แกะเส้นทาง ‘มะพร้าวน้ำหอมออร์แกนิค’ ของดีราชบุรี หอมจริงไม่เปรี้ยวซ่า

อะไรเอ่ย ? ผลกลมเขียว แต่เผยผิวจะขาวเนียน เนื้อชวนสัมผัสแถมยังมีกลิ่นหอม ดื่มทีไรก็สดชื่น โอ้ นี้คงเป็นมะพร้าวน้ำห๊อมมมมมมม……หอม กว่าจะเป็นมะพร้าวน้ำหอมสักหนึ่งลูกให้เราได้ดื่มชื่นใจ เส้นทางของมันไม่หอมหวานสักเท่าไหร่หรอกนะ เพราะมะพร้าวน้ำหอมที่มาจากวิถีธรรมชาติ ต้องต่อสู้กับศัตรูพืชตัวร้ายหากไม่แข็งแรงพอก็ต้องล้มหายตายจาก แต่การรักษาดูแลให้อยู่รอดอย่างมีคุณภาพ จนถึงมือผู้บริโภค คงไม่ใช่เรื่องยากเกินไปสำหรับชาวเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวน้ำหอมแบบออร์แกนิคที่ “Aromatic Farm” ครั้งนี้ เรามีโอกาสไปเยือน “Aromatic Farm” ที่จังหวัดราชบุรี โดยมี “พี่อร” สาวเก่งเจ้าของสวน พาเราไปคลุกคลีกับสวนมะพร้าวน้ำหอมเกือบทั้งวัน พร้อมกับเล่าขั้นตอนการทำสวนมะพร้าวน้ำหอมให้ฟังแบบหมดเปลือก ตั้งแต่การปลูก ดูแลรักษา ตัดเก็บ หรือแม้กระทั่งเคล็ดลับการเลือกมะพร้าวน้ำหอมแท้นั้นต้องดูอย่างไร เส้นทางของเจ้ามะพร้าวน้ำหอมจะไปอย่างไรไปติดตามพร้อมๆ กัน เส้นทางอันหอมหวานที่ไม่เหมือนใคร “มะพร้าวน้ำหอม” ผลไม้ลูกกลม สีเขียวที่กินได้ทั้งน้ำและเนื้อ ส่วนรสชาติก็ตามชื่อเรียกเพราะหอม หวาน แถมชื่นใจในคราวเดียว ทำเอาถูกปากถูกใจทั้งชาวไทยและต่างชาติ หากจะถามหาถึงถิ่นกำเนิด บางที่ก็บอกว่าเกิดในเขตร้อนทวีปเอเชีย และในหมู่เกาะมหาสมุทรแปซิฟิก ขณะเดียวกันก็มีบางแหล่งข้อมูลบอกว่าเกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์กันมา ต่อมามีการกระจายไปปลูกในหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ด้วยดินและน้ำที่อุดมสมบูรณ์ มะพร้าวจึงกลายมาเป็นผลไม้เศรษฐกิจของบ้านเรา โดยมีการส่งออกอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นจีน ญี่ปุ่น หรือสหรัฐอเมริกา มะพร้าวน้ำหอม ของแท้ต้องมาจาก 4 […]

“เบื้องหลังความสำเร็จของ ‘เชฟอ๊อฟ’ แชมป์อันดับ 1 The Next Iron Chef Thailand 2019”

เมื่อไม่กี่วันก่อน รายการ ‘เชฟกระทะเหล็ก The Next Iron Chef Thailand 2019’ ก็โบกมือลาหน้าจอไปเรียบร้อยแล้ว และแชมป์ใหม่ป้ายแดง คือ ‘เชฟอ๊อฟ – ณัฐวุฒิ ธรรมพันธุ์’ ที่เบื้องหน้าเสมือนถูกโรยด้วยกลีบกุหลาบ แต่กว่าจะเดินทางมาถึงวันนี้ได้ รสชาติชีวิตของเชฟอ๊อฟที่ผ่านมาช่างมีหลากหลายรสซะเหลือเกิน จุดเริ่มต้นเชฟ ค่อยเป็นค่อยไป เริ่มต้นตั้งแต่ช่วงชีวิตในวัยเด็กหลายคนอาจจะได้อยู่กินข้าวกับครอบครัวบ่อยครั้ง แต่สำหรับเชฟอ๊อฟนั้นเมื่ออายุได้ 15 ปี จากที่ต้องอยู่กับครอบครัว แต่เขาต้องจากบ้านเพื่อไปเรียนและใช้ชีวิตอยู่ต่างประเทศกับครอบครัวคนอื่นแทน ช่วงนั้นเชฟอ๊อฟเป็นเด็กที่ค่อนข้างเกเร ใช้คำนี้คงไม่ผิดเท่าไหร่ และหากถามว่า ชอบทำอาหารเป็นทุนเดิมอยู่แล้วไหม ? เชฟอ๊อฟตอบกลับมาว่า เชฟอ๊อฟ : บอกตรงๆ ว่าไม่ใช่ครับ แม้ครอบครัวจะมีกิจการร้านอาหารอยู่แล้วก็ตาม แต่การไปอยู่ต่างแดนอาหารก็ไม่ค่อยถูกปากเป็นเรื่องธรรมดา เมื่อสถานการณ์พาไปจึงต้องลงมือทำอาหารเองบ้างบางเมนู และนั้นคงเป็นจุดเริ่มต้นของการทำอาหาร เมื่ออายุย่างเข้า 21 ปี ถือว่ากฎหมายอเมริกาอนุญาตให้ดื่มเหล้าได้แล้วเลยเกิดไอเดียอยากเปิดผับเล็กๆ กับเพื่อน จึงได้พื้นที่ในห้องใต้ดินร้านอาหารไทยแห่งหนึ่ง ช่วงชีวิตตอนนั้นระยะแรกเรียกว่าเฟื่องฟูแต่สุดท้ายก็ต้องปิดตัวลงแบบไม่สวยนัก เชฟอ๊อฟ : ตอนนั้นทำร้านและเรียนไปด้วย เราได้เงินเยอะมากๆ แต่ทำได้เพียง 7 เดือนก็ต้องปิดตัวลง […]

กินอาหารอเมริกันเคล้ากลิ่นเครื่องหอมที่ ‘Karmakamet Diner’

เปิดประตูปะทะกลิ่นเครื่องหอม ในบรรยากาศคลาสสิก  ‘Karmakamet Diner’ คือร้านที่ให้บรรยากาศเสมือนหลุดเข้าไปในป่าย่อมๆ พาเราปลีกตัวจากความวุ่นวายได้ แม้จะตั้งอยู่ใจกลางเมืองก็ตาม ผลักประตูเข้ามาในร้าน สัมผัสกับกลิ่นหอมตลบอบอวลไปทั่วทั้งร้าน เนื่องจากร้านอาหารจะอยู่ด้านในถัดจากร้าน ‘Karmakamet Aromatic Shop’ ร้านขายเครื่องหอมชนิดต่างๆ ที่ใครหลายคนอาจจะรู้จักเป็นอย่างดี ซึ่งทั้งสองร้านมีความสอดคล้องกัน  “เพราะเครื่องหอมคือผู้ช่วยจัดการความสงบ ส่วนอาหารคือพลังในการดำเนินชีวิต” บรรยากาศและร้านที่เราได้เห็นเป็นรูปเป็นร่างนั้น เกิดจากความตั้งใจของ ‘คุณณัทธร รักษ์ชนะ’ ที่แท็กทีมกับเพื่อนรักแต่วัยเยาว์อย่าง ‘เชฟจุฑามาศ’ ซึ่งทั้งสองคนอยากนำเสนอประสบการณ์ที่มีสร้างตรงนี้ให้เป็นพื้นที่แห่งความสุข และให้ผู้มาเยือนรับรู้ถึงความตั้งใจผ่านรูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส โดยเมื่อเข้ามาแล้วสามารถเลือกที่นั่งได้เลยว่าจะนั่งท่ามกลางบรรยากาศเปิดรับธรรมชาติใกล้ต้นไม้ หรือจะนั่งในร้านที่ถูกกั้นเพียงกระจกใส มองเห็นบรรยากาศด้านนอกเขียวชอุ่มอย่างสบายตาก็ได้เช่นกัน หากมองไปรอบๆ ร้านแล้ว สไตล์การตกแต่งเหมือนจะดูวินเทจก็ไม่เชิง แต่แอบซ่อนคววามคลาสสิกไว้ในตัว บางคนอาจจะบอกว่าเป็นสไตล์ rustic industrial แต่คุณณัทธรไม่ได้มองว่าเป็นการตกแต่งร้าน แต่มันคือชิ้นส่วนของประสบการณ์ในวัยเยาว์มากกว่า โดยรูปแบบมาจากร้านยาจีนเก่าของอากง จึงอยากให้คนที่มานั่งในร้านมีส่วนร่วมกับประสบการณ์นี้ไปด้วยกัน ลิ้มรสมือ ‘เชฟส้ม-จุฑามาศ’ ผู้เชี่ยวชาญอาหารฝรั่งเศส รสสัมผัสที่เราจะได้ลิ้มลอง จะเป็นอาหารจากฝีมือ ‘เชฟส้ม-จุฑามาศ’ ผู้เชี่ยวชาญด้านการทำอาหารแบบฝรั่งเศส จึงนำเสนอออกมาได้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเป็นอย่างมาก โดยนำเอาการปรุงอาหารแบบตะวันตก มาผสานให้กลมกล่อมและกลมกลืนกับศิลปะการปรุงอาหารแบบตะวันออก และเชฟส้มมักจะบอกตัวเองเสมอๆ […]

ล่องเรือตามหา ‘ส้มบางมด’ ที่หายไป

คุยสบายๆ กับชาวบ้านย่านบางมด  ล่องเรือมาหารักสักคน…… ล่องเรือเยือน ‘คลองบางมด’ เพื่อมาตามหาของดีริมคลองที่หายไป ขึ้นชื่อว่าบางมด จะไม่พูดถึง ‘ส้มบางมด’ ได้อย่างไร เมื่อมาถึงก็รู้สึกถูกชะตากับชาวบ้านในพื้นที่เป็นอย่างมาก เลยขอเล่าย้อนไปในสมัยก่อนให้ฟังสักหน่อย บางมดเป็นชุมชนเล็กๆ ชาวบ้านจึงมีความสนิทสนมกันเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ส่วนอาชีพหลักของพวกเขาคือการทำนา สมัยก่อนยากลำบากพอตัว เพราะกว่าจะพลิกพื้นดินที่แห้งแล้งให้กลายเป็นทุ่งนาเขียวขจีได้นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย จำเป็นต้องใช้แรงงานจากคนจำนวนมาก ชาวบ้านจึงมาช่วยกันคนละไม้คนละมือ ซึ่งการเข้าใจ ช่วยเหลือและเห็นอกเห็นใจกันนั้น กลายเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นของชาวบางมด ความโชคดีของชาวบางมดที่น่าอิจฉาเป็นอย่างมาก คือบ้านจะอยู่ติดริมคลอง เอาเป็นว่าแทบไม่มีถนนคอนกรีตเลย จะไปไหนมาไหนก็เน้นแจวเรือกัน หากมองเรื่องสภาพพื้นที่ และอากาศ ย่านบางมดถือว่าเป็นปอดที่สมบูรณ์แห่งหนึ่ง ส้มที่ไหนไม่หวานเท่า ‘ส้มบางมด’ เวลาผ่านไปการทำนาก็เริ่มยากลำบากมากขึ้น ชาวบ้านบางคนแทบกุมขมับ เนื่องจากใช้แรงงานค่อนข้างเยอะ เลยพยายามมองหาอาชีพอื่นมาทดแทนการทำนา คนแรกที่ริเริ่มปลูกส้มบางมด คือ “นายแสม” ชาวบ้านธรรมดาคนหนึ่ง ที่สนใจการปลูกส้มอยู่แล้ว จึงไปซื้อกิ่งตอนมาจากคลองบางกอกน้อยเมื่อ พ.ศ. 2468 ลุงแสมเลยกลายเป็นคนแรกที่เอาส้มมาลงในพื้นที่บางมด โดยการปลูกครั้งแรกประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ทำเอาบ้านใกล้เรือนเคียงสนใจปลูกตามๆ กัน แต่การปลูกสมัยนั้นมีความลำบากไม่น้อย เพราะต้องยกร่องดินสลับกับร่องน้ำ อีกทั้งกว่าจะพลิกผืนนาให้เป็นสวนส้มต้องใช้เวลาอย่างมาก แต่ยิ่งปลูกกันมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้ส้มบางมดนั้นกระหึ่มไปทั่ว จนกลายเป็นชื่อคุ้นหูมาจนถึงทุกวันนี้  การปลูกส้มบางมดสมัยก่อนต้องใช้เวลาพักดินพร้อมกับพักกิ่ง 1 […]

EAT

จิบไวน์ ชิมอาหารอีสาน รสชาติต่างขั้ว อร่อยนัวบนขบวนรถไฟ

การได้ดื่มไวน์ดีๆ สักแก้ว สำหรับการดินเนอร์ยามเย็นคงเป็นโมเมนต์ที่ดีไม่น้อย ยิ่งจับคู่กับอาหารเลิศรสได้ถูกปากถูกใจ จะยิ่งทวีคูณความอร่อยเพิ่มขึ้นไปอีก เมนูคู่กับไวน์คงหนีไม่พ้นสเต็ก “เนื้อ” หรือ “ปลา” การแพร์ริ่งที่เขาว่ากันว่าลงตัวที่สุด แต่กลับพลิกล็อคเมื่อ “เคปเมนเทล” กับ “บูรพา” มองว่าอาหารอีสานก็ทานคู่กับไวน์ได้อร่อยไม่แพ้กัน

EAT

เที่ยวยั่งยืนที่ชุมชน ‘เพียรหยดตาล’ กับโครงการ APYE

หากพูดถึงสวนมะพร้าวเราคงนึกถึงมะพร้าวน้ำหอม ถือกินเป็นลูกๆ หวานฉ่ำชื่นใจ แต่มะพร้าวสามารถเป็นได้มากกว่านั้น ทั้งน้ำมันมะพร้าวในผลิตภัณฑ์บำรุงผิว หรือหากเป็นพันธุ์มะพร้าวแกงก็จะนำเอาเนื้อมะพร้าวไปทำกะทิ ส่วนช่อดอกมะพร้าวที่เรียกว่า จั่น ยังเอามาเคี่ยวน้ำตาลมะพร้าวได้ด้วย ซึ่งเราไปลุยสวนตามล่าน้ำตาลมะพร้าว 100 % กันมา แถมยังเห็นความลำบากในทุกกระบวนการ บอกเลยว่าหากินได้ยากแล้วในปัจจุบัน

จานเดิมผสมรสชาติใหม่อร่อยครบรสไทย จีน ฝรั่งที่ร้าน SāN

ใครที่อยากหาร้านบรรยากาศสบายๆ ให้ความรู้สึกเป็นกันเองเหมือนทานข้าวอยู่บ้าน เราขอแนะนำ ‘SāN’ ร้านอาหารกึ่งคาเฟ่ใจกลางกรุง มาพร้อมคอนเซ็ปต์ ‘New Originals’ ที่พก 3 วัฒนธรรม ไทย จีน และอเมริกัน มาครีเอทความแปลกใหม่ผ่านเมนูอาหารพิเศษไม่เหมือนใคร สไตล์ ‘Asian Twist’

เทียบท่าเตียน ไม่เหี้ยน ‘อาหารทะเลแห้ง’

‘อาหารทะเลแห้ง’ ในกรุงเทพฯ หายากพอตัว เพราะฉะนั้นถ้าใครไม่รู้จะซื้อที่ไหน เราชวนมาหิ้วตะกร้าจ่ายตลาด ซื้ออาหารทะเลแห้งที่ตลาดท่าเตียน ตลาดแห่งแรกของกรุงรัตนโกสินทร์ที่เก่าแต่เก๋าเกมในเรื่องค้าขายของสดและของแห้ง พร้อมแล้ว นั่งเรือไปเทียบท่าเตียนกัน

Westvleteren Brewery ต้นตำรับความเมามายในรสพระทำ ดื่มด่ำแบบไม่แสวงหากำไร

อยากออกไปดื่มเบียร์บนดาดฟ้าแต่เหมือนศีล 5 ไม่เข้าใจ งั้นลองดื่มเบียร์จากพระอย่าง “Westvleteren” กันไปเลยดีกว่า ไม่บาปแน่นอน เพราะทุกบาททุกสตางค์ที่จ่ายถูกนำไปทำนุบำรุงศาสนาแบบเต็มเม็ดเต็มหน่วย ไปดูเรื่องราวของมึนเมาที่ช่วยค้ำจุนศาสนาอย่างเบียร์ที่ไม่แสวงหากำไรจากเบลเยี่ยม ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นเบียร์ที่ดีที่สุดในโลกกัน

‘Bambino’ บาร์ลับไร้ป้าย ย่านเพลินจิต มีทีเด็ดมากกว่าแซนด์วิชเนื้อ

วันศุกร์แห่งชาติแบบนี้ ใครที่อยากหาร้านอาหารกินดื่มไว้แฮงค์เอาท์กับเพื่อนอยู่ล่ะก็ ‘Bambino’ บาร์สไตล์ญี่ปุ่น ใกล้บีทีเอสเพลินจิตก็น่าสนใจ เพราะนอกจากร้านนี้เขาจะโด่งดังเรื่อง ‘Wagyu Sando’ แซนด์วิชเนื้อวากิวสีแดงฉ่ำสุดฟินแล้ว เขายังมีเมนูอื่นๆ อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นอาหารจริงจัง หรือจะสั่งกับแกล้มไว้กินคู่กับแอลกอฮอล์ก็อร่อยทุกเมนู

ถอดรหัส The Last Supper ฉบับไบเบิล  vs ภาพดาวินชี

เราคงคุ้นเคยกับ ‘The Last Supper’ ภาพวาดมื้ออาหารอันโด่งดังโดยศิลปินชาวอิตาเลียนอย่าง ‘เลโอนาร์โด ดาวินชี’ ที่หยิบเหตุการณ์จากคัมภีร์ไบเบิลมาเล่าผ่านผลงานมาสเตอร์พีชของเขา อาหารที่วางเรียงรายบนโต๊ะ ทั้งขนมปัง เหล้าองุ่น ปลาไหล และส้ม พร้อมอัครสาวกที่นั่งทานกันอย่างพร้อมหน้า สมกับเป็น ‘พระกายาหารมื้อสุดท้าย’ ตามแบบฉบับจินตนาการ และการผสมผสานยุคสมัยเข้าด้วยกัน
.
แต่เรื่องราวที่เล่าในคัมภีร์ไบเบิล กลับมีการบันทึกเพียงแค่ ‘ขนมปัง’ และ ‘เหล้าองุ่น’ เท่านั้น ซึ่งความจริงแล้วยังมีข้อสมมติฐาน และความจริงเกี่ยวกับมื้ออาหารอีกหลากหลายเมนูที่แอบซ่อนเอาไว้ เรามาร่วมไขข้องสงสัยว่า ในมื้ออาหารสุดท้ายของพระเยซูคริสต์และเหล่าอัครสาวกทั้ง 12 กินอะไรกันแน่ แล้วสรุปว่าภาพวาดอาหารใน ‘The Last Supper’ ของดาวินชีที่เราเห็นกันเป็น ‘เรื่องจริง’ หรือ ‘จ้อจี้’ !

ความเชื่ออาหารงานศพ สืบหาความลึกลับกับ ‘เจ้าของร้านอาหารงานศพ วัดธาตุทอง’

ไปงานศพแล้วกินอะไรกัน ? จากอดีตสู่ปัจจุบัน บางสิ่งกินไม่ได้ บางสิ่งกลับกินได้

1 9 10 11 12 13 15

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.