จะเป็นอย่างไรหากในโลกใต้น้ำของ ‘The Little Mermaid’ มี ‘แอเรียล’ เป็น ‘แอ็กทิวิสต์’

ใกล้เข้ามาทุกทีกับ ‘The Little Mermaid’ ผลงานสุดคลาสสิกของดิสนีย์ที่กลับมาอีกครั้งในรูปแบบภาพยนตร์เวอร์ชันคนแสดง แต่ก่อนที่จะตีตั๋วไปดูพร้อมกันในช่วงปลายเดือนนี้ เราแอบมาคิดดูเล่นๆ ว่า ถ้าเงือกสาว ‘แอเรียล’ ที่เรารู้จักเกิดขึ้นและเติบโตภายใต้ท้องทะเลยุคปัจจุบันที่เต็มไปด้วยปัญหาสิ่งแวดล้อมและการตื่นรู้ในเรื่องต่างๆ ความใฝ่ฝันที่อยากเป็นมนุษย์เดินดิน ได้ตกหลุมรักใครสักคนจนยอมแลกเสียงของเธอ เพื่อให้กลายร่างเป็นมนุษย์ในระยะเวลาเพียงสามวันนั้นจะเปลี่ยนแปลงไปแค่ไหน คอลัมน์ Urban Isekai ขอพาทุกคนดำดิ่งลงมหาสมุทรไปพบกับแอเรียลในเวอร์ชันใหม่ที่ใครๆ อาจคาดไม่ถึง ด้วยการอิเซไกให้แอเรียลเป็น ‘แอ็กทิวิสต์’ ผู้พยายามขับเคลื่อนสังคมใต้น้ำของ The Little Mermaid เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น 01 | จัดทำ MOU จัดการขยะและของเสียลงสู่ทะเล สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้โลกใต้น้ำ ปัญหาใหญ่ของโลกใต้น้ำที่เราเห็นมาตั้งแต่ The Little Mermaid เวอร์ชันแอนิเมชันคงหนีไม่พ้นเรื่อง ‘ขยะ’ เพราะทั้งซากเรืออับปางและเศษขยะที่เหล่ามนุษย์โยนทิ้งลงมาต่างก็ถูกแอเรียลหยิบเอามาสะสมจนกลายเป็นกรุสมบัติส่วนตัวไปหมด แต่ในยุคปัจจุบัน ถ้าจะให้แอเรียลหยิบเอาส้อมมาหวีผม เอาขยะมาสะสมเหมือนก่อน ฐานทัพเรืออับปางคงมีอยู่เต็มท้องทะเล เป็นแบบนี้เห็นทีคงไม่ดีแน่ คงต้องลุกขึ้นมาจัดทำ MOU จัดการขยะและของเสียลงสู่ทะเลระหว่างบนบกกับใต้น้ำกันสักหน่อย ไม่งั้นทั้งเงือกทั้งสัตว์น้ำคงจะตายกันหมด เพราะนอกจากเศษขยะ สารเคมีที่ติดมากับขยะเหล่านี้ก็มีไม่น้อยเช่นกัน 02 | เปลี่ยน ‘ราชา’ ให้เป็น […]

‘จักรพรรดิพงษ์’ ถนนทางผ่านย่านโรงพิมพ์หนังสือ ที่กำลังถูกปลุกให้ตื่นจากหลับใหล

ในวันที่ย่านเก่าอย่างนางเลิ้งและหลานหลวง เป็นปลายทางของผู้คนที่หลั่งไหลมาฮอปปิงคาเฟ่ที่ผุดขึ้นมากมายในพื้นที่ คืนความคึกคักกลับเข้ามาในพื้นที่โอลด์ทาวน์แถบนี้อีกครั้ง ไม่ต่างกับยุครุ่งเรืองของตลาดนางเลิ้งเมื่อครั้งอดีตที่เป็นจุดหมายของเหล่าหนุ่มสาวชาวพระนครมายาวนาน ใกล้ๆ กันยังมีอีกชุมชนหนึ่งตั้งอยู่ตรงกลาง ริมสองฝั่งของ ‘ถนนจักรพรรดิพงษ์’ ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมร้อยทั้งสองย่านที่ว่านี้เข้าด้วยกัน แม้วันนี้จะอยู่ในสถานะของทางผ่านจนหลายคนอาจมองข้ามไป หรือถูกเหมารวมไปอยู่เป็นส่วนหนึ่งของย่านข้างเคียง ทว่าจริงๆ แล้วตรงนี้ก็มีคาแรกเตอร์ที่โดดเด่นไม่น้อย เพราะแต่ก่อน บนถนนสายนี้เคยเต็มไปด้วยโรงพิมพ์และร้านหนังสือการ์ตูนในวันที่สิ่งพิมพ์เฟื่องฟู มีร้านทำผมบาร์เบอร์และซาลอนยุคเก่าตั้งเรียงรายกว่าสิบร้าน ไปจนถึงภาพชินตาอย่างร้านกล้วยแขกหลากหลายสีเอี๊ยมที่เป็นสัญลักษณ์ประจำย่านนี้ ชวนย้อนความหลังฟังเรื่องเล่าจากหลายปากเสียงของชาวชุมชนจักรพรรดิพงษ์ ถึงบรรยากาศในอดีตของย่าน พัฒนาการของร้านค้าและชุมชน ไปจนถึงการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ที่กำลังปลุกให้ย่านทางผ่านที่หลับใหลค่อยๆ ตื่นขึ้นมาอีกครั้ง ถนนที่นำพระนามอันไพเราะของพระอนุชาของรัชกาลที่ 5 มาตั้งเป็นชื่อนั้น คือผลพวงส่วนหนึ่งของการพัฒนาเมืองเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว โดยตัดแยกมาจากถนนบำรุงเมือง ถนนสายแรกๆ ในสยาม เชื่อมกับถนนราชดำเนิน เส้นเลือดใหญ่ที่เชื่อมระหว่างโซนเมืองเก่าตรงพระบรมมหาราชวังกับเมืองใหม่ (ในสมัยนั้น) แถบดุสิต แต่แรกเลยแถบนี้ยังเป็นพื้นที่สวนตามประสาบรรยากาศชานเมือง กว่าจะมีอาคารพาณิชย์ตลอดสองฝั่งถนนจักรพรรดิพงษ์แบบที่เห็นกัน ก็ต้องรอจนถึงประมาณช่วงทศวรรษ 2490 หลังจากนั้นจึงเริ่มเป็นย่านการค้าที่มีร้านรวงต่างๆ เข้ามาจับจองพื้นที่เพื่อประกอบกิจการกันอย่างหลากหลาย นอกจากร้านทำผมแล้ว ก็มีร้านตัดเสื้อสูท ร้านทำฟันแบบโบราณ ทำแป้งประหน้า ร้านเอกซเรย์ ร้านขายเคมีภัณฑ์ ฯลฯ ซึ่งสลับสับเปลี่ยนเจ้าของอยู่ตลอด บ้างก็ย้ายไปที่อื่นแล้วในตอนนี้ บางห้องก็ยังมีลูกหลานอยู่กระทั่งปัจจุบัน ‘สุขศาลานางเลิ้ง’ อดีตสถานอนามัยของชาวกรุง “ชุมชนป้าไม่ใหญ่ แต่มีสตอรีเยอะ” ป้าจิ๋ว […]

วัยรุ่นเกาหลีใต้ใช้ชีวิตโดดเดี่ยวมากขึ้น จนภาครัฐต้องหาวิธีดึงพวกเขากลับสู่สังคม

ปัจจุบัน ‘การใช้ชีวิตสันโดษ’ หรือ ‘การแยกตัวอย่างโดดเดี่ยว’ กำลังเป็นปัญหาใหญ่ในสังคมเกาหลีใต้ ถึงแม้ว่าเบื้องหน้าที่เราเห็นผ่านซีรีส์หลายเรื่องจะสะท้อนให้เห็นว่า แดนกิมจินั้นเต็มไปด้วยความเจริญในมิติต่างๆ ผู้คนดูมีชีวิตชีวา รวมถึงมีกิจกรรมมากมายที่เอื้อให้เหล่าวัยรุ่นชาวเกาหลีได้ออกไปใช้ชีวิตนอกบ้าน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ในกรุงโซลยังมีคนรุ่นใหม่อีกจำนวนไม่น้อยที่เลือกจะเก็บตัวอยู่แต่ภายในบ้าน ตัดขาดจากโลกภายนอก และออกจากบ้านเป็นครั้งคราวเท่านั้น ซึ่งรัฐบาลเกาหลีใต้เองก็เล็งเห็นว่า การแยกตัวออกจากสังคมนั้นส่งผลเสียต่อทั้งสุขภาพกายและใจของเหล่าวัยรุ่น มากไปกว่านั้น ปรากฏการณ์นี้ยังมีผลกระทบทางอ้อมต่อเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากตัวเลขของประชากรวัยทำงานจะลดลง หนึ่งสาเหตุสำคัญเกิดจากเยาวชนไม่สามารถเข้ากับสังคมได้ เพราะใช้ชีวิตอยู่กับความโดดเดี่ยวมาเป็นเวลานาน คอลัมน์ City in Focus จึงอยากจะชวนไปดูปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากการเก็บตัวของคนรุ่นใหม่ในเกาหลีใต้ ไปจนถึงการแก้ปัญหาของภาครัฐที่ตั้งใจพาเหล่าวัยรุ่นผู้เก็บตัวอย่างโดดเดี่ยวให้กลับมาใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างที่ควรจะเป็น สาเหตุที่ทำให้วัยรุ่นเกาหลีกลายเป็นคนเก็บตัว จากการสำรวจของรัฐบาลเกาหลีใต้พบว่า มีชาวเกาหลีอายุ 19 – 39 ปีที่ใช้ชีวิตแบบ ‘โดดเดี่ยวและสันโดษ’ โดยมีคำนิยามของคนกลุ่มนี้ว่า เป็นคนที่อาศัยอยู่แต่ในพื้นที่จำกัด อยู่ในสภาพที่ขาดการเชื่อมต่อจากสังคมภายนอก ไม่ค่อยออกไปไหนเป็นเวลานานกว่าหกเดือน และมีปัญหาในการใช้ชีวิตอย่างเห็นได้ชัด ตามรายงานของกระทรวงความเท่าเทียมทางเพศและครอบครัวเผยว่า ประมาณ 3.1 เปอร์เซ็นต์ หรือ 350,000 คนของกลุ่มนี้มาจากครอบครัวยากจน เป็นสาเหตุที่ทำให้พวกเขาปิดกั้นตัวเองตั้งแต่ยังเด็กจากการโดนบุลลี่ในสังคมโรงเรียน หรือเผชิญกับความรุนแรงในครอบครัวจนทำให้ออกจากบ้านได้ยาก ส่งผลให้เกิดปัญหาการสื่อสารและการพูดคุยกับคนนอกตามมา ทว่าสาเหตุไม่ได้เกิดจากปัญหาในครอบครัวอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความวิตกกังวลทางสังคม ความเครียด การตกงาน ปัญหาการหางานยาก ปัญหาด้านจิตใจ […]

Accessible Elections ออกแบบหน่วยเลือกตั้ง ให้เอื้อต่อคนทุกกลุ่มและรับรองสิทธิของประชาชน

เป็นช่วงโค้งสุดท้ายที่ต้องบอกว่าถ้าเลี้ยวผิดชีวิตเปลี่ยนแน่นอน สำหรับการเลือกตั้งที่จะมาถึงในวันที่ 14 พฤษภาคมนี้ การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ที่กำลังเกิดขึ้นจะออกมาในทิศทางไหน ใครจะเป็นนายกฯ และเราจะมีทีมรัฐบาลที่เข้ามาช่วยปรับเปลี่ยนแก้ไขความเป็นอยู่ของสังคมประเทศไทยให้ดีขึ้นได้จริงหรือไม่ การออกไปเลือกพรรคที่ชอบและลงคะแนนให้กับคนทำงานที่ใช่ เสียงของทุกคนจะตอบคำถามนี้ได้ แต่อย่างไรก็ตาม จากการเลือกตั้งล่วงหน้าเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคมที่ผ่านมา เราทุกคนคงได้เห็นข้อผิดพลาดจากการจัดการของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กันมาไม่น้อย ส่งผลให้หลายคนเริ่มกังวลต่อความโปร่งใสในการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นอย่างมาก ก่อนวันเลือกตั้งใหญ่จะมาถึง คอลัมน์ Urban Sketch ขอนำปัญหาต่างๆ จากการเลือกตั้งล่วงหน้า รวมถึงความเป็นไปได้อื่นๆ มาออกแบบการเลือกตั้งให้เกิดบรรยากาศที่เป็นมิตร เข้าถึงง่าย เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อประชาชนทุกเพศทุกวัย ทั้งคนหนุ่มสาว ผู้เฒ่าวัยชรา ไปจนถึงคนพิการ ให้ออกไปใช้สิทธิ์ได้อย่างสะดวกสบาย สมศักดิ์ศรี ไม่ต้องกังวลว่าเสียงของตนจะหล่นหายหรือไม่ หน่วยเลือกตั้งที่ใครๆ ก็ไปถึง การเลือกตั้งครั้งนี้แบ่งออกเป็น 400 เขตทั่วประเทศ โดยกรุงเทพฯ มีหน่วยเลือกตั้งมากที่สุดที่ 33 เขต แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีเสียงสะท้อนมาว่า การเดินทางไปถึงสถานที่รองรับการเลือกตั้งในหลายเขตเป็นเรื่องยากลำบาก เนื่องจากรายชื่อหรือรหัสของหน่วยเลือกตั้งไม่มีพิกัดแน่ชัด หรือผู้สูงวัยที่บางบ้านไม่มีรถยนต์เป็นของตัวเอง ต้องอาศัยติดรถกันมา บางคนต้องนั่งหลังรถกระบะปะทะกับแดดร้อนๆ กว่าจะถึงก็ใช้เวลานาน ขณะเดียวกัน เมื่อหลายครอบครัวและคนจำนวนมากใช้รถยนต์ส่วนตัวเดินทางมายังจุดเลือกตั้ง ก็อาจส่งผลให้การจราจรติดขัดตามไปด้วย เพื่อแก้ปัญหานี้ เราจะเปิดบริการขนส่งสาธารณะฟรีหรือจัดจ้างรถที่ใช้ประจำหมู่บ้าน อำนวยความสะดวกให้ประชาชนเดินทางในวันเลือกตั้ง […]

‘กลาสโกว์’ สู่การเป็น ‘เมืองเฟมินิสต์’ แห่งแรกของสหราชอาณาจักร ที่ออกแบบเพื่อคนทุกกลุ่ม

เมือง ‘กลาสโกว์’ ประเทศสกอตแลนด์ คือหนึ่งในจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวทั่วโลก เพราะเป็นเมืองใหญ่ที่เต็มไปด้วยความมีชีวิตชีวา มีแหล่งช้อปปิงและร้านค้ากระจายอยู่ทั่ว ที่สำคัญยังเป็นเมืองขนาดใหญ่อันดับ 3 ของสหราชอาณาจักร ที่มาพร้อมความเจริญเกือบทุกด้าน ทำให้ผู้คนจากทั่วโลกหลั่งไหลเข้ามาตั้งรกรากที่นี่ จนทำให้กลาสโกว์มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและเปิดกว้างสำหรับทุกคน ทว่าความก้าวหน้าของกลาสโกว์ไม่ได้หยุดเพียงเท่านั้น เพราะล่าสุดเมืองที่ใหญ่ที่สุดของสกอตแลนด์ตั้งใจจะทำให้ ‘ผู้หญิง’ เป็นศูนย์กลางของการวางผังเมืองในทุกมิติ เพราะรัฐบาลของเมืองเชื่อว่า ‘การออกแบบเมืองที่ดีสำหรับผู้หญิง คือการออกแบบเมืองที่ดีสำหรับทุกคน’ คอลัมน์ City in Focus ชวนไปทำความเข้าใจว่า ‘เมืองสำหรับผู้หญิง’ หรือ ‘Feminist City’ หน้าตาเป็นอย่างไร พร้อมเจาะลึกถึงแผนการสู่การเป็นเมืองเฟมินิสต์แห่งแรกของสหราชอาณาจักร และท้ายที่สุดมูฟเมนต์นี้จะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กลาสโกว์ในมิติไหนบ้าง จุดเริ่มต้นของการออกแบบเมืองเพื่อผู้หญิง เส้นทางสู่การเป็นเมืองเฟมินิสต์ของกลาสโกว์เริ่มต้นขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2565 หลังจากสภาเทศบาลเมืองกลาสโกว์มีมติเห็นชอบอย่างเป็นเอกฉันท์ที่จะทำให้ ‘ผู้หญิง’ เป็นหัวใจสำคัญของการวางผังเมืองทุกมิติ โดยผู้ยื่นข้อเสนอนี้คือ ฮอลลี บรูซ (Holly Bruce) สมาชิกสภาจากพรรคกรีน (Green) ความเคลื่อนไหวนี้ทำให้เมืองที่ใหญ่ที่สุดของสกอตแลนด์กลายเป็นเมืองแรกในสหราชอาณาจักรที่จะโอบรับ ‘แนวคิดการออกแบบเมืองแบบสตรีนิยม’ หรือ ‘Feminist Urbanism’ Feminist Urbanism หมายถึงการออกแบบเมืองที่ส่งเสริมการไม่แบ่งแยก และการรวมความหลากหลายของคนทุกกลุ่มเข้าไว้ด้วยกัน […]

‘คนไทยขับรถไม่ดี เพราะนิสัยหรือความเหลื่อมล้ำบนท้องถนน’ คุยกับอ. ดร.เปี่ยมสุข สนิท

ย้อนกลับไปปี 2018 องค์การอนามัยโลกได้จัดทำรายงานสถานการณ์โลกด้านความปลอดภัยพบว่า ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนสูงที่สุดเป็นลำดับที่ 9 ของโลก โดยประมาณการผู้เสียชีวิต 32.7 คนต่อประชากรหนึ่งแสนคน แม้ว่าปีต่อมาสถานการณ์อุบัติเหตุไทยดีขึ้นเล็กน้อย แต่ประเทศไทยยังคงเป็นประเทศที่มีผู้เสียชีวิตสูงที่สุดอันดับ 1 ในเอเชียและภูมิภาคอาเซียน ต่อมาในปี 2019 เป็นที่ฮือฮามากที่ The New York Times รายงานข่าวเป็นเวอร์ชันภาษาไทยครั้งแรก ในหัวข้อ ‘ถนนในเมืองไทยเป็นถนนที่อันตราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณเป็นคนจน’ และนั่นกลายเป็นจุดเริ่มต้นให้หลายๆ คนเริ่มตั้งคำถามเกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำบนท้องถนนที่คนจนตกเป็นเหยื่ออุบัติเหตุมากกว่าคนมีฐานะ จากระบบบัญชีข้อมูลด้านคมนาคม รายงานอุบัติเหตุปี 2564 เผยว่า อุบัติเหตุที่เกิดจากรถยนต์มีทั้งหมด 5,246 ครั้ง ส่วนอุบัติเหตุจากมอเตอร์ไซค์ 2,069 ครั้ง แต่ตัวเลขผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เทมาที่ผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์ร้อยละ 41 ส่วนผู้ใช้รถยนต์เสียชีวิตแค่ร้อยละ 17 เท่านั้น นอกจากนี้ ข้อมูลจากกลุ่มสถิติการขนส่ง กองแผนงาน กรมการขนส่งทางบกที่อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2565 ระบุว่า ประเภทรถที่มีจำนวนมากที่สุดในประเทศคือ รถจักรยานยนต์ 22.2 ล้านคัน ส่วนรถยนต์ส่วนบุคคล 11.9 […]

‘ใน 1 วันมีหญิงไทยถูกทำร้ายหรือละเมิดทางเพศมากกว่า 7 คน’ สถิติความความรุนแรงต่อผู้หญิง

ย่ำค่ำกลางเดือนเมษายน ร้านอาหารแน่นขนัดไปด้วยหนุ่มสาวออฟฟิศที่เพิ่งเลิกงาน พนักงานเสิร์ฟเดินกันขวักไขว่ให้บริการ แว่วเสียงหญิงสาวโต๊ะข้างๆ เธอคุยกันถึงเหตุการณ์ความรุนแรงจากข่าวทีวีเหนือศีรษะ ข่าวแรก มีหนุ่มโรคจิตหลอกผู้หญิงมากักขังทรมานจนตาย ยังมีเหยื่อสาวรายใหม่ที่ถูกทุบตีจนจมูกพังและซี่โครงหักเก้าซี่ โชคดีที่ตำรวจเข้าช่วยได้ทัน ข่าวเล่าต่อไปว่า โดยปกติผู้ต้องหาเป็นคนร่าเริง เขามีรสนิยมแบบรักร่วมเพศ แต่ไม่น่าเชื่อว่าจะชอบทำร้ายผู้หญิง ข่าวต่อไปบอกเล่าเรื่องเด็กอายุสิบแปดปีโดนแฟนเก่าที่เลิกรากันไปแล้วตามราวีไม่หยุด ถูกบุกถึงบ้าน แถมใช้อาวุธปืนยิงข่มขู่ และทำร้ายร่างกายจนฟันหัก หน้าบวมปูด อีกหนึ่งข่าวเป็นหญิงสาววัยเบญจเพสซึ่งตั้งท้องได้หกเดือน ถูกแฟนเก่าไม่พอใจตามมาทำร้ายร่างกาย ถัดมาอีกวัน หนังสือพิมพ์หน้าหนึ่งพาดหัวข่าว สาวนักฆ่าต่อเนื่องชวนเหยื่อไปกินข้าว จากนั้นวางยาฆ่าและปล้นชิงทรัพย์ หลังจากคนร้ายถูกจับกุมพบว่ามีเหยื่อที่เป็นผู้หญิงอีกกว่าสิบราย และช่วงที่ผ่านมาในหน้ากระดานออนไลน์ สื่อหลายสำนักลงข่าวใหญ่ พบร่างไร้ลมหายใจของหญิงสาวเน็ตไอดอลชื่อดัง ที่บริเวณศีรษะมีรอยกระสุน และข้างกันเป็นร่างของแฟนหนุ่มนักเรียนเตรียมทหารที่ยิงตัวตายตามหลังจากสังหารแฟนสาว ข่าวบอกว่า ที่ผ่านมาหญิงสาวเธอถูกกระทำความรุนแรงทั้งทางกายและใจจากแฟนหนุ่มเป็นประจำ สถานการณ์ความรุนแรงในสังคมไทยยังเกิดขึ้นอยู่อย่างต่อเนื่องในชีวิตประจำวัน เรามักได้เห็น ได้ฟัง หรือได้อ่านข่าวเกี่ยวกับความรุนแรงมากมาย โดยเฉพาะความรุนแรงซึ่งมักมีเหยื่อเป็น ‘ผู้หญิง’ คอลัมน์ City by Numbers ขอพาไปสำรวจดูสถิติที่ผ่านมาว่า ในสังคมไทยมีผู้หญิงมากน้อยแค่ไหนที่ต้องตกเป็นเหยื่อจากความรุนแรง ความรุนแรงจากคนใกล้ตัว ความรุนแรงจากคนใกล้ตัวยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างเช่นสถิติในปี 2564 ที่มีรายงานการฆาตกรรมผู้หญิงจากสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) และองค์การเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ (UN Women) บอกว่า ทั่วโลกมีเด็กและผู้หญิงจำนวน […]

เปิดนโยบายสิ่งแวดล้อมของพรรคการเมือง เลือกตั้ง ปี 2566

เข้าสู่โค้งสุดท้ายของการเลือกตั้ง 66 แล้ว เพราะเหลือเวลาอีกแค่ไม่กี่สัปดาห์เท่านั้น ก็จะถึงช่วงเวลาตัดสินชะตาชีวิตคนไทยในอีก 4 ปีข้างหน้า ที่ผ่านมาได้มีการนำเสนอจุดยืนและนโยบายของเหล่าพรรคการเมืองที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างการเมือง ด้านเศรษฐกิจ ด้านสาธารณสุข ด้านค่าครองชีพ มาเยอะแล้ว Urban Creature จึงอยากพาทุกคนไปดูนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของพรรคการเมืองที่มีชื่อติดโพลใหญ่ๆ และน่าจับตามองกันบ้าง เพราะเราคงมีชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืนไม่ได้แน่ๆ หากผู้มีอำนาจไม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และปล่อยให้ประชาชนใช้ชีวิตท่ามกลางเมืองหม่นๆ ที่เต็มไปด้วยฝุ่นควัน รวมถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่อาจรุนแรงขึ้นในอนาคต พรรคภูมิใจไทย เบอร์ 7 ประเดิมด้วยพรรคแรกกับการไล่จากเลขเบอร์น้อยไปยังเลขมาก กับ ‘พรรคภูมิใจไทย’ ซึ่งนำโดย ‘อนุทิน ชาญวีรกูล’ ที่ปัจจุบันนั่งแท่นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ‘พูดแล้วทำ’ คือสโลแกนที่พรรคภูมิใจไทยนำมาชูสำหรับการเลือกตั้งครั้งนี้ และเมื่อเราเข้าไปดูข้อมูลนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมก็พบว่า ตัวพรรคไม่ได้เซตนโยบายสิ่งแวดล้อมไว้อย่างชัดเจนนัก แต่มีนโยบายที่เกี่ยวกับพลังงานเข้ามาแทน นั่นคือ นโยบายพลังงานสะอาด ลดรายจ่ายประชาชน เพราะมองว่าค่าใช้จ่ายด้านพลังงานทั้งค่าน้ำมันและค่าไฟฟ้าคือภาระใหญ่หลวงที่ประชาชนต้องแบกรับ และกระบวนการผลิตพลังงานเหล่านี้ยังก่อให้เกิดมลภาวะ อากาศพิษ ทำร้ายสุขภาพประชาชน และเป็นต้นเหตุของโลกร้อน ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพของประชาชน พรรคภูมิใจไทยจึงเสนอนโยบายผ่าน 2 โครงการ นั่นคือ ประชาชนจะได้รับสิทธิ์เข้าร่วมโครงการใช้หลังคาบ้านติดตั้งโซลาร์เซลล์ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ใช้ในบ้านเรือนตัวเอง คิดเป็นกระแสไฟฟ้าไม่น้อยกว่า 450 […]

Better Public Transport Station สร้างสถานีขนส่งสาธารณะใหม่ ฉบับนึกถึงหัวใจคนเดินทาง

ภาพสถานีขนส่งโทรมๆ คลาคล่ำไปด้วยผู้คนจากทั่วทุกสารทิศที่ต้องการเดินทางกลับไปยังบ้านเกิดที่ตนจากมา บ้างนั่งรอรถโดยสารอย่างใจจดใจจ่อ บ้างก็นอนพักรอให้เวลาเดินทางมาถึง บรรยากาศเหล่านี้กลายเป็นภาพที่เราเห็นกันจนคุ้นชิน โดยเฉพาะในช่วงวันหยุดยาวของทุกๆ ปี แต่ภายใต้ความคุ้นชิน กลับไม่ใช่สิ่งที่สร้างความสะดวกสบายให้กับบรรดาผู้โดยสารที่ต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงภายในสถานีขนส่งสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นความแออัดวุ่นวาย สภาพแวดล้อมที่มืดและสกปรก โครงสร้างที่ทรุดโทรม ไหนจะป้ายบอกทางที่สับสน รวมถึงฟังก์ชันต่างๆ ไม่เอื้ออำนวยต่อการใช้บริการเอาเสียเลย วันนี้ Urban Creature จึงขออาสาดีไซน์สถานีขนส่งสาธารณะแห่งใหม่ ที่มาพร้อม 4 พื้นที่ใช้งานซึ่งเกิดจากแนวคิดที่นึกถึงหัวใจคนเดินทางเป็นหลัก มีตั้งแต่จุดซื้อตั๋วที่สะดวกรวดเร็ว ไปจนถึงการขึ้นลงรถโดยสารที่สะดวกและไม่วุ่นวาย ซึ่งเราเชื่อว่าถ้าการออกแบบเหล่านี้เกิดขึ้นได้จริง สถานีขนส่งสาธารณะแห่งใหม่คงจะน่าใช้งานและตอบโจทย์ผู้โดยสารกว่าเดิมเยอะเลย 01 | One-stop Booking Serviceจองตั๋วรถง่ายด้วยปลายนิ้ว เคยเจอปัญหาที่ไม่รู้ว่าต้องซื้อตั๋วรถโดยสารสาธารณะจากที่ไหนไหม พอไปซื้อที่สถานีล่วงหน้า เขาก็บอกให้รอซื้อวันเดินทางจริง พอถึงวันเดินทางจริง พนักงานกลับบอกว่าทำไมไม่ซื้อออนไลน์ แต่พอจะเข้าจองออนไลน์ก็งงเข้าไปใหญ่ เพราะเสิร์ชเข้าไปเจอเป็น 10 เว็บไซต์ แล้วอย่างนี้ต้องจองตรงไหนกันแน่ จะปล่อยให้คนเดินทางปวดหัวแบบนี้ต่อไปคงไม่ไหว เราเลยขอเปลี่ยนระบบการจองใหม่ให้เป็น ‘One-stop Booking Service’ เว็บไซต์กลางสำหรับจองตั๋วที่ไม่ว่าจะเป็นรถทัวร์หรือรถตู้ค่ายไหน ก็จองได้ง่ายผ่านเว็บไซต์เดียว ไม่ต้องค้นหากันให้วุ่นวาย แต่สำหรับใครที่ไม่สะดวกซื้อตั๋วผ่านออนไลน์ ในสถานีก็จะมีตู้จำหน่ายตั๋วอัตโนมัติ และบริการจำหน่ายตั๋วโดยเจ้าหน้าที่บริเวณเคาน์เตอร์ เพื่ออำนวยความสะดวกสบายให้กับผู้ที่ไม่คุ้นชินกับการจองออนไลน์ หรือมีเหตุให้ต้องเดินทางแบบกะทันหัน 02 […]

คู่มือเลือกตั้ง 2566 รวบตึงสิ่งที่ควรรู้ก่อนเข้าคูหา

แม้ว่าเราจะไม่เคยนอนหลับทับสิทธิ์กับทุกการเลือกตั้ง แต่ก็ใช่ว่าจะเข้าถึงข้อมูลการเลือกตั้งได้ง่ายๆ โดยเฉพาะการเลือกตั้งใหญ่ในวันที่ 14 พฤษภาคมนี้ ยิ่งปีนี้การเลือกตั้งมีการเปลี่ยนแปลงไปจากปี 2562 เล็กน้อย ประชาชนก็ยิ่งต้องหาข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจและจะได้ไปอธิบายให้ญาติผู้ใหญ่เข้าใจด้วยว่า การเลือกตั้งครั้งนี้มีอะไรที่แตกต่างไปจากเดิม และคะแนนเสียงของเรานั้นจะไปอยู่ในส่วนไหน มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเลือกนายกรัฐมนตรีอย่างไรบ้าง ไม่ว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกหรือครั้งที่เท่าไรของคุณก็ไม่ต้องเป็นกังวลไป เพราะ Urban Creature ได้รวบตึงข้อมูลที่จำเป็นมาอธิบายให้เห็นภาพและเข้าใจง่ายๆ ในโพสต์นี้แล้ว ที่สำคัญ อย่าลืมตรวจสอบสิทธิ์เลือกตั้งของตัวเองที่ boraservices.bora.dopa.go.th/election/enqelection และตามไปดูผลงานเก่าๆ ประกอบการตัดสินใจเลือกผู้แทนที่ election66.wevis.info 01) รัฐสภา ประกอบด้วย 750 คน โครงสร้างรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญปี 60 ประกอบไปด้วยสมาชิกทั้งหมด 750 คน แบ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) 500 คน และสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) 250 คน 02) ต้องได้ ส.ส.เท่าไหร่ถึงจัดตั้งรัฐบาลได้ ตามปกติแล้ว การจัดตั้งรัฐบาลต้องมีจำนวน ส.ส.เกินครึ่งหนึ่งของที่นั่ง ส.ส.ทั้งหมดในสภา ดังนั้นพรรคที่ต้องการจัดตั้งรัฐบาลจึงต้องมี ส.ส.จำนวน 250 ที่ขึ้นไป ในกรณีที่รวมคะแนน ส.ส.แบบแบ่งเขตกับ […]

ออกแบบเมือง ‘Demon Slayer’ ให้มนุษย์อยู่ร่วมกับอสูรได้ ด้วยนโยบายที่ดาบไม่ต้องพิฆาตอสูร

‘Demon Slayer’ (Kimetsu no Yaiba) หรือ ‘ดาบพิฆาตอสูร’ เป็นหนึ่งในผลงานหนังสือการ์ตูนยอดฮิตจากญี่ปุ่น ที่เขียนโดย ‘โคโยฮารุ โกโตเกะ’ (Koyoharu Gotouge) และถูกนำไปสร้างเป็นอานิเมะและภาพยนตร์ที่หลายต่อหลายเสียงต่างบอกต่อกันมาว่า ดี! แบบตะโกน จักรวาลของ ‘ดาบพิฆาตอสูร’ เริ่มต้นด้วย ‘คามาโดะ ทันจิโร่’ เด็กหนุ่มผู้มีจมูกดมกลิ่นเป็นเลิศ ซึ่งมีครอบครัวที่อยู่ห่างไกลในหุบเขา วันหนึ่งเขาแบกถ่านไปขายในเมืองและกลับมาถึงบ้านก็พบว่า ทั้งครอบครัวถูกอสูรฆ่าอย่างโหดร้าย เหลือเพียงน้องสาวที่รอดชีวิตมาได้ และต้องกลายร่างเป็นอสูร จากเหตุการณ์นั้นกลายเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้ชีวิตของทันจิโร่ต้องเผชิญกับความหม่นหมองเศร้าตรม ทว่าในความมืดมน เขาได้พบกับนักล่าอสูรที่มองเห็นคุณค่าบางอย่างในตัวของเขา และช่วยชี้หนทางหลุดพ้นจากสถานการณ์นี้ด้วยการแนะนำให้เดินทางไปพบเสาหลักอาวุโส เพื่อทำการฝึกฝนวิชาเป็นนักล่าอสูร นำไปสู่ภารกิจแก้แค้นอสูรที่ฆ่าคนในครอบครัว และทำให้น้องสาวของเขากลับมาเป็นมนุษย์อีกครั้ง “ถ้ามนุษย์กับอสูรอยู่ร่วมกันได้ก็คงดี แต่เป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว ตราบใดที่อสูรยังกินมนุษย์” บทสนทนาตอนหนึ่งในเรื่องทำให้เรารู้ว่า แท้จริงแล้วไม่ว่าจะเป็นฝ่ายธรรมะหรืออธรรมก็ต่างมีเหตุผลของการต้องดิ้นรนมีชีวิต เพื่อต้อนรับการมาถึงของดาบพิฆาตอสูรภาคล่าสุด ‘หมู่บ้านช่างตีดาบ’ ที่เพิ่งเข้าฉายใน Netflix คอลัมน์ Urban Isekai จึงอยากสวมบทบาทเป็นเสาหลักเข้าไปสร้างเมืองที่ ‘มนุษย์อยู่ร่วมกับอสูรได้’ โดยนำพลังของมนุษย์และอสูรมาใช้พัฒนาให้ทุกคนและทุกตนให้เกิดความเข้าอกเข้าใจซึ่งกันและกัน นำไปสู่การพัฒนาเมืองที่มนุษย์จะอยู่ร่วมกับอสูรได้ และกระจายอำนาจไปยังเมืองต่างๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการรวมศูนย์หรือผูกขาดอำนาจในอนาคต พื้นที่มืดกลางแสงแดด (Outdoor Spaces) […]

Mu-Center ออกแบบศูนย์มูเตลูครบวงจร รับจบที่เดียวด้านความเชื่อ และเป็นมิตรต่อเมือง

งานไม่เลิศ เงินไม่ปัง ความรักไม่รอด หาทางแก้ไขปัญหามาทุกวิถีทางแล้วก็ยังไม่ดี ที่พึ่งสุดท้ายคงหนีไม่พ้นการ ‘มูเตลู’ ถึงอย่างนั้นการมูฯ ก็มีหลายสาขา หลายความเชื่อ หลายศาสนา สถานที่มูฯ ก็มีมากมายกระจายตัวทั่วเมือง แต่ไม่ว่าจะเป็นที่ไหน สาขาอะไร ชาวมูฯ ทั้งหลายล้วนต้องเจอกับปัญหาไม่น้อย ตั้งแต่คนจำนวนมากที่ไปรวมตัวตามสถานที่มูฯ จนแทบจะไม่มีที่ยืนขอพร การแบ่งโซนที่ไม่เป็นระเบียบ ไปจนถึงของไหว้ของถวายที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม คอลัมน์ Urban Sketch ขอจำลองพื้นที่ Mu-Center ศูนย์รวมการมูเตลูครบจบในที่เดียวภายในพื้นที่ขนาดใหญ่ที่รองรับสายมูฯ หลากหลายสาขา นอกจากจะอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้งานและผู้คนรอบนอกสถานที่แล้ว ที่นี่ยังเป็นมิตรกับเมืองอีกด้วย ก่อนจะไปดู Mu-Center ของเรา อย่าลืมกด 99 รับโชคดีกันด้วยล่ะ 1) แยกทางเข้าและทางออก เมื่อมูเซ็นเตอร์ของเราเป็นทั้งศูนย์กลางและศูนย์รวมของการมูเตลู ย่อมต้องมีคนเวียนกันเข้ามาบูชาองค์เทพทั้งวัน ดังนั้นเพื่อลดความแออัดของคนที่เดินเข้า-ออกตลอดเวลา เราจึงแยกทางเข้าและทางออกไว้อย่างละทาง เพื่อสร้างโฟลว์ให้คนสัญจรง่าย และใช้สถานที่อย่างสะดวกสบาย 2) แบ่งโซนตามความเชื่อ ไม่ว่าจะมูฯ แบบไหน ไทย จีน ฮินดู ก็สามารถเก็บครบจบที่มูเซ็นเตอร์ เพราะเราจะรวมทุกการมูฯ เอาไว้ในที่เดียว โดยแบ่งโซนแยกไว้ตามแต่ละศาสนาและความเชื่อ เลือกได้เลยว่าจะมูฯ […]

1 4 5 6 7 8 45

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.