Wander Around ระหว่างทางของเส้นทางชีวิต

ภาพถ่ายชุดนี้บันทึกสิ่งที่เราพบเจอระหว่างการเดินทางจากประเทศฝรั่งเศสและสวิตเซอร์แลนด์ เราพาตัวเองออกไปเจอสภาพแวดล้อมใหม่ๆ ให้ลองเดินหลงไปในย่านที่ไม่รู้จัก ลองทักทายคนแปลกหน้าแบบที่ตอนอยู่ไทยคงไม่กล้าทำ แล้วกดถ่ายรูปแบบไม่ต้องคิดอะไร นอกจากมองหาสิ่งที่ตัวเองชอบ

Bangkok Women’s Film Festival โปรเจกต์ออกแบบที่อยากให้ผู้หญิงมีที่ทางในวงการภาพยนตร์ไทย

“ทำไมไม่ค่อยได้เห็นหนังของผู้กำกับหญิงไทยเลย” นี่คือคำถามตั้งต้นที่ทำให้ ‘เจ๋-กัลย์จรีย์ เงินละออ’ เริ่มต้นทำโปรเจกต์ส่วนตัวออกแบบ Identity Design เทศกาล Bangkok Women’s Film Festival (BKKWFF) ในไทย ด้วยความที่ทำงานเป็นกราฟิกดีไซเนอร์ มีความชื่นชอบภาพยนตร์ และอินเรื่องเฟมินิสต์ จึงทำให้เธอพยายามหาข้อมูลโดยการรีเสิร์ชตามแหล่งข้อมูลต่างๆ รวมถึงพูดคุยกับเพื่อนที่เรียนกับทำงานด้านนี้ เพื่อยืนยันว่าเธอไม่ได้คิดไปเองคนเดียว ก่อนจะใช้ความถนัดทำงานสื่อสารเรื่องนี้ออกมา แน่นอนใครๆ ต่างรู้ว่าภาพยนตร์ไทยเป็นอุตสาหกรรมที่รัฐและคนไทยส่วนใหญ่มักมองข้าม ทว่าในแวดวงที่ถูกหมางเมิน ไม่ให้ความสำคัญเท่าที่ควร ยังมีความกดทับอีกชั้นด้วยอคติทางเพศในวงการนี้ เห็นได้จากสัดส่วนอันน้อยนิดของผู้หญิงในงานภาพยนตร์ตั้งแต่ตำแหน่งเล็กจนถึงผู้บริหารใหญ่โต ยังไม่นับรวมความยากลำบาก และประสบการณ์การทำงานของคนทำงานผู้หญิงที่คนทั่วไปอาจไม่เคยรู้ในสายอาชีพที่ถูกครอบครองโดยผู้ชายอีก ด้วยเหตุนี้ เจ๋จึงอยากเป็นเสียงหนึ่งของการผลักดันประเด็นนี้ด้วยการสนับสนุนให้ประเทศไทยมีเทศกาลภาพยนตร์ของผู้กำกับหญิง เพื่อเป็นการสร้างพื้นที่และการันตีว่าผู้กำกับหญิงไทยมีความสามารถ ทำหนังได้หลากหลายแนว ควรได้รับการสนับสนุน แวดวงหนังไทยไม่มีผู้กำกับหญิง หรือไม่ได้รับการสนับสนุน ความสงสัยว่าทำไมแวดวงหนังไทยถึงไม่ค่อยมีผู้กำกับหญิงไม่ใช่คำถามที่เพิ่งเกิดขึ้น เจ๋คิดเรื่องนี้มาตลอดแต่ไม่เคยถึงขั้นค้นหาข้อมูลลงลึกจริงจัง จนกระทั่งไม่กี่ปีมานี้เธอสังเกตเห็นเวฟของหนังโดยผู้กำกับหญิงในหลายประเทศ ที่ค่อยๆ พัฒนาเติบโตมาเรื่อยๆ จนถึงปีนี้ยิ่งชัดเจนขึ้น ซึ่งตามมาด้วยเทศกาล Women’s Film Festival ที่จัดขึ้นในหลายเมืองทั่วโลก เธอเลยลองรีเสิร์ชดูว่าประเทศไทยเคยมีงานลักษณะนี้บ้างไหม “จริงๆ ที่ไทยเคยมีเทศกาลประมาณนี้ชื่อ Fem Film Festival จัดโดย Bangkok […]

Bangkok eyes 01/50 – เขตธนบุรี

ธนบุรีเป็นเขตหนึ่งที่เราเดินทางผ่านบ่อยๆ เพราะอยู่ละแวกบ้าน แต่เราก็ไม่ค่อยได้เดินสำรวจเขตนี้สักเท่าไหร่ มีไปจุดใหญ่ๆ มาบ้าง อย่างโบสถ์ซางตาครู้ส วัดประยุรวงศาวาสฯ สี่แยกบ้านแขก ตลาดพลู และแถววงเวียนใหญ่นิดหน่อย เท่าที่รู้สึกคุ้นเคยกับเขตนี้มา ธนบุรีดูจะเป็นเขตที่มีชุมชนบ้านเดี่ยวและตึกแถวอยู่เยอะ แต่ก็มีคอนโดฯ เกิดขึ้นบ้างเล็กน้อย เป็นย่านที่ดูน่าสนใจ แต่เรายังไม่เคยได้เดินเข้าไปในตรอกเล็กซอกซอยน้อยสักเท่าไหร่ เลยไม่ค่อยแน่ใจว่าภาพถ่ายจะออกมาเป็นอย่างไร ก่อนไปลงพื้นที่จริงจึงลองสำรวจทั้งเขตคร่าวๆ ใน Google Maps โดยหาจุดท่องเที่ยวและจุดแวะกินซะก่อน ซึ่งก็ไม่ค่อยพบอะไรมากนัก สุดท้ายก็ปักธงว่าจะลองเดินช่วงวุฒากาศไปโบสถ์ซางตาครู้ส หลังจากออกเดินมาก็พบชุมชนเล็กๆ ที่มีเยอะมาก ทำให้มีช่องแสงนิดๆ หน่อยๆ เกิดเป็นเส้นสายน่าสนใจดี ในช่วงเช้าตามตลาดจะมีคนเยอะเป็นพิเศษ ใครที่อยากมาเดินเล่นแถวนี้สามารถเข้าไปตามชุมชนและพูดคุยกับคนในพื้นที่ได้ ขนาดเราถือกล้องเข้าไป เขายังค่อนข้างเป็นมิตรเลยทีเดียว น่าเสียดายที่ช่วงวันที่เราไปมีเมฆมากเกือบทุกวันและทุกเวลา ทำให้เป็นอุปสรรคนิดหน่อยกับการถ่ายภาพที่ต้องเล่นกับแสง ซีนที่เราชอบและคิดว่าน่าแวะเลยคือ สถานีรถไฟตลาดพลู เพราะถึงจะเป็นสถานีรถไฟเล็กๆ แต่สีและการออกแบบให้ความรู้สึกคลาสสิกสุดๆ ที่สำคัญมีร้านข้าวหมูแดงชื่อดังอยู่ตรงนั้นอีกด้วย นอกจากนี้ ช่วงตอนบนๆ ของเขตบริเวณวัดกัลยาณมิตรฯ ก็มีนักท่องเที่ยวปั่นจักรยานแวะเวียนเข้า-ออกกันเป็นระลอก ถือว่าเป็นเขตที่มีอะไรให้เซอร์ไพรส์ได้ตลอดทางอยู่เหมือนกัน

‘สิทธิกร ปรีชาวุฒิเดช’ จิตแพทย์ผู้ใช้ ‘เลโก้จิ๋ว’ ผลักดันศิลปวัฒนธรรมไทย

ถ้าให้ย้อนถึงความทรงจำที่ประทับใจในวัยเด็ก เชื่อว่าหลายคนคงหวนนึกถึงกิจกรรมที่เคยเล่นสนุกจนลืมเวลา รวมไปถึงงานอดิเรกที่เคยหลงใหลและมีสมาธิกับมันมากๆ ไม่ว่าจะเป็นการวาดภาพการ์ตูน การเล่นดนตรี การเล่นกีฬา ไปจนถึงการเล่นเกมสารพัดรูปแบบ สำหรับบางคน สิ่งเหล่านี้ยังกลายเป็นแพสชันที่ติดตัวพวกเขาไปจนโต หรือไปไกลถึงขั้นทำเป็นอาชีพก็มี  ‘อิกคิว-สิทธิกร ปรีชาวุฒิเดช’ ชายหนุ่มท่าทางอารมณ์ดีคนนี้ คือหนึ่งในนั้น  เรารู้จักอิกคิวผ่านโพสต์ประชาสัมพันธ์เวิร์กช็อป ‘ตามาญโญในตัวต่อจิ๋ว’ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นในงาน ‘เสาร์สนามไชย Saturday Happening’ ที่มิวเซียมสยาม เวิร์กช็อปนี้สะดุดตาเราเป็นพิเศษ เพราะเป็นการสอนต่อ ‘เลโก้จิ๋ว (Miniblock)’ จากผลงานการออกแบบสถาปัตยกรรมของมาริโอ ตามาญโญ สถาปนิกชาวอิตาเลียนผู้ออกแบบตึกมิวเซียมสยาม เช่น สถานีตำรวจนครบาลพระราชวัง สถานีรถไฟสวนจิตรลดา พระที่นั่งอนันตสมาคม และสถานีรถไฟกรุงเทพ พูดง่ายๆ ว่าเป็นการย่อไซซ์อาคารไทยให้กลายเป็นโมเดลจิ๋วสีสันน่ารักที่สาวกตัวต่อกับของกุ๊กกิ๊กต้องตาเป็นประกายวิบวับแน่นอน เมื่อลองหาข้อมูลเพิ่มเติม เราก็พบว่าอิกคิวคือจิตแพทย์ที่มาเป็นวิทยากรเฉพาะกิจให้เวิร์กช็อปนี้ เนื่องจากความหลงใหลในศาสตร์และศิลป์ของการต่อเลโก้มาตั้งแต่เด็ก จนได้พัฒนางานอดิเรกให้มีความออริจินัลและจริงจังมากขึ้นผ่านการออกแบบเลโก้จิ๋วจากสถาปัตยกรรมไทยและต่างประเทศ โดยเขาได้รวบรวมผลงานทั้งหมดไว้ในเพจ Qbrick Design  เรานัดหมายกับอิกคิวเพื่อพูดคุยทำความรู้จักเจ้ามินิบล็อกเหล่านี้ให้มากขึ้น ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบอันซับซ้อน ไปจนถึงการต่อประกอบให้สำเร็จ คุณค่าของตัวต่อจิ๋วในมุมมองของเขาเป็นแบบไหน อะไรที่ทำให้เขามีแพสชันและมิชชันต่อตัวประกอบจิ๋วขนาดนี้ เราขอชวนทุกคนไปฟังคำตอบพร้อมกัน ปัดฝุ่นเลโก้วัยเด็ก อิกคิวเริ่มต้นด้วยการเล่าย้อนไปถึงช่วงเวลาหลังจากเรียนจบคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขาได้กลับไปทำงานเป็นจิตแพทย์ที่โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส บ้านเกิดของตัวเอง  ในเวลาว่างจากงานประจำช่วงนั้น […]

A Katanyu Comedy Club คลับของคนรักเสียงหัวเราะ ที่ต้องการให้ Comedian รุ่นใหม่ได้มีที่ซ้อมมือ

‘อยากดู Stand-up Comedy ต้องไปที่ไหน’ สำหรับคำถามนี้ ถ้าเป็นเมื่อก่อนเราคงหยุดคิดไปหลายนาที เพราะ ‘Stand-up Comedy Club’ ในไทยที่พอจะรู้จักหรือหาข้อมูลได้ส่วนใหญ่เป็นคลับที่แสดงโดยชาวต่างชาติอย่าง ‘The Comedy Club Bangkok’ หรือ ‘Khaosan Comedy Club’ นั่นแปลว่าถ้าคุณจะชมการแสดงประเภทนี้ ต้องฟังภาษาอังกฤษออก และเข้าใจมุกตลกของพวกเขา แต่หลังจากวันที่ 6 สิงหาคมที่ผ่านมา คงเป็นวันที่เราพูดได้เต็มปากว่าหากต้องการดูโชว์ตลกในรูปแบบ ‘Stand-up Comedy’ โดยนักแสดง Stand-up Comedian ชาวไทย ให้คุณเดินทางไปที่โครงการ Space & Co หลังห้างสรรพสินค้าสามย่านมิตรทาวน์ แล้วคุณจะพบกับ ‘A Katanyu Comedy Club’ คลับเล็กๆ ของคนรักเสียงหัวเราะที่ซ่อนตัวอยู่บนชั้น 2 โดยมี ‘ยู-กตัญญู สว่างศรี’ เป็นหัวหอกสำคัญในการเนรมิตขึ้นมา จากความตั้งใจเดิมที่แค่ต้องการย้ายทำเลร้านกาแฟ Katanyu Coffee กลับกลายเป็นการปรับคอนเซปต์ครั้งใหญ่สู่ A Katanyu […]

‘3200K’ ณ ชั่วขณะนั้นที่มุกดาหาร

ฉันมักใช้เวลาว่างที่เหลือจากการทำงานร้านอาหารของที่บ้าน ออกสำรวจพื้นที่ริมแม่น้ำโขงและบันทึกความทรงจำเกี่ยวกับเส้นทางสายนี้ แม่น้ำที่ไหลผ่านเอื่อยๆ วิถีชีวิตริมน้ำที่ดำเนินไปอย่างเนิบช้า เรียบง่าย ฉันคิดว่าอุณหภูมิ สี และแสงที่ฉาบลงบนภาพตรงหน้าช่างอบอุ่นพิเศษกว่าที่ไหนๆ

Fantaci (ty) ความเหมือนกันของความแปลกแยกแตกต่าง

อสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยมนุษย์ ไม่ว่าจะเพศ อายุ สถานะ หรืออะไรก็ตามแต่ ไม่ว่าที่ไหนก็มีภาพสะท้อนของกันและกัน ในโลกใบเล็กแคบเดียวกัน นั่นจึงทำให้เราเลือกนำเสนอภาพถ่ายเป็นแบบคอลลาจ

คุยกับผู้อยู่เบื้องหลังการรีโนเวตศูนย์ฯ สิริกิติ์ จากผ้าไทย สู่โอกาสของไทยในเวทีโลก

เหมือนเพิ่งจะรู้สึกเศร้าเสียดายกับการปิดปรับปรุงไปไม่นาน แต่รู้ตัวอีกทีก็ผ่านไปเกือบ 3 ปี จนได้เวลาที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์จะกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้แล้ว แถมยังมีคิวงานยาวเหยียดรออยู่ ไม่ว่าจะเป็นงานหนังสือซึ่งจะกลับมาสู่บ้านหลังเดิมอีกครั้ง หรือการประชุมใหญ่อย่าง APEC Thailand 2022 ที่เราน่าจะได้เห็นการใช้งานศูนย์ประชุมใหม่แห่งนี้อย่างเต็มรูปแบบเป็นครั้งแรก ‘ความเป็นไทย’ เราเฝ้าครุ่นคิดถึงนิยามของคำคำนี้ตลอดบทสนทนากับ ‘ออ–อริศรา จักรธรานนท์’ ในห้องประชุมของ ONION บริษัทสถาปนิกผู้อยู่เบื้องหลังการออกแบบและตกแต่งภายในศูนย์ฯ สิริกิติ์โฉมใหม่ โดยมี Frasers Property Thailand เป็นผู้บริหารงานก่อสร้าง ในโลกที่เปรียบเสมือนหม้อใบใหญ่ เคี่ยวกรำวัฒนธรรมอันหลากหลายเข้าจนบางอย่างแทบจะกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน อะไรคือสิ่งที่เราพอจะบอกได้ว่านี่แหละคือเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใคร ภาษา สถาปัตยกรรม ดนตรี หรือว่าอาหาร “สืบสาน รักษา ต่อยอด” คือสามคำที่เธอเล่าว่าเป็นแก่นของการออกแบบในครั้งนี้ สิ่งที่อริศราและทีมต่อยอดออกมานั้น ไม่ใช่ความเป็นไทยในแบบที่จับต้องไม่ได้หรือถูกยกไว้บนหิ้ง แต่เป็นสิ่งที่สามารถอยู่ร่วมกับชีวิตประจำวันของเราได้อย่างไม่ประดักประเดิด ขณะเดียวกันก็ต้องเป็นที่เชิดหน้าชูตาให้กับคนไทยได้ในฐานะศูนย์ประชุมแห่งชาติ แม้จะยังไม่สามารถเข้าไปดูศูนย์ฯ สิริกิติ์โฉมใหม่ให้เห็นกับตา แต่เราก็ขอให้อริศราช่วยพาเราไปสำรวจเบื้องหลังการรีโนเวตในครั้งนี้ ซึ่งท้าทายตั้งแต่ขนาดพื้นที่ที่รับผิดชอบ อย่างการออกแบบอย่างไรไม่ให้คนเดินแล้วหลง ที่สำคัญคือต้องคำนึงถึงการแข่งขันในระดับนานาชาติอีกต่างหาก น้อยแต่มาก ไทยแต่เท่ จากโครงสร้างเดิมของศูนย์ฯ สิริกิติ์ที่สร้างขึ้นครั้งแรกใน พ.ศ. 2534 การรีโนเวตครั้งนี้ได้เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาพื้นที่ไม่เพียงพอ พื้นที่อาคารแห่งใหม่จึงถูกขยายให้ครอบคลุมทั่วทั้งพื้นที่จอดรถเดิม จนได้พื้นที่ใช้สอยรวมกว่า […]

On the Road ซิ่ง ซ่า เซ็กซ์ โลกบนท้องถนนของนักซิ่ง

“เป็นนักซิ่ง ต้องมีบาดแผล” เมื่อความใคร่ในการขี่รถมอเตอร์ไซค์ของวัยรุ่นก่อให้เกิดวัฒนธรรมที่เรียกว่า “เด็กแว้น” ทำให้พวกเขาต่างค้นหาความเป็นตัวของตัวเองผ่านความซิ่ง ความซ่า และเซ็กซ์ที่ฉาบฉวยในวัยคึกคะนอง

‘เมืองลิง’ ออกแบบเมืองเก่าลพบุรี สร้างเมืองใหม่ให้ลิง เพื่อการอยู่ร่วมกันของคนและสัตว์ป่า

ปี 2499 อันธพาลครองเมือง ส่วนปี 2564 ลิงครองเมืองลพบุรี  เหตุการณ์วันนั้นเกิดขึ้นที่สี่แยกไฟแดงกลางเมือง บริเวณถนนรอบพระปรางค์สามยอด-หน้าศาลพระกาฬ แลนด์มาร์กสำคัญของจังหวัดลพบุรี  จ่าฝูงแก๊งลิงพระปรางค์สามยอดยกพวกจำนวนมากปีนรั้วลงถนน ทางด้านลิงจากฝั่งธนาคารออมสินและลิงถิ่นตลาด ก็ยกพวกทั้งหมดวิ่งกรูเข้ามาเตรียมเข้าปะทะกันท่ามกลางสายตาของชาวบ้านและนักท่องเที่ยว เสียงดังอื้ออึงมาจากเสียงกรีดร้องเจ็บปวด เสียงตะโกนสร้างความฮึกเหิม รวมถึงเสียงบีบแตร เบิ้ลเครื่องยนต์ของชาวเมือง สงครามวานรครั้งนั้นทำให้ ตาต้า-ชญตา ลีวงศ์เจริญ นิสิตปริญญาตรีภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเรื่องขำกลิ้งลิงกับเมืองที่มีความตลกร้ายแฝงอยู่บนปัญหาระดับวิกฤตที่ยังหาทางแก้ไม่ตก มาใช้เป็นสารตั้งต้นกำหนดหัวข้อธีสิสที่ชื่อว่า ‘โครงการบูรณะพื้นที่เมืองเก่าลพบุรี เพื่อการอยู่ร่วมกันของคนและสัตว์ป่า’ ในวันที่สงครามสงบลงแล้ว เราอยากพาไปดูหนึ่งในไอเดียการแก้ปัญหาลิงครองเมืองลพบุรี เพื่อที่อนาคตจะได้ไม่เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นอีก แถมคนกับสัตว์อาจอยู่ร่วมกันในเมืองได้อย่างสันติ เรื่องมันเริ่มมาจากลิง ปัญหาใหญ่และหนักสุดระดับวิกฤตของจังหวัดลพบุรีคือ ‘ลิง’ เพราะจำนวนของพวกมันที่เพิ่มมากขึ้นในแต่ละปีเป็นเรื่องที่ควบคุมได้ยาก ปัจจัยหลักๆ คือการที่มนุษย์หยิบยื่นอาหารให้ลิงจนเป็นเรื่องปกติ ทำให้เดิมทีลิงที่หากินเองออกลูกได้ปีละตัว กลับออกลูกได้สองตัวต่อปี ปัญหาที่ตามมาจากการเพิ่มจำนวนดังกล่าวคือเจ้าหน้าที่จับลิงมาทำหมันได้ยากขึ้น ชาวบ้านบางคนถึงกับบอกว่า “ลิงมันสื่อสารกันรู้เรื่อง มันหนีทันตลอด” ปีนี้ผลสำรวจพบว่า ชุมชนลิงในเมืองลพบุรีมีจำนวนถึงห้าพันกว่าตัว และคาดว่าในอีกห้าปีข้างหน้าน่าจะขยายเผ่าพันธุ์เพิ่มอีกเป็นหมื่นๆ ตัว  ตาต้าเล่าว่า ลิงเป็นสัตว์สังคมไม่ต่างจากมนุษย์ มีการจับกลุ่ม รวมแก๊ง แบ่งก๊กเป็น 7 พวกหลักๆ แบ่งเป็น 3 […]

บินลัดฟ้ากับ 8 สนามบินดีไซน์ล้ำที่ออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม

ช่วงนี้เรารู้สึกว่าบรรยากาศการท่องเที่ยวเริ่มกลับมาคึกคักอีกครั้ง เข้าโซเชียลมีเดียทีไรก็ต้องเห็นเพื่อนๆ และคนรอบตัวแพ็กกระเป๋า เช็กอินสนามบิน โบกมือลาด้วยเอเนอร์จีตื่นเต้น ก่อนจะบินลัดฟ้าไปเที่ยวต่างจังหวัด หรือบางคนก็ไปไกลถึงต่างประเทศ ถ้ามองในแง่เศรษฐกิจ อุตสาหกรรมการบินที่กลับมาฟื้นตัวในรอบหลายปีถือเป็นสัญญาณดีว่าภาคธุรกิจจะกลับมาเดินเครื่องได้อีกครั้ง แต่ถ้ามองในแง่สิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรมการบินนั้นโดนวิพากษ์วิจารณ์และต่อต้านอย่างหนักจากหน่วยงานและนักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมมานานหลายปีแล้ว เพราะเป็นหนึ่งในวงการที่ทำให้โลกของเราเผชิญ ‘การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ’ หรือ ‘Climate Change’ ที่เป็นแบบนั้นเพราะ 2.4 เปอร์เซ็นต์ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลกมาจากอุตสาหกรรมนี้ และเมื่อรวมก๊าซอื่นๆ บวกกับไอน้ำสีขาวที่เครื่องบินพ่นออกมา ซึ่งมีส่วนทำโลกเผชิญภาวะโลกร้อนมากถึง 5 เปอร์เซ็นต์ ทำให้คนจำนวนไม่น้อยหันมาแบนการเดินทางด้วยเครื่องบิน และเลือกที่จะเดินทางด้วยวิธีอื่นๆ อย่างรถไฟแทน เพื่อแสดงจุดยืนและตอบสนองต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมที่กำลังเกิดขึ้น  ถึงอย่างนั้นก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการเดินทางด้วยเครื่องบินยังคงเป็นตัวเลือกที่คนส่วนใหญ่มองว่าจำเป็น คอลัมน์ Urban’s Pick จึงอยากพาทุกคนไปสำรวจสนามบินจากทั่วทุกมุมโลกที่ให้ความสำคัญกับปัญหาสิ่งแวดล้อม และพยายามดีไซน์พื้นที่ ติดตั้งอุปกรณ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อลดปัญหามลพิษและร่วมสร้างโลกที่ยั่งยืน 01 | Dock A at Zurich Airport สนามบินแห่งแรกที่เราอยากพาไปสำรวจก็คือ ‘Zurich Airport’ ตั้งอยู่ที่เมืองซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สนามบินที่ใหญ่ที่สุดของประเทศแห่งนี้เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี 1948 แต่ในปี 2032 ที่นี่กำลังจะเปิดอาคารผู้โดยสาร (Terminal) แห่งใหม่ชื่อว่า […]

ไขคดีฆาตกรรมท้องมหาสมุทร หนังสือภาพที่สอนให้คนระวังพิษสัตว์ทะเล

พบผู้เสียชีวิตหลังจากไปดำน้ำในทะเล ไม่พบบาดแผลเด่นชัด เจอเพียงรอยบวมบนแขนเล็กๆ และเนื้อซีดจนเป็นสีน้ำเงินคล้ำ จากข้อมูลผู้ตายเป็นคนชอบดำน้ำและสะสมของสวยงาม คาดว่าฆาตกรน่าจะใช้ของมีคมปลายแหลมขนาดเล็กทำร้ายเหยื่อ แล้วคนร้ายคือใครกัน? ผู้ต้องสงสัย 1 : หมึกสายวงน้ำเงิน ลายของมันเป็นวงแหวนสีน้ำเงินและเรืองแสงได้ พิษของมันอยู่ในน้ำลาย สามารถพบได้ในฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย ผู้ต้องสงสัย 2 : หอยเต้าปูน มีลวดลายของหอยเป็นเอกลักษณ์ พิษของมันอยู่ที่งวงที่ยื่นออกมาเป็นเข็มพิษ มักจะพบตามแนวปะการัง ——————————————————————- เฉลย : ผู้ร้ายคือ หอยเต้าปูน เนื่องจากแผลของผู้เสียชีวิตมีรอยบวมเล็กๆ จนแทบมองไม่เห็น สอดคล้องกับหอยเต้าปูนที่มีอาวุธตรงงวงเป็นเข็มพิษเล็กๆ และตัวมันมีลวดลายสวยงามตรงกับนิสัยผู้ตายที่ชอบสะสมของแปลกตา วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นหากถูกหอยเต้าปูนทำร้ายคือ ใช้แอลกอฮอล์รีบเช็ดบาดแผล ดึงเข็มพิษออกแล้วคัดเลือดบริเวณแผลให้ออกมากที่สุดและรีบนำส่งโรงพยาบาล จากเนื้อหาคดีฆาตกรรมดังกล่าวอาจจะมองเป็นเกมสืบสวนทั่วไป แต่สิ่งสำคัญที่ซ่อนไว้คือ การทำให้คนตระหนักถึงพิษสัตว์น้ำในมหาสมุทรและการป้องกันตนเองเบื้องต้น ผ่านการเล่าเรื่องสืบสวนคดีฆาตกรรมที่น่าติดตาม ซึ่งเป็นแนวคิดของ ‘แอล-นวพรรษ เอื้อพัทธยากร’ ผู้ทำหนังสือภาพประกอบแนวสืบสวนคดีฆาตกรรมเกี่ยวกับพิษสัตว์ทะเล ‘Criminal of the Sea’ ผลงานวิทยานิพนธ์ภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร น้อยคนรู้จักพิษสัตว์ทะเล จุดตั้งต้นทำหนังสือเกี่ยวกับพิษสัตว์ทะเล เริ่มมาจากแอลสังเกตเห็นว่า ความสัมพันธ์ของคนและสัตว์เป็นสิ่งใกล้ตัว ส่วนใหญ่คนรับรู้อันตรายของสัตว์บก เช่น แมงป่อง […]

1 10 11 12 13 14 29

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.