‘ทำไมบอลไทยไม่ได้ไปบอลโลก’ คำถามยอดฮิตที่ไม่ว่านานแค่ไหนก็ยังถามได้เสมอ

‘ฟุตบอล’ น่าจะเรียกได้ว่าเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับต้นๆ ในประเทศไทย เราเชื่อว่าช่วงวัยเด็กของใครๆ หลายคน น่าจะเคยมีโมเมนต์ที่วิ่งไปจองสนามฟุตบอลตอนกลางวันหรือเลิกเรียน แล้วเตะเจ้าลูกกลมๆ นี้จนเหงื่อโชกตัวมอมแมม หรือต่อให้ดูฟุตบอลไม่เป็น ไม่เข้าใจกติกา หรือไม่มีความรู้อะไรเกี่ยวกับวงการลูกหนังเลย อย่างน้อยๆ ก็ต้องเคยได้ยินชื่อของสโมสรดังจากต่างประเทศหรือนักเตะในตำนานที่คนไทยหลายคนปวารณาตัวเป็นแฟนคลับเดนตายและติดตามการแข่งขันทุกแมตช์แน่นอน นอกจากนี้ การที่มีรายการแข่งขัน The Match Bangkok Century Cup 2022 ศึกแดงเดือดระหว่างแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดและลิเวอร์พูล ที่ไทยเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา และปัญหาสารพัดของฟุตบอลโลก 2022 ที่เริ่มตั้งแต่ลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดที่อีนุงตุงนังสุดๆ และอีกมากมายปัญหาที่ตามมา ทว่าสุดท้ายแล้วเสียงเฮที่ดังลั่นตามบ้านเรือน วงเหล้า และร้านรวงต่างๆ ในเวลาที่บอลโลกถ่ายทอดสด ก็เป็นเครื่องยืนยันได้ว่าคนไทยสนใจกีฬาประเภทนี้ขนาดไหน ทว่าในขณะเดียวกันเราก็อดสงสัยตามไม่ได้ว่า ในช่วงเวลาที่กีฬาประเภทอื่นของบ้านเราสามารถไปไกลถึงระดับโลก แต่กับฟุตบอลไทยที่แม้ว่าจะมีเพอร์ฟอร์แมนซ์เยี่ยมยอดในหลายการแข่งขันระดับอาเซียน กลับไม่เคยไปได้ไกลกว่านี้สักที ไม่ว่าจะผ่านพ้นไปกี่ปี คนไทยยังคงวนเวียนอยู่กับคำถามเดิมๆ ที่ว่า ‘ทำไมบอลไทยถึงไม่ได้ไปบอลโลก’ คอลัมน์ Curiocity ขออาศัยช่วงบอลโลกฟีเวอร์นี้ชวนไปหาคำตอบว่า ปัจจัยอะไรที่ทำให้ไทยยังไม่สามารถไปถึงการแข่งขันระดับโลกได้ และแน่นอนว่าไม่ใช่แค่เหตุผลที่นักกีฬาเราไม่เก่งหรือไม่มีความสามารถแน่นอน เส้นทางไม่ชัดเจน โมเดลไม่ไกลพอ  ไม่ว่าจะเป็นอาชีพไหน เยาวชนก็เป็นรากฐานสำคัญของการสร้างผลงานที่มีคุณภาพ ซึ่งปัญหาหลักๆ ที่เห็นอยู่บ่อยครั้งมักเป็นเรื่องของการสนับสนุนจากผู้ปกครอง เด็กไทยหลายคนชื่นชอบในกีฬาฟุตบอลอยู่แล้ว เพียงแต่อาจไม่ได้รับการสนับสนุนเท่าที่ควรจะเป็น เพราะถึงแม้ว่าเส้นทางอาชีพนักกีฬาในตอนนี้จะไม่ได้ลำบากเท่ากับเมื่อก่อน แต่ผู้ปกครองหลายคนยังมองไม่เห็นภาพว่าลูกๆ […]

จัดอันดับจุดเช็กอิน ‘รถติด’ ในกรุงเทพฯ

ถนนกรุงเทพฯ ครั้งหนึ่งเคยขึ้นชื่อเรื่องรถติดที่สุดในโลกมาแล้ว ไม่ว่าใครก็ปวดใจหากอยู่ในสถานการณ์ติดไฟแดงบนถนนเป็นเวลาหลายชั่วโมง มิหนำซ้ำรายงานจาก TOMTOM องค์กรผู้ให้บริการข้อมูลทางสัญจรทั่วโลกยังเผยว่า ปี 2564 คนกรุงเทพฯ เสียเวลาบนถนนไปทั้งหมดเฉลี่ย 71 ชั่วโมง/ปี หรือประมาณ 3 วันเต็มเลยทีเดียว ถนนกรุงเทพฯ ทั้งจราจรติดขัดและเสียเวลารอนาน จึงไม่แปลกใจถ้าจะมีคนหัวร้อนกับรถติดบนถนน แต่ก็ทำอะไรไม่ได้ เพราะฉะนั้นทางเดียวที่จะระบายความอัดอั้นในใจก็คงมีแค่กดเช็กอินสถานที่และแชร์ความรู้สึกออกไปผ่านโซเชียลมีเดียอย่าง Facebook และแน่นอนว่า ถนนที่เป็นขวัญใจมหาชนที่เจอรถติด ได้แก่… ‘ถนนลาดพร้าว’ กับประโยคที่ว่า ‘รถติดนรกแตก แดงชาตินี้ เขียวชาติหน้า’ รวมจำนวนคนเช็กอิน ‘รถติดถนนลาดพร้าว’ จาก Facebook ทั้งหมดประมาณ 92,000 ครั้ง รองลงมาเป็นถนนพระราม 2 ทางด่วนพระราม 9 ถนนเพชรเกษม และถนนประชาอุทิศ 9 (ข้อมูล ณ วันที่ 19 พ.ย. 2565) ซึ่งสาเหตุที่ถนนเหล่านี้รถติดจนคนต้องพูดถึง เป็นเพราะอะไรตามไปหาคำตอบกัน  ถนนเส้นหลักเส้นเดียว เชื่อมหลายย่าน  สาเหตุที่ถนนดังกล่าวขึ้นชื่อเรื่องรถติดสุดเรื้อรัง ส่วนใหญ่มีลักษณะถนนเป็นเส้นวิ่งตรงยาวๆ ทำหน้าที่เป็นเส้นหลักเพียงเส้นเดียวที่เชื่อมต่อย่านอื่นๆ […]

สำรวจยอดจดทะเบียนรถยนต์ EV ปี 2565 แค่ยอดรวม 10 เดือน ก็มากกว่า 10 ปีรวมกัน

“ภายในปี 2040 รถยนต์ทุกคันที่ขายบนโลกนี้จะกลายเป็นรถยนต์ไฟฟ้า”  นี่คือคำสัมภาษณ์กับ CNBC ของ ‘Darren Woods’ ซีอีโอบริษัทน้ำมัน ExxonMobil ที่คาดการณ์ว่าในอนาคตโลกจะมีการเปลี่ยนแปลงด้านการใช้พลังงานเชื้อเพลิงครั้งยิ่งใหญ่ หากเป็นในอดีตที่รถยนต์ทุกคันใช้เชื้อเพลิงน้ำมันในการขับเคลื่อน อนาคตที่เต็มไปด้วยยานพาหนะไฟฟ้าอาจดูเหลือเชื่อไปเสียหน่อย แต่สำหรับปัจจุบันที่หลายค่ายรถยนต์เริ่มออกรถรุ่นใหม่ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อน แถมคนรุ่นใหม่ก็ให้ความสนใจเกี่ยวกับการลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิงมากขึ้น คำคาดการณ์ดังกล่าวคงไม่ใช่เรื่องเกินจริงอีกต่อไป คอลัมน์ City by Numbers จึงขอหยิบเอายอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยมาให้ดูกัน เพื่อทำความเข้าใจทิศทางและความนิยมของรถประเภทนี้ และเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจซื้อรถยนต์ของใครหลายคนในอนาคต รวมถึงชี้ให้เห็นว่า แม้ประเทศไทยจะเริ่มเข้าสู่ยุคของรถยนต์ไฟฟ้าช้าไปสักหน่อย แต่ท้ายที่สุดคำกล่าวของ Darren Woods ก็อาจเกิดขึ้นได้ รถยนต์ไฟฟ้ามีหลายประเภท จะมาเป็นเหมือนกันไม่ได้ นั่นก็รถยนต์ไฟฟ้า นี่ก็รถยนต์ไฟฟ้า  ช่วงนี้ไม่ว่าจะหันไปทางไหน ก็มักได้ยินคนพูดถึงรถยนต์ไฟฟ้าเต็มไปหมด แต่ถ้าพูดคุยหรืออธิบายลึกลงไปอีก ‘รถยนต์ไฟฟ้า’ หรือ ‘รถยนต์ EV (Electric Vehicle)’ ในมุมมองของเขาและคุณ ความหมายอาจจะไม่ตรงกันเสียทีเดียว เพราะความจริงแล้วรถยนต์ไฟฟ้าแบ่งออกเป็นทั้งหมด 4 ประเภท ดังนี้ ถึงแม้ว่าทั้ง 4 ประเภทจะมีคุณสมบัติแตกต่างกัน แต่ก็ล้วนมีเป้าหมายเพื่อลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งสิ้น แต่บทความนี้จะขอเน้นไปที่รถยนต์ไฟฟ้าประเภท BEV เพื่อทำให้เห็นถึงการเติบโตแบบก้าวกระโดดของตลาดในไทย […]

บัตรคอนเสิร์ตราคาแพงขึ้น 30% แฟนเพลงจ่ายไหวไหม

แม้จะดีใจทุกครั้งเวลาศิลปินที่ชื่นชอบมาจัดการแสดงที่ไทย แต่ก็แอบเศร้าทุกทีที่เห็นบัตรคอนเสิร์ตราคาแรงขึ้นจนต้องคิดหนักตอนกดจ่ายเงิน เพราะทุกวันนี้ราคาบัตรคอนเสิร์ตทั่วโลกเพิ่มขึ้นประมาณ 20 – 30 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2019 ช่วงก่อนเกิดโควิด ยกตัวอย่าง KCON งานคอนเสิร์ตสไตล์เกาหลี K-pop ปี 2019 จัดที่ประเทศไทย มีราคาที่นั่งแพงสุด 6,000 บาท/ที่นั่ง/รอบการแสดง ปัจจุบันปี 2022 ราคาที่นั่งแพงสุด 8,900 บาท/ที่นั่ง/รอบการแสดง หมายความว่าค่าบัตรเพิ่มขึ้นจากเดิมเกือบ 50 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว อะไรคือสาเหตุที่ทำให้ราคาบัตรพุ่งจนฉุดไม่อยู่ คอลัมน์ Curiocity ขอเชิญทุกคนไปหาคำตอบด้วยกัน อัตราเงินเฟ้อสูง เหตุการณ์โควิดส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในทุกอุตสาหกรรมทั้งทางตรงและทางอ้อม สิ่งที่ตามมาคือ อัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงมากกว่าเดิม และผลกระทบจากสงครามและวิกฤตทางการเมือง ที่ทำให้ราคาสินค้า การผลิต และการขนส่งต่างๆ ปรับราคาเพิ่มขึ้น รวมถึงอุตสาหกรรมคอนเสิร์ตก็ได้รับผลกระทบตามไปด้วย สอดคล้องกับความคิดเห็นของ ‘ญาณกร อภิราชกมล’ กรรมการบริหาร บริษัท ครีเอท อินเทลลิเจ้นซ์ จำกัด ผู้จัดงานคอนเสิร์ตและเทศกาลไทยให้สัมภาษณ์กับ The Standard Wealth ว่า […]

ทำกรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองคอนเสิร์ต ที่สนุก หลากหลาย และทุกคนเข้าถึงได้

ช่วงนี้บรรยากาศในกรุงเทพฯ กลับมาคึกคักสุดๆ เห็นได้จากผู้คนที่เริ่มกลับมาใช้ชีวิตกันแบบปกติ บวกกับกิจกรรมและความบันเทิงต่างๆ ที่จัดอย่างเต็มรูปแบบได้แล้ว โดยเฉพาะ ‘คอนเสิร์ต’ ที่มีการแสดงทั้งจากศิลปินไทยและต่างประเทศให้แฟนเพลงเลือกซื้อตั๋วไปดูกันแทบทุกสัปดาห์ แม้ว่ากรุงเทพฯ จะเป็นศูนย์กลางของคอนเสิร์ตแทบทุกแนว ตั้งแต่การแสดงดนตรีสดขนาดเล็ก จนถึงงานใหญ่ระดับมิวสิกเฟสติวัล แต่ถ้าสังเกตดีๆ จะเห็นว่า ทุกครั้งที่มีคอนเสิร์ตจัดขึ้น มักตามมาด้วยข้อถกเถียงถึงปัญหาและ Pain Point ที่แก้ไม่ได้สักที เช่น พื้นที่จัดคอนเสิร์ตที่มีอยู่อย่างจำกัด โลเคชันที่อยู่ไกลจากระบบขนส่งสาธารณะ ทำให้คนเดินทางลำบาก รวมถึงค่าใช้จ่ายการจัดคอนเสิร์ตที่มีต้นทุนสูง จึงมีเฉพาะวงดนตรีดังๆ เท่านั้นที่เปิดการแสดงได้ กลายเป็นการปิดโอกาสศิลปินตัวเล็กๆ ไปโดยปริยาย คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากลองเอาข้อจำกัดเหล่านี้มาปรับปรุงใหม่ เพื่อทำให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองแห่งคอนเสิร์ตที่ดีกว่าเดิม ผ่านการใช้ไอเดียสนุกๆ เปลี่ยนพื้นที่สาธารณะให้เป็นสถานที่จัดคอนเสิร์ต ตั้งแต่บริเวณใต้ทางด่วน ชั้นดาดฟ้า จนถึงกลางแม่น้ำเจ้าพระยา คอนเสิร์ตเหล่านี้จะมีหน้าตาแบบไหน ขอเชิญทุกคนไปโยกหัวฟังเพลงพร้อมกัน เพิ่มสเตจคอนเสิร์ตในตัวเมืองด้วยการปรับพื้นที่ใต้ทางด่วน ปัญหาหลักของการจัดคอนเสิร์ตในกรุงเทพฯ คือ ‘พื้นที่ที่มีอยู่อย่างจำกัด’ เพราะส่วนใหญ่การแสดงมักจัดขึ้นที่สเตเดียม ศูนย์จัดแสดงสินค้า และฮอลล์ในศูนย์การค้า ที่นอกจากจะตั้งอยู่ในโลเคชันที่การจราจรติดขัด ผู้คนเดินทางไปลำบากแล้ว สถานที่เหล่านี้ยังเป็นพื้นที่ขนาดกลางถึงใหญ่ที่ต้องเป็นวงดนตรีแมสๆ หรือมีต้นทุนสูงเท่านั้น ถึงจะจัดการแสดงได้ เราจึงไม่ค่อยได้เห็นวงดนตรีอินดี้หรือศิลปินตัวเล็กๆ มีคอนเสิร์ตของตัวเองในสถานที่เหล่านี้เท่าไหร่นัก […]

The Town of Music เมื่อกรุงเทพฯ อยากเป็นเมืองคอนเสิร์ต แต่…

ใครๆ ก็บอกว่ากรุงเทพฯ เป็นเมืองแห่งคอนเสิร์ต ไม่ว่าศิลปินจะมาจากไหน เมื่อเจอแฟนคลับชาวไทยที่ร้องตามทุกคำ แอดลิปได้ทุกโน้ตเข้าไป ก็ติดใจวนกลับมาเล่นคอนเสิร์ตที่ไทยเกือบทุกปี ยิ่งหลังจากปิดประเทศไป 2 ปี คอนเสิร์ตทั้งไทยและเทศต่างพากันจ่อคิวยาวล้นไปถึงต้นปีหน้า เราจึงไม่แปลกใจที่กรุงเทพฯ จะมีอีกฉายาว่า ‘กรุงเทพฯ เมืองคอนเสิร์ต’ แต่พอมาขบคิดดูดีๆ แล้วเมืองกรุงเทพฯ เหมาะสำหรับจัดคอนเสิร์ตจริงหรือ เพราะเมื่อมองย้อนกลับไปดูการจัดคอนเสิร์ตแต่ละครั้ง เราต่างพบหลากหลายปัญหาที่มักถูกพูดถึง แต่ไม่ได้รับการแก้ไขหรือสนับสนุนอย่างถูกวิธี ไม่ว่าจะเป็นสถานที่จัดคอนเสิร์ตที่เดินทางลำบาก ค่าบัตรที่ค่อนข้างสูง ไหนจะระบบการศึกษาที่ไม่ค่อยเอื้อให้คนที่อยากทำงานในอุตสาหกรรมดนตรีสักเท่าไหร่ จะดีกว่าไหมถ้าเมืองนี้จะไม่ใช่แค่สถานที่จัดคอนเสิร์ต แต่สนับสนุนและส่งเสริมระบบนิเวศทางดนตรีให้ยั่งยืน 01 | Concert Live in Bangkok (แค่ในนาม)สถานที่จัดไกล การเดินทางไม่ครอบคลุม ปัจจุบันมีหลายคอนเสิร์ตที่จัดในประเทศไทยแล้วใช้ชื่อต่อท้ายว่า ‘Live in Bangkok’ ทั้งที่ความจริงแล้วเป็นแค่กรุงเทพฯ เฉพาะในนาม เพราะไม่ว่าจะเป็นอิมแพ็ค อารีน่า และ ธันเดอร์โดม ที่เมืองทองธานี, แจ้งวัฒนะ ฮอลล์ ที่เซ็นทรัลแจ้งวัฒนะ หรือเอ็มซีซี ฮอลล์ ที่เดอะมอลล์ งามวงศ์วาน ต่างตั้งอยู่ที่จังหวัด ‘นนทบุรี’ ด้วยกันทั้งนั้น […]

‘ปิดถนน ห้ามเดิน ขอผ่านทาง’ 3 ประเทศเจ้าภาพกับมาตรการการเดินทางสำหรับการประชุมนานาชาติ

ตั้งแต่สัปดาห์ก่อนลากยาวจนมาถึงสัปดาห์นี้ ดูเหมือนจะเป็นช่วงเวลาแห่งการประชุมระดับนานาชาติในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เริ่มกันที่ ASEAN Summit ประเทศกัมพูชา ตามมาด้วย G20 ประเทศอินโดนีเซีย และล่าสุดคือ APEC ที่ประเทศไทยได้กลับมาเป็นเจ้าภาพต้อนรับบรรดาผู้นำโลกอีกครั้ง เมื่อมีบุคคลสำคัญจากหลายประเทศมาร่วมงาน การเดินทางจึงเป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญที่ละเลยไม่ได้เด็ดขาด ทางเจ้าบ้านต้องหาวิธีจัดการดูแลเรื่องนี้ให้ปลอดภัยและสะดวกสบายแก่แขกผู้มาเยือนมากที่สุด สำหรับประเทศไทยเอง ก็มีการเตรียมตัวเพื่อต้อนรับการประชุมครั้งใหญ่นี้อย่างยิ่งใหญ่ด้วยเช่นเดียวกัน แต่หลังจากที่มีการแจ้งแผนจำกัดการใช้งานถนนและเส้นทางโดยรอบศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ก่อนวันงานเพียงหนึ่งสัปดาห์ ไหนจะการประกาศปิดถนนกับข้อห้ามมากมายที่ออกมาระหว่างช่วงที่จัดการประชุม ก็ยิ่งทำให้เกิดการตั้งคำถามมากมายถึงความเดือดร้อนต่อการเดินทางของคนทำงานและผู้พักอาศัยในบริเวณนั้น ที่ต้องแบกรับผลกระทบเพื่อภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศ คอลัมน์ Curiocity ชวนไปติดตามกันว่า ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันที่มีการประชุมทั้งในกัมพูชา อินโดนีเซีย และไทย สามประเทศเจ้าภาพนี้มีมาตรการการจัดการจราจรเพื่อต้อนรับแขกสำหรับการประชุมครั้งใหญ่นี้อย่างไร แล้วใครที่ได้รับผลกระทบบ้าง ASEAN Summit กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา การประชุม ‘ASEAN Summit’ หรือ ‘การประชุมสุดยอดอาเซียน’ เป็นการประชุมประจำปี ภายใต้หัวข้อ เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของประเทศสมาชิกต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ปีนี้ถือเป็นการประชุมครั้งที่ 40 และ 41 จัดขึ้นที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ตั้งแต่วันที่ 10 – 13 พฤศจิกายน […]

ใช้ชีวิตเป็นชาววากานเดี้ยนไปสำรวจเมือง ‘Wakanda’ กับการใช้ไวเบรเนียมพัฒนาชาติ

ในตำนานเล่าว่า เมื่อประมาณสองล้านกว่าปีก่อน มีอุกกาบาตขนาดยักษ์ตกลงตรงใจกลางทวีปแอฟริกาในปัจจุบัน อุกกาบาตลูกนั้นอัดแน่นด้วยโลหะจากนอกโลก โดยได้รับการตั้งชื่อว่า ‘ไวเบรเนียม’ ต่อมาได้มีมนุษย์จากห้าชนเผ่าเดินทางมายังดินแดนดังกล่าวเพื่อทำสงครามแย่งชิงแร่ไวเบรเนียมเป็นเวลายาวนาน จนกระทั่งนักรบคนหนึ่งได้นิมิตเห็นร่างเสือดำ ซึ่งนำพาให้เขาได้พบกับสมุนไพรรูปหัวใจ หลังจากกินเข้าไป เขาได้รับพลังเหนือมนุษย์จนสามารถยุติสงคราม แย่งชิงไวเบรเนียมแล้วรวบรวมชนเผ่าโดยรอบให้เป็นหนึ่งเดียวกันได้ นั่นคือจุดเริ่มต้นของราชวงศ์ ‘วากานด้า’ โดยประชาชนได้อยู่ร่วมกันภายใต้กษัตริย์เสือดำหรือแบล็กแพนเตอร์ (Black Panther) ผู้ทำหน้าที่คอยปกปักรักษาอาณาจักรแห่งนี้ไว้โดยไม่เปิดเผยการมีอยู่ให้โลกได้รับรู้ เพราะเกรงว่าเทคโนโลยีสุดล้ำจากการใช้แร่ไวเบรเนียมจะแพร่งพรายออกไป จนทำให้วากานด้าอาจถูกศัตรูเข้ามารุกราน เพื่อแย่งชิงทรัพยากรล้ำค่าที่ดินแดนมีไว้ในครอบครอง  แม้วากานด้าจะปิดประเทศแต่ก็มีการส่งประชาชนบางส่วนไปยังประเทศต่างๆ เพื่อศึกษาดูงานและนำองค์ความรู้จากทั่วโลกกลับมาพัฒนาประเทศ จนมาถึงยุคของ กษัตริย์ทีชาลา (T’Challa) บุตรชายของทีชากา ที่ตัดสินใจประกาศเปิดประเทศ เพื่อกระจายแร่ไวเบรเนียมให้นานาประเทศนำไปใช้พัฒนาบ้านเมืองให้มีความยั่งยืนและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ได้เวลาที่วากานด้าเปิดประเทศแล้ว เราเลยขอใช้ชีวิตเป็นชาววากานเดี้ยนสักหนึ่งวัน เพื่อเดินทางไปศึกษาดูงานว่าในดินแดนแห่งนี้ใช้ไวเบรเนียมทำอะไรบ้าง และมีนโยบายใดที่น่าสนใจนำมาประยุกต์ใช้กับบ้านเมืองของเรา  Eco Futurism Urban Core ศูนย์กลางเมืองที่ผสมผสานธรรมชาติและเทคโนโลยี ดินแดนของวากานด้ามีภูเขาลูกใหญ่ที่ลดหลั่นระดับล้อมรอบอาณาจักร ที่ตั้งของเมืองหลวงอยู่ตรงกลางคล้ายแอ่งกระทะ มีช่องลมที่แบ่งโดยระยะห่างของภูเขา วากานด้ามีตึกที่กระจายตัวออกจากเมืองหลวงอยู่หนาตา แต่ไม่ได้หนาแน่นแออัดแข่งกันสูง ทำให้เกิดการระบายอากาศได้ดี  อาคารของวากานด้ามีองค์ประกอบแบบแอฟริกันดั้งเดิม ซึ่งมีลักษณะเป็นหลังคามุงจากและปลูกสวนไว้ด้านบน เมืองแห่งนี้มีพื้นที่สีเขียวที่ช่วยให้เมืองกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม อีกทั้งยังไม่มีพื้นที่ชานเมืองที่ต้องตัดถนนยิบย่อยให้เสียระบบนิเวศใดๆ แถมรอบตัวเมืองยังมีทางเดินให้สายน้ำไหลผ่าน เป็นเมืองที่ติดชายฝั่งทะเล มีท่าเทียบเรือสำหรับธุรกิจประมง ชาวเมืองสามารถใช้ประโยชน์จากผืนดินของธรรมชาติ ซึ่งส่งผลดีต่อการทำเกษตรและการเลี้ยงปศุสัตว์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  Futurist Transit […]

ทางด่วน วิวัฒนาการจากสนามแข่งรถ สิ่งก่อสร้างแก้รถติด สู่ยุครื้อทิ้งเพราะทำให้เมืองพัง

หากคุณอยากขับรถยนต์จากกรุงเทพฯ ไปเที่ยวทะเลที่ภูเก็ต ต้องใช้เส้นทางไหน หรือในช่วงเวลาสุดเร่งรีบบนท้องถนน ถ้าต้องการทางลัดที่จะให้ถึงที่หมายเร็วที่สุด ต้องทำอย่างไร เมื่อเจอคำถามแบบนี้ หลายคนคงนึกถึง ‘ทางด่วน’ เพื่อนแท้ยามคับขันของคนขับรถที่อยาก (รีบ) ให้ถึงจุดหมายนั่นเอง ปัจจุบันหน้าที่หลักของทางด่วนคือ ร่นระยะการเดินทางให้สั้นลงและประหยัดเวลาของผู้ขับมากยิ่งขึ้น หากอธิบายให้เห็นภาพ เช่น การขับรถยนต์จากกรุงเทพฯ ไปต่างจังหวัด หรือการเดินทางจากพื้นที่ในตัวเมืองไปชานเมือง ถ้าใช้ทางพิเศษนี้ การเดินทางก็จะราบรื่นและง่ายกว่าครั้งไหนๆ  ยิ่งไปกว่านั้น ทางด่วนยังเป็นทางเลือกหนึ่งในการหลีกเลี่ยงรถติด สำหรับคนที่เดินทางไกล ต้องการความเร่งด่วน แค่ยอมจ่ายค่าผ่านทาง ใครๆ ก็เข้าถึงความรวดเร็วและความสะดวกสบายบนท้องถนนได้ทันที ‘สนามแข่งรถ’ แรงบันดาลใจที่ทำให้เกิด ‘ทางด่วน’ ในอดีตกว่าร้อยปีที่แล้ว จุดเริ่มต้นของ ‘ทางด่วน’ ได้รับแรงบันดาลใจจาก ‘ความเร็ว’ ของการแข่งรถยนต์ในปี 1904 โดย William Kissam Vanderbilt นักธุรกิจสัญชาติอเมริกัน ผู้คลั่งไคล้การแข่งรถเป็นชีวิตจิตใจ คือตัวตั้งตัวตีในการจัดกิจกรรมแข่งรถชิงถ้วยรางวัล Vanderbilt Cup ในมณฑล Nassau County ประเทศสหรัฐอเมริกา การแข่งรถยนต์สมัยนั้นค่อนข้างอันตรายชวนหวาดเสียว เพราะพวกเขาขับรถแข่งกันบนถนนในตัวเมืองที่ไม่ได้ออกแบบรองรับความเร็วของรถแข่งหรือทางโค้งเวลารถเลี้ยว จนทำให้เกิดอุบัติเหตุถึงชีวิต เมื่อเริ่มมีข่าวคราวคนเสียชีวิตจากการแข่งขันบ่อยขึ้น […]

Sustainable Market Event จัดอีเวนต์อย่างไรให้ยั่งยืนและดีต่อโลก

เข้าสู่ช่วงสิ้นปีแบบนี้ หลายคนคงเริ่มเห็นอีเวนต์ต่างๆ จัดขึ้น เตรียมให้เราได้ไปเดินเล่นและร่วมสนุกกันแทบทุกสัปดาห์ ซึ่งอีเวนต์ที่เราเห็นกันอยู่บ่อยครั้งมักจะเป็น ‘Market Event’ ที่มีทั้งโซนขายของ โซนอาหาร มาพร้อมสินค้าที่หลากหลายและน่าสนใจตามธีมของแต่ละงาน ทว่าการจัดอีเวนต์แต่ละครั้ง ไม่ว่าจะงานเล็กหรือใหญ่ ล้วนก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งนั้น ซึ่งเกิดจากหลายปัจจัย เช่น การสร้างขยะภายในงาน การใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง มลภาวะจากการเดินทาง ฯลฯ เพราะกังวลเรื่องผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมในอนาคต หลายอีเวนต์ทั่วโลกจึงเริ่มตระหนักถึงความรับผิดชอบในมิติสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ทำให้ ‘ความยั่งยืน’ กลายเป็นอีกโจทย์สำคัญของผู้จัดงานต่างๆ ว่าจะมีวิธีและทิศทางการจัดงานแบบไหนบ้าง ที่สร้างผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด คอลัมน์ Urban Sketch วันนี้จึงขอจำลองวิธีการจัด Sustainable Market Event ที่ทุกคนยังคงเพลิดเพลินกับกิจกรรมได้เหมือนเดิม เพิ่มเติมคือแนวทางเรื่องความยั่งยืน สำหรับจัดอีเวนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและรับผิดชอบต่อสังคมไปพร้อมๆ กัน 1) บูททำจากวัสดุธรรมชาติ ลดการใช้อุปกรณ์ยึดโครง– Market Event คือการรวมตัวของบูทร้านค้ามากมาย ซึ่งปกติแล้วโครงสร้างของบูทจะทำจากเหล็กหรืออะลูมิเนียม แต่เพื่อให้ตัวงานเกิดความยั่งยืนมากขึ้น เราจึงเปลี่ยนมาใช้โครงสร้างที่ทำจากไม้ทั้งหมด และเลี่ยงการใช้ตะปูหรือวัสดุอื่นๆ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายกับตัวไม้ เมื่อจบงานแล้วก็สามารถถอดเก็บไว้เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่อีกครั้งในอนาคต  2) ใช้ป้ายลบได้เพื่อเก็บไว้ใช้ซ้ำ – ยกเลิกการใช้ป้ายต่างๆ ภายในงาน เช่น […]

‘Sharenting’ พ่อแม่ยุคใหม่ โพสต์รูปลูกอย่างไร ไม่ให้ละเมิดสิทธิเด็ก

คุณจำได้ไหมว่ามีแอ็กเคานต์โซเชียลมีเดียเป็นของตัวเองตอนอายุเท่าไหร่ หากย้อนกลับไปในวันที่เริ่มมีตัวตนบนโลกออนไลน์สำหรับหลายๆ คน เราคิดว่าน่าจะเป็นช่วงประถมศึกษาตอนปลายหรือมัธยมต้นที่เริ่มสมัคร Facebook และอัปโหลดรูปตัวเองบนโลกออนไลน์เป็นครั้งแรก แต่กับสมัยนี้ หลายบ้านเริ่มสร้างตัวตนให้ลูกตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ รูปอัลตราซาวนด์กลายเป็นรูปแจ้งเกิดในโลกออนไลน์ของเด็กรุ่นใหม่ แถมพอโตขึ้นมาหน่อย ไม่ว่าจะทำอะไรก็มักถูกพ่อแม่บันทึกไว้เป็นรูปภาพและวิดีโอโพสต์ลงบนออนไลน์เต็มไปหมด ‘ใครๆ เขาก็ลงรูปลูกตัวเองกันทั้งนั้น’‘บ้านไหนจะโพสต์รูปลูกตัวเองก็เรื่องของเขา อย่าไปยุ่ง’‘ทำไมพ่อแม่ถึงจะไม่มีสิทธิ์โพสต์รูปลูกตัวเองล่ะ’ จากความคิดเห็นเหล่านี้ คอลัมน์ Curiocity ขอชวนกลับมาตั้งคำถามว่า แท้จริงแล้วการที่พ่อแม่ทำแบบนี้เป็นสิ่งที่เหมาะสมหรือไม่ เพราะผลกระทบอาจไม่ตกอยู่ที่ครอบครัวใดครอบครัวหนึ่งเท่านั้น พ่อแม่ยุคใหม่ ให้ชาวเน็ตช่วยเลี้ยงลูก ย้อนกลับไปในปี 2010 พ่อแม่ทั่วโลกต่างโพสต์รูปลูกตัวเองลงบนออนไลน์เป็นเรื่องปกติ จนสำนักข่าว ‘Wall Street Journal’ คิดค้นศัพท์ใหม่อย่าง ‘Sharenting (n.)’ เพื่อใช้นำเสนอปรากฏการณ์นี้ ก่อนได้รับการบันทึกลงใน Collins English Dictionary เมื่อปี 2016 และใช้อย่างกว้างขวางต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน Sharenting เกิดขึ้นจากการผสมคำระหว่าง Share และ Parenting เพื่อใช้อธิบายพฤติกรรมของพ่อแม่ยุคใหม่ที่โพสต์ภาพและวิดีโอของลูกตัวเองบนโซเชียลมีเดียจนเกินพอดี  จากการสำรวจในสหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2010 พบว่า มีทารกกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ และเด็กอายุน้อยกว่า 2 […]

จัดงานแต่งทั้งทีต้องมีค่าใช้จ่ายเท่าไร เมื่อราคาของความรักอาจแพงเกินรับไหวในยุคนี้

งานแต่งที่ใดเป็นได้แค่แขกรับเชิญ อยากแต่งกับเขาเหลือเกิน แต่ต้องมีงบเท่าไรถึงจะจัดงานแต่งได้ เมื่อชีวิตเดินทางมาถึงช่วงวัยหนึ่ง การมีครอบครัวของตัวเองอาจเป็นหนึ่งในเป้าหมายชีวิตของใครหลายคน การแต่งงานจึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างครอบครัวไปโดยปริยาย และเมื่อพูดถึงการแต่งงานก็ไม่ได้มีแค่การจูงมือกันไปจดทะเบียนสมรสที่อำเภอเท่านั้น เพราะยังมีขั้นตอนของการเฉลิมฉลองเพื่อให้ครอบครัวและคนสนิทของทั้งสองฝ่ายได้มาร่วมแสดงความยินดีอีกด้วย แต่ในปัจจุบันดูเหมือนว่าการจัดงานแต่งงานจะไม่ใช่สิ่งสำคัญสำหรับการเริ่มต้นใช้ชีวิตคู่อีกต่อไปแล้ว ด้วยรูปแบบการใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ที่เปลี่ยนไปจากเมื่อก่อน รวมถึงปัจจัยหลักๆ อย่างค่าใช้จ่ายจำนวนมากในการจัดงานที่อาจทำให้หลายคนมองว่าไม่คุ้มที่จะเสียไปในยุคที่เศรษฐกิจไม่ค่อยเอื้ออำนวยให้ใช้จ่ายเงินก้อนใหญ่เท่าไรนัก ถึงอย่างนั้น การจัดงานแต่งงานก็ยังถือเป็นเครื่องยืนยันทางสังคมที่บ่งบอกถึงสถานะทางครอบครัว หลายบ้านจึงยังอยากให้ลูกหลานจัดงานแต่งงานเพื่อเป็นการให้เกียรติระหว่างกันและกัน คอลัมน์ City By Numbers เลยขอคำนวณค่าใช้จ่ายคร่าวๆ สำหรับงานแต่งงานขนาดกลางที่มีผู้ร่วมงานประมาณ 100 – 200 คน มาเป็นข้อมูลให้คนมีคู่ได้เตรียมงบประมาณกัน ค่าเช่าชุดแต่งงาน ชุดเจ้าสาว 15,000 – 45,000 บาท ชุดเจ้าบ่าว 4,500 – 6,500 บาท เมื่อพูดถึงงานแต่งงาน สิ่งแรกที่ต้องนึกถึงก็ต้องเป็นชุดแต่งงาน ซึ่งปัจจุบันคู่บ่าวสาวมักเลือกเช่าชุดสำหรับวันงานแทนการตัดชุดใหม่ โดยราคาจะแตกต่างกันไปตามแบรนด์ของชุด อย่างของชุดเจ้าสาวจะเริ่มต้นที่หลักหมื่น ส่วนของเจ้าบ่าวอยู่ที่ประมาณ 4,500 บาท แต่หากใครที่อยากสั่งตัดชุดแต่งงานเพื่อเก็บเป็นความทรงจำ ค่าใช้จ่ายสั่งตัดชุดแต่งงานของเจ้าสาวจะเพิ่มสูงเป็นเท่าตัว โดยเริ่มต้นที่ 45,000 บาท ส่วนของเจ้าบ่าวเริ่มต้นที่ 6,000 บาท ค่าแต่งหน้าทำผม 10,000 […]

1 9 10 11 12 13 45

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.