Earthtone แบรนด์รองเท้าจากวัสดุธรรมชาติ ที่อยากหยุดวงจรขยะในอุตสาหกรรมแฟชั่น

แบรนด์ Earthtone ที่หยิบเอา ‘วัสดุทดแทน’ จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ฟางข้าว แกลบ ขุยมะพร้าว หรือแม้แต่การหยิบผักตบชวามาดีไซน์ใหม่ให้ดูใช้ได้จริง ก่อนออกมาเป็นสินค้าแฟชั่นที่ดูทันสมัย เราจึงต่อสายตรงไปหา ‘ซา-ซายูริ โอกาวะ’ และ ‘ปอม-อรรถพล พงษ์สวัสดิ์’ เจ้าของแบรนด์ Earthtone ผู้ที่เป็นทั้งหุ้นส่วนธุรกิจและหุ้นส่วนชีวิตของกันและกัน พร้อมพูดคุยถึงแนวคิดว่าเพราะอะไรถึงอยากเป็นส่วนหนึ่งที่หยุดวงจรขยะจากอุตสาหกรรมแฟชั่น

Ira แบรนด์ผ้าอนามัยย่อยสลายได้ ไร้สารเคมี และอ่อนโยนกับจุดซ่อนเร้น

เพราะผ้าอนามัย 1 แผ่น เทียบเท่ากับถุงพลาสติก 4 ถุง แถมยังใช้เวลาย่อยสลาย 500 – 800 ปี! และต่อรอบประจำเดือนต้องใช้มากถึง 21 แผ่น นั่นจึงเป็นสาเหตุที่รุ้งไม่อยากผลิตผ้าอนามัยที่ใช้วัสดุหลักเป็นพลาสติก แต่หยิบเอา ‘ใยไม้ไผ่’ มาทดแทน แถมยังดีไซน์แพกเกจจิ้งให้ ‘คนทุกเพศ’ ถือได้อย่างไม่เคอะเขิน

‘แยก-ทิ้ง-เก็บ’ สไตล์เยอรมัน จนได้แชมป์โลกรีไซเคิลขยะ

เวลาเจอขยะ 1 ชิ้น คุณทำอย่างไร หยิบไปทิ้งเลย หรือยืนคิดสักประเดี๋ยวว่าเจ้าขยะชิ้นนี้ควรจัดการอย่างไร สำหรับชาวเยอรมนีคงเป็นอย่างหลัง พวกเขาจะประมวลผลการจัดการเหล่าขยะอย่างตั้งใจ จะเริ่มคิด วิเคราะห์ ไปจนถึงแยกชิ้นส่วนขยะ ให้สมกับตำแหน่งอันดับหนึ่งของโลกด้าน ‘การรีไซเคิลขยะชุมชน’ ในปี 2017 ซึ่งรีไซเคิลได้ถึง 56.1% (จัดอันดับโดย Eunomia บริษัทที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมอิสระในสหราชอาณาจักร) เราเองในฐานะที่ได้ใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศเยอรมนีเลยมีเรื่องราวการแยกขยะแบบฉบับเยอรมนีมาฝากกัน เริ่มตั้งแต่นโยบายรัฐในการจัดการ การแยก การลดปริมาณขยะ ไปจนถึงโครงการต่างๆ จากภาคเอกชนที่สนับสนุนการลดขยะในเมือง | ฉันแยกและทิ้งแบบมีระบบ นโยบายการทิ้งขยะในครัวเรือนของประเทศเยอรมนีมีรายละเอียดยิบย่อยแตกต่างกันไปตามแต่ละเมือง ซึ่งขึ้นกับรัฐอีกทีว่ามีรูปแบบการกำจัดขยะอย่างไร แต่โดยรวมแล้วการแยกขยะในครัวเรือนแบ่งได้ตามนี้ 1.ขวดน้ำ กระป๋อง ขวดแก้วที่มีค่ามัดจำขวด – นำไปคืนเพื่อรับเงินตามซูเปอร์มาร์เก็ตได้ (ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละที่จะรับคืนขวดแบบไหนด้วยนะ) นอกจากนี้อาจวางไว้ข้างถังขยะ ให้ผู้คนที่หาเงินจากการเก็บขวดคืนมารับไป 2.ขยะรีไซเคิล เช่น บรรจุภัณฑ์พลาสติก ขวดแก้วสีต่างๆ อะลูมิเนียม – เหล่านี้จะมีรายละเอียดเฉพาะของแต่ละเมือง เช่น มิวนิกจะตั้งคอนเทนเนอร์รอบเมืองให้คนทิ้งขยะรีไซเคิลที่ล้างมาเรียบร้อยแล้ว  3.เสื้อผ้าและรองเท้า – บริจาคได้ตามตู้รับบริจาครอบเมืองต่างๆ มีหลายองค์กรที่เปิดรับ เช่น สภากาชาดเยอรมนี ซึ่งรับบริจาคเพื่อนำไปขายมือสองต่อให้กลุ่มคนรายได้น้อย […]

‘360 Waste Journey to Zero Waste’ เปิดเส้นทางลดปริมาณขยะ ที่คุณมีส่วนร่วมได้

เพราะไม่อยากให้ขยะพลาสติกทำลายโลกไปมากกว่านี้ กลุ่มสยามพิวรรธน์ซึ่งตระหนักถึงปัญหานี้มานานกว่า 10 ปี จึงหาวิธีง่ายๆ ที่ทุกคนจะช่วยกันลดขยะพลาสติกให้เบาบางลง เพื่อฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมให้ดียิ่งขึ้น จะต้องทำอย่างไรบ้าง ตามไปดูกัน !

ส่องนโยบายสิ่งแวดล้อมโลกปี 2021

ปฏิทินหมุนเข้าปี 2021 เข็มชีวิตเดินไปข้างหน้าในขณะที่นาฬิกาโลกกำลังนับถอยหลัง ในปีที่ผ่านมาการละลายของแผ่นน้ำแข็งขนาดใหญ่ที่กรีนแลนด์เดินเข้าสู่จุดที่ไม่มีวันหวนกลับ ภัยธรรมชาติหลายอย่างกำลังรุมเร้าจนสถานการณ์ของโลกตั้งอยู่ในความไม่แน่นอน   แม้ธรรมชาติกำลังสะสมขุมกำลังเพื่อเดินหน้าเข้าโจมตี แต่ทั่วโลกกำลังหาทางหยิบยื่นสันติ ถึงสถานการณ์ระหว่างประเทศจะเต็มไปด้วยข้อขัดแย้ง แต่นานาชาติเห็นไปในทางเดียวกันว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศรอไม่ได้ ในปี 2021 นี้คืออีกหนึ่งหมุดหมายสำคัญในการแก้ปัญหาโลก ก่อนที่จะเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นว่าจะลงเอยเช่นไรในปี 2030 . ตามไปดูนโยบายสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมของโลกในปีหน้า ที่ขยับเขยื้อนกันตั้งแต่ระดับโลกไปจนถึงเอกชน  THE WORLD AGREEMENT : ทั่วโลกลงนามเพื่อสิ่งแวดล้อม ย้อนกลับไปในปี 2015 ท่ามกลางสนามการค้าที่คุกรุ่นและระอุไม่ต่างจากอุณหภูมิของโลกที่ค่อยๆ สูงขึ้น หลายประเทศต่างลงนามเพื่อเข้าร่วม ‘ข้อตกลงปารีส’ (Paris Agreement) ที่ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อหวังว่าสถานการณ์ของโลกจะดีขึ้น  นับจากการบังคับใช้ข้อตกลงปารีสในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2016 เพื่อหวังให้สิ่งแวดล้อมพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น สถานการณ์ของโลกกลับย่ำแย่ราวตลกร้าย จนผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่กล่าวว่าข้อตกลงปารีสไม่เพียงพอจะป้องกันไม่ให้อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกเพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส ก่อนยุคอุตสาหกรรม หรือขีดจำกัดที่ 2 องศาเซลเซียส ตามคำแนะนำทางวิทยาศาสตร์ แต่ทิศทางของแต่ละประเทศในอนาคตเต็มไปด้วยความน่าสนใจหลังจากเวลา 5 ปีที่ผ่านมายังไม่เห็นผล   นอกจากในปี 2030 จะครบกำหนดสัญญาที่รัฐบาลไทยได้ลงนามในข้อตกลงปารีส สำหรับเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 20 – […]

7 แบรนด์คนไทย เริ่มต้นปีใหม่ด้วยไลฟ์สไตล์กรีนๆ

บรรจงคัดสรรสินค้าจาก ‘7 แบรนด์ฝีมือคนไทย’ ไม่ว่าจะเป็นยาสีฟันอัดเม็ด จานชามจากวัสดุเหลือทิ้ง น้ำยาถูพื้นออร์แกนิก ไปจนถึงผ้าอนามัยซักได้ ซึ่งพวกเขาล้วนตั้งใจอยากให้ผลิตภัณฑ์รักษ์โลกเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในวิถีคนไทย และกอบกู้สิ่งแวดล้อมให้อยู่ต่อไปได้!

‘Upcycle’ ผ้าห่มจากพลาสติก ทางออกใหม่เพื่อแก้ไขปัญหาขยะที่ยั่งยืน

‘พิษจาก COVID-19 ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อร่างกายและสุขภาพจิตของพวกเราทุกคนเพียงเท่านั้น’ แต่ยังส่งผลกระทบต่อโลกไม่น้อยเลยทีเดียว New Normal ทำให้ผู้คนหันมาอยู่บ้านมากขึ้นอย่างก้าวกระโดด เนื่องจากความหวาดระแวงไม่อยากพบเจอผู้คน จึงทำให้ไม่อยากออกจากบ้านไปไหน เพื่อลดอัตราความเสี่ยงต่อโรค COVID-19 อีกทั้งความนิยมที่พุ่งสูงของบริการ Food Delivery ที่แม้จะทำให้เราสะดวกสบาย แต่ก็ต้องแลกมาด้วยปริมาณขยะพลาสติกที่สูงขึ้นเช่นกัน ท่ามกลางความสะดวกสบายกลับส่งผลกระทบที่ไม่คาดคิดเมื่อขยะพลาสติกจำนวนมากจากระบบ Food Delivery และ Online Shopping ส่งผลให้ขยะพลาสติกในกรุงเทพมหานครเพิ่มสูงขึ้นกว่าร้อยละ 60 ในช่วงที่ผ่านมา กลายเป็นปัญหาพลาสติกในท้ายที่สุด ปัญหาของขยะพลาสติก ในหนึ่งวันคนกรุงเทพฯ สร้างขยะจำนวนมากถึง 10,500 ตัน คิดเป็นขยะพลาสติกประมาณร้อยละ 20 หรือ 2,000 ตันต่อวัน แต่หลังจากการเข้ามาของ COVID-19 ทำให้ปริมาณขยะโดยรวมลดลงคิดเป็นร้อยละ 11 เปอร์เซ็นต์ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกลับน่ากลัวกว่าที่คิดเพราะถึงแม้ขยะโดยรวมจะลดลง แต่ปริมาณขยะพลาสติกกลับเพิ่มขึ้นอย่างน่าเป็นกังวล โดยมีจำนวนขยะพลาสติกเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 60 ในกรุงเทพมหานคร กลายเป็นปัญหาในเรื่องการจัดการขยะ นั่นเป็นเพราะถ้าเทียบกับขยะชนิดอื่นๆ แล้ว ขยะพลาสติกนั้นกำจัดยากกว่าขยะชนิดอื่น เนื่องจากพลาสติกถูกออกแบบมาให้มีความคงทนในการใช้งาน ซึ่งตัวมันเองตอบโจทย์การทำงานอย่างสูง แต่อาจจะดีเกินไปสักหน่อย จนไม่ตอบโจทย์การจัดการสักเท่าไหร่ กลายเป็นข้อเสียที่ใหญ่หลวงเพียงข้อเดียวคือ […]

“เพราะเรามีโลกแค่ใบเดียว” รักษาทรัพยากรอย่างยั่งยืนและแก้วิกฤตประเทศ ด้วย ‘หลักเศรษฐกิจหมุนเวียน’

หลายคนกำลังนับถอยหลังให้ปี 2020 จบลงโดยเร็ว จากสารพัดปัญหาที่โหมกระหน่ำอย่างไม่หยุดยั้ง นอกจากโควิด-19 ที่เป็นวิกฤตครั้งใหม่ ภัยธรรมชาติที่คุ้นเคยก็ดาหน้าเข้ามาเล่นงานอย่างต่อเนื่อง เราเจอกับภัยแล้งที่รุนแรงที่สุดในรอบ 40 ปี ขยะที่เพิ่มขึ้นจากการใช้ทรัพยากรมากขึ้นด้วยวิถีชีวิตแบบ New Normal และในเวลาไล่เลี่ยกัน ฝุ่น PM2.5 เจ้ากรรมก็ทำท่าจะกลับมาประจำการอีกต่างหาก แม้จะฟังดูหดหู่แต่อย่ารีบหมดหวัง เพราะเชื่อว่าทุกคนก็พร้อมจะร่วมใจกันแก้ปัญหา  เมื่อเร็วๆ นี้ ผู้คนจากหลายภาคส่วนได้มาร่วมระดมความคิด และค้นหาแนวทางที่ดีที่สุดในการที่เราจะอยู่ร่วมกันบนโลกได้อย่างยั่งยืนในงาน SD Symposium 2020 “Circular Economy: Actions for Sustainable Future” ที่จัดขึ้นโดย เอสซีจี  ซึ่งทำให้เห็นถึงความสำคัญของ ‘เศรษฐกิจหมุนเวียน’ ที่จะเป็นทางออกให้กับปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องสิ่งแวดล้อม ที่ส่งผลกระทบต่อไปถึงสังคม และเศรษฐกิจ จึงอยากชวนทุกคนมาดูส่วนหนึ่งจากกว่า 200 โครงการ ที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือของพันธมิตร เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนไปด้วยกัน  ขยะเป็นศูนย์ทำได้ หากร่วมมือกัน ย้อนไปช่วงที่ชาวไทยล็อกดาวน์ เพื่อลดการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ปริมาณขยะจากบริการส่งอาหารเพิ่มขึ้นถึง 15 เปอร์เซ็นต์ และมีมากถึง 6,300 ตัน/วัน […]

ทำไมการซักผ้าถึงทำให้โลกร้อน

เวลาที่ใครถาม “ทำไมไม่ชอบซักผ้า ?” จงตอบกลับไปว่า “มันสร้างคาร์บอนฟุตพริ้นท์ !” ฟังดูเหมือนจะเป็นเรื่องจ้อจี้ แต่ที่ไหนได้มันคือเรื่องจริง !! เมื่อวารสารวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมเชิงบูรณาการของ Jay S. Golden ระบุว่า กระบวนการซักผ้าเฉพาะสหรัฐอเมริกาสร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) มากกว่า 225 ล้านเมตริกตันต่อปี มีการใช้ไฟฟ้า 191,000 กิกะวัตต์ต่อชั่วโมง (GWh) และใช้น้ำมากกว่า 847 ล้านแกลลอน ยิ่งถ้าบ้านไหนใช้น้ำร้อนซักผ้าด้วยละก็จะยิ่งผลิตคาร์บอนเพิ่มขึ้นจากการซักผ้าด้วยน้ำอุณหภูมิปกติอีก 1.59% เลยทีเดียว แม้ตัวเลขเหล่านี้จะมาจากอเมริกันชน แต่คนไทยอย่างเราก็ไม่ควรมองข้าม เพราะขั้นตอนการซักผ้าแทบจะคล้ายกันทั้งหมด เผลอๆ เหมือนกันทั้งโลกเลยด้วย ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการแยกผ้า โยนเสื้อผ้าลงถัง ไปจนถึงการใช้เครื่องอบผ้าก็ตาม ซึ่งขั้นตอนที่สร้างคาร์บอนมากสุด คือ ‘การอบ’ เพราะต้องอาศัยไฟฟ้าอย่างหนักเพื่อทำให้ผ้าแห้ง โดยคิดเป็น 5.8% ต่อการปล่อยคาร์บอนฯ ในการซักผ้าหนึ่งครั้ง เห็นว่าหลายบ้านเลือกใช้ ‘เครื่องอบผ้า’ แทนการแขวนบนราวตากผ้า โดยเฉพาะคนอเมริกันที่เรามักจะเห็นภาพห้องซักรีดใต้ดินแบบ 3 in 1 คือ ซัก อบ […]

Hugely แบรนด์ที่เปลี่ยนสายดับเพลิงเก่า ให้เป็นกระเป๋าที่ทิ้งร่องรอยความถึกทนเอาไว้

ชวนสัมผัสเบื้องหลังกระเป๋าสุดอึด ถึก ทน Hugely ที่นักออกแบบหยิบสายดับเพลิงเก่ามาแปลงร่างจนน่าใช้

VINNA เครื่องประดับสุดยูนีคที่เกิดจาก “ขยะ” ต้นองุ่นในไร่ไวน์หลังบ้าน

แนวคิด Fast Fashion หรือการผลิตสินค้าแฟชั่นด้วยต้นทุนที่ถูกที่สุด ผลิตให้ได้ปริมาณมากที่สุด และเร่งขายให้รวดเร็วที่สุด โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมนี้ มีกระแสต่อต้านมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะปัจจุบันอุตสาหกรรมแฟชั่นเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างมลพิษและทำลายโลกมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกเลยทีเดียว

‘ผึ้ง’ ก็เป็นดีไซน์เนอร์ได้ ! Beehive คอลเลกชันโคมไฟที่รังสรรค์โดยผึ้ง

เมื่อเราพูดถึง ‘ผึ้ง’ สิ่งแรกที่เราต้องนึกถึงคือ แมลงสีเหลืองสลับดำตัวเล็กๆ ที่มีหน้าที่ในการผลิตน้ำผึ้งสุดแสนอร่อยให้กับเรา โดยน้ำผึ้งเหล่านี้ล้วนได้มาจากดอกไม้ที่ผึ้งงานได้เก็บสะสมน้ำหวานไว้ในรัง แต่รู้หรือไม่ว่าผึ้งตัวเล็กๆ เหล่านี้ มีความสำคัญต่อระบบนิเวศน์และโลกของเรามากกว่าที่คิด

1 4 5 6 7 8 10

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.