เปิดสิ่งที่เก็บไว้ ปล่อยใจไปกับสนามอารมณ์ ในงาน GOOD MOOD ที่โกดังเสริมสุข วันที่ 1 – 4 / 8 – 11 / 15 – 17 ธ.ค. 66

ไม่มีช่วงเวลาไหนเหมาะกับการทบทวนอารมณ์ ย้อนรำลึกถึงเรื่องที่ผ่านมา เพื่อตกตะกอนตัวตนและความทรงจำสำหรับก้าวต่อไปในปีหน้าเท่าช่วงเวลาสิ้นปีแบบนี้อีกแล้ว ท่ามกลางสังคมที่บีบคั้น หวังให้คนโปรดักทีฟ การมี ‘พื้นที่’ ให้ระบายอารมณ์ พร้อมพบปะเชื่อมโยงกับคนอื่นๆ น่าจะเป็นเรื่องดีไม่น้อย Eyedropper Fill จับมือกับ Good Hood Services ร่วมกันสร้างสรรค์งาน ‘GOOD MOOD’ งานออกแบบเชิงประสบการณ์ที่มอบ ‘สนามอารมณ์’ ให้กับทุกอารมณ์ได้มี ‘พื้นที่แสดงออก’ โดยชิ้นงานจะประกอบไปด้วยประสบการณ์ Interactive 5 โซนอารมณ์ ได้แก่ – โซน GOOD RAGE สวมวิญญาณเป็นบัวขาว เตะ ต่อยกระสอบทราย ระบายความโกรธที่สะสมมาทั้งปี– โซน GOOD JOY คาราโอเกะแบบตะโกน ร่วมร้องเพลงพร้อมกัน 16 ไมค์– โซน GOOD TEAR นอนฟังเพลงร่วมกันด้วยอุปกรณ์ Silent Disco กับเพลย์ลิสต์เพลงเศร้าที่เลือกมาแล้วว่าเศร้าสุดๆ– โซน GOOD LOVE ถ่ายรูปเปิดวาร์ปกันในโซน พื้นที่ให้คนเหงาลองเข้ามาตามหาคนที่ใช่– […]

ปาป้า-ทูทู่ มาสคอตเอเลียนในชุดปลาทูแม่กลอง ชูเอกลักษณ์หน้างอคอหักของดีประจำสมุทรสงคราม

สำหรับประเทศญี่ปุ่น ถ้าพูดถึงจังหวัดคุมาโมโตะ ก็ต้องคิดถึงเจ้าคุมะมงที่เป็นมาสคอตประจำเมืองกันใช่ไหม แถมจริงๆ แล้วจังหวัดอื่นๆ ยังมีมาสคอตน่ารักๆ ประจำเมืองอยู่เต็มไปหมด แล้วอย่างนี้ประเทศไทยจะน้อยหน้าได้ยังไง ล่าสุดจังหวัดสมุทรสงครามของเราก็มีมาสคอตกับเขาเหมือนกัน โดยดึงเอาของดีแม่กลองอย่าง ‘ปลาทู’ มาเติมความน่ารักเข้าไปในตัวเอเลียนสีฟ้าจนออกมาเป็น ‘ปาป้า-ทูทู่’ (PLA.PLA TOO.TOO) น้องโลคอลคาแรกเตอร์ (Local Character) หน้ามู่ทู่ที่น่ารักน่าเอ็นดู ปาป้า-ทูทู่ เป็นผลงานการออกแบบของ ‘วิน-ภัทรพงศ์ ชูสุทธิสกุล’ Art Director บริษัทเกม ‘Parapluie Studio’ เจ้าของแบรนด์เครื่องปั้นเซรามิก ‘Sujinosauras’ และศิลปินวาดภาพประกอบอิสระที่เกิดและเติบโตในจังหวัดสมุทรสงคราม (แม่กลอง) วินเล่าให้ฟังว่า หลังเรียนจบจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาควิชาการออกแบบอุตสาหกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขาก็อยากนำวิชาความรู้มาต่อยอด และพัฒนาอัตลักษณ์ให้กับพื้นที่ท้องถิ่นบ้านเกิด จึงเข้าร่วมโครงการ ‘CHANGE 2021: Visual Character Arts’ ที่มีจุดประสงค์เพื่อสร้างรายได้และต่อยอดธุรกิจจากการสร้างสรรค์คาแรกเตอร์ใหม่ให้โดนใจกลุ่มผู้บริโภค เกิดเป็นการจับเอาปลาทูแม่กลองหน้างอคอหัก เอกลักษณ์เด่นที่คนรู้จักกันทุกเพศทุกวัยมาใช้ในการออกแบบ  และเมื่อจบโครงการ วินก็ตัดสินใจเปิดเพจเฟซบุ๊กเป็นช่องทางการสื่อสาร เพื่อทำให้คาแรกเตอร์เป็นที่รู้จักมากขึ้น โดยมีคอนเซปต์นำเสนอเรื่องราวในสมุทรสงคราม ผ่านการใช้ชีวิตของปาป้า-ทูทู่ จนได้ ‘เต-เตชสิทธิ์ ยศวิปาน’ […]

เดินรับลมหนาวพร้อมชมงานสร้างสรรค์ ใน ‘Chiang Mai Design Week 2023’ 2 – 10 ธ.ค. ที่กลางเวียง-ช้างม่อย-ท่าแพ

เข้าสู่ช่วงสิ้นปีแบบนี้ หลายคนคงกำลังแพ็กกระเป๋าเตรียมตัวไปเที่ยวภาคเหนือรับอากาศดีๆ กัน ใครที่ยังไม่มีแพลนเที่ยวในช่วงวันที่ 2 – 10 ธันวาคมนี้ เราขอชวนไปใช้เวลาอยู่กับความสร้างสรรค์ในงาน ‘เทศกาลงานออกแบบเชียงใหม่ 2566’ หรือ ‘Chiang Mai Design Week 2023’ (CMDW2023) บนพื้นที่ย่านเมืองเก่าในเชียงใหม่อย่าง ‘กลางเวียง (อนุสาวรีย์สามกษัตริย์-ล่ามช้าง)’ และ ‘ช้างม่อย-ท่าแพ’ Chiang Mai Design Week 2023 กลับมาพร้อมกับการสร้างแรงบันดาลใจทั้งด้านงานออกแบบ ศิลปะ ความสร้างสรรค์ และความหลากหลายทางวัฒนธรรม ผ่านการจัดแสดงผลงาน ศิลปะการแสดง แสงไฟ ดนตรี เสวนา เวิร์กช็อป และอีเวนต์ ที่ทุกคนสามารถ ‘Hide & Seek’ เดินลัดเลาะตามตรอกซอกซอย ที่นอกจากจะได้ชมงานศิลป์แล้วยังได้สัมผัสเสน่ห์ของเมืองเชียงใหม่ด้วย งานปีนี้มาพร้อมกับคอนเซปต์ ‘Transforming Local : ปรับตัว ต่อยอด ท้องถิ่น เติบโต’ ใน 3 […]

‘Such A Small World’ Co-Playing Cafe ย่านตลาดน้อย แหล่งแฮงเอาต์ความบันเทิงสารพัดรูปแบบในที่เดียว

วันที่ 24 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา ‘Vibal Corp’ หนึ่งในบริษัทที่กำลังผลักดันเรื่อง Creative Economy ได้เปิดตัว ‘Such A Small World’ แหล่งแฮงเอาต์ใหม่บนถนนเจริญกรุง ย่านตลาดน้อย ใจกลางกรุงเทพฯ ที่มัดรวมทุกความบันเทิงไว้ในสถานที่เดียว Vibal Corp เรียกพื้นที่กว่า 600 ตารางเมตรที่ตั้งอยู่บนชั้น 3 ของ ‘The Corner House Bangkok’ หรือที่เรารู้จักในชื่อตึกส้ม (อาคารชัยพัฒนสิน) อาคารเก่าแก่อายุกว่า 100 ปีนี้ว่าเป็น ‘Co-Playing Cafe’ สำหรับสายเอนเตอร์เทน ที่เปรียบเสมือนห้องนั่งเล่นในฝันขนาดใหญ่ มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องเล่นเกม ทีวีจอใหญ่ หนังสือหายาก บอร์ดเกม และงานศิลปะ ‘พอล สิริสันต์’ ผู้ก่อตั้งบริษัท Vibal Corp จำกัดความแรงบันดาลใจของการสร้างพื้นที่แห่งนี้ว่า Such A Small World […]

เฉลิมฉลองการเติบโตของสิ่งพิมพ์อิสระ ในงาน Bangkok Art Book Fair 2023 วันที่ 1 – 3 ธ.ค. 66 ที่โรงแรมเอเชีย กรุงเทพฯ

ในช่วงเวลาที่งานออกแบบและงานสร้างสรรค์ในไทยกำลังผลิบาน เทศกาลที่เป็นดั่งหมุดหมายของชาวคนทำสิ่งพิมพ์อิสระก็เวียนกลับมาอีกครั้งกับ BANGKOK ART BOOK FAIR 2023 หรือ เทศกาลหนังสือศิลปะกรุงเทพฯ ครั้งที่ 6 ที่จะจัดขึ้นที่โรงแรมเอเชีย กรุงเทพฯ ความพิเศษของงานปีนี้คือ มีผู้ผลิตสิ่งพิมพ์ สำนักพิมพ์ และศิลปินนานาชาติกว่า 18 ประเทศที่เข้าร่วมจัดแสดงกว่า 150 โต๊ะ ยิ่งใหญ่กว่าทุกปีที่ผ่านมา  นอกจากผู้แสดงงานและผลงานสิ่งพิมพ์ที่มีความหลากหลาย พร้อมกับจำนวนที่มากขึ้น ด้วยความที่ธีมงานคือ ‘Homegrown Community’ ทำให้เทศกาลนี้เป็นเหมือนการนำเสนอตัวอย่างและทางเลือกว่าผู้คนสามารถใช้สิ่งพิมพ์สื่อสารเรื่องราวได้อย่างไร รวมถึงความเป็นไปได้ของการสื่อสารประเด็นผ่านสิ่งพิมพ์ทุกรูปแบบ ตั้งแต่หนังสือป็อปอัปอลังการไปจนถึงแมกกาซีนเย็บเล่มด้วยแม็กเย็บกระดาษ ส่วนใครที่อยากเรียนรู้ว่าคนทำสิ่งพิมพ์อิสระมีวิธีคิดและทำงานอย่างไรบ้าง ปีนี้ BANGKOK ART BOOK FAIR 2023 ได้ขยับเอาเซสชันเสวนามาไว้ในวันเดียวกัน นั่นคือ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 ที่ห้องกิ่งทอง โรงแรมเอเชีย ตั้งแต่เวลา 13.00 – 17.00 น. โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้พบกับผู้บรรยายจาก​หลายบริบท หลากวัฒนธรรม ที่จะมาพูดถึงแนวคิดและวิธีเฉพาะตัวในการบ่มเพาะชุมชนของตนให้เติบโต ไม่ว่าจะเป็นการเปิดพื้นที่สำหรับเรียนรู้ร่วมกัน จัดเวิร์กช็อป […]

องค์การอนามัยโลกประกาศ ความเหงาอาจไม่เท่าอวกาศ แต่อันตรายเท่าสูบบุหรี่ 15 มวน

ถือเป็นเรื่องน่าตกใจสำหรับหนุ่มสาวขี้เหงา เมื่อ ‘องค์การอนามัยโลก’ (WHO) ประกาศยกให้ ‘ความเหงา’ เป็นปัญหาน่ากังวลด้านสาธารณสุขของโลก ก่อนหน้านี้ความเหงามักถูกมองเป็นเพียงปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่เมื่อมีการระบาดของโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ WHO หันมาให้ความสนใจภัยเหงามากขึ้น และตัดสินใจตั้งคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศให้จัดการกับความเหงาในฐานะภัยคุกคามด้านสุขภาพ เนื่องจากภาวะล็อกดาวน์ที่ทำให้เกิดการชะงักงันของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม ส่งผลให้ระดับความเหงาของมนุษย์เพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยการวิจัยพบว่า การอยู่อย่างโดดเดี่ยวเป็นเวลานานเป็นอันตรายต่อสุขภาพเทียบเท่าการสูบบุหรี่ 15 มวนต่อวัน จนอาจเพิ่มความเสี่ยงของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรมากถึง 30 เปอร์เซ็นต์ รวมถึงมีความเสี่ยงร้ายแรงเทียบเท่าผู้ที่มีโรคอ้วนและผู้ที่ออกกำลังกายน้อย Murthy ศัลยแพทย์ทั่วไปของสหรัฐอเมริกากล่าวว่า มีผู้สูงอายุมากถึง 1 ใน 4 จากทั้งหมดทั่วโลกที่ต้องเผชิญกับความเหงา และความเหงาเหล่านี้ก่อให้เกิดความเสี่ยงภาวะสมองเสื่อมที่อาจทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบในเวลาต่อมาได้มากขึ้นถึง 50 เปอร์เซ็นต์ และไม่เพียงแค่ผู้สูงอายุที่ต้องเผชิญกับความเหงาเท่านั้น แต่มีวัยรุ่นถึง 15 เปอร์เซ็นต์ที่กำลังประสบกับภาวะนี้ และคาดการณ์ว่าตัวเลขจะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในอนาคตเช่นกัน ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้อาจเกิดภาวะเครียดจนมีแนวโน้มที่จะไม่ศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา นำไปสู่ปัญหาความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจ ตลอดจนการว่างงานในอนาคต พูดได้ว่า ความเหงาอาจเป็นภัยที่กำลังคุกคามสุขภาพและสังคมอย่างเงียบๆ ไม่เว้นแม้กระทั่งประเทศไทย กลายเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่รัฐควรเริ่มมองหาวิธีรับมืออย่างจริงจังตั้งแต่วันนี้ ก่อนที่ความเหงาจะลุกลามเป็นวงกว้างในสังคม Sources :Global News | t.ly/1OmGgPeople | t.ly/O4NXzThe Guardian […]

ใครๆ ก็เป็นฟันเฟืองในการสร้างรอยยิ้มได้ ชวนแชร์เรื่องราวที่ดีต่อใจให้คนทั่วไปได้รู้ กับโครงการ ‘เรื่องของเรา’ โดย UNDP

กว่าจะใช้ชีวิตผ่านพ้นไปในแต่ละวัน แน่นอนว่าย่อมต้องมีทั้งเรื่องดีและไม่ดีเกิดขึ้น หลายครั้งที่รู้สึกหมดหวังหรือท้อถอย ในโมงยามที่เหนื่อยล้านั้น เราอาจประสบกับเรื่องดีๆ ที่เกิดขึ้นจากคนรอบตัวหรือคนไม่รู้จัก แล้วทำให้ตระหนักถึงคุณค่าอะไรบางอย่างจนอยากใช้ชีวิตต่อไปด้วยใจที่เต็มเปี่ยมด้วยความหวัง ‘เรื่องของเรา’ คือโครงการของ UNDP Thailand ที่ชวนทุกคนมาขบคิดและขับเคลื่อนความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกจากจุดเล็กๆ ในกิจวัตรประจำวันและอาชีพของเรา ไม่ว่าจะอยู่มุมไหนของประเทศไทย เพื่อเป็นฟันเฟืองในการสร้างรอยยิ้มและความสุขของตัวเราเองและผู้คนอีกมากมายที่รายรอบเราอยู่ วิธีการส่งพลังงานดีๆ เหล่านี้ทำได้ง่ายๆ แค่คุณมีเรื่องราวปฏิบัติการเล็กๆ ที่ดีต่อใจผู้คน ไม่ว่าจะเป็นของเพื่อน ญาติ พี่น้อง คนที่แอบชอบ คนรู้จัก หรือแม้แต่เรื่องของตัวเอง และอยากประกาศให้โลกรู้ จะเพื่อขอบคุณ ให้กำลังใจ หรือสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อื่นก็ตาม เพียงแค่แชร์เรื่องราวเหล่านั้นลงใน Facebook, Instagram, Tiktok หรือ X (Twitter) ของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นข้อความ คลิป หรือรูปภาพพร้อมคำบรรยาย ถึงความประทับใจของคุณในกิจวัตรหรือกิจกรรมของคนที่กล่าวถึง ระบุรายละเอียดและผลกระทบในแง่บวกกับสังคมที่เกิดขึ้น ไม่จำกัดรูปแบบ ลีลา ท่วงท่า และความยาว พร้อมใส่แฮชแท็ก #OurSDGs และเปิดโพสต์นั้นเป็นสาธารณะ เรื่องไหนถูกใจทีมงาน UNDP เจ้าของเรื่องจะได้รับสติกเกอร์เชิดชูใจ นำไปติดประกาศให้คนรู้ว่าเราสนและเราแคร์โลกใบนี้ แถมเรื่องราวเหล่านี้จะถูกนำมาเผยแพร่บนสื่อต่างๆ ของ […]

‘A Petal in the Urban Oasis’ ที่นั่งสาธารณะรูปดอกไม้ในเฉิงตู ที่ใช้งานได้หลากหลายทั้งนั่ง นอน และปีนเล่น

เก้าอี้ในพื้นที่สาธารณะมักเป็นม้านั่งรูปแบบต่างๆ ทั้งมีพนักพิง ไม่มีพนักพิง แต่ส่วนใหญ่แล้วจะถูกออกแบบมาในลักษณะที่เป็นเก้าอี้แนวยาวที่ตอบโจทย์เรื่องการใช้งาน แต่อาจไม่ได้คำนึงถึงความสวยงามเท่าไรนัก แต่ที่บริเวณหน้าทางเข้าย่านการค้า ‘Luxezone Plaza’ ในเมืองเฉิงตู ประเทศจีน กลับมีดอกไม้ขนาดใหญ่ติดตั้งอยู่ เมื่อเดินเข้าไปดูใกล้ๆ จะเห็นว่าดอกไม้ดอกนั้นคือ ‘A Petal in the Urban Oasis’ ที่นั่งสาธารณะที่ให้ทั้งความสวยงามท่ามกลางต้นไม้รอบด้าน และยังสามารถใช้งานได้หลากหลาย ออกแบบโดยสตูดิโอในประเทศจีน ‘Epiphany Architects’ โครงสร้างที่นั่งดอกไม้นี้เป็นไม้ที่วางเรียงกันอย่างสวยงาม ส่วนตัวฐานของดอกไม้นั้นเป็นกระจกหกบานที่ออกแบบให้กลมกลืนกับกลีบดอกไม้ ทำให้ดูเหมือนว่าดอกไม้กำลังลอยตัวอยู่ในอากาศ และยังทำให้ไม้ด้านบนเล่นแสงและเงา เกิดเป็นเอฟเฟกต์ที่สวยงาม ไม่เพียงแต่ไม้และกระจกเท่านั้น แต่ด้านในยังติดตั้งกล่องไฟเพื่อสร้างแสงสว่างและเสริมความสวยงามให้กับดอกไม้ดอกนี้ในยามค่ำคืน โดยผู้คนสามารถพักผ่อน นั่ง นอน หรือจะเอนตัวบนกลีบดอกไม้ก็ได้ รวมถึงยังเป็นเครื่องเล่นให้เด็กๆ ที่เข้ามาใช้พื้นที่นี้ได้ปีนป่ายกันอย่างเพลิดเพลินและสนุกสนาน นอกจากการใช้งานอย่างรอบด้านและความสวยงามของพื้นที่แล้ว ที่นั่งดอกไม้นี้ยังเป็นเหมือนสัญลักษณ์ที่ผสมผสานกันระหว่างธุรกิจและธรรมชาติที่ช่วยสร้างประสบการณ์แปลกใหม่ไม่เหมือนใครให้กับผู้คนที่มาใช้พื้นที่แห่งนี้ด้วย Sources :Designboom | tinyurl.com/547k4z8rEpiphany Architects | tinyurl.com/2p9nj3hj

Langezijds อาคารคณะ ITC จาก University of Twente สถานที่พบปะนักวิทย์ที่อยู่ร่วมกับธรรมชาติแบบยั่งยืน

คนในสายวิทยาศาสตร์อาจคุ้นเคยอยู่บ้างกับคณะ International Institute for Geo-Information Science and Earth Observation (ITC) ที่ตั้งอยู่ใน University of Twente (UT) มหาวิทยาลัยด้านเทคนิคที่ดีที่สุดในเนเธอร์แลนด์ ประจำปี 2021 แต่นอกจากความน่าสนใจเรื่ององค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์แล้ว ในส่วนของสถาปัตยกรรมของคณะก็มีความน่าสนใจไม่แพ้กัน เพราะในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ทางคณะได้ปรับปรุงอาคารประจำคณะซึ่งเป็นอาคารเดิมที่สร้างขึ้นในปี 1972 อย่าง ‘Langezijds’ อาคารที่ยาวที่สุดแห่งหนึ่งในเนเธอร์แลนด์ที่เป็นแหล่งรวมนักศึกษาระดับปริญญาโท ปริญญาเอก และนักวิจัยทั่วโลก ให้กลายเป็นสถานที่พบปะที่อยู่ร่วมกับธรรมชาติได้แบบยั่งยืน ด้วยผลงานการออกแบบร่วมกันของ 4 สตูดิโอออกแบบ ได้แก่ Civic Architects, VDNDP, Studio Groen+Schild และ DS Landscape Architects เพื่อทำให้อาคาร ยาว 220 เมตร ขนาด 13,605 ตารางเมตรแห่งนี้เต็มไปด้วยต้นไม้สีเขียว อากาศบริสุทธิ์ และแสงธรรมชาติ มีการคงไว้ซึ่งโครงสร้างคอนกรีตและเหล็กเดิมที่มีร่องรอยการใช้งาน ส่วนเสาเดิมที่ตั้งราวกับซากปรักหักพังบริเวณห้องโถงกลางก็มีการใช้ไม้โอ๊กและพื้นไม้ไผ่ในการซ่อมแซม ให้ความรู้สึกอบอุ่นแก่ตัวอาคารและแสดงถึงจุดยืนเรื่องความยั่งยืน ในขณะที่ภายใต้โครงสร้างอาคารยังมีการออกแบบโถงกลางขนาดใหญ่ที่ทุกคนสามารถพบปะแลกเปลี่ยนความรู้และรับประทานอาหารเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันได้ […]

PepsiCo ถูกรัฐนิวยอร์กยื่นฟ้องฐานสร้างมลพิษพลาสติกรายใหญ่ จนอาจเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ

ถือเป็นเรื่องน่ากังวลสำหรับรัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา หลังพบว่ามีขยะพลาสติกและซองขนมที่ถูกพบในแม่น้ำบัฟฟาโลกว่า 1,916 ชิ้น ซึ่งทั้งหมดอยู่ภายใต้ชื่อ ‘PepsiCo’ แบรนด์ขนมขบเคี้ยวและเครื่องดื่มข้ามชาติสัญชาติอเมริกัน คิดเป็น 17 เปอร์เซ็นต์ของขยะพลาสติกทั้งหมด ด้วยเหตุนี้ รัฐนิวยอร์กได้ยื่นฟ้องต่อบริษัทผู้ผลิตพลาสติกรายใหญ่ PepsiCo ฐานสร้างมลพิษจากการผลิตพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งเป็นจำนวนมาก โดยอ้างว่าบริษัทจำเป็นต้องรับผิดชอบในการทำให้น้ำในเมืองเกิดการปนเปื้อน จนอาจเป็นอันตรายต่อชาวเมืองและสัตว์น้ำ เพราะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งถือเป็นแหล่งกำเนิดไมโครพลาสติกขนาดเล็ก ที่เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะส่งผลต่อระบบสืบพันธุ์ กระตุ้นอัตราการเกิดมะเร็งให้สูงขึ้น ทั้งยังส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นแหล่งน้ำดื่มของชาวนิวยอร์กหรือสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำบริเวณใกล้เคียง ทำให้ในเวลาต่อมา โฆษกของ PepsiCo ออกมาแถลงการณ์เน้นย้ำว่า ทาง PepsiCo มุ่งมั่นที่จะลดขยะพลาสติกในอุตสาหกรรม และให้ความสำคัญต่อการรีไซเคิลเพื่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมมากขึ้นในอนาคต Sources : BBC NEWS | t.ly/nKKUwSky News | t.ly/cmqwT

รอชม ‘ดอยบอย’ ที่ได้ไปฉายในเกาหลีใต้ หนังไทยว่าด้วยชนกลุ่มน้อยที่ลี้ภัยมาในไทย สตรีมทั่วโลก 24 พ.ย. 66 ทาง Netflix

หาก ‘ดินไร้แดน (Soil without Land)’ คือภาพยนตร์สารคดีที่ว่าด้วยชาวไทใหญ่ผู้อยากมีชีวิตที่ดีแต่ต้องไปเข้ากองทัพในรัฐฉานเพื่อปลดแอกจากรัฐพม่า ‘ดอยบอย (Doi Boy)’ ก็คือเรื่องปรุงแต่งที่ยังคงมีกลิ่นอายความรู้สึกของชาวไทใหญ่ในดินไร้แดนนั้นอยู่ หากแต่คราวนี้ได้เสริมเติมแต่งเรื่องราวหรือความรู้สึกของชีวิตที่มากกว่าใครคนใดคนหนึ่งในประเทศแห่งนี้เพียงคนเดียว ‘นนทวัฒน์ นำเบญจพล’ ยังคงนำเรื่องราวของความเป็นชนกลุ่มน้อยที่คราวนี้ยิ่งทำให้เห็นว่าไม่ใช่แค่ชาวไทใหญ่เท่านั้นที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ แต่คือเราทุกคนที่อยู่ในชนชั้นใดของสังคมก็ตามด้วยเช่นกัน เพราะหากโครงสร้างทางการเมืองยังไม่ถูกแก้ไขหรือปรับเปลี่ยนให้เราในฐานะประชาชนของประเทศมีอำนาจมากพอที่จะเป็นเจ้าของอำนาจ หรืออย่างน้อยที่สุดในฐานะมนุษย์คนหนึ่งที่พึงมีสิทธิเสรีภาพ ผู้มีอำนาจในโครงสร้างนั้นก็จะยังคงกดขี่หรือคอยกัดกินหาผลประโยชน์จากเราไล่ลงมาเรื่อยๆ และพยายามทำให้โครงสร้างนี้ยังคงอยู่ต่อไป อย่างในเรื่องดอยบอย หากพื้นที่และโครงสร้างของรัฐพม่าโอบอุ้มชีวิตทุกชีวิตมากพอ ‘ศร’ เด็กหนุ่มไทใหญ่ที่ลี้ภัยเข้ามาทำงานค้าประเวณีในบาร์เกย์ที่เชียงใหม่ อาจไม่ต้องเข้าไปร่วมกับกองกำลังเพื่อต่อสู้กับรัฐพม่า หรือหากรัฐไทยเป็นประชาธิปไตยที่รองรับสิทธิมนุษยชนมากพอ เขาอาจได้สิทธิในการเป็นพลเมืองเฉกเช่นมนุษย์คนหนึ่ง หรือหากรัฐไทยมีมาตรการรองรับในช่วงโควิด-19 มากพอ เขาอาจไม่ต้องเข้าไปพัวพันกับสถานการณ์ทางการเมืองไทยจนกลายเป็นเพียงแค่หมากตัวหนึ่งที่รัฐใช้ผลประโยชน์จากเขา หรือหากรัฐไทยให้สิทธิเสรีภาพมากพอ สถานการณ์ของศรที่ต้องไปพบเจอกับนักกิจกรรมทางการเมืองอาจถูกเปลี่ยนไปเป็นสิ่งอื่น ปัญหาเหล่านี้ที่เกิดขึ้นในภาพยนตร์ เราไม่อาจบอกได้เลยว่าทั้งหมดไม่ใช่เรื่องจริงที่เกิดขึ้นในรัฐไทย อาจกล่าวได้ว่า ดอยบอยคือภาพยนตร์ที่บันทึกปัญหาของรัฐไทยที่เกิดขึ้น อีกทั้งยังบันทึกเรื่องราวของชาวไทใหญ่ให้พวกเขาได้มีตัวตนมากขึ้น ให้สังคมได้รับรู้ถึงปัญหาของชายแดนไทย-พม่าที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดมา มากกว่าประเด็นที่จะได้พบเจอในภาพยนตร์ สิ่งที่ดอยบอยกำลังแสดงออกมาคือหัวจิตหัวใจของมนุษย์ที่มีทั้งดี เลว เทา สุข เศร้า และปลง ชีวิตของตัวละครที่ไม่ได้มีเฉดสีขาวหรือดำแต่ล้วนเป็นสีเทาทั้งหมด ทุกคนมีความฝันหรือความหวังในชีวิตที่อยากจะมีความสุขหรืออย่างน้อยก็ปกติสุขที่สุดในขณะที่เรามีลมหายใจ แต่ความฝันเหล่านี้ก็คงเป็นไปได้ยากหากโครงสร้างของรัฐยังกดขี่พวกเราทุกคน ความรู้สึกนี้จึงหนักอึ้งเสียกว่าประเด็นในหนังที่แสดงออกมาเสียอีก ที่ผ่านมา ดอยบอยได้ไปฉาย World Premiere ในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติปูซาน ครั้งที่ 28 […]

‘Spice Balm’ ลิปบาล์มเครื่องเทศ เพิ่มความชุ่มชื้นให้กับริมฝีปากพร้อมกับรสชาติความเผ็ดร้อน

ปัญหาที่มาพร้อมกับอากาศหนาวทุกปีคือริมฝีปากที่แห้งแตกจากอุณหภูมิที่ลดลง ลิปบาล์มจึงกลายเป็นไอเทมสำคัญที่ต้องพกติดตัวเอาไว้ โดยคนส่วนใหญ่มักเลือกซื้อลิปมันบำรุงปากจากกลิ่นที่ชอบและรสชาติที่ใช่เป็นหลัก ‘Tasty Bite’ แบรนด์อาหารอินเดียเปิดเผยข้อมูลว่า ผู้บริโภค 3 ใน 5 นั้นชื่นชอบอาหารรสเผ็ด และมีจำนวนมากถึง 63 เปอร์เซ็นต์ที่ชอบเครื่องปรุงที่มีรสชาติเผ็ดร้อน ทางแบรนด์จึงตอบสนองความชื่นชอบของผู้บริโภคเหล่านั้นด้วยการเปิดตัว ‘Spice Balm’ ลิปบาล์มที่จะเพิ่มความชุ่มชื้นบนริมฝีปากให้เต็มไปด้วยรสชาติเข้มข้นที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากเครื่องแกงของแบรนด์นั่นเอง โดย Spice Balm มีให้เลือกถึง 3 รสชาติ คือ คอลเลกชัน Spice Balm นี้เป็นรุ่นลิมิเต็ดอิดิชันที่วางขายในราคาแท่งละ 4.99 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 180 บาท ซึ่งตอนนี้ก็ได้ Sold Out ไปเรียบร้อยแล้ว Sources :DesignTAXI | tinyurl.com/d5v66hkpPR Newswire | tinyurl.com/y6vefkdeTasty Bite | tinyurl.com/2sdzayzj

1 6 7 8 9 10 121

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.