Stooping NYC : IG ชี้เป้าเฟอร์นิเจอร์ชิ้นเด็ดแสนเก๋ถูกทิ้งทั่ว NYC ให้เจอบ้านใหม่

ถ้าอยากได้เฟอร์นิเจอร์แต่งบ้านเก๋ๆ สักชิ้นคุณจะเริ่มหาจากที่ไหน?  เราเชื่อว่า Journey ในการหาของทุกคนคงไม่ต่างกันมากนัก เริ่มจากค้นหาในเว็บไซต์ของแต่งบ้าน ตามหาร้านขายของแต่งบ้านวินเทจใน Instagram ไปเดินตามหาที่จตุจักร โชว์รูมเฟอร์นิเจอร์นำเข้า โกดังญี่ปุ่นมือสอง หรือร้านเฟอร์นิเจอร์วินเทจ ซึ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นต้องใช้เงินทั้งสิ้น แต่ถ้าคุณอาศัยอยู่ที่นิวยอร์ก โอกาสที่คุณจะได้เฟอร์นิเจอร์สวยๆ หรือของใช้คุณภาพดีไปใช้ฟรีๆ มีอยู่จริง ถ้าคุณรู้จักคำว่า ‘Stooping’  ‘Stooping’ คือการอุปการะ (Adopt) สิ่งของที่คนแปลกหน้าวางทิ้งไว้ไปใช้ต่อ โดยของเหล่านี้มักจะวางไว้หน้าบ้าน บนทางเท้า ข้างถังขยะ แต่โดยส่วนใหญ่มักจะติดป้ายบอกไว้เพื่อให้คนที่เดินผ่านไปมารู้ว่าสิ่งนี้สามารถหยิบไปใช้ต่อฟรีๆ ได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาต และไม่ต้องบอกใคร ในบางรัฐจะทิ้งไว้ตรงจุดที่ทิ้งขยะ อยากได้ชิ้นไหนก็ไปช้อปปิงกันได้เลย ส่วนคนที่ไปตามหาของเหล่านี้ไปใช้จะเรียกว่า ‘Stooper’ ซึ่งต้องเป็นคนที่มีหูตาไว หาของเก่ง และเลือกของเป็น จึงจะได้ของดีๆ มาใช้ บางคนตาดีมากจนได้เฟอร์นิเจอร์ชิ้นใหญ่ๆ ติดมือกลับไป โซฟา ตู้ โต๊ะ เตียง ในอะพาร์ตเมนต์แทบจะไม่ต้องซื้อเลยสักชิ้น  วัฒนธรรมการวางเฟอร์นิเจอร์ หรือของเหลือใช้ที่ยังสภาพดีๆ ไว้บนทางเท้าเกิดขึ้นในนิวยอร์กมาหลายสิบปีแล้ว (มองเผินๆ เหมือนกำลังเตรียมขนของย้ายบ้าน เพราะของที่ถูกทิ้งอยู่ในสภาพดีมาก) แต่จริงๆ แล้วคือของเหลือทิ้งสภาพดีทั้งนั้น การ Stooping […]

ปลูกป่าไม่ทันใจ Climeworks เลยใช้เทคโนโลยีดักจับ CO2 ในอากาศแทนต้นไม้ 4 แสนต้นซะเลย

คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือ (IPCC) ออกรายงานเตือนว่า อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกจะร้อนขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส ภายในปี 2040 ตัวเลขที่ฟังดูอาจจะเหมือนน้อย แต่จะทำให้ประชากรหลายร้อยล้านคนทั่วโลกเผชิญความเสี่ยงจากปัญหาน้ำท่วม ภัยแล้ง ไฟป่า รวมไปถึงวิกฤติการณ์ขาดแคลนอาหาร ดังนั้นทุกหน่วยงานทั่วโลกจึงต้องเร่งดำเนินการช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้  เราจึงอยากพาไปรู้จักกับ ‘Climeworks’ บริษัทที่มีเป้าหมายเป็นการรักษาสมดุลของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยสองผู้ก่อตั้งผู้หลงรักการเล่นสกีที่ตระหนักถึงปัญหาโลกร้อนขณะกำลังไถลตัวอยู่บนพื้นหิมะ จนตัดสินใจร่วมกันสร้างทางออกให้ปัญหานี้ พัฒนาเทคโนโลยีจนกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศได้โดยตรงแบบที่ยังไม่มีใครทำได้ และทำให้ไม่ว่าใครก็สามารถร่วมภารกิจกู้โลกนี้ได้ในราคาเริ่มต้นเพียง 1 ยูโรต่อเดือนผ่านระบบสมาชิก ไปจนถึงการเตรียมสร้างโรงงานดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ใหญ่ที่สุดในโลก ลดคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศได้ถึง 4,000 ตันต่อปี หรือเทียบเท่ากับความสามารถในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ของต้นไม้ 400,000 ต้น  โลกซวยด้วยมือเรา หลักการวิทยาศาสตร์เบื้องต้นคือ คนและสัตว์หายใจเอาออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายและปล่อยออกมาเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ส่วนพืชใช้คาร์บอนไดออกไซด์ในการสังเคราะห์แสงและเปลี่ยนออกมาเป็นออกซิเจน กระบวนการนี้คือวัฏจักรที่ทำให้สิ่งมีชีวิตบนโลกอยู่ร่วมกันได้ราวหยินหยางที่สมดุลกัน นอกจากนั้นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ยังทำหน้าที่เป็นตัวควบคุมอุณหภูมิของโลก เพื่อกักเก็บความร้อนจากดวงอาทิตย์ ไม่ให้อุณหภูมิของโลกเย็นเกินกว่าที่สิ่งมีชีวิตจะอาศัยอยู่ได้ แต่ปัจจุบันความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศโลก เพิ่มสูงขึ้นกว่า 50% เมื่อเทียบกับโลกในยุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม และสูงที่สุดในรอบ 8 แสนปี จากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง อาทิ โรงงานอุตสาหกรรม โรงไฟฟ้า การเผาไหม้จากระบบขนส่งมวลชน จนถึงการเพาะปลูกขนาดใหญ่ ทั้งหมดล้วนเป็นฝีมือมนุษย์อย่างไม่ต้องสงสัย  ทำให้ความร้อนจากดวงอาทิตย์ถูกกักเก็บไว้มากเกินไป โลกจึงร้อนขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้ธารน้ำแข็งขั้วโลกละลายอย่างรวดเร็ว […]

จากขยะสู่ขุมทรัพย์ เมื่อกากโกโก้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้าสำคัญของไอวอรีโคสต์

โกโก้หนึ่งในผลไม้ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก กำลังเจอบทบาทใหม่นอกจากมอบรสชาติสุดล้ำลึกเป็นของขวัญแก่มวลมนุษย์ เพราะที่ไอวอรีโคสต์ ประเทศผลิตโกโก้รายใหญ่ที่สุดของโลก เป็นอุตสาหกรรมใหญ่ซึ่งหล่อเลี้ยงชีวิตประชากรที่ทำงานด้านนี้กว่า 6 ล้านคน หลังจากที่เติมพลังงานให้ผู้คนทั่วโลกมาอย่างยาวนาน โกโก้ กำลังจะเป็นต้นกำเนิดพลังงานที่จะขับเคลื่อนแดนงาช้างแห่งนี้  ไม่เหมือนกับข้าว ส้ม หรือแอปเปิล บางคนอาจจะนึกภาพต้นหรือโกโก้ไม่ออก ผู้บริโภคคุ้นเคยกับโกโก้ในฐานะเครื่องดื่ม ขนม ไอศกรีมรสโปรด ในฐานะผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปมาแล้วและวางขายอยู่บนชั้นวางที่ซูเปอร์มาร์เก็ต จากผลสีเหลืองขนาดประมาณฝ่ามือมีแต่ ‘เมล็ดโกโก้’ ที่ถูกมองว่าเป็นทอง ส่วนที่เหลือคือตะกอนดินที่ทิ้งไปได้ในทันที ทำให้ปริมาณกากโกโก้เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล  แต่ของเหลือทิ้งเหล่านั้นกำลังจะเปลี่ยนสถานะเป็นขุมทรัพย์ทางด้านพลังงานหมุนเวียนของไอวอรีโคสต์ หลังจากประสบผลสำเร็จในโครงการนำร่อง ไอวอรีโคสต์ จึงเริ่มเดินเครื่องในโรงงานชีวมวลที่ผลิตไฟฟ้าจากกากของโกโก้ ที่ตั้งอยู่ใน Divo นครเอกของการผลิตโกโก้ เป็นโรงไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในแอฟริกาตะวันตกซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา คาดว่าจะแล้วเสร็จในอีก 2 ปีข้างหน้า  กากโกโก้เหล่านี้จะถูกนำไปเผาเพื่อผลิตไฟฟ้าให้กับกังหันลม ในลักษณะที่คล้ายกับเชื้อเพลิงฟอสซิลทั่วไป โดยโรงงานเพียงแห่งเดียวจะผลิตกำลังไฟได้เทียบเท่ากับความต้องการใช้งานของ 1.7 ล้านคน ผลิตไฟฟ้าได้เป็นจำนวน 46 – 70 เมกะวัตต์ต่อปี และผลการศึกษายังแสดงให้เห็นว่าสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 4.5 ล้านตัน เมื่อเทียบการผลิตแบบดั้งเดิม  เพิ่มพลังไฟฟ้า ลดก๊าซเรือนกระจก  ไม่ต่างจากนานาประเทศทั่วโลกที่มีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แม้จะเป็นประเทศที่ใช้พลังงานฟอสซิลเป็นหลัก ไอวอรีโคสต์หวังว่าพวกเขาจะเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียนเป็น 42 เปอร์เซ็นต์ […]

MUD Jeans แบรนด์ที่รีไซเคิลเดนิมเป็นตัวใหม่ ให้เช่ายีนส์รายเดือน เพื่อลดขยะ Fast Fashion

แบรนด์ยีนส์ที่รีไซเคิลเดนิมให้เป็นตัวใหม่ และมีระบบให้เช่ายีนส์รายเดือน เพื่อลดขยะ Fast Fashion

น้ำมูกทะเล อุณหภูมิทะเลสูงสุด Gulf Stream อ่อนกำลังสุดในรอบพันปี ทะเลกำลังบอกอะไร

ฝูงปลาแหวกว่ายบนผืนน้ำ สัตว์ทะเลน้อยใหญ่หลากสายพันธุ์ใช้ชีวิตตามวัฏจักรของตัวเอง นั่นคือสิ่งที่ควรดำเนินไปอย่างเรียบง่าย ทว่าความเป็นจริงกลับโหดร้าย เพราะพวกมันถูกแทรกแซงจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ มลพิษทางน้ำ และพฤติกรรมของมนุษย์บางกลุ่ม “น้ำมูกทะเลทำให้หายใจไม่ออก เหมือนขาดออกซิเจน” “ปะการังฟอกขาวจนรู้สึกเหมือนกำลังจะตาย” “กลืนพลาสติก แทนที่จะอิ่ม แต่กลับทรมาน” “น้ำทะเลเปลี่ยนสี ไม่ได้สวยเหมือนฝัน แต่แลกมากับชีวิตโลมา” “อวนผืนยักษ์ ใครเอามาวางไม่รู้ แต่มันกำลังทำร้ายระบบนิเวศของเรา” มิอาจทราบได้ว่าพวกมันพูดภาษาเดียวกันใต้น้ำ เกี่ยวกับหนทางเอาตัวรอดกันวันต่อวันบ้างไหม แต่คงมีสัตว์ทะเลสักตัวเป็นแน่ที่ภาวนาให้ตัวเองพูดภาษามนุษย์เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรม ไม่รัก ก็อย่าทำลาย ปี 2021 ทะเลยังคงเจ็บปวด 01 น้ำมูกทะเล น้ำมูกที่ไหลจากโพรงจมูกผู้คน คงเทียบสเกลความเยอะ ความหยึย ความเสียหาย และความอันตรายต่อร่างกาย กับท้องทะเลไม่ได้ เพราะผืนน้ำและสัตว์ทะเล ไม่มียาลดน้ำมูกให้บรรเทาอาการภายในไม่กี่ชั่วโมงเหมือนคน ตุรกีกำลังเผชิญน้ำมูกทะเล ที่ปกคลุมทะเลมาร์มาราไปจนถึงทางใต้ของอิสตันบูล น่าเศร้าที่สุดคือ ตายทั้งสัตว์ทะเล และอาชีพชาวประมง น้ำมูกทะเล หรือเมือกทะเล คือตะกอนสีเขียวที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มีลักษณะเป็นสารเมือกหนานิ่มๆ คล้ายน้ำมูก ซึ่งเกิดจากการที่สาหร่ายทะเลได้รับสารอาหารมากเกินไป เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนขึ้นจนส่งผลให้อุณหภูมิในทะเลขึ้นสูง และมลพิษทางน้ำจากกองขยะ ของเสียในทะเลที่ไม่ผ่านการบำบัด และน้ำเน่า ส่งผลให้น้ำมูกเหล่านี้เต็มไปด้วยจุลินทรีย์ที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตที่พร้อมดูดออกซิเจนในน้ำจนพวกมันหายใจไม่ออก และตาย Meric […]

ชั้นบรรยากาศบาง โอโซนลด ต้นเหตุอากาศร้อนจนปาดเหงื่อ

ชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์ แหล่งโอโซนที่ดูดซับแสงอาทิตย์เยอะที่สุดกำลังบางลง เพราะก๊าซเรือนกระจก ส่งผลให้อากาศร้อนจนปาดเหงื่อ

The Guidebook of Marine Debris ไกด์บุ๊กชวนสำรวจขยะทะเลที่ได้ไอเดียจากการ์ตูน Pokémon

The Guidebook of Marine Debris โปรเจกต์จากไต้หวัน รวบรวมขยะทะเลมาถ่ายภาพ 360 องศา ลงเว็บในรูปแบบไกด์บุ๊ก ทั้งสนุกและสร้างความตระหนักเรื่องมลพิษทางทะเลไปพร้อมกัน

ประเทศไทยวันนี้ : งบสิ่งแวดล้อมต่ำเตี้ย กองขยะสูงลิ่ว

Thailand หรือ ‘Trash’ land โควิด-19 ระลอก 3 ครานี้ อะไรที่ยังไม่เห็น ก็จะได้เห็น เช่น ขยะล้นประเทศ แต่รัฐบาลชุด พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา หักงบประมาณด้านสิ่งแวดล้อมมากที่สุดในรอบ 5 ปี (อิหยังหว่า) ยอมรับว่าหลังจากเปิดร่างงบประมาณประจำปี 2565 ในวงเงิน 3.1 ล้านล้านบาทของรัฐบาล ที่ผลการโหวตลงมติในวาระที่ 1 ขั้นรับหลักการ ‘ผ่านวาระ’ แล้ว เรารู้สึกตงิดใจอยู่พักหนึ่ง เพราะไม่ว่าจะคิดอย่างไรก็ดูไม่สมเหตุสมผลเอาซะเลยที่งบประมาณด้านสิ่งแวดล้อมปี 2565 จะถูกหักจาก 16,143 ล้านบาท (ปี 2564) เหลือ 8,534 ล้านบาท หรือลดลงถึง 47.14 เปอร์เซ็นต์ เช่นเดียวกับงบด้านอื่นๆ ที่รัฐบาลควรให้ความสำคัญมากกว่าปกติในช่วงวิกฤตโรคระบาดก็ถูกลดลงเช่นกัน แม้รัฐบาลพร่ำบอกประชาชนเสมอว่า ‘การ์ดอย่าตก’ และโยนความผิดไปให้ประชาชนที่ต้องออกไปทำมาหากินเมื่อติดโควิด-19 (แต่ไม่มีมาตรการเยียวยาครอบคลุมทุกคน) หลายๆ บริษัทจึงกำหนดนโยบายให้พนักงานทำงานที่บ้านในระลอก 3 แน่นอนวัฏจักรชีวิตติดเดลิเวอรี่ของคนเมืองจึงวนอยู่แค่เข้าแอปฯ สั่งของ […]

KEEEN ผลิตภัณฑ์ที่ขจัดของเสียจากโรงงานเหมือนเพลง Heavy Metal แต่ถนอมสิ่งแวดล้อมเหมือนเพลง Jazz

ใครจะไปคิดว่างานอดิเรกของนักศึกษาคณะเทคนิคการแพทย์ หรือ ดร.วสันต์ อริยพุทธรัตน์ ที่ชื่นชอบการส่องจุลินทรีย์ในห้องแล็บวันนั้นจะกลายเป็นธุรกิจระดับโลกได้ เมื่อจู่ๆ วันหนึ่งเขาเล็งเห็นประโยชน์ของเหล่าจุลินทรีย์ว่าย่อยสลายน้ำมันและไขมันได้ จึงหันมาเรียนต่อด้านสิ่งแวดล้อม นำเอา Biotechnology หรือเทคโนโลยีชีวภาพ มาใช้ในการขจัดของเสียในภาคอุตสาหกรรม โดยวิธีการบำบัด ขจัด และเยียวยา มีสรรพคุณที่สำคัญคือไม่ก่อให้เกิดสารตกค้างวนกลับไปทำลายสิ่งแวดล้อม และช่วยลดค่าใช้จ่ายแฝงจากสิ่งแวดล้อมที่โรงงานอุตสาหกรรมต้องจ่าย นอกจากผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรม KEEEN ยังต่อยอดออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในครัวเรือน เพื่อสร้างมิติการทำความสะอาดบ้านรูปแบบใหม่นอกเหนือจากการใช้สารเคมีกรดด่าง ให้การรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องใกล้ตัวมากขึ้น “ข่าวการนำเอาจุลินทรีย์มาใช้ในเหตุการณ์การพบน้ำมันรั่วไหลลงทะเลและปนเปื้อนบริเวณชายหาดที่ต่างประเทศ ทำให้เราแปลกใจมาก เพราะเราส่องดูจุลินทรีย์อยู่ทุกวัน ไม่ได้เอะใจเลยว่ามันกินคราบน้ำมันได้ กินไขมันได้ เรารู้สึกตาลุกวาวและบ้าคลั่งไปกับจุลินทรีย์เหล่านี้มากๆ จนตัดสินใจเรียนต่อด้านสิ่งแวดล้อมในเวลาต่อมา” จากเหตุการณ์นี้ทำให้ ดร.วสันต์ ค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมจนไปประทับใจงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้จุลินทรีย์ย่อยน้ำมันปิโตรเลียม ถึงขั้นตัดสินใจเรียนปริญญาโทต่อทางด้านสิ่งแวดล้อมสาขา Industrial Ecology ที่มหาวิทยาลัยมหิดล และลงลึกกับวิทยานิพนธ์ในหัวข้อ ‘การประยุกต์ใช้จุลินทรีย์ในเชิงพาณิชย์’ ก่อนนำไปต่อยอดโดยหยิบงานวิจัยชิ้นนี้ไปศึกษาร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เพื่อเป็นการพิสูจน์ให้โลกรู้ว่าประเทศไทยก็ทำได้ โดยไม่จำเป็นต้องนำเข้าหัวเชื้อจากต่างประเทศอีกต่อไป เมื่อโรงงานอุตสาหกรรมบรรเลงบทเพลง Heavy Metal กับสิ่งแวดล้อม ประเทศไทยเริ่มต้นจากการเป็นประเทศที่ทำการเกษตรเป็นหลัก และค่อยๆ พัฒนามาเป็นประเทศอุตสาหกรรม จนเกิดเป็นนิคมอุตสาหกรรมกระจายอยู่ทั่วประเทศ อาทิ นิคมยานยนต์ ปิโตรเคมี สิ่งเหล่านี้ล้วนสำคัญต่อฐานเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศที่จะเติบโตไปในอนาคต […]

‘สวีเดน’ ตัดต้นไม้เยอะยังไง ให้เป็นตัวท็อปด้านสิ่งแวดล้อม

วันที่ได้รับโจทย์จากกองบรรณาธิการ Urban Creature ให้ตามหาคำตอบว่า ‘ประเทศไหนตัดต้นไม้เยอะ แต่ยั่งยืนที่สุด’ ไม่ทันได้กดเสิร์ชกูเกิล ก็ใช้ความรู้ (เท่าที่มี) ตัดสินไปแล้วว่า ‘ไม่มี’  แต่เอาเข้าจริงพอนั่งค้นคว้าหามรุ่งหามค่ำ สารพัดตัวเลขและข้อมูลถาโถมจนระบบปฏิบัติการสมองเกือบ Error ก็พบข้อมูลที่น่าสนใจจนอยากค้นต่อ  “สวีเดนเป็นเจ้าแห่งการส่งออกไม้เป็นอันดับ 3 ของโลก”  แต่สวีเดนก็เป็นประเทศที่สิ่งแวดล้อมดีจนติดท็อปของโลกเหมือนกัน สรุปแล้วรักษ์โลกจริงหรือเปล่าวะ  เพราะจำได้ว่าสมัยเรียนหนังสือคุณครูสอนว่าอย่าตัดต้นไม้ทำลายป่า เพราะสัตว์ป่าจะไร้ที่อยู่อาศัย ทำลายความสมบูรณ์ของธรรมชาติ และส่งผลต่อการเกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก ซึ่งปัญหาที่ตามมาอาจใช้เวลาแก้มากกว่าการปลูกต้นไม้ขึ้นมาใหม่ จนเข้าใจว่า ‘คน’ และ ‘ป่าไม้’ ต้องแยกขาดออกจากกันเพื่ออนุรักษ์ป่าไม้ไว้ให้ธรรมชาติยังคงอยู่แบบเดิม แล้วทำไมสวีเดนถึงยิ่งตัดต้นไม้เท่าไหร่ ยิ่งกอดตำแหน่งตัวท็อปด้านสิ่งแวดล้อมเอาไว้ ตัดต้นไม้ ≠ ทำลายป่า เสมอไป ก่อนไปดูแนวคิดการสร้างป่าของสวีเดน เราขอเสนอความน่าสนใจเล็กๆ ของประเทศสวีเดนให้ฟัง นั่นคือ การใช้อุตสาหกรรมป่าไม้เป็นเศรษฐกิจหลักของประเทศ คิดเป็น 3 เปอร์เซ็นต์ของ GDP ทั้งสร้างงานให้กับประชากรในประเทศ และสร้างเม็ดเงินจำนวนมหาศาลจากการส่งออก แต่ลองค้นต่อไปอีกสักนิด เราพบว่าสวีเดนมีพื้นที่ประเทศทั้งหมด 40.8 ล้านเฮกตาร์ แต่มีพื้นที่ป่าไม้ครอบคลุมมากถึง 70 เปอร์เซ็นต์ และมีต้นไม้ประมาณ […]

ขุดคริปโตใช้ ‘ไฟฟ้า’ มากกว่าเนเธอร์แลนด์ทั้งประเทศ

นอกจากข่าวสารอัปเดตเรื่องโควิด-19 นาทีนี้ต้องยกให้กระแสการลงทุนในคริปโตหรือสกุลเงินดิจิทัลที่มาแรงแซงขวา ไม่ว่าจะหันไปทางไหนก็ได้ยินศัพท์แปลกๆ ทั้ง “ตกรถ” “ติดดอย” “Moon” หรือ “HODL” เต็มไปหมด

ภารกิจ Zero Waste เริ่มต้นได้ที่บ้าน

ท่ามกลางชีวิตของเมืองหลวงที่เต็มไปด้วยผู้คน รถยนต์ และความวุ่นวายในแต่ละวัน ความเรียบง่ายจึงกลายมาเป็นกุญแจสำคัญในการใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ จนเกิดเป็นแนวคิด Minimalism ที่ผู้คนโหยหาความสงบและความเรียบง่ายในการใช้ชีวิต ด้วยการตัดสิ่งของที่ไม่จำเป็นออก เมื่อเรามีสิ่งของน้อยชิ้นลง ก็จะเกิดความปลอดโปร่งและเป็นระเบียบทั้งภายในบ้านและภายในจิตใจ แต่ปัจจุบันสิ่งที่คนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญ ไม่ใช่แค่เรื่องการเติมเต็มความสุขของตัวเอง แต่ยังรวมถึงการหันกลับมาใส่ใจธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะที่เป็นความรับผิดชอบของมนุษย์ทุกคน คงจะดีหากเราสามารถผสานวิถีชีวิตที่เรียบง่ายเข้ากับการดูแลสิ่งแวดล้อม เพื่อคืนประโยชน์ให้โลกใบนี้ได้ในเวลาเดียวกัน ในช่วงเวลาไม่กี่ปีมานี้เราต่างประสบกับภัยพิบัติต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นโลกร้อน น้ำท่วม ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดล้วนเกิดจากน้ำมือของมนุษย์ที่ทำร้ายโลกอย่างไม่เคยคิดถึงผลของการกระทำ ท่ามกลางภัยพิบัติดังกล่าวทำให้ผู้คนจำนวนมาก เริ่มหันมาให้ความสำคัญกับระบบนิเวศขนาดใหญ่ที่เรียกว่าโลก ในฐานะการเป็นบ้านของสรรพชีวิต แนวคิดการอยู่อาศัยที่เรียกว่า Eco-living จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในยุคปัจจุบัน แต่การจะลุกขึ้นมาทำอะไรเพื่อสิ่งแวดล้อมอาจไม่จำเป็นต้องทำอะไรให้ยิ่งใหญ่เกินตัว เพราะการเปลี่ยนแปลงเริ่มต้นได้จากสิ่งเล็กๆ ที่แทรกซึมอยู่ในการใช้ชีวิตของเรา สิ่งที่จะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนนั้น ประกอบไปด้วยคำว่า ‘Profit’ ‘Planet’ และ ‘People’ สามองค์ประกอบที่จะทำให้ชีวิตที่มีความสุขทั้งกับตัวเราเอง และสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปด้วยกันได้อย่างลงตัว จุดเริ่มต้นแห่งความสมดุลแรกคือ ‘Profit’ หรือกำไร ในที่นี้อาจจะไม่ได้หมายถึงกำไรทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว แต่หมายรวมถึงกำไรชีวิตจากการอยู่อาศัยได้ด้วยเช่นกัน หากจะให้พูดถึงบ้าน Como Bianca จากอารียา พรอพเพอร์ตี้ คงต้องยกให้ความสะดวกสบายด้วยทำเลโครงการที่อยู่ติด Mega Bangna และการออกแบบที่เรียบง่ายแต่มีดีไซน์ในสไตล์มินิมอล ภายนอกของตัวบ้านออกแบบมาอย่างใส่ใจในทุกรายละเอียด […]

1 2 3 4 5 6 10

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.