FYI

‘100 สนามฟุตบอล สร้างพลังเยาวชนไทย’ โครงการเติมฝันและมอบโอกาสด้านกีฬาให้เยาวชนไทย

ช่วงบ่ายที่สภาพอากาศร้อนจัดและแสงแดดจ้า บรรยากาศรอบๆ โรงเรียนบ้านแซววิทยาคม อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ที่ปกติเงียบสงบ มีผู้คนบางตา วันนี้กลับคึกคักไปด้วยนักเรียนและคนในท้องถิ่นที่มารวมตัวกัน แถมยังมีเสียงดังกระหึ่มจากการตีกลองและการแสดงศิลปะพื้นบ้านของเหล่านักเรียนเป็นระยะๆ ดูเป็นไดนามิกของพื้นที่ที่ต่างไปจากทุกวัน เหล่านี้คือส่วนหนึ่งของพิธีมอบสนามฟุตบอลหญ้าเทียมมาตรฐานระดับสากลภายใต้โครงการ ‘100 สนามฟุตบอล สร้างพลังเยาวชนไทย’ จัดโดย ‘คิง เพาเวอร์ ไทย เพาเวอร์ พลังคนไทย’ ภายใต้กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ ซึ่งโรงเรียนบ้านแซววิทยาคมคือโรงเรียนแห่งที่ 88 ที่ได้รับมอบสนามฟุตบอลหญ้าเทียมขนาด 7 คนเล่นจากโครงการนี้ โดยปีนี้ถือเป็นปีที่ 5 ที่ทางกลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ เดินหน้ามอบสนามฟุตบอลมาตรฐานระดับสากล ให้กับโรงเรียนทั่วประเทศไทย ภายใต้คอนเซปต์ ‘THE POWER OF POSSIBILITIES ชีวิตไม่หยุดค้นหาความเป็นไปได้’ Urban Creature อยากพาทุกคนลงสำรวจพื้นที่เล็กๆ ของจังหวัดเชียงรายอย่างโรงเรียนบ้านแซววิทยาคม เพื่อสัมผัสบรรยากาศที่เปลี่ยนไปหลังได้รับมอบสนามฟุตบอลหญ้าเทียมแห่งใหม่ รวมถึงพูดคุยกับคนในพื้นที่ถึงโอกาสในการพัฒนาฝีเท้าของเยาวชนนักเตะไทยให้มีศักยภาพด้านกีฬาฟุตบอลอย่างมีประสิทธิภาพ  สนามฟุตบอลที่จุดประกายและเติมฝันด้านกีฬา ต้องเล่าให้ฟังก่อนว่า โรงเรียนที่จะได้รับมอบสนามฟุตบอลหญ้าเทียมมาตรฐานระดับสากลจากโครงการ 100 สนามฟุตบอล สร้างพลังเยาวชนไทย ต้องผ่านเกณฑ์การคัดเลือกต่างๆ เช่น […]

อาชีพหมอดูต้องเสียภาษีไหม

ปัจจุบันผู้คนต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการงาน การเงิน และความรัก ทำให้พวกเขาหมดหวังและหาคำตอบให้อนาคตของตัวเองไม่ได้ เมื่อรู้สึกกังวลและไม่รู้ว่าจะเอายังไงต่อกับชีวิตดี คนจำนวนไม่น้อยจึงหันไปพึ่ง ‘การดูดวง’ ที่อาจช่วยปลอบประโลมให้พวกเขาเตรียมรับมือกับสิ่งต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น เมื่อมีคนเชื่อในการทำนายโชคชะตามากกว่าแต่ก่อน หนึ่งในปรากฏการณ์ที่ตามมาคือ จำนวนของคนทำอาชีพ ‘หมอดู’ ที่ดูจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แถมการดูดวงที่ได้รับความนิยมก็มีหลายรูปแบบ ทั้งการอ่านลายมือ การเปิดไพ่ยิปซี การใช้ตัวเลข ฯลฯ ทั้งยังทำได้หลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นแบบตัวต่อตัว การโทรศัพท์และส่งข้อความทางไลน์ ไปจนถึงการดูคลิปวิดีโอที่อัดไว้แล้ว เมื่อบริการดูดวงแพร่หลายจนกลายเป็นประเภทธุรกิจที่น่าจับตามอง ในฤดูเสียภาษีแบบนี้ เราจึงอดสงสัยไม่ได้ว่า คนที่ทำอาชีพหรือธุรกิจเกี่ยวกับการดูดวงต้องเสียภาษีเช่นเดียวกับมนุษย์ออฟฟิศอย่างเราๆ หรือไม่ ข้อมูลจากช่อง YouTube ชื่อ ‘เก่งบัญชี ภาษีบรรเทา’ อธิบายไว้ว่า การทำธุรกิจหมอดูในยุคปัจจุบัน ส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบ ‘การดูดวงออนไลน์’ ซึ่งการเสียภาษีของผู้รับจ้างดูดวงแบ่งเป็น 2 กรณี ได้แก่ 1) ธุรกิจดูดวงแบบจัดตั้งบริษัท : เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษี VAT กรณีที่ผู้ประกอบการจัดตั้งบริษัท และมีหมอดูหรือซินแสหลายคนให้บริการลูกค้าผ่านทางโทรศัพท์หรือผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ ถือว่าเป็นธุรกิจที่มีรายได้และต้องเสียภาษี หากบริษัทมีรายได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี จะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) […]

ปลุกความสร้างสรรค์ที่ย่าน ‘เจริญรัถ’ แหล่งค้าหนังและอุปกรณ์งานคราฟต์ของกรุงเทพฯ

ถ้าอยากทำกระเป๋าหนังสักใบ หรือหาอะไหล่นำกลับไปทำงาน DIY ที่บ้านในวันที่ไอเดียพรั่งพรู เหล่านักประดิษฐ์ตัวยงหรือดีไซเนอร์มือฉกาจต่างแนะนำเป็นเสียงเดียวกันว่า ‘เจริญรัถ’ คือคำตอบชนิดที่มาครบจบในที่เดียวได้ ย่านเจริญรัถ ใกล้กับวงเวียนใหญ่ ในฝั่งธนบุรี เรียกได้ว่าเป็นศูนย์รวมกิจการร้านค้างานหนังแบบครบวงจรที่ขึ้นชื่อลือชามานานหลายสิบปี ไม่ว่าจะเป็นร้านค้าหนังแท้และหนังเทียม สารพัดอุปกรณ์ตัด ตอก หรืออะไหล่ตกแต่งกระเป๋าให้สวยเก๋ ไปจนถึงร้านลับคมกรรไกรที่แทบไม่ค่อยเห็นแล้วในทุกวันนี้ ต่างแทรกตัวอยู่บนถนนเจริญรัถทั้งสิ้น คอลัมน์ Neighboroot ชวนสาวเท้าก้าวตามเจ้าของโรงเรียนสอนทำกระเป๋าบนถนนเจริญรัถ ฟังความเป็นมาของย่าน ทำความรู้จักร้านขายหนังและสารพัดอุปกรณ์รุ่นเก๋าที่เด็ดดวงสุดในย่าน จากปากของคนพื้นที่ที่คัดสรรมาให้แล้ว   MHA Art & Craft : โรงเรียนสอนทำกระเป๋าหนังแห่งย่านเจริญรัถ “เคยพูดเล่นๆ ว่า ถ้าหาหนังแล้วที่อื่นไม่มี และที่นี่ก็ไม่มี ก็ไม่ต้องหาละ” เจ้าของ MHA Art & Craft โรงเรียนสอนทำกระเป๋าอย่าง ‘พี่แบงค์-บุญชัย บุญนพพรกุล’ บอกอย่างติดตลก ถึงนิยามความเป็นย่านเจริญรัถ ย่านค้าหนังอันเลื่องชื่อของไทย  บทสนทนานี้เกิดขึ้นใต้ชายคาของตึกแถวที่เป็นทั้งโรงเรียนสอนทำกระเป๋า คาเฟ่ และประตูบานแรกก่อนเข้าสู่ถนนเจริญรัถ จากปากของทายาทโรงงานทำกระเป๋าหนังส่งออกและเจ้าของโรงเรียน เวิร์กช็อปสเปซสำหรับผู้สนใจและหลงใหลในงานหนัง ซึ่งเข้าสู่ขวบปีที่สิบแล้วในวันนี้ “ช่วงนั้นเกิดปรากฏการณ์ใหม่ คนสร้างแบรนด์เองง่ายขึ้นผ่านโซเชียลมีเดีย จังหวะนั้นก็เลยเกิดโรงเรียนของเรา […]

‘หนังไทยแท้ๆ แต่ทำไมฉายในไทยยากจัง’ ส่องปรากฏการณ์หนังไทยไม่มีที่อยู่

เมื่อไม่นานมานี้มีประเด็นหนังไทยถึงสองเรื่องที่เกิดขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกัน ถึงแม้จะเป็นคนละประเด็นก็ตาม เรื่องหนึ่งประสบปัญหาการถูกลดรอบฉายหนัง ส่วนอีกเรื่องต้องเลื่อนฉายเพราะเนื้อหาไม่ผ่านกองเซนเซอร์ ทำให้เราสงสัยว่า ทั้งๆ ที่เป็นหนังไทยแท้ๆ แต่ทำไมการฉายหนังในประเทศบ้านเกิดถึงยากเหลือเกิน คอลัมน์ Curiocity จึงอยากชวนมาร่วมกันหาคำตอบของปัญหาหนังไทย ว่าทำไมการฉายหนังไทยสู่สาธารณะในไทยถึงเป็นเรื่องยาก และความยากนี้ส่งผลถึงวงการหนังอย่างไรบ้าง พร้อมกับฟังความคิดเห็นจากมุมของคนทำหนังอย่าง ‘บี๋-คัทลียา เผ่าศรีเจริญ’ โปรดิวเซอร์หนังอิสระ ที่ต้องประสบปัญหาเหล่านี้โดยตรง หนังไทยเข้าโรงทั้งทีต้องมีประเด็น อุตสาหกรรมหนังไทยถูกตั้งคำถามมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการส่งเสริมจากภาครัฐ ค่าตอบแทนแรงงานที่ไม่สอดคล้องกับชั่วโมงการทำงาน คนไทยไม่สนับสนุนหนังไทยด้วยกันเอง หรือแม้แต่เรื่องคุณภาพของหนังไทยที่มักโดนนำไปเปรียบเทียบกับหนังต่างประเทศอยู่บ่อยครั้ง ปัญหาข้างต้นที่ยกตัวอย่างมานั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของปัญหาหนังไทยที่มักพูดถึงกันอยู่เรื่อยๆ แต่ปัญหาที่ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นถกเถียงทุกครั้งที่มีหนังเตรียมฉาย มีแผนจะฉาย กำลังจะฉาย และฉายแล้วในโรงภาพยนตร์คือ เรื่องความไม่ยุติธรรมที่ส่งผลกระทบต่อวงการหนังไทย อย่างประเด็นของการลดจำนวนรอบฉายหนังเรื่อง ‘ขุนพันธ์ 3’ ที่เป็นการตัดโอกาสจนอาจทำให้ผู้สร้างไม่กล้าลงทุนกับหนังไทย หรือเรื่อง ‘หุ่นพยนต์’ ที่เกือบไม่ได้ฉายเพียงเพราะใช้แค่การตัดสินใจของคณะกรรมการเป็นหลักมากกว่าการทำความเข้าใจการสื่อสารของตัวหนัง การถกเถียงถึงประเด็นเหล่านี้ไม่ได้ส่งผลเสียกับวงการหนังไทยแต่อย่างใด แต่เป็นการจุดประกายเพื่อให้คนสนใจและหันมาให้ความสำคัญของการมีอยู่ของหนังไทยมากขึ้น เพราะเราเชื่อว่ายังมีคนจำนวนมากที่มองเห็นศักยภาพของหนังไทย และยังรอวันที่จะเห็นหนังไทยมีพื้นที่ในประเทศไทยมากกว่าเดิม เข้าพร้อมหนังดังก็ต้องทำใจ หลายคนน่าจะเคยเจอเหตุการณ์เช็กรอบหนังว่าตอนนี้มีหนังเรื่องใดฉายบ้าง แต่กลับพบว่าเกินกว่าครึ่งของรอบหนังที่เข้าฉายทั้งหมดในวันนั้นคือหนังเรื่องเดียวกัน ทำให้หนังเรื่องอื่นต้องแบ่งสันปันส่วนเวลาและโรงฉายเพื่อให้มีพื้นที่ในการเข้าถึงผู้ชม  ถึงแม้จะไม่ใช่แค่หนังไทยอย่างเดียวที่ต้องเจอกับการเบียดโรงจากหนังฟอร์มยักษ์แบบนี้ แต่หลายๆ ครั้งก็มักเป็นหนังไทยทุกทีที่ถูกตัดโอกาส จนกลายเป็นปัญหาเรื้อรังที่ยังไม่มีทางแก้เสียที การลดจำนวนรอบฉายอาจไม่ได้มีปัญหาอะไรถ้าหลายคนเชื่อว่า ถ้าหนังดียังไงก็มีคนดู แต่ในทางกลับกัน คนดูจะรู้ได้อย่างไรว่าหนังเรื่องนั้นดีหรือไม่ หากรอบฉายและระยะเวลาที่ฉายมีน้อยจนไม่มีทางเลือกอื่น สุดท้ายแล้วหนังเรื่องนั้นๆ […]

ไขข้อข้องใจ จอดรถบริเวณไหนผิดกฎหมายและเกิดอะไรขึ้นได้บ้าง

ปัญหาหนึ่งที่ผู้ขับขี่ยานพาหนะบนท้องถนน โดยเฉพาะในตัวเมืองกรุงเทพฯ ต้องเจอบ่อยๆ คือการ ‘ไม่มีที่จอดรถ’ ไม่ว่าจะเป็นตอนไปกินข้าวตามร้านอาหาร ทำธุระ หรือแม้กระทั่งในซอยบริเวณบ้านของตนเองก็ตาม ถ้าเป็นเส้นทางหลักที่มีแถบสีของฟุตพาท แดง เหลือง หรือดำ กำกับไว้ ก็คงไม่ใช่เรื่องเข้าใจยากเท่าไหร่ แต่สำหรับพื้นที่ในตรอกซอกซอย เราจะรู้ได้อย่างไรว่าที่ไหนจอดได้หรือไม่ได้บ้าง คอลัมน์ Curiocity พาไปไขข้อข้องใจเรื่องนี้ ด้วยการเปิดกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจอดรถ ตั้งแต่จอดตรงไหนผิดกฎหมายบ้าง ถ้าบังเอิญจอดในพื้นที่ผิดกฎหมายจะต้องเจอกับอะไร และถ้าเราเป็นผู้เดือดร้อนจากกรณีดังกล่าวจะทำอะไรได้มากน้อยแค่ไหน จอดตรงไหนผิดกฎหมายบ้าง นอกจากการจอดยานพาหนะทางบกไว้ในพื้นที่ของตนเองที่มีรั้วรอบขอบชิด เพื่อความถูกต้องและเหมาะสมแล้ว ตามกฎหมายผู้ขับขี่รถยนต์ไม่มีสิทธิ์จอดรถในทางสาธารณะหรือพื้นที่เอกชนโดยไม่ได้รับอนุญาต เนื่องจากจะมีความผิดตาม ‘พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 55’ ในหมวด 4 เรื่องการหยุดและจอดรถที่ว่าด้วยการมิให้ผู้ขับขี่หยุดรถใน 7 กรณี ดังนี้ 1) ในช่องเดินรถ เว้นแต่หยุดชิดขอบทางด้านซ้ายของทางเดินรถในกรณีที่ไม่มีช่องเดินรถประจำทาง2) บนทางเท้า3) บนสะพานหรือในอุโมงค์4) ในทางร่วมทางแยก5) ในเขตที่มีเครื่องหมายจราจรห้ามหยุดรถ6) ตรงปากทางเข้าออกของอาคารหรือทางเดินรถ7) ในเขตปลอดภัย พูดง่ายๆ ว่า ถึงแม้เราจะจอดรถในซอยหรือบริเวณหน้าบ้านตัวเองก็อาจผิดกฎหมายได้ หากมีลักษณะตรงตาม 7 กรณีที่กล่าวมาข้างต้น หากผิดกฎหมาย […]

แผนการพัฒนาชีวิตชาวเมืองใน Attack on Titan ให้อยู่บนเกาะสวรรค์ได้อย่างมีความสุข

“ฉันเชื่อมาตลอดว่าอีกฟากของทะเลนั้นมีอิสระ แต่ว่ามันไม่ใช่ สิ่งที่อยู่อีกฟากคือศัตรู ถ้าเราฆ่าคนอีกฟากได้หมดเราจะเป็นอิสระกันได้งั้นเหรอ” – เอเรน เยเกอร์ ติดตาม Attack on Titan มาจนถึง The Final Season Part 3 แล้ว หลายครั้งก็แอบจินตนาการว่า หากเราเป็นชาวเอลเดียในบทบาทของชาวบ้านธรรมดาทั่วไป จะใช้ชีวิตบนเกาะสวรรค์อย่างมีความสุขได้อย่างไร ถ้าต้องคอยเอาชีวิตรอดจากการรุกรานของไททัน แถมดูเหมือนว่าความเป็นอยู่ของเมืองก็ยังไม่ค่อยจะเอื้อให้อยู่รอดจนถึงวันสุดท้ายของชีวิตเสียด้วย คอลัมน์ Urban Isekai ชวนมาวางแผนและหาทางพัฒนาเมืองหลังกำแพงสูงกัน จะทำอย่างไรให้ชาวเมือง Mitras บนเกาะสวรรค์แห่งนี้ใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพที่ดีขึ้น แม้ว่ายังต้องหาหนทางเอาชีวิตรอดจากการบุกรุกของไททันก็ตาม ซาซาเงโย! ซาซาเงโย จงอุทิศด้วยหัวใจ! สร้างความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างชาวเอลเดียและชาวโลก หลังจากที่ต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยวมานาน ก็ถึงเวลาที่ชาวเอลเดียจะได้มีเพื่อนบ้านสักที ด้วยการเปิดเกาะและส่งตัวแทนไปผูกสัมพันธ์กับเมืองรอบนอก เพื่อเรียนรู้วัฒนธรรมการใช้ชีวิตแบบคนทั่วไป และนำเอาเทคโนโลยีก้าวหน้าจากพื้นที่อื่นๆ เข้ามาปรับใช้ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาเมืองให้เท่าทันโลก หรือนำมาใช้พัฒนากองทัพเพื่อสร้างความแข็งแรง รองรับการบุกรุกของไททันได้อย่างเต็มที่ รวมถึงสร้างความเข้าใจกันผ่านประวัติศาสตร์ของทั้งสองฝ่าย ให้การศึกษาชาวเมือง ชาวเมืองหลายคนยังไม่ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง แถมเรื่องราวนอกกำแพงยังกลายเป็นเรื่องต้องห้าม ทำให้เอเรนและอาร์มินในวัยเด็กต้องแอบอ่านหนังสือของคุณปู่ ถึงจะรู้เรื่องราวของมหาสมุทรกว้างใหญ่ภายนอกกำแพง ดังนั้นเราจะปรับเปลี่ยนและพัฒนาการศึกษาให้กระจายไปในทุกพื้นที่ของเมือง ไม่ว่าอยู่เขตไหนก็จะได้เรียนหนังสือ เพื่อสร้างความรู้พื้นฐานในด้านต่างๆ ให้ชาวเมือง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวความก้าวหน้าของโลกภายนอกกำแพง ข้อมูลความถูกต้องของประวัติศาสตร์ที่ถูกบิดเบือน […]

Beat the Heat in Bangkok ทำกรุงเทพฯ ให้กลับมาเย็นอีกครั้ง

ในปัจจุบันที่กรุงเทพฯ เต็มไปด้วยไอความร้อนจากการเผชิญหน้ากับ ‘ปรากฏการณ์เกาะความร้อน’ หรือ ‘Urban Heat Island (UHI)’ เหตุการณ์ที่พื้นที่ในเมืองมีอุณหภูมิสูงกว่าบริเวณรอบนอก ซึ่งสาเหตุสำคัญเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ และสิ่งปลูกสร้างภายในเมืองที่เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ต้นไม้ในเมืองลดลง เคยลองคิดกันเล่นๆ ไหมว่า ถ้าเราสามารถทำให้หน้าร้อนของเมืองไทยที่มีอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในแต่ละปีมีอุณหภูมิลดลงได้ หน้าตาของเมืองกรุงเทพฯ จะแตกต่างไปจากปัจจุบันและทำให้คุณภาพชีวิตของผู้คนดีขึ้นได้มากน้อยขนาดไหน วันนี้คอลัมน์ Urban Sketch จึงขอหยิบเอาแผนพัฒนาเมืองบางส่วนของประเทศสิงคโปร์อย่าง ‘Cooling Singapore’ ที่สร้างขึ้นมาเพื่อลดภาวะ UHI ภายในเมือง มาออกแบบกรุงเทพฯ กันใหม่ว่า ถ้าต้องการให้อุณหภูมิเมืองลดลงจะสามารถทำอย่างไรได้บ้าง 01 | VEGETATION : เพิ่มสีเขียวให้พื้นที่เมือง หากต้องการลดอุณหภูมิเมืองลง สิ่งที่ขาดไปไม่ได้เลยคือ ‘พื้นที่สีเขียว’ เนื่องจากพืชโดยทั่วไปมีคุณสมบัติในการแผ่รังสีความร้อนที่ต่ำและสร้างร่มเงา ช่วยลดการสะสมของพลังงานแสงอาทิตย์ภายในเขตเมืองได้ แต่การจะเพิ่มพื้นที่สีเขียวโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดอุณหภูมิภายในเมืองลงนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะจำเป็นต้องปลูกต้นไม้จำนวนมากพอสมควรเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นในแนวระนาบหรือแนวดิ่งตามอาคารต่างๆ ก็ตาม การมีสวนสาธารณะขนาดไม่ใหญ่มากแต่กระจายตัวอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ รอบเมืองอย่างทั่วถึง จึงเป็นตัวช่วยสำคัญที่จะทำให้ความเย็นจากพื้นที่ในบริเวณนั้นๆ ส่งผลดีต่อพื้นที่อาคารโดยรอบได้ง่ายกว่า เมื่อเทียบกับการมีสวนสาธารณะขนาดใหญ่เพียงไม่กี่แห่งทั่วเมืองอย่างปัจจุบัน แต่สำหรับอากาศของประเทศไทย แค่สวนสาธารณะในแนวราบคงไม่เพียงพอ การปลูกพืชเพิ่มในแนวดิ่งไม่ว่าจะเป็นพืชไม้เลื้อยบริเวณผนังอาคาร ฟาร์มผักบนหลังคา พื้นที่สีเขียวบริเวณอาคารร้าง รวมถึงพื้นที่ว่าง ล้วนเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้ชาวเมืองเข้าถึงพื้นที่สีเขียวได้ง่ายขึ้น […]

เปิดสถิติงานสัปดาห์หนังสือย้อนหลัง 5 ปี จริงๆ แล้วคนไทยอ่านหนังสือน้อยลงหรือไม่

ข่าวการปิดตัวลงของร้านหนังสือจำนวนมากในช่วงที่ผ่านมา อาจทำให้หลายคนมองว่าสาเหตุหลักๆ เกิดจากการที่คนไทยอ่านหนังสือน้อยลง แต่เมื่องานหนังสือวนกลับมาอีกครั้ง เหล่านักอ่านก็ยังให้ความสนใจและเตรียมไปขนหนังสือกลับบ้านกันอยู่ตลอด รวมถึงงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 51 ที่ใกล้ถึงนี้ ในสถานที่เดิมอันคุ้นเคยอย่างศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ คอลัมน์ City by Numbers จึงขอพาไปดูสถิติย้อนหลังของงานสัปดาห์หนังสือฯ 5 ปีที่ผ่านมากันว่า จำนวนบูท ยอดผู้เข้างาน และยอดขายในแต่ละปีเป็นอย่างไร สอดคล้องกับความคิดที่ว่าคนไทยอ่านหนังสือน้อยลงหรือไม่ สถานที่เปลี่ยนไป ทำให้ตัวเลขในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติลดลง โดยปกติแล้ว งานหนังสือครั้งใหญ่ในกรุงเทพฯ จัดขึ้นสองช่วง ได้แก่ ‘งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ’ ในช่วงปลายเดือนมีนาคมคาบเกี่ยวต้นเดือนเมษายนของทุกปี และ ‘งานมหกรรมหนังสือระดับชาติ’ ในช่วงเดือนตุลาคมของทุกปี โดยมีสถานที่จัดงานประจำคือ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ แต่ในปี 2562 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ได้ปิดปรับปรุงนานกว่า 3 ปี ทำให้งานหนังสือทั้งสองช่วงต้องเปลี่ยนสถานที่จัดงาน รวมไปถึงการระบาดของโควิด-19 ที่ทำให้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบงานเป็นออนไลน์ และเพิ่งได้กลับมาจัดงานที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์อีกครั้งในงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 27 ในเดือนตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา  ด้วยสถานที่จัดงานที่เปลี่ยนไป รวมไปถึงการเดินทางที่ไม่สะดวกเท่าเดิม จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้งานหนังสือในช่วง 2 – 3 […]

สำรวจ ‘เมืองทองธานี’ เมืองเล็กในเมืองใหญ่ที่ไม่เคยหยุดเติบโต

“ครั้งล่าสุดที่ไปเมืองทองคือเมื่อไรกันนะ” คนรักบ้านและสวนอาจตอบว่าเมื่อปลายปีที่แล้วที่งานแฟร์ คนรักรถน่าจะไปเดินเล่นงานมอเตอร์เอ็กซ์โปเมื่อไม่กี่เดือนก่อน หรือหลายคนอาจไปคอนเสิร์ตของศิลปินที่ชื่นชอบเมื่อไม่นานมานี้ ‘เมืองทองธานี’ ไม่ได้ขึ้นชื่อแค่เรื่องอีเวนต์ที่จัดอยู่ตลอดทั้งปี แต่ยังมีที่อยู่อาศัยทั้งแนวราบและคอนโดมิเนียม ออฟฟิศ ร้านรวงยันห้างสรรพสินค้า ศูนย์ราชการ และสนามกีฬาประเภทต่างๆ โดยเฉพาะฟุตบอล กับการมีสโมสรประจำย่านที่มีแฟนคลับเข้าเส้นไม่ต่างจากสโมสรในต่างประเทศ ปกติแล้วคอลัมน์ Neighboroot มักจะชวนผู้อ่านลงพื้นที่ ย่ำตรอก ออกซอย สำรวจย่านต่างๆ ในเมืองหลวงเป็นหลัก แต่สำหรับครั้งนี้เราขอชวนออกไปปริมณฑลเพื่อนบ้านเมืองหลวง อัปเดตวิถีชีวิตชาวเมืองทอง กินอย่างคนเมืองทอง และเชียร์ฟุตบอลอย่างทีมเมืองทองฯ กันดูบ้าง ‘เมืองทองธานี’ เรียกว่าเป็นเมืองขนาดย่อมๆ ก็ไม่ผิดนัก หากเล่าอย่างคร่าวๆ เพื่อให้รู้จักที่มาที่ไปเร็วที่สุด โครงการอภิมหาโปรเจกต์มิกซ์ยูสนี้เกิดขึ้นในช่วง พ.ศ. 2533 จากความตั้งใจของบริษัท บางกอกแลนด์ จำกัด (มหาชน) ที่อยากสร้างโครงการอสังหาริมทรัพย์และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ขยับออกมาในเขตชานเมือง ตามอย่างในฮ่องกง พื้นที่รวมๆ ในเมืองทองธานีสามารถแบ่งได้เป็น 2 โซนหลักคือ โซนที่อยู่อาศัย มีทั้งคอนโดมิเนียมและบ้านเดี่ยว แบ่งซอยย่อยๆ แยกจากถนนใหญ่ไม่ต่างจากในเมือง วางแลนด์สเคปและผังเมืองในโครงการมาอย่างดี หากโซนแรกมีวิถีชีวิตที่เงียบๆ และไม่ค่อยพลุกพล่าน อีกฟากหนึ่งคงให้ความรู้สึกต่างออกไป เพราะโซนพื้นที่เชิงพาณิชย์-ศูนย์แสดงสินค้า จะคึกคักตลอดทั้งปี สถานที่ที่หลายคนคุ้นชินน่าจะเป็นชาเลนเจอร์ฮอลล์ อิมแพค […]

‘ซีรีส์วาย’ ซอฟต์พาวเวอร์ของไทยหรือสื่อที่กำลังทำลายอุตสาหกรรมบันเทิง?

แม้ ‘ซีรีส์วาย’ จะดูเป็นเรื่องแปลกใหม่ในสังคมเมื่อหลายสิบปีก่อน แต่ปัจจุบันซีรีส์วายได้กลายมาเป็นซีรีส์อีกประเภทหนึ่งที่สามารถครองใจผู้ชมทั้งจอแก้วและโลกออนไลน์ได้อย่างอยู่หมัด โดยเฉพาะในโซเชียลมีเดียอย่างทวิตเตอร์ ที่ไม่ว่าจะคนไทยหรือต่างประเทศต่างก็พูดถึงตัวซีรีส์และนักแสดงจนติดเทรนด์กันอยู่บ่อยๆ ส่งผลให้ภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงคนทั่วไปมองว่านี่คือหนึ่งในซอฟต์พาวเวอร์ของไทยในปัจจุบัน อีกทั้งอุตสาหกรรมนี้ยังมีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง เนื่องจากสร้างรายได้อย่างมหาศาลทั้งในและนอกประเทศ จนก่อให้เกิดวัฒนธรรมใหม่ที่เรียกว่า ‘Y Economy’ แต่ซีรีส์วายจะเป็นซอฟต์พาวเวอร์ที่ฟังดูดีมีเพียงแง่บวกของประเทศเราได้จริงๆ ใช่ไหม เพราะในอีกมุมหนึ่ง สื่อประเภทนี้ก็เข้ามาสร้างผลกระทบไม่น้อยให้อุตสาหกรรมบันเทิงบ้านเรา จนบางครั้งก็อดสงสัยไม่ได้ว่า หรือจริงๆ แล้วซีรีส์วายกำลังเป็นสื่อที่ทำลายอุตสาหกรรมบันเทิงของไทยอยู่กันแน่ หนังเรียก ‘เกย์’ แต่ซีรีส์เรียก ‘วาย’ เคยสังเกตกันไหมว่า ทำไมเราถึงเรียกภาพยนตร์ที่มีตัวเอกเป็นชายรักชายว่า ‘หนังเกย์’ แต่พอเป็นซีรีส์ที่มีนักแสดงนำรูปแบบเดียวกันกลับเรียกว่า ‘ซีรีส์วาย’ ที่เป็นเช่นนี้เพราะภาพยนตร์ของกลุ่ม LGBTQIA+ ที่เกิดขึ้นในช่วงแรก ไม่ว่าจะเป็น ‘รักแห่งสยาม’ ‘พี่ชาย My Hero’ หรือ ‘My Bromance’ ต่างฉายในช่วงเวลาที่คำว่า ‘วาย’ ยังไม่เป็นที่พูดถึงและใช้กันอย่างแพร่หลาย รวมไปถึงบริบทของสังคมไทยก็ยังไม่เปิดรับความหลากหลายทางเพศมากนัก แตกต่างจากการเข้ามาของสื่อบันเทิงในรูปแบบซีรีส์ที่ใช้นักแสดงหลักเป็นเพศชายในประเทศไทยครั้งแรกอย่าง ‘Love Sick The Series’ ที่มีการดัดแปลงบทละครจากนิยายบนแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ถูกเรียกระหว่างกลุ่มนักอ่านและนักเขียนด้วยกันเองว่า ‘นิยายวาย (Y)’ ซึ่งย่อมาจากศัพท์ภาษาญี่ปุ่นคำว่า Yaoi […]

‘คลองแม่ข่า’ สายน้ำเน่าที่กำลังถูกเปลี่ยนให้เป็นอนาคตของเมืองเชียงใหม่ หรือจะถอยหลังลงคลอง

หากเอ่ยถึง ‘คลองแม่ข่า’ ในปัจจุบัน หลายคนน่าจะนึกถึงทางเดินเลียบคลองสวยๆ แหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ในตัวเมืองเชียงใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมอยู่ขณะนี้ และเพิ่งได้รับสมญาใหม่ว่าเป็น ‘คลองโอตารุ’ ของจังหวัดเชียงใหม่ แต่หากย้อนกลับไปถามคนเชียงใหม่เมื่อไม่กี่ปีที่แล้ว ทุกคนจะนึกถึงคลองแม่ข่าว่าเป็นแหล่งน้ำเน่าเสีย นั่นคือภาพลักษณ์ตลอดระยะเวลากว่า 30 ปีที่ผ่านมาสำหรับคนเชียงใหม่  เพราะตลอดหลายปีนั้น ชาวเชียงใหม่ต่างคุ้นเคยกับการได้เห็นและได้ยินการหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกเป็นนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ที่ทุกครั้งจะต้องมีนโยบายทำคลองแม่ข่าให้กลับมาใสอยู่ด้วยเสมอ แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังไม่เคยมีอะไรเกิดขึ้นเป็นรูปธรรม หลายคนจึงอดไม่ได้ที่จะหมดหวังได้เห็นคลองแม่ข่ากลับมาใส จนกระทั่งปีที่แล้วที่มีการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองแม่ข่าใหม่ให้สวยงาม ด้วยภาพสะอาดสะอ้านแปลกใหม่ที่ถูกนำเสนอออกมา ทำให้คลองแห่งนี้กลับมาได้รับความสนใจจากคนเชียงใหม่จำนวนมาก ก่อนจะขยายไปถึงคนจังหวัดอื่นๆ ที่เดินทางมาเที่ยวเดินถ่ายรูปเล่นที่คลองแห่งนี้ ซึ่งทางจังหวัดเชียงใหม่เองก็พยายามจัดให้มีกิจกรรมภายในพื้นที่แห่งนี้อยู่สม่ำเสมอ ชาวเชียงใหม่หลายคนที่ได้มาเดินเล่นที่นี่ ต่างแสดงความยินดีที่คลองแม่ข่ากลับมาเป็นคลองน้ำใส ไม่เน่าเสียอีกแล้ว…แต่น่าเสียดายที่มันไม่ได้เป็นเช่นนั้น เพราะพื้นที่ที่มีการปรับภูมิทัศน์ให้เดินเล่นกันนั้นเป็นเพียงแค่ระยะ 756 เมตร จากระยะทั้งหมด 11 กิโลเมตรของคลองแม่ข่าในเขตเมืองเชียงใหม่ที่ยังคงเน่าเสีย มีปัญหา และรอคอยการแก้ไขพัฒนาต่อไป จึงทำให้มีเสียงค่อนขอดขึ้นมา ตั้งแต่ความพยายามเป็นญี่ปุ่นทั้งที่เชียงใหม่ก็มีวัฒนธรรมเอกลักษณ์ของตนเอง จังหวัดพยายามนำเสนอแต่ภาพลักษณ์ดีๆ ของพื้นที่คลองบริเวณนี้เพื่อซุกปัญหาคลองแม่ข่าในส่วนอื่นๆ อีกจำนวนมากไว้ใต้ภาพสวยงาม หรือแม้แต่ตำหนิว่านี่เป็นการถอยหลังลงคลอง อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระยะ 756 เมตรของคลองแม่ข่าครั้งนี้ก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่แสดงให้เห็นว่ากำลังจะมีการเปลี่ยนแปลงต่อไป และเสียงสะท้อนที่เกิดขึ้นก็แสดงให้เห็นว่าแม่ข่าเกี่ยวโยงกับผู้คน และมีคนจำนวนไม่น้อยกำลังให้ความสนใจกับลำน้ำสายนี้ คลองแห่งนี้มีความสำคัญต่อเชียงใหม่อย่างไร ทำไมถึงมีหลายองค์กรหลายผู้คนพยายามปรับปรุงให้มันกลับมาดีอีกครั้งตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา  ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของแม่น้ำสายนี้ คอลัมน์ Report ขอนำเสนอเรื่องราวหลากหลายมิติที่สายน้ำนี้ได้ไปเกี่ยวโยง โดยลองถอยออกจากความเป็นคลองโอตารุ ไม่ต้องถึงกับถอยลงคลอง แค่ถอยมามองและทำความรู้จักกับน้ำแม่ข่า […]

1 5 6 7 8 9 45

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.