้นทุนต่อหน่วยไม่ต่างกับการผลิตแก้วกระดาษในปัจจุบัน ซ้ำยังตรวจสอบย้อนกลับได้จนถึงจุดกำเนิด รวมถึงได้รับการรับรองคาร์บอนและการพัฒนาอย่างยั่งยืนระหว่างประเทศ จาก ISCC PLUS โดย International Sustainability and Carbon Certification (ISCC) อย่างครบถ้วน เมื่อได้รับแก้วชนิดนี้จากร้านกาแฟ […]

บ้านจากวัสดุชีวภาพหลังแรกของโลก BioHome3D ผลิตจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ หวังแก้วิกฤตที่อยู่อาศัย

วิธีการสร้างบ้านหลังหนึ่งนั้นมีหลายแบบ อย่างปัจจุบันนี้ก็มีนวัตกรรมการสร้างบ้านจากการพิมพ์ 3 มิติ ที่คิดค้นขึ้นมาเพื่อรองรับการสร้างบ้านที่สะดวกรวดเร็วและง่ายดายมากขึ้น นักวิจัยจาก University of Maine Advanced Structures and Composites Center (ASCC) ร่วมกับภาคีเครือข่ายในประเทศสหรัฐฯ ได้ก้าวไปสู่นวัตกรรมขั้นต่อไปด้วยการเปิดตัว ‘BioHome3D’ บ้านพิมพ์ 3 มิติหลังแรกของโลกที่ทำจากวัสดุชีวภาพทั้งหมด  บ้านต้นแบบหลังนี้มีขนาด 600 ตารางฟุต ประกอบด้วยพื้น ผนัง และโครงสร้างที่สร้างจากวัสดุหาได้ในท้องถิ่นอย่างเส้นใยไม้และเรซินชีวภาพ ทั้งยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยส่วนประกอบหลักที่เป็นฉนวนไม้ทั้งหลัง และมีระบบถ่ายเทความร้อนที่ปรับแต่งได้ นอกจากนี้ กระบวนการ 3D Printed ยังช่วยกำจัดขยะไม่ให้หลงเหลือระหว่างการก่อสร้างบ้านอีกด้วย BioHome3D จะได้รับการพิมพ์ขึ้นเป็นโมดูลจำนวน 4 ชิ้น และนำมาประกอบเข้าด้วยกันเป็นบ้านหนึ่งหลัง เสร็จสิ้นได้ภายในครึ่งวันเท่านั้น แถมใช้ไฟฟ้าในการทำงานเพียงสองชั่วโมง โดยมีช่างไฟฟ้าเพียงคนเดียวคอยดูแลกระบวนการนี้ ด้วยคุณสมบัติของบ้านต้นแบบนี้ จะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนที่อยู่อาศัยในสหรัฐฯ ที่มีความต้องการสูงขึ้นหลายเท่าตัว ทั้งยังลดการใช้วัสดุประเภทคอนกรีต การปล่อยคาร์บอน และการใช้แรงงาน นับเป็นตัวช่วยแก้ปัญหาอุตสาหกรรมป่าไม้และคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญ คนในประเทศยังเป็นเจ้าของบ้านในราคาที่เข้าถึงได้มากยิ่งขึ้น และด้วยความที่ BioHome3D ถูกสร้างขึ้นจากวัสดุชีวภาพทั้งหมด จึงทำให้รีไซเคิลได้ […]

Smart Home ‘บ้านเบอร์ 5’ โดย กฟผ. ที่ช่วยประหยัดไฟ และทำให้สังคม สิ่งแวดล้อมยั่งยืน

Smart Home ‘บ้านเบอร์ 5’ โดย กฟผ. ที่ไม่ได้ช่วยแค่ประหยัดไฟ แต่ยังทำให้สังคมและสิ่งแวดล้อมยั่งยืน ในยุคที่ทั่วโลกกำลังเผชิญกับวิกฤตพลังงาน หลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนก็หันมาให้ความสำคัญกับการจัดการพลังงานมากขึ้น ผ่านแนวคิดการคิดค้นนวัตกรรมที่ส่งเสริมเรื่องนี้ เพื่อประโยชน์ต่อภาคประชาชนและภาพรวมของเมือง นวัตกรรม Smart Home ‘บ้านเบอร์ 5’ คือโครงการของ กฟผ. ที่ส่งเสริมให้เกิดการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในบ้านและอาคาร โดยพัฒนาการออกแบบบ้านและอาคาร รวมถึงการใช้วัสดุก่อสร้างและอุปกรณ์ไฟฟ้า เพื่อเป็นการสนับสนุนการดำเนินมาตรการการใช้พลังงานในอาคารตามแผนอนุรักษ์พลังงานของประเทศ  ขอบเขตของโครงการ Smart Home ‘บ้านเบอร์ 5’ เริ่มตั้งแต่บ้านทั้ง 3 ประเภท ได้แก่ บ้านเดี่ยว บ้านแฝด และบ้านแถว และอาคารธุรกิจที่ใช้พลังงาน ครอบคลุมอาคารก่อสร้างใหม่ และมีพื้นที่ใช้สอยตั้งแต่ 100 ตารางเมตรขึ้นไป ได้แก่ สำนักงาน สถานศึกษา โรงมหรสพ สถานบริการ ห้างสรรพสินค้า อาคารชุมนุมคน โรงแรม โรงพยาบาล อาคารชุด และหอพักหรืออะพาร์ตเมนต์ โครงการนี้ไม่ได้ช่วยแค่ประหยัดพลังงานและลดภาระค่าใช้จ่ายเท่านั้น แต่ยังเป็นแนวทางในการจัดการพลังงานอย่างยั่งยืน เพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ผ่านหลักการ […]

Cholets in El Alto เปลี่ยนเมืองโตเร็วในโบลิเวียให้มีชีวิตชีวา ด้วยสถาปัตยกรรมสีสันสะดุดตา โดยศิลปะแบบชาวพื้นเมือง

หลายปีก่อน ช่างภาพชาวอิตาลีชื่อว่า ‘Yuri Segalerba’ ผู้เฝ้ามองหาสภาพแวดล้อมที่มีชีวิตชีวาเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ ได้เดินทางไปยัง ‘เอล อัลโต (El Alto)’ สถานที่ซึ่งเป็นเมืองบริวารของลาปาซเมืองหลวงของประเทศโบลิเวีย ตั้งอยู่ในที่ราบสูงแอนเดียน ซึ่งสูงกว่า 4,000 เมตร  ช่างภาพชาวอิตาลีได้พบเจอสถาปัตยกรรมอันเป็นเอกลักษณ์ ที่เกิดจากวัฒนธรรมพื้นเมืองตั้งกระจายอยู่ทั่วไป ซึ่งดูหรูหราและมีสีสันโดดเด่นสะดุดตาในสไตล์แบบ ‘นีโอแอนเดียน (Neo-Andean)’ เรียกกันว่า ‘Cholet’ ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างคำว่า ‘Chalet’ และ ‘Cholo’ หมายถึงคำเยาะเย้ยทางเชื้อชาติที่ใช้ในประเทศลาตินอเมริกา โดยในบริบทนี้ Cholet มีความหมายว่า คฤหาสน์ขนาดเล็กหรือห้องโถงที่ทำให้เมืองมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว  Cholets ในเอล อัลโต สร้างขึ้นโดยช่างก่ออิฐในท้องถิ่นที่กลายเป็นสถาปนิกดาวรุ่งชื่อ ‘Freddy Mamani Silvestre’ สถาปนิกผู้นี้ได้เปลี่ยนโฉมเมืองไปอย่างสิ้นเชิงนับตั้งแต่มีอาคารต่างๆ เกิดขึ้นในปี 2005  รูปแบบของอาคารที่เกิดขึ้นได้แรงบันดาลใจมาจากสีสัน รูปร่าง และรูปทรงของศิลปะชาวบ้านพื้นเมือง รวมถึงภูมิปัญญาการก่อสร้างที่ใช้อิฐเปลือยของชาวไอมารา (Aymara) ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์พื้นเมืองของโบลิเวีย พวกเขาได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งที่อาศัยในเมือง โดยมีสถาปัตยกรรมรูปแบบใหม่เหล่านี้ที่สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นตัวแทนของพวกเขา  อาคารหลายหลังมีโครงสร้างเป็นแนวตั้ง แต่ละชั้นจะมีการใช้งานแตกต่างกันไป ชั้นหนึ่งสำหรับค้าขาย เช่น ร้านขายเนื้อ ร้านขายเหล็ก […]

1 39 40 41 42 43 119

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.