ภารกิจ Zero Waste เริ่มต้นได้ที่บ้าน

ท่ามกลางชีวิตของเมืองหลวงที่เต็มไปด้วยผู้คน รถยนต์ และความวุ่นวายในแต่ละวัน ความเรียบง่ายจึงกลายมาเป็นกุญแจสำคัญในการใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ จนเกิดเป็นแนวคิด Minimalism ที่ผู้คนโหยหาความสงบและความเรียบง่ายในการใช้ชีวิต ด้วยการตัดสิ่งของที่ไม่จำเป็นออก เมื่อเรามีสิ่งของน้อยชิ้นลง ก็จะเกิดความปลอดโปร่งและเป็นระเบียบทั้งภายในบ้านและภายในจิตใจ แต่ปัจจุบันสิ่งที่คนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญ ไม่ใช่แค่เรื่องการเติมเต็มความสุขของตัวเอง แต่ยังรวมถึงการหันกลับมาใส่ใจธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะที่เป็นความรับผิดชอบของมนุษย์ทุกคน คงจะดีหากเราสามารถผสานวิถีชีวิตที่เรียบง่ายเข้ากับการดูแลสิ่งแวดล้อม เพื่อคืนประโยชน์ให้โลกใบนี้ได้ในเวลาเดียวกัน ในช่วงเวลาไม่กี่ปีมานี้เราต่างประสบกับภัยพิบัติต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นโลกร้อน น้ำท่วม ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดล้วนเกิดจากน้ำมือของมนุษย์ที่ทำร้ายโลกอย่างไม่เคยคิดถึงผลของการกระทำ ท่ามกลางภัยพิบัติดังกล่าวทำให้ผู้คนจำนวนมาก เริ่มหันมาให้ความสำคัญกับระบบนิเวศขนาดใหญ่ที่เรียกว่าโลก ในฐานะการเป็นบ้านของสรรพชีวิต แนวคิดการอยู่อาศัยที่เรียกว่า Eco-living จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในยุคปัจจุบัน แต่การจะลุกขึ้นมาทำอะไรเพื่อสิ่งแวดล้อมอาจไม่จำเป็นต้องทำอะไรให้ยิ่งใหญ่เกินตัว เพราะการเปลี่ยนแปลงเริ่มต้นได้จากสิ่งเล็กๆ ที่แทรกซึมอยู่ในการใช้ชีวิตของเรา สิ่งที่จะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนนั้น ประกอบไปด้วยคำว่า ‘Profit’ ‘Planet’ และ ‘People’ สามองค์ประกอบที่จะทำให้ชีวิตที่มีความสุขทั้งกับตัวเราเอง และสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปด้วยกันได้อย่างลงตัว จุดเริ่มต้นแห่งความสมดุลแรกคือ ‘Profit’ หรือกำไร ในที่นี้อาจจะไม่ได้หมายถึงกำไรทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว แต่หมายรวมถึงกำไรชีวิตจากการอยู่อาศัยได้ด้วยเช่นกัน หากจะให้พูดถึงบ้าน Como Bianca จากอารียา พรอพเพอร์ตี้ คงต้องยกให้ความสะดวกสบายด้วยทำเลโครงการที่อยู่ติด Mega Bangna และการออกแบบที่เรียบง่ายแต่มีดีไซน์ในสไตล์มินิมอล ภายนอกของตัวบ้านออกแบบมาอย่างใส่ใจในทุกรายละเอียด […]

โควิด-19 สาเหตุที่การปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ของไทยลดลง?

ในปี 2563 ไทยปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ อยู่ที่ 224.3 ล้านตัน CO2 ลดลงร้อยละ 10.5 เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากการใช้พลังงานทดแทนที่เพิ่มมากขึ้นตามนโยบายส่งเสริมพลังงานทดแทนของรัฐบาล รวมถึงปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19

อุณหภูมิโลกสูงขึ้นทุกปี หรือเราอยู่ในจุดที่ไม่มีทางย้อนกลับ?

ขณะที่โลกหมุนไป ความรุ่งเรืองของยุคอุตสาหกรรมกระจายออกไปทั่วโลก เพื่อตอบสนองความต้องการของประชากรที่พุ่งสูงขึ้น เป็นสาเหตุสำคัญที่อยู่เบื้องหลังภาวะโลกร้อน

Seaspiracy ไม่บอกอะไร เมื่อประมงทำร้ายทะเล แต่ถ้าหยุดกินปลาตามสารคดีก็เป็นหายนะของคนจน

บรรณาธิการบริหารแห่ง Urban Creature บอกทีมในเช้าวันประชุมกองบรรณาธิการว่า “ภายในปี 2048 มหาสมุทรอาจว่างเปล่า ไร้สิ่งมีชีวิต” หลังจากเมื่อคืนพี่แกใช้เวลาจดจ่อกับ Seaspiracy ภาพยนตร์สารคดีใน Netflix ที่ตีแผ่อุตสาหกรรมประมงซึ่งทำร้ายสิ่งมีชีวิตในทะเลไปมหาศาล ทั้งอวนจับปลาที่สร้างขยะและฆ่าสัตว์น้อยใหญ่มากกว่าพลาสติก ปัญหาการจับสัตว์น้ำพลอยได้ที่เน้นกวาดทุกสปีชีส์ในทะเลด้วยอวนขนาดใหญ่ที่คลุมโบสถ์ได้ทั้งหลัง แรงงานทาสที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย ฟาร์มสัตว์ทะเลที่เข้ามาแย่งพื้นที่ป่าโกงกางซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญบนโลกจนเกิด Climate Change รวมไปถึงการชี้ให้ทุกคนหยุดกินปลาเพื่อจบทุกปัญหา หลากเสียงในห้องประชุมเริ่ม “เชี่ย แล้วต้องทำไงวะ” “กูดูจบแล้วอยากเลิกกินปลา” “โหดร้ายว่ะ” “คืนนี้จะกลับไปดู” ขึ้นมาจนกลายเป็นเสียงนอยซ์ เย็นวันนั้น เวลา 1 ชั่วโมง 30 นาที ฉันใช้ไปกับการดู Seaspiracy พร้อมความรู้สึกหดหู่ที่เกิดขึ้น แต่เดี๋ยวก่อน…หลังจากที่สติแตกไปครู่หนึ่ง อยู่ดีๆ ก็คิดขึ้นว่า “เคยเรียนข่าวมา หาข้อมูลเพิ่มเติมและอัปเดตมันหน่อยเป็นไง” อวนสร้างความเสียหายต่อทะเลมากแค่ไหน การลดใช้พลาสติกไม่จำเป็นเลยหรือเปล่า การจับสัตว์น้ำพลอยได้ต้องเร่งแก้ไขก่อนที่มันจะสูญพันธุ์หรือไม่ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ทะเลส่งผลเสียอย่างไร ตกลงแรงงานทาสในไทยมีอยู่ไหม และการเลิกกินปลาเป็นคำตอบที่ดีจริงหรือในวันที่ชาวประมงพื้นบ้านยังคงเลี้ยงชีพด้วยการหาปลา ทุกคำถาม มีคำตอบ ขอเวลาไม่นาน เพ่งสายตาให้มั่น ไล่อ่านทุกบรรทัด ไปเจาะข้อมูลเอกสารที่สารคดีไม่ได้บอก และความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญด้านประมงในไทยกัน ลุย […]

เราสูญเสียป่ากันไปเท่าไหร่กับไฟป่าภาคเหนือ

ต้นปีที่ผ่านมา สถานการณ์ไฟป่าในภาคเหนือกินระยะเวลาหลายเดือน เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดหมอกควันและฝุ่น PM 2.5 จนถึงขั้นวิกฤตส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ กระทั่งเมื่อต้นเดือนเมษายน มีฝนโปรยปรายลงมาทำให้ไม่พบจุดความร้อนแล้วและมีค่าฝุ่นดีขึ้นในช่วงนี้

ออกแบบสวนในเมืองสไตล์ ‘นักพฤกษศาสตร์’ ให้ต้นไม้นักฟอกอากาศมีบ้านที่ดีหลังเดียวกับคน

ชวนฟังความในใจของ ‘ต้นไม้’ สิ่งมีชีวิตที่พูดไม่ได้ว่ารู้สึกอย่างไรกับการยืนต้นใช้ชีวิตในสภาพแวดล้อมทุกวันนี้ รวมไปถึงมุมมองการออกแบบพื้นที่อย่างไรให้ต้นไม้อยู่ร่วมกับคนและเมืองอย่างยั่งยืน

Our Land เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าเอกชนแห่งกาญจนบุรีที่มนุษย์และสัตว์อยู่ร่วมกันได้

พื้นที่อนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า Our Land แห่งจังหวัดกาญจนบุรี เพื่อเปลี่ยนมุมมองที่ว่าคนกับสัตว์ป่าอยู่ร่วมกันไม่ได้ เพื่อให้เราเข้าใจและรู้สึกว่าธรรมชาติคือบ้านอีกหลังหนึ่งของเรา และสัตว์ป่าก็เป็นสิ่งมีชีวิตที่สร้างคุณค่าต่อโลกใบนี้เช่นกัน

10 ธุรกิจดังที่ผันตัวมาเป็นผู้ฟื้นฟูโลก

ในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม หลายครั้งที่เรามักโฟกัสกับนโยบายระดับประเทศ แต่ในขณะเดียวกันยังมีคนอีกมากที่ลุกขึ้นมามีส่วนร่วมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่นองค์กรหรือแบรนด์ต่างๆ ที่เริ่มออกมาแสดงจุดยืนและเข้าร่วมขบวนรักษ์โลก

KAANI ครีมกันแดด Reef-safe ไทยกับมาตรฐานสารเคมีเข้มงวดสูงสุดเท่าประเทศปาเลา

ภาพหาดทรายสีขาวนวลทอดยาวตลอดแนวชายหาด เหล่าเกลียวคลื่นที่ม้วนตัวซัดเข้าฝั่งเป็นระยะ หรือผืนน้ำสีฟ้าครามที่เปล่งแสงระยิบระยับ พร้อมกับสายลมอ่อนๆ ที่พัดเส้นผมให้ปลิวไสว ตามด้วยไออุ่นจากแสงแดด ล้วนชวนให้หลงเสน่ห์ของทะเล จนอยากฉุดร่างกายให้ลุกขึ้นไปเติมความสดชื่นอย่างเต็มที่  เชื่อว่าความงามเหนือผิวน้ำที่เรามองเห็น คงเทียบไม่ได้กับการเห็นหมู่มวลปลาเล็ก-ใหญ่ และสีสันอันสดใสของปะการังที่ขึ้นเรียงรายตามโขดหินในโลกใต้ท้องทะเลอย่างใกล้ชิด แต่ความจริงแล้ว สีสันเหล่านั้นถูกกลืนหายจนกลายเป็น ‘สีขาว’ ไม่ว่าจะเป็นภาวะโลกร้อน ความเค็มของน้ำทะเล ตะกอนจากน้ำจืด ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจาก ‘ครีมกันแดด’ บนร่างกายมนุษย์ #Saveปะการัง ด้วยพลังของเพื่อนซี้ ในวันที่การบีบครีมกันแดดเพียง 1 ข้อนิ้ว สะเทือนถึงโลกใต้ท้องทะเล เพราะมีส่วนทำให้เกิดปะการังฟอกขาว สามเพื่อนซี้ที่รักการดำน้ำเป็นชีวิตจิตใจ จึงผุดไอเดียแบรนด์ ‘KAANI (คานิ)’ ครีมกันแดดรักษ์ปะการัง หรือที่เรียกว่า ‘Reef-safe’ คือ ไม่มีส่วนผสมที่เป็นอันตรายต่อแนวปะการัง ด้วยความตั้งใจเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยดูแลท้องทะเล “ตัวผมดำน้ำมาตั้งแต่ยังเล็กที่หินแดงหินม่วงในจังหวัดภูเก็ต ตอนนั้นผมเห็นสีแดงและสีม่วงบนปะการังละลานตาเต็มไปหมด แต่เมื่อเจ็ดปีที่แล้ว ผมกลับไปดำน้ำอีกครั้ง ผมเห็นแค่โขดหินเท่านั้นเอง” จีน-พชร สนิทวงศ์ ณ อยุธยา หนึ่งในผู้ก่อตั้งแบรนด์ KAANI (คานิ) เล่าถึงความทรงจำวัยเด็กที่เขาได้ชื่นชมความสวยงามของปะการังที่ปัจจุบันคล้ายกับตุ๊กตาปูนปลาสเตอร์สีขาวโพลน ซึ่งก่อนหน้านั้นตัวเขาเองใช้ครีมกันแดดสูตร Reef-safe จากต่างประเทศ แต่กลับพบว่าไม่ตอบโจทย์ ด้วยสภาพอากาศที่ไม่เหมือนกัน […]

กำแพงกันคลื่นไร้เงา EIA ทางออกที่ไม่ยั่งยืน ต้นเหตุหาดแหว่งและชายฝั่งขาดสมดุลธรรมชาติ

ฉันเป็นเด็กในเมืองที่ใช้ชีวิตท่ามกลางป่าคอนกรีต กว่าจะแล่นรถออกไปชายทะเลก็ต้องรอโอกาสเหมาะสม เช่น พักร้อน หรือวันหยุดเทศกาล มันเลยทำให้ฉันไม่ได้คลุกคลีกับหาดทรายและผืนทะเลบ่อยนัก จนกระทั่งฉันสะดุดประเด็น #กำแพงกันคลื่นต้องทำ EIA บนโลกออนไลน์ ที่ต้องคลิกเข้าไปดูความเป็นไปของชายหาด ฉันจึงพบว่าผลลัพธ์ของมันสร้าง ‘รอยเว้า’ และ ‘กลืนกินชายหาด’ อย่างไม่น่าเชื่อ การกัดเซาะที่มาของกำแพงกันคลื่น ฉันคว้าความสงสัยที่มีต่อสายตรงหา ผศ. ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสารคาม อาจารย์เล่าให้ฟังว่า ‘การกัดเซาะชายฝั่ง’ คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงของชายฝั่งที่เกิดขึ้นตลอดเวลาจาก ‘คลื่น’ หรือ ‘ลม’ โดยพัดตะกอนจากที่หนึ่งไปทับถมอีกที่หนึ่ง ทำให้แนวชายฝั่งเดิมเปลี่ยนแปลงไป ข้อมูลบนเว็บไซต์ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ในการแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง แบ่งออกเป็น 3 แนวทาง ดังนี้ ส่วนใหญ่ในประเทศไทยนิยมใช้วิศวกรรมทางชายฝั่งเชิงโครงสร้างแบบ ‘กำแพงกันคลื่น’ สร้างติดชายฝั่ง ทำหน้าที่ป้องกันการกัดเซาะของดินจากคลื่นและกระแสน้ำ เพื่อไม่ให้พื้นที่หลังกำแพงเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเชื่อว่าสิ่งก่อสร้างเหล่านี้จะช่วย ‘ชะลอ’ หรือ ‘ลด’ การกัดเซาะชายฝั่งได้ดีกว่าวิธีอื่นๆ อย่างไรก็ตาม แม้กำแพงกันคลื่นจะช่วยแก้ปัญหาได้จริง แต่กลับไม่ครอบคลุมพื้นที่ใกล้เคียง ตามปกติแล้วคลื่นจะซัดชายฝั่งเข้า-ออก ทำให้ทรายไหลไปตามคลื่นและกระแสน้ำ โดยมีหาดทรายเป็นตัวชะลอความแรงของคลื่น ซึ่งหากสร้างกำแพงกันคลื่นขึ้นมา […]

ห้องเรียนสอนให้ ‘คนอยู่ร่วมกับน้ำ’ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติจัดการน้ำชุมชน ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช

ล้อรถหมุนไปท่ามกลางต้นหนาวเคล้าฝน เราเดินทางไปชุมชนทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อไปพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติจัดการน้ำฯ ชุมชนทุ่งสง สถานที่ที่ทำให้เราเข้าใจในประโยคที่ว่า ‘สายน้ำหล่อเลี้ยงชีวิต’

‘เสียงจากลำน้ำโขง’ ชีวิตเหือดหายบนสายน้ำที่ไม่อาจหวนคืน

“ผืนดินแตกระแหง ดินแดนแห่งความแห้งแล้ง” คือวาทกรรมที่สร้างภาพจำให้แดนอีสาน ในความจริงอีสานเคยอุดมสมบูรณ์กว่านี้ ชาวบ้านสามารถทำประมงน้ำจืด ทำเกษตรริมสองฝั่งแม่น้ำ แต่ 20 ปีให้หลัง ‘แม่น้ำโขง’ เส้นเลือดใหญ่ที่คอยหล่อเลี้ยงชีวิต กลับเผชิญชะตากรรมจากผลกระทบของการสร้างเขื่อน ระดับน้ำที่ผันผวนและปัญหาอื่นๆ นับไม่ถ้วน ยังคงเกิดขึ้นต่อเนื่องและนับวันยิ่งวิกฤต ส่งผลต่อระบบนิเวศ รวมถึงวิถีชีวิตของคนริมโขงที่เปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ

1 3 4 5 6 7 10

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.