Olympic Games 2024 มหกรรมกีฬาแห่งการพัฒนาปารีส และนำเสนอตัวตนของฝรั่งเศส

ผ่านมา 100 ปีพอดีหลังจากเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกเกมส์ครั้งสุดท้ายของประเทศฝรั่งเศสในปี 1924 กลับมาคราวนี้ 2024 ประเทศฝรั่งเศส ณ กรุงปารีส รับไม้ต่อจากโตเกียวในการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อนและพาราลิมปิกอีกครั้งในรอบศตวรรษ มหกรรมกีฬาโอลิมปิกเกมส์ครั้งนี้ได้มีการนำเสนออัตลักษณ์ความเป็นฝรั่งเศสผ่านสัญลักษณ์ต่างๆ ทั้งโลโก้ มาสคอต โปสเตอร์ และชุดกีฬา โดยมุ่งเน้นเรื่องของเสรีภาพและการเปิดรับความหลากหลายที่พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวและนักกีฬาจากทั่วโลก มากไปกว่านั้น การเตรียมพร้อมเพื่อรองรับนักกีฬามากกว่า 14,500 คนและนักท่องเที่ยวหลายล้านคนจากทั่วทุกมุมโลก ทำให้ปารีสต้องขยับตัวเปลี่ยนแปลง หนึ่งในนั้นคือการสร้างอาคารใหม่หรือปรับปรุงให้ดีขึ้น บวกกับต้องสอดคล้องกับความยั่งยืน และเปลี่ยนกรุงปารีสให้กลายเป็นเมืองสีเขียวสำหรับทุกคน คอลัมน์ Report เดือนนี้อยากพาไปดูว่า การรับไม้ต่อเป็นเจ้าภาพมหกรรมกีฬาโอลิมปิกเกมส์ จะทำให้เมืองชั้นนำของโลกทั้งในด้านศิลปะและแฟชั่นอย่างปารีสที่เคยเป็นเมืองที่วุ่นวายและสกปรก พิสูจน์ถึงศักยภาพความพร้อมของตัวเองได้มากน้อยแค่ไหน แล้วเมืองน้ำหอมจะใช้โอกาสนี้พัฒนาและเปลี่ยนแปลงเมืองไปอย่างไรบ้าง พัฒนาเมืองเพื่อรองรับมหกรรมกีฬาระดับโลก การเป็นเจ้าภาพการแข่งขันโอลิมปิกเกมส์ 2024 ของฝรั่งเศสในครั้งนี้ เมืองปารีสจำเป็นต้องเตรียมตัวมากมายทั้งด้านสถานที่และผู้คน จึงมีการวางแผนพัฒนาเมืองโดยเน้นการใช้สถานที่ที่มีอยู่แล้วหรือไม่ก็สร้างขึ้นชั่วคราว เพื่อลดค่าใช้จ่ายและลดการปล่อยคาร์บอนสู่ธรรมชาติ กรุงปารีสเริ่มปรับภูมิทัศน์เมืองโดยคำนึงถึงนวัตกรรม พื้นที่สีเขียว และความยั่งยืน เริ่มจากการปรับโครงสร้างเมืองทั้งหอไอเฟลและสถานที่สำคัญทั้งหมดให้ถูกล้อมรอบด้วยสวน ซึ่งจะกลายเป็นสวนสาธารณะที่ใหญ่ติดอันดับโลก พร้อมปรับเส้นทางภายในเมืองให้กลายเป็นพื้นที่สำหรับการเดิน เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้คนเข้าถึงการแข่งขันได้ง่ายขึ้น และยังทำกิจกรรมต่างๆ ในสถานที่สำคัญอันเก่าแก่ เพื่อทำให้พื้นที่เหล่านั้นกลายเป็นที่นิยมมากขึ้น หลักการสำคัญของโปรเจกต์นี้คือ การลากเส้นเชื่อมต่อพื้นที่สำคัญๆ โดยมีหอไอเฟลและแลนด์มาร์กรอบๆ ได้แก่ ปลาส ดู ทรอกาเดโร […]

คุยเรื่องผังเมืองกับ รศ. ดร.นพนันท์

กรุงเทพฯ เมืองเทพสร้างที่มีปัญหามากมาย ไม่ว่าจะเป็นรถติด น้ำท่วม ซอยตัน และไม่มีทีท่าว่าปัญหาเหล่านี้จะหายไปสักที อาจเพราะเทพไม่ได้ร่างแผนผังเมืองไว้ก่อน “ปัญหาของเราคือขาดช่วงของการทำงานด้านผังเมืองในช่วงที่มันมีการเติบโตสูงที่สุดของกรุงเทพฯ” Urban Creature คุยกับ รศ. ดร.นพนันท์ ตาปนานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ นักวิชาการจากศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านยุทธศาสตร์เมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นหนึ่งในผู้จัดทำ ‘ร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ปรับปรุงครั้งที่ 4’ ถึงความสำคัญของผังเมืองและต้นตอของปัญหาที่เกิดขึ้นมากมายจนสะท้อนไปถึงภาพลักษณ์ของประเทศไทย อ่านในรูปแบบบทความได้ที่ : urbancreature.co/city-plan-with-noppanan/

เรียนรู้ความเป็นมาและสัมผัสความสวยงามของผ้าไหมไทย Colors of Buriram

เมื่อพูดถึง ‘ผ้าไหม’ หรือ ‘ผ้าไทย’ ภาพที่เราจะได้เห็นผู้คนสวมใส่ชุดผ้าไหมนั้นมักเป็นโอกาสสำคัญๆ อย่างงานพิธีการ มากกว่าที่จะนำมาใส่ในชีวิตประจำวัน ด้วยภาพจำที่มีต่อผ้าไทยที่ดูไม่ทันสมัยหรือสวมแล้วดูเป็นทางการเกินไป ทำให้ส่วนใหญ่มีแต่ผู้ใหญ่ที่ให้ความสนใจกับผ้าประเภทนี้ คอลัมน์ประจำจังหวัดจะพาทุกคนไปเรียนรู้เรื่องราวผ้าไทยกับงาน ‘Colors of Buriram’ เพื่อเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับผ้าไทย โดยเฉพาะผ้าไหมของชาวบุรีรัมย์ที่มีการพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์แฟชั่นที่มีความทันสมัย ใส่ได้ทุกเพศทุกวัย ผ่านการถักทอด้วยความประณีต ออกแบบและตัดเย็บอย่างสวยงาม เพื่อต่อยอดโครงการ ‘ผ้าไทยใส่ให้สนุก’ ให้อยู่คู่กับชุมชนและชาวบุรีรัมย์ รวมถึงสืบสานอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย และสนับสนุนกลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์ OTOP ให้มีรายได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย ‘Colors of Buriram’ สีสันและชีวิตของผ้าไหมทอมือ Colors of Buriram นั้นเป็นงานสุดยอดมหกรรมผ้าไทย ที่จัดนิทรรศการแสดงผลิตภัณฑ์ผ้าไทยและงานหัตถกรรมภูมิปัญญาชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือครั้งยิ่งใหญ่ที่สุด จัดแสดงผ้าทอนานาชนิดและงานหัตถกรรมผ้า 2,000 กว่าชิ้น ที่คัดสรรผลิตภัณฑ์มาจากทั้ง 23 อำเภอทั่วจังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อวันที่ 19 – 21 มีนาคม บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอนาโพธิ์ ไม่เพียงแต่จัดแสดงผลงานผ้าไทยเท่านั้น แต่ผู้ที่เข้าร่วมงาน Colors of Buriram ทั้งชาวบ้านในพื้นที่หรือนักท่องเที่ยวก็ยังจะได้สัมผัสและเรียนรู้ภูมิปัญญาวัฒนธรรมความเป็นไทยผ่านผลิตภัณฑ์ผ้าทอนานาชนิด รวมถึงเรียนรู้ขั้นตอนการผลิตผ้าไหมไทยตั้งแต่ต้นจนจบ เพื่อให้เข้าใจถึงศักยภาพและความสามารถในการผลิตและจำหน่ายสินค้าชุมชน ที่ปัจจุบันมีการพัฒนารูปแบบให้มีความทันสมัยใช้ในชีวิตประจำวันได้ […]

ไม่ต้องเป็นพ่อมดแม่มดก็หายตัวได้ด้วย ‘โล่ล่องหน’ พกพาง่าย ช่วยซ่อนตัวจากสังคมได้ทันที

ครั้งหนึ่งเราอาจเคยอยากมีผ้าคลุมล่องหนของแฮร์รี่ พอตเตอร์ ไอเทมที่เอาไว้ซ่อนตัวจากสถานการณ์ยุ่งยากหรือความวุ่นวายของสังคมที่เราอยากหลบหนี แต่ไม่ต้องเข้าไปถึงโลกแห่งเวทมนตร์เราก็หายตัวได้แล้วด้วย ‘โล่ล่องหน’ สินค้าของบริษัท Invisibility Shield Co. จากสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นโล่รุ่นที่สองหลังจากเปิดตัวรุ่นแรกในปี 2022 ที่ผ่านมา โล่ล่องหนนี้ทำขึ้นจากแผ่นโพลีคาร์บอเนตคุณภาพสูง มีส่วนประกอบของอาร์เรย์เลนส์ ที่ช่วยซ่อนคนด้านหลังโล่ด้วยการเปลี่ยนเส้นทางแสงที่สะท้อนออกมา และสะท้อนภาพของพื้นหลังจากด้านใดด้านหนึ่งของโล่ออกมาแทน ทำให้คนที่ยืนอยู่ฝั่งตรงข้ามกันนั้นมองไม่เห็นคนหรือวัตถุด้านหลังโล่แม้แต่น้อย โล่รุ่นใหม่นี้มีให้เลือกถึงสามขนาดตั้งแต่ 8 นิ้ว หรือประมาณ 20 เซนติเมตร ไปจนถึง 6 ฟุต หรือประมาณ 180 เซนติเมตร ที่สามารถบดบังตัวคนที่ยืนอยู่ด้านหลังโล่ได้อย่างแนบเนียน นอกจากนี้ โล่ทุกขนาดยังกันน้ำได้ แถมยังทำขึ้นจากวัสดุรีไซเคิล 100 เปอร์เซ็นต์อีกด้วย อินโทรเวิร์ตคนไหนที่อยากซ่อนตัวจากสังคม แต่ก็ยังอยากเดินทางไปที่นั่นที่นี่ แค่พกพาเจ้าโล่นี้ติดตัวไปด้วย แค่ม้วนมันใส่กระบอกและสะพายขึ้นหลังได้ทันที โล่ล่องหนรุ่นสองสั่งซื้อแบบพรีออเดอร์ได้ทาง Kickstarter โดยราคาเริ่มต้นที่ 69 ดอลลาร์ หรือประมาณ 2,530 บาท Sources :Designboom | tinyurl.com/2erz2jcrDesignTAXI | tinyurl.com/j57uarxyKickstarter | […]

กล้าเปื้อนเพื่อเปลี่ยนป่าชายเลน ที่บางปู ฟื้นฟูธรรมชาติให้เป็นปอดของเมืองไปกับโพรเทคส์

ในวันหยุดแต่ละครั้ง คุณต้องใช้ความกล้าแค่ไหนในการก้าวออกจากคอมฟอร์ทโซนไปทำกิจกรรมใหม่ๆ ที่จะเปื้อนเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างให้แตกต่างออกไป ฝนที่ตกพรำๆ ในช่วงเช้าตรู่ ทำให้บรรยากาศของการออกไป ‘กล้าเปื้อนเพื่อเปลี่ยน’ ในวันนี้แตกต่างออกไป เพราะอากาศในช่วงหน้าร้อนจะไม่ร้อนมากจนเกินไปนัก ใช้เวลาเพียง 10 นาที จาก BTS สถานีเคหะฯ รถก็พาเรามาหยุดกันที่หน้า ‘ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบกฯ (บางปู)’ สถานที่ที่เราจะใช้เวลาหนึ่งวันในการสำรวจธรรมชาติ ไปกับการท่องเที่ยวฟื้นฟูพื้นที่ ‘ป่าชายเลน บางปู’ เพื่อเพิ่มแหล่งสะสมคาร์บอนที่กำลังลดน้อยลง คอลัมน์ One Day With วันนี้อยากชวนทุกคนย่ำเท้าลงไปบนผืนดินเลน แล้วใช้สองมือของเราลงมือเปื้อนปลูกต้นโกงกางกับโพรเทคส์ เพิ่มจำนวนป่าชายเลนให้หนาแน่นขึ้น และหาคำตอบของความสำคัญในระบบนิเวศป่าชายเลนไปพร้อมๆ กันในแคมเปญ ‘กล้าเปื้อนเพื่อเปลี่ยน’  หลังจากรถตู้มาส่งเราถึงหน้าศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบกฯ (บางปู) ที่ดำเนินการโดยมูลนิธิสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (ประเทศไทย) ทันทีที่เปิดประตู สิ่งแรกที่ปะทะกับเราคือลมที่หอบเอากลิ่นอายความเป็นธรรมชาติมาด้วย ทำเอาอดรู้สึกตื่นเต้นในกิจกรรมที่จะต้องเจอภายในวันนี้ขึ้นมาไม่ได้ แต่ตื่นเต้นได้ไม่ทันไร ท้องก็ส่งเสียงประท้วงขึ้นมา เป็นสัญญาณของการเติมพลังก่อนไปเปื้อนเพื่อเปลี่ยนกันในช่วงบ่าย หลายคนไม่รู้ว่าป่าชายเลนคือพื้นที่ที่กำลังทำหน้าที่สำคัญในการช่วยต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เนื่องจากมีคุณสมบัติในการฟอกอากาศ โดยป่าชายเลน 1 ไร่ สามารถดูดซับคาร์บอนได้มากถึง 9.2 ตัน มากไปกว่านั้น การปลูกป่ายังช่วยลดการพังทลายหน้าดินจากการกัดเซาะ ไปถึงสร้างแหล่งอนุบาลสัตว์ทะเลรุ่นใหม่ด้วย ทำให้ป่าชายเลนถือเป็นสวรรค์ของสัตว์และพืชมากมายหลายชนิดเลยทีเดียว […]

The Legend is Back เทศกาลรวมร้านสตรีทฟู้ดระดับตำนานไว้ในที่เดียว วันนี้ – 6 เม.ย. 67 ที่สามย่านมิตรทาวน์

ถ้าพูดถึงสิ่งที่เป็นที่รู้จักของไทยในกลุ่มนักท่องเที่ยวและนักเดินทางจากทั่วทุกมุมโลก คงหนีไม่พ้น ‘Street Food’ หนึ่งใน Soft Power ที่สร้างชื่อเสียงด้านอาหารให้กับบ้านเรา จนหลายคนต้องบินมาลิ้มลองสักครั้ง แต่ถ้าจะไปตระเวนกินตามย่านต่างๆ อาจต้องใช้เวลาหลายวัน งานนี้ ททท. เลยจับมือกับศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ และออล ออฟ ลัค จัด ‘งานเทศกาลอาหารริมทางกลางกรุง’ (The Legend is Back) รวมสุดยอดอาหารร้านเด็ดระดับตำนานมาให้เลือกชิม พร้อมชมศิลปะสตรีทอาร์ตในที่เดียว ภายในงานประกอบไปด้วย 23 ร้านระดับตำนานที่มีความเก่าแก่มากกว่า 25 ปี ซึ่งมีการควบคุมราคาขายและความสะอาดอย่างชัดเจน ที่จะมาเสิร์ฟความอร่อยให้ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นคั่วไก่สวนมะลิ สูตรโบราณ (60 ปี), ทับทิมกรอบวังหลัง (30 ปี), หมูสะเต๊ะจึงอังลัก เจ้าเก่าเฉลิมบุรี (100 ปี), ราดหน้าประดิพัทธ์ (48 ปี) และอื่นๆ อีกมากมาย อีกทั้งครั้งนี้ยังพิเศษกว่าครั้งไหนๆ เพราะได้งานศิลปะของ ‘นุ้ย ศุภิส’ จาก Supis Studio […]

เทศกาลหนังสั้นโลกป่วยเราต้องเปลี่ยน เวทีของนักทำหนังรุ่นใหม่ที่เชื่อว่าหนังโลกร้อนไม่จำเป็นต้องน่าเบื่อ

เพราะเกิดและเติบโตที่จังหวัดเชียงใหม่ เราจึงมีประสบการณ์ตรงกับฤดูฝุ่นควันที่แวะเวียนมาทุกปี จำไม่ได้แล้วว่าครั้งแรกที่คัดจมูกเพราะฝุ่นควันคือเมื่อไหร่ แต่สิ่งที่เรารู้แน่ๆ คือทุกครั้งที่ฤดูฝุ่นเวียนมาถึง มันจะรุนแรงขึ้นทุกปี เช่นเดียวกับอุณหภูมิในเมืองที่ร้อนขึ้นเรื่อยๆ วัดได้จากหน้าหนาวที่ไม่ได้หนาวเท่าเดิม สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงเป็นปัญหาที่น่ากลัว และไม่ใช่เรื่องไกลตัวสำหรับเรา เช่นเดียวกับ ‘บุษกร สุริยสาร’ ผู้ร่วมก่อตั้งและที่ปรึกษาโครงการ Changing Climate, Changing Lives (CCCL) Film Festival ใครหลายคนอาจรู้จัก CCCL ในชื่อ ‘เทศกาลหนังสั้นโลกป่วยเราต้องเปลี่ยน’ ที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2563 และจัดต่อเนื่องมาทุกปี เทศกาลนี้ไม่ได้เป็นเทศกาลฉายหนังสั้นว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศของโลกเพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นเวทีที่เปิดให้นักทำหนังอิสระรุ่นใหม่จากภูมิภาคเอเชียได้เสนอโปรเจกต์ขอทุนทำหนังของตัวเอง ในขณะเดียวกันก็เปิดรับหนังสั้นจากคนทำหนังทั่วโลก เมื่อพูดถึงหนังสั้นหรือคอนเทนต์ใดๆ เกี่ยวกับโลกร้อน เรามักจะนึกถึงการให้ข้อมูลแบบตรงไปตรงมาหรือสารคดีน่าเบื่อ แต่ CCCL ไม่เชื่อเช่นนั้น พวกเขาเชื่อว่าหนังสั้นที่สื่อสารประเด็นจริงจังก็มีความหลากหลาย ดูสนุก และครีเอทีฟได้เหมือนกัน เรานัดพบกับบุษกรและ ‘นคร ไชยศรี’ ผู้ออกแบบกิจกรรมและเทศกาล เพื่อพูดคุยถึงเบื้องลึกเบื้องหลังการสร้างเฟสติวัล Edu-tainment ในบ่ายวันหนึ่งที่เราได้ยินข่าวว่าฤดูฝุ่นของเชียงใหม่กลับมารุนแรงอีกครั้ง ก่อนจะจบบทสนทนาด้วยความหวังเต็มเปี่ยมหัวใจว่าในปีต่อไปเราจะได้ยินข่าวดีบ้าง ทุกอย่างเริ่มจากการตระหนักรู้ว่าโลกร้อนไม่ใช่เรื่องไกลตัว เราได้เรียนรู้เช่นนั้น โลกป่วยเราต้องเปลี่ยน เพราะเคยทำงานให้ UN และติดตามข่าวการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของโลกมาตลอด […]

พาไปดู 8 รถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่จากแบรนด์ยานยนต์ระดับโลก ในงาน Bangkok International Motor Show 2024

ถ้าถามว่ารถยนต์ไฟฟ้าในประเทศบูมขึ้นแค่ไหนในช่วงที่ผ่านมา ก็คงตอบได้จากสัดส่วนของรถไฟฟ้าจากแบรนด์ยานยนต์ระดับโลก ในงาน ‘Bangkok International Motor Show 2024’ เพราะงานนี้ขนทัพรถไฟฟ้า EV มาจัดแสดงอย่างล้นหลาม หลังจากที่ประเทศไทยมีตัวเลขสถิติจำนวนรถไฟฟ้าที่จดทะเบียนใหม่ตามกฎหมายเพิ่มขึ้นถึง 5 เท่าในปีที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับปี 2565 ว่าแต่ในงานนี้จะมีรถยนต์ไฟฟ้าค่ายไหน รุ่นใดน่าสนใจบ้าง Urban Creature รวบรวมมาให้แล้ว 8 รุ่นจาก 8 แบรนด์ยานยนต์ระดับโลก ที่มาสร้างสีสันในงาน Bangkok International Motor Show 2024 ที่จะจัดถึงวันที่ 7 เมษายน 2567 ที่อาคารชาเลนเจอร์ 1 – 3 และอิมแพ็ค ฟอรั่ม ฮอลล์ 4 อิมแพ็ค เมืองทองธานี รถสปอร์ตไฟฟ้าสุดล้ำแห่งอนาคตVision ONE-ELEVEN จาก Mercedes-Benz เริ่มต้นคันแรกกับรถยนต์ไฟฟ้าคอนเซปต์ ‘Vision ONE-ELEVEN’ ของ Mercedes-Benz ที่ทำเอาใครหลายคนอ้าปากค้างกับดีไซน์หรูของรถสปอร์ตที่มาพร้อมความโดดเด่นเหนือจินตนาการ รถรุ่นนี้ได้แรงบันดาลใจจากรถต้นแบบทดลอง […]

เรียนรู้พื้นที่สุขภาวะผ่านสิ่งพิมพ์กับนิตยสาร ‘Healthy Space for all’ ที่อยากสื่อสารให้คนเมืองมีสุขภาพดี

การที่เมืองมี ‘พื้นที่สุขภาวะ’ (Healthy Space) หรือพื้นที่ส่วนกลางของชุมชน ที่ดึงดูดให้ผู้คนออกมาใช้งานและทำกิจกรรมร่วมกัน ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ ‘สุขภาพ’ ของคนในสังคมดีขึ้นตามไปด้วย เพื่อให้ทุกคนเข้าใจเรื่องพื้นที่สุขภาวะให้มากขึ้นและสนุกไปพร้อมๆ กัน Healthy Space for all ที่ดำเนินงานโดยศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) ภายใต้สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้เปิดตัวนิตยสารน้องใหม่ในชื่อ Healthy Space for all ธีมของเล่มแรกคือ ‘Healthy Space for all : Vol.1 Hello! ยินดีที่ได้รู้จัก’ ที่จะพาทุกคนไปเพลิดเพลินและล้วงลึกความรู้เกี่ยวกับพื้นที่สุขภาวะและบทบาทในการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะของ สสส. ภายในเล่มมีเนื้อหาน่าอ่านมากมาย ตั้งแต่การให้คำนิยามคำว่าพื้นที่สุขภาวะ บทสัมภาษณ์จากศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง คอลัมน์ลัดเลาะไปยังพื้นที่น่าสนใจต่างๆ ภายในเมือง รวมไปถึงเกมบิงโกน่ารักๆ ให้เล่น และภาพระบายสีให้เราได้ย้อนวัยกลับไปเป็นเด็กอีกครั้ง ใครที่อยากอ่านนิตยสารแบบเต็มๆ ติดตามรอฉบับออนไลน์ได้ที่หน้าเพจ Healthy Space for all หรือเว็บไซต์ paarchive.com

‘TK Mini’ ตู้ยืม-คืนหนังสือตู้แรกของไทย เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงหนังสือได้ง่ายและสะดวกขึ้น

นานมาแล้ว ‘หนังสือ’ เป็นเรื่องของกลุ่มคนที่มีทุนทรัพย์ในระดับหนึ่ง การยืม-คืนหนังสือจึงอาจเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับใครหลายคนที่อยากอ่านหนังสือจำนวนมากๆ แต่อาจไม่มีกำลังทรัพย์มากพอ ทำให้ครั้งหนึ่งคอลัมน์ Urban Sketch ของ Urban Creature เคยออกแบบตู้ยืม-คืนหนังสืออัตโนมัติที่จะช่วยให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการอ่านได้ แต่ตู้หนังสือนี้จะไม่ใช่แค่จินตนาการอีกต่อไป เพราะทางอุทยานการเรียนรู้ ‘TK Park’ ที่ให้ความใส่ใจเรื่องการเข้าถึงความรู้ผ่านการอ่านหนังสือ ได้มีการเปิดบริการตู้ยืม-คืนหนังสือ ‘TK Mini’ ซึ่งเป็นเครื่องอัตโนมัติบนพื้นที่สาธารณะตู้แรกของประเทศไทย เพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าถึงหนังสือของคนไทยให้ง่ายและสะดวกมากขึ้น ในตู้ TK Mini มีหนังสือให้บริการถึง 320 เล่ม โดยคัดเลือกจากคลังหนังสือ TK Park ที่ชั้น 8 centralwOrld ประกอบไปด้วยหนังสือหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นสารคดี หนังสือเด็ก หรือแม้แต่นวนิยาย โดยมีจำนวนการยืม-คืน รวมทั้งหมดแล้วกว่า 3,200 ครั้ง นับจากที่เปิดให้บริการมามากกว่า 6 เดือน ผู้ใช้บริการสามารถยืมและคืนหนังสือที่ตู้ TK Mini ผ่านแอปพลิเคชัน MyTK ได้อย่างสะดวกสบายและรวดเร็ว แถมยังยืมหนังสือได้สูงสุดครั้งละ 10 เล่ม นานถึง […]

ส่องความคิดสร้างสรรค์ของคนไทยที่สะท้อนถึงปัญหาการใช้ชีวิตในเมือง ผ่านหนังสือ ‘สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด’

งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติรอบนี้ นักอ่านคนไหนที่ชื่นชอบเรื่องเมืองแล้วยังไม่รู้ว่าจะซื้อเล่มไหนดี Urban Creature ขอแนะนำรวมบทความที่มีชื่อว่า ‘365 DAYS OF THAI URBAN MESS ARCHITECTURE สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด’ หนังสือเล่มนี้เป็นผลงานของ ‘ชัช-ชัชวาล สุวรรณสวัสดิ์’ สถาปนิกและนักเขียนเจ้าของหนังสือ ‘อาคิเต็กเจอ’ (และคอลัมนิสต์ของ Urban Creature) โดยภายในจะเป็นการบันทึกเรื่องราวสั้นๆ พร้อมภาพสเก็ตช์ 4 สี สิ่งของรอบตัวที่เห็นได้เรี่ยรายรอบเมือง ซึ่งเกิดจากฝีมือผู้คนตัวเล็กๆ ที่ดีไอวายสิ่งของเหล่านี้มาเพื่อแก้ปัญหาและตอบโจทย์การใช้งานในชีวิตจริง ในโปรเจกต์นี้ชัชวาลตั้งใจใช้เวลาหนึ่งปีวาดภาพสิ่งของและงานดีไซน์ไทยๆ ก่อนพบว่าเมืองที่อาศัยอยู่นี้มีปัญหาของผู้คนทาบทับอยู่ตามตึกรามบ้านช่องและสิ่งของที่เดินเจอในทุกวัน ตามไปซื้อหนังสือสถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราดได้ที่บูท Salmon Books งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 52 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม – 8 เมษายน 2567 เวลา 10.00 น. เป็นต้นไป หรือสั่งซื้อออนไลน์ได้ที่ store.minimore.com/salmonbooks/items/365Days  นอกจากนี้ ผู้อ่านยังติดตามคอลัมน์ ‘ดีไซน์-เค้าเจอ’ ของชัชวาลได้ทุกเดือนทางเพจ […]

‘IONIQ’ ผู้นำรถยนต์ไฟฟ้าจาก Hyundai ที่ให้ความยั่งยืนเป็นหลักสำคัญของแบรนด์

ภาวะโลกร้อนเป็นปัญหาที่ทุกภาคส่วนไม่สามารถมองข้ามได้อีกต่อไป โดยเฉพาะวงการรถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงที่ยิ่งต้องหันมาให้ความสนใจ เพราะถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ทำลายสิ่งแวดล้อม เช่นเดียวกับแบรนด์ยานยนต์ Hyundai ที่นอกจากจะพัฒนาความสามารถของรถยนต์แล้ว ยังให้ความสำคัญกับความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งสร้างสรรค์อนาคตแห่งความยั่งยืนผ่านนวัตกรรมใหม่ๆ ของแบรนด์อีกด้วย รถยนต์ไฟฟ้าเองก็เป็นหนึ่งในความตั้งใจที่จะช่วยโลกของ Hyundai ด้วยเหมือนกัน เพราะในปัจจุบันนี้ ความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าในตลาดเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ทางแบรนด์ได้มีการพัฒนานวัตกรรมรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อพา ‘IONIQ’ ก้าวสู่ผู้นำยานยนต์ไฟฟ้าที่สร้างอนาคตที่ยั่งยืน IONIQ ให้ความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมเป็นโจทย์สำคัญในการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้ารุ่นต่างๆ เช่น การนำเอาเส้นใยจากขวด PET รีไซเคิลและไฟเบอร์จากชานอ้อยมาประกอบขึ้นเป็นวัสดุหุ้มเบาะใน ‘IONIQ 5’ หรือแม้แต่รุ่นใหม่ล่าสุดอย่าง ‘IONIQ 6’ ที่ออกแบบภายใต้แนวคิด Ethical Uniqueness ที่นอกจากจะให้ความสำคัญกับความสะดวกสบายของผู้ขับขี่และผู้โดยสารแล้ว หนังที่หุ้มเบาะยังรักษ์โลกด้วยการใช้กระบวนการเคลือบผิวด้วยน้ำมันสกัดจากพืชเพื่อเพิ่มความแวววาวและสวยงามของหนัง ส่วนพรมในรถก็ทำขึ้นจากวัสดุตาข่ายจับปลารีไซเคิล แผงแดชบอร์ดทำจากพลาสติก TPO หรือ Thermoplastic Polyolefin สารผสมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ผ้าบุหลังคาผลิตจากวัสดุ Bio PET รวมไปถึงการใช้สีที่สกัดจากธรรมชาติด้วย นอกจากนี้ ความพิเศษของแบตเตอรี่รถยนต์ IONIQ ยังสามารถถอดเปลี่ยนชิ้นส่วนที่เสียหายไปรีไซเคิล และนำชิ้นส่วนใหม่มาประกอบกลับไปใช้งานได้อีกครั้ง เพื่อเป็นการช่วยลดการใช้ทรัพยากรและลดขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้อีกทางหนึ่งด้วย สัมผัสนวัตกรรมรถยนต์ไฟฟ้าแห่งอนาคตจาก Hyundai ได้ที่ IONIQ Lab […]

1 2 3 4 328

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.