AWAKE THONGLOR “หลับยามเช้า ตื่นยามดึก”

เมื่อพูดถึง ‘ทองหล่อ’ หลายคนอาจจะนึกถึงแหล่งปาร์ตี้แฮงเอ้าท์ สถานที่สำหรับแลกเปลี่ยนเรื่องราวและประสบการณ์ผ่านน้ำเมายามค่ำคืนที่มีแสง สี เสียง รวมถึงบรรยากาศที่เต็มไปด้วยสีสันจัดจ้านแบบ Night Life เรารู้กันดีว่าชีวิตกลางคืนของทองหล่อมีชีวิตชีวาอย่างมาก แต่ชีวิตหลังพระอาทิตย์ขึ้นในย่านทองหล่อจะเปลี่ยนแปลงไปมากแค่ไหนกัน ?

มอง ‘เอกมัย’ แบบ ‘คนเอกมัย’

‘คนเอกมัย’ จริงๆ เขามองภาพ ‘เอกมัย’ เป็นอย่างไร ลองออกไปเดินสำรวจย่านเอกมัย และพูดคุยกับชาวเอกมัยพร้อมกับผมกันครับ

BKK สารพัดวัสดุ : ย่านค้าวัสดุสุดเฉพาะทั่วเมืองกรุง

การจะเริ่มลงมือทำของสิ่งหนึ่งขึ้นมา สิ่งสำคัญที่เราจะต้องพิถีพิถันเป็นอย่างแรก ก็คือการเลือกวัสดุ ซึ่งการจะได้วัสดุที่ถูกใจก็ต้องไปเดินหาซื้อวัสดุด้วยตัวเอง แต่หากยังไม่รู้แหล่งที่ถูกและดี วันนี้เราเลยจะชวนมาดู “แหล่งการค้าวัสดุต่างๆ ในกรุงเทพฯ” ที่เรียกว่าเป็นแหล่งเฉพาะ และมีวัสดุทุกอย่างที่เรามองหาเลยทีเดียว

BANGKOKIAN EP.03

เห่นโล๊ววววว ชาวบางกอก ชีวิตช่วงนี้เป็นยังไงกันบ้าง แล้วย่านที่อยู่ตอนนี้ มีอะไรเปลี่ยนแปลงไป มีอะไรสนุกๆอยากแชร์บ้างมั้ย วันนี้เราชาว UC มีเรื่องราวสนุกๆมาแชร์ให้เพื่อนๆได้ชมกัน ไปดูกันเล้ยยยย

BANGKOKIAN EP.02

ไหนๆขอเสียงชาวกรุงเทพหน่อยเร้วว!! มาดูกันว่าใครจะมาเม้าท์เรื่องมันส์ๆเกี่ยวกับย่านที่เราอยู่บ้าง มีอะไรอยากบ่น แล้วพวกเขามีวิธีคิดให้ชีวิตแฮปปี้ยังไง ตามมาเลย!

“บึงบางซื่อ” พื้นที่ตาบอดกลางเมือง สู่ชุมชนต้นแบบแห่งการพัฒนา

ในพื้นที่ 1.5 ล้านตารางกิโลเมตรของเมืองกรุงเรานั้น รู้ไหมว่ายังมีพื้นที่บางส่วนเป็นพื้นที่ที่ไม่มีทะเบียนราษฎร์ ซึ่งนั่นทำให้ระบบการบริหารของภาครัฐ เช่น การเข้าถึงของน้ำประปา หรือไฟฟ้า ไม่สามารถเข้าถึงชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น ส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมามากมาย เช่น เรื่องสุขอนามัย ความปลอดภัย และคุณภาพชีวิต บึงบางซื่อ บึงน้ำกลางกรุงขนาด 61 ไร่ ที่ล้อมรอบด้วย 5 ชุมชน จนกลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ ประมาณ 250 หลังคาเรือน เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่ไม่มีทะเบียนราษฏร์ และเป็นพื้นที่ตาบอดที่ไม่มีทางเข้าออก ในอดีตเมื่อประมาณ 100 ปีที่แล้ว บึงบางซื่อเป็นแหล่งดินดำ ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตปูนซีเมนต์ของโรงงานปูนซีเมนต์บางซื่อ SCG ได้สร้างบ้านให้กับคนงานและครอบครัวเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยรอบบริเวณบึง แต่หลังจากเลิกใช้งาน บึงบางซื่อก็เริ่มมีคนต่างถิ่นเข้ามาอยู่อาศัยเพิ่มขึ้น ทำให้บริเวณนี้กลายเป็นชุมชนแออัดในที่สุด “ตอนที่บ้านยังไม่ขึ้น การเป็นอยู่มันก็อยู่ในสภาพบ้านโทรมๆ ย้อนหลังไปปี พ.ศ. 2535 ตอนนั้นทางผู้ใหญ่ยังไม่ได้ยื่นมือเข้ามาช่วย เราก็จัดตั้งคณะกรรมการ บุกเบิกกันมา การทำงานช่วงนั้นก็เหนื่อยกันมาก เพราะทั้งถูกด่า ถูกแช่ง ซ้ำเติมกันว่าบ้านจะขึ้นได้หรอ เพราะคำดูถูกคำนี้แหละ ทำให้เมื่อมีประชุมที่ชุมชนไหน เราก็ต้องไป กลับมาแล้ว เราก็มาทำที่บ้านเรา” […]

Life of Huatakhe : วิถีชีวิตริมน้ำ “ชุมชนหัวตะเข้”

หลายคนอาจเคยโหยหาธรรมชาติอยากย้อนเวลากลับไปในอดีตเพราะชีวิตในเมืองเราอยู่กับความเร่งรีบและความเครียดที่สะสมลองใช้ชีวิตให้ช้าลงเพื่อเพิ่มความสุขให้มากขึ้นกับพื้นที่ที่ยังคงอนุรักษ์เสน่ห์ของวิถีชีวิตคนริมน้ำ “ชุมชนหัวตะเข้” ภาพบ้านเรือนแถวไม้โย้เย้ริมคลองหลังคาสังกะสีผุเก่าหากจะบอกว่าเป็นความสวยงามก็คงไม่ใช่แต่ถ้าบอกว่าเป็น ‘เสน่ห์’ น่าจะเหมาะกว่า เพราะความเก่าแก่ใช่ว่าจะหมายถึงความทรุดโทรมผุพังเพียงอย่างเดียว แต่ยังหมายถึงการผ่านร้อนผ่านหนาวและผ่านเรื่องราวมากมายที่หากมองข้ามความผุพังทรุดโทรมเข้าไปให้ลึกก็จะเห็นเสน่ห์ในความเก่านั้น | คน + น้ำ = ชีวิต ชุมชนหัวตะเข้ หรือในอีกชื่อหนึ่งคือ ชุมชนหลวงพรต-ท่านเลี่ยม ที่หลายคนอาจสงสัยว่า “ที่นี่คือที่ไหนต่างจังหวัดหรือเปล่า ?” แต่ชุมชนนี้อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลในเขตลาดกระบัง จังหวัดกรุงเทพมหานครนี่เองซึ่งเป็นหนึ่งในชุมชนริมน้ำ ‘คลองประเวศบุรีรมย์’ อายุกว่า 100 ปี ที่ยังคงวิถีชีวิตริมน้ำไว้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ซึ่งประวัติการขุดคลองนี้มีขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยการขุดในครั้งนี้เพื่อเป็นการเชื่อมต่อการคมนาคมทางน้ำจากคลองพระโขนงไปยังปากแม่น้ำบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา แต่ระหว่างที่ขุดคลองนั้นมีการขุดค้นพบหัวจระเข้ใหญ่อยู่กลางสี่แยกซึ่งปัจจุบันเรียกว่า ‘สี่แยกคลองหัวตะเข้’ และหัวจระเข้ที่ขุดได้มานั้นชาวบ้านสมัยนั้นเชื่อว่าเป็นจระเข้ศักดิ์สิทธิ์จึงได้นำหัวจระเข้ขึ้นมาบูชาโดยคนสมัยก่อนจะเรียก ‘จระเข้’ แบบสั้นๆว่าตะเข้จึงเพี้ยนมาเป็นคำว่า “หัวตะเข้” จึงกลายเป็นชื่อชุมชนตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา วิถีชีวิตของชาว ‘ชุมชนหัวตะเข้’ ทำให้ย้อนนึกไปถึงสมัยก่อนเราผูกพันกับคลองโดยเห็นได้จากการปลูกบ้านเรือนอยู่ริมฝั่งคลองและอาศัย ‘น้ำ’ เพื่อความสะดวกในการทำมาหากินหาสัตว์น้ำด้วยอุปกรณ์พื้นบ้าน เช่น  “การยกยอ” หรือ “ทอดแห” การเดินทางไปมาหาสู่กันด้วยเรือเป็นหลักและที่เป็นเอกลักษณ์เลยคือการขายของบนเรือไม่ว่าจะเป็น ก๋วยเตี๋ยวเรือป๊อกๆ(ที่เรียกว่าป๊อกๆเพราะมาจากเสียงเคาะเรียกให้คนออกออกมาซื้อนั่นเอง) หรือเรือขายของชำของจิปาถะทุกอย่างที่มีมาให้เลือกตามใจชอบรวมไปถึงการเติบโตของสัตว์หายากที่อาศัยอยู่เฉพาะริมน้ำที่อุดมสมบูรณ์เท่านั้น ทั้งหมดนี้กลายเป็นสายใยที่สานความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนที่ยังคงใช้ชีวิตอยู่ริมน้ำอย่างสงบและเรียบง่ายตลอดมา และอีกพื้นที่สำคัญที่ทำให้เห็นภาพวิถีชีวิตริมน้ำอย่างชัดเจนมากขึ้นนั่นคือ ‘ศาลาท่าน้ำ’ ซึ่งเป็นเหมือนพื้นที่อเนกประสงค์ของคนที่อยู่บ้านริมน้ำคล้ายกับชานของบ้านที่สมาชิกทุกคนในบ้านจะมารวมกันที่นี่เหมือนเป็นพื้นที่ต้อนรับเพื่อนบ้าน นั่งสังสรรค์กินข้าว ตกปลา สนทนา พักผ่อนนอนกลางวันบางคนก็นั่งอยู่ทั้งวันตั้งแต่เช้าจรดบ่ายทั้งการซื้อของกินของใช้จากพ่อค้าแม่ค้าที่พายเรือมาขายตลอดวัน […]

Passion For Better : เสน่ห์วิถีชาวประมงจังหวัดตรัง ที่เราอยากให้คุณไปสัมผัส

เสียงคลื่นกระทบฝั่ง หาดทราย สายลม ชวนให้นึกถึงบรรยากาศอันสวยงามของท้องทะเลไทย แต่คนเมืองอย่างเรากว่าจะหาโอกาสไปสัมผัสบรรยากาศทะเลแบบฟินๆก็ยากอยู่เหมือนกันเนอะ จนเรามีโอกาสได้เข้าร่วมกิจกรรมของทาง SCG กับโครงการ “รักษ์น้ำจากภูผา สู่มหานที” โดยโครงการนี้เป็นการดูแลตั้งแต่ต้น กลางถึงปลายน้ำกันเลยทีเดียว ซึ่งครั้งนี้เรามากันที่ปลายน้ำชุมชนบ้านมดตะนอย อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง และเมื่อนึกถึงทะเลก็ต้องคู่กับ ‘ชาวประมง’ ซึ่งอาชีพการทำประมงนั้นนับเป็นอาชีพหลักที่สำคัญของชุมชนริมทะเลโดยการไปทำกิจกรรมครั้งนี้ทำให้เห็นถึงการอยู่ร่วมกันระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ และเห็นถึงความงดงามของวิถีชีวิตอันแฝงไปด้วยมนต์เสน่ห์ที่เราอยากให้คุณไปสัมผัส 01| วิถีชีวิตชาวประมง ก้าวแรก..เมื่อมาถึงที่ชุมชนบ้านมดตานอยแล้วต้องขอบอกเลยว่าสวยมากสวยเกินคำบรรยายรูปภาพคงจะบอกเล่าเรื่องราวได้ดีกว่าซึ่งที่นี่ยังเป็นชายหาดที่มีความอุดมสมบูรณ์มากๆ ถ้ามีโอกาสอยากให้ลองมาสัมผัสด้วยตัวคุณเองแล้วคุณจะหลงรักเสน่ห์ความเรียบง่าย และวิถีชีวิตของชาวบ้านแบบใกล้ชิดแบบหายใจรดต้นคอ สนิทกันเหมือนญาติคล้ายกับพี่น้องที่คลานตามกันออกมาเลยล่ะ ซึ่งวิถีชีวิตของคนที่นี่คือ ‘การทำประมงพื้นบ้าน’ โดยจะทำมาหากินออกหาสัตว์น้ำจำพวกกุ้ง หอย ปู ปลา แถบชายฝั่งทะเลเป็นการทำประมงแบบวันเดียว และต้องทำมาหากินตามฤดูกาล โดยใช้เครื่องมือประมงแบบง่ายๆที่ทำขึ้นเอง ดังนั้น ‘ทะเล’ จึงเปรียบเสมือนลมหายใจของชาวบ้านที่คอยหล่อเลี้ยงและผูกพันกับ ‘วิถีชีวิตชาวประมง’ ตั้งแต่เกิดจนเติบโตซึ่งดูเป็นชีวิตที่เรียบง่ายและพอเพียงแต่เปี่ยมไปด้วยความสุข จึงทำให้เรารู้ว่าพื้นที่ทำมาหากินแห่งนี้เป็นที่รักและหวงแหน เพราะอนาคตทั้งหมดได้ฝากไว้กับชายฝั่งซึ่งเป็นที่พึ่งแรกและที่พึ่งสุดท้ายของชาวประมง แต่วิถีชีวิตประจำวันคือการทำประมงเพียงอย่างเดียวนั้นอาจทำให้เกิดปัญหาเมื่อช่วงเวลาที่เกิดมรสุมและการหาปลาที่เน้นปริมาณมากจนเกินไปจึงส่งผลกระทบอย่างหนักต่อชาวบ้าน ดังนั้นเพื่อให้ทะเลอันเป็นแหล่งวิถีชีวิตและบ้านของพวกเขายังคงความอุดมสมบูรณ์อยู่นั้นการทำประมงอย่างมีความรับผิดชอบและเป็นมิตรต่อท้องทะเลนี่เองคือทางออกของการปกป้องทรัพยากรทางทะเลของไทย 02 | รักษ์น้ำ จากภูผา สู่มหานที รู้หมือไร่? เอ้ย! รู้หรือไม่? ประเทศไทยมีทำเลที่ตั้งดีที่สุดแห่งหนึ่งเพราะมีสภาพทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมและมีทรัพยากรธรรมชาติหลากหลายพอเพียงแก่การดำรงชีวิตโดยเฉพาะทรัพยากรน้ำ เช่นกันถ้าไม่มีน้ำก็ไม่มีชาวประมงเหมือนฉันต้องคู่กับเธอ มีเพียงแต่เธอ แค่เธอเท่านั้นประมาณนี้เลยแหละ SCG […]

Connect The Dots ต่อ ติด…. ชีวิตดีๆ: เจาะโลเคชั่น 3 ย่านน่าอยู่ แมทช์ทุกไลฟ์สไตล์ที่แตกต่าง

นิยามชีวิตที่สมบูรณ์แบบสำหรับคนยุคนี้ ไม่ได้วัดกันที่การมีครอบครัวที่น่ารัก เพื่อนฝูงที่ดี และหน้าที่การงานที่มั่นคงเท่านั้น หากแต่คนรุ่นใหม่ยังให้ความสำคัญกับการตามหาตัวตน ค้นหาความเป็นตัวเอง มีความเป็นปัจเจก เพื่อบ่งบอกจุดยืนที่ไม่เหมือนใคร หรือถ้าให้พูดง่ายๆ ก็คือ “ไลฟ์สไตล์” ที่ต่างกัน แต่ความฝันสูงสุดที่มีร่วมกัน นั้นคือการได้ใช้ชีวิตในแบบที่ตัวเองต้องการ แต่ถึงอย่างนั้นคนเราก็ยังต้องการความเป็นอยู่ด้านอื่นๆ มาเติมเต็มชีวิตที่ลงตัว ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การเดินทาง การพักผ่อน การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และที่ขาดไม่ได้เลยคือเรื่องกินเรื่องอยู่ ที่สะดวกสบายและมีสุนทรียภาพ ต่อกันเป็นจิ๊กซอว์แห่งความสุข ซึ่งเราเชื่อว่าในแต่ละคนย่อมมีตัวต่อที่แตกต่างกัน แน่นอนว่าเมืองใหญ่ย่อมเป็นโลเคชั่นที่หลายคนอยากจะลงทุนเพื่อการอยู่อาศัย เพราะตอบโจทย์ในเรื่องความสะดวกสบาย ทั้งระบบสาธารณูปโภคที่ครบครัน และตัวเลือกมากมายในการใช้ชีวิต พร้อมมอบความสุขส่วนตัวที่เราทุกคนต่างมองหา เราจะพาไปสำรวจ 3 ย่านของกรุงเทพฯ ที่มีจุดเด่นเป็นเอกลักษณ์ แมทช์กับไลฟ์สไตล์ และจุดมุ่งหมายในชีวิตที่ต่างกัน ต่อให้คุณเป็นคนบ้างาน รักเรียน ขาช้อป ชอบเที่ยว หรือสายชิล จะสไตล์ไหนก็ ต่อ ติด… ทุกชีวิตคนเมือง รัตนาธิเบศร์ ต่อ ติด… ธรรมชาติ เมื่อก่อน “ท่าน้ำนนท์” อาจฟังดูห่างไกลในความคิด แต่ทุกวันนี้ความเจริญเริ่มกระจายตัวเข้าสู่เขตเมืองรอบนอก อย่างนนทบุรี ที่มีพร้อมทั้งสาธารณูปโภค และการเดินทางด้วยรถไฟฟ้าสายสีม่วง […]

NEW CITY EDGE : “บางหว้า” จุดเชื่อมคนกรุงกับวิถีฝั่งธนฯ

หลายคนมักตั้งคำถามว่า การใช้ชีวิตอยู่ใจกลางกรุง หรืออยู่บริเวณปริมณฑลดีกว่ากัน ซึ่งคำตอบที่ได้ก็มีหลากหลายให้คบคิดตาม ฉะนั้นแล้วจะดีกว่าไหม หากเราได้อยู่อาศัยในพื้นที่ที่สามารถใช้ชีวิตทั้งสองด้านควบคู่ไปด้วยกัน หมุดหมายนั้นคือ “บางหว้า” ย่านที่ผสานไลฟ์สไตล์คนกรุงเข้ากับวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมได้อย่างลงตัว

BANGKOKIAN EP.01

เฮลโล่!! Bangkokian พวกเราชาวกรุงเทพฯมาสำรวจกันหน่อยว่าเหล่าคนดังเค้าคิดยังไงกับย่านที่อยู่ของตัวเอง อะไรดี อะไรเซ็ง มาดูกัน!

1 3 4 5 6

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.