Sara Cultural Centre อาคารไม้สูงที่สุดในโลก และลดการปล่อย CO₂ ตั้งแต่การก่อสร้าง

Sara Cultural Centre คือหนึ่งในโครงการออกแบบสถาปัตยกรรมแบบยั่งยืนที่ถูกนำเสนอใน Build Better Now นิทรรศการออนไลน์ในวาระการประชุม #COP26 ที่เพิ่งจบลงไป เป็นอาคารไม้ที่สูงที่สุดในโลกแห่งใหม่ล่าสุดในปี 2021 และเพิ่งเปิดให้ใช้งานเมื่อวันที่ 8 กันยายนที่ผ่านมา อาคารหลังนี้ไม่ได้เป็นเคสที่น่าสนใจแค่เรื่องสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังเป็นตัวอย่างการออกแบบพื้นที่สาธารณะใจกลางเมืองขึ้นมาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและทำให้คนเข้าถึงศิลปะและวัฒนธรรมได้ง่ายยิ่งขึ้น อาคารไม้ 20 ชั้น ความสูง 80 เมตรแห่งนี้ เป็นโครงการของเมืองเชลเลฟเตโอ (Skellefteå) ในประเทศสวีเดน ที่เปิดให้มีการประกวดแบบเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและเฟ้นหาสถาปนิกมือดีที่จะทำให้พื้นที่ใจกลางเมืองแห่งนี้เป็นพื้นที่สาธารณะที่ตอบโจทย์ผู้ใช้งานจริงๆ ซึ่งผู้ชนะการออกแบบคือ White Arkitekter ที่เนรมิตอาคารไม้ให้ออกมาสวยงามและพลิกโฉมวงการก่อสร้างให้ดีต่อสิ่งแวดล้อมได้ในทุกมิติ ปัจจุบันเชลเลฟเตโอเป็นเมืองที่มีประชากรเพียง 72,000 คน แต่อาคารศูนย์วัฒนธรรมแห่งนี้เป็นอีกหนึ่งหมุดหมายสำคัญในแผนพัฒนาที่จะดึงดูดให้คนตัดสินใจย้ายมาอยู่ที่นี่ให้ได้มากขึ้นถึง 100,000 คนในปี 2030 เพราะอาคารแห่งนี้ตั้งอยู่ใกล้จัตุรัสใจกลางเมือง ใกล้กับศูนย์การท่องเที่ยว มีประตูให้เข้าได้จากทุกทิศทาง มีถนนล้อมรอบ ชั้นล่างยังเป็นกระจกใสที่ทำให้คนที่ผ่านไปมาสามารถมองเห็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นภายในได้ตลอดเวลา และที่สำคัญยังอยู่ในจุดที่คนเมืองสามารถเข้าถึงง่ายๆ ด้วยขนส่งสาธารณะ  อาคารแห่งนี้มีทั้งหอศิลป์ พิพิธภัณฑ์ โรงละคร ห้องสมุดประจำเมืองแห่งใหม่ โรงแรม ร้านอาหาร สปา และศูนย์การประชุม เป็นพื้นที่สาธารณะในร่มที่เชิญชวนให้คนในเมืองได้ออกมาใช้เวลาและมีบทสนทนากันมากขึ้น โดยในแต่ละห้องจะมีพื้นที่ใช้สอยสำหรับทำกิจกรรมที่แตกต่างกัน […]

มุสลิมกินได้ไหม ถูกหลักฮาลาลหรือเปล่า เนื้อสัตว์จากแล็บไร้ความชัดเจนทางศาสนา จนอาจชะงักทั้งอุตสาหกรรม

เนื้อสัตว์เพาะเลี้ยงหรือ Cultured Meat กำลังเผชิญหน้ากับคำถามข้อสำคัญที่ส่งผลต่อการเติบโตของทั้งอุตสาหกรรม เมื่อเนื้อที่ใช้วิธีการเพาะขึ้นมาจากชิ้นส่วนของสัตว์ ที่เพาะเลี้ยงขึ้นมาโดยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และไม่ได้ถูกเชือดตามหลักฮาลาล ผู้บริโภคกลุ่มสำคัญอย่างชาวมุสลิมหลายพันล้านคนทั่วโลก หรือศาสนาอื่นที่มีกฎด้านอาหาร จะสามารถบริโภคอาหารแห่งอนาคตนี้ได้โดยไม่ผิดหลักศาสนาหรือไม่ Eat Just สตาร์ทอัปผลิตเนื้อสัตว์เพาะเลี้ยง จากซานฟรานซิสโก กำลังวางเดิมพันระหว่างเทคโนโลยีกับขนบธรรมเนียมที่มีมาอย่างช้านาน เพื่อเสนอแนวทางใหม่ในการป้อนโปรตีนให้กับโลก ในปี 2020 Eat Just เริ่มวางจำหน่ายนักเก็ตไก่ที่เพาะในห้องปฏิบัติการในสิงคโปร์ ก่อนจะระดมทุนเงินได้มากถึง 267 ล้านดอลลาร์ในปีต่อมา แผนของบริษัทคือมุ่งหน้าไปสู่ตลาดมุสลิม และมีแผนจะสร้างโรงงานในประเทศกาตาร์ ทว่าเมื่อปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญทางศาสนาแล้ว เนื้อสัตว์ชนิดใหม่นี้ยังไม่ได้รับอนุมัติ และยังไม่มีตราฮาลาลประทับอยู่บนสินค้าแต่อย่างใด Cultured Meat เป็นอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว และอาจมีมูลค่าถึง 25,000 ล้านภายในเวลา 10 ปี มหาเศรษฐีของโลกทั้ง Bill Gates, Richard Branson แม้กระทั่งผู้ร่วมก่อตั้งเฟซบุ๊กอย่าง Eduardo Saverin และอีกมากมายกำลังลงทุนในธุรกิจแห่งอนาคตและหวังให้กำไรงอกงามจากห้องแล็บ อย่างไรก็ตาม Nahdlatul Ulama องค์กรอิสลามที่ใหญ่ที่สุดของอินโดนีเซียกล่าวในแถลงการณ์เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมาว่า เซลล์ที่นำมาจากสัตว์ที่มีชีวิต และเพาะในเครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพจะอยู่ในหมวดหมู่ของซากสัตว์ ซึ่งถือว่าไม่สะอาด และมีกฎห้ามไม่ให้บริโภค แต่ประตูก็ยังไม่ได้ปิดตายโดยสิ้นเชิงเมื่อ […]

กชกร วรอาคม กับปณิธานการออกแบบพื้นที่สาธารณะเพื่อผู้คนในยุคนี้และยุคหน้า

“Can we fix the climate problem in one generation?” เป็นคำถามที่กชกร วรอาคม ถามกับตัวเอง เป็นคำถามที่ทำให้เธอที่เป็นมนุษย์ตัวเล็กๆ บนโลก เริ่ม ‘ลงมือทำ’ หลายสิ่งหลายอย่าง เป็นคำถามที่เธอพูดในคลิป ที่ท่านเซอร์ เดวิด แอทเทนเบอเรอห์ นักธรรมชาติวิทยาคนสำคัญ นำไปเปิดประกอบสปีชที่ COP26 หรือการประชุมภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 26 ณ เมืองกลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์ เมื่อเดือนที่ผ่านมา ซึ่งกชกรได้เข้าร่วมเพื่อรับรางวัลด้านการออกแบบจาก UN เป็นคำถามที่เธอถามกับผู้คนที่มาร่วมงานประกาศเดินหน้าธุรกิจควบคู่กับการกู้วิกฤตโลกของ SCG หรือ SCG ESG Pathway เริ่มด้วยกัน เพื่อเรา เพื่อโลก ในครั้งนี้ และ My answer would be yes. We have to. เป็นประโยคที่เธอตอบคำถามของตัวเอง ‘กชกร วรอาคม’ หรือที่หลายคนเรียกว่า ‘อาจารย์กช’ ตามบทบาทภูมิสถาปนิก พ่วงด้วยอาจารย์พิเศษด้านภูมิสถาปัตยกรรมศาสตร์ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ เป็นทีมงานออกแบบโปรเจกต์พื้นที่สาธารณะเด่นๆ หลายที่ ไม่ว่าจะเป็นโครงการอุทยาน 100 ปี จุฬาฯ, สวนหลังคาอุทยานเรียนรู้ป๋วย 100 ปี ที่ธรรมศาสตร์ รังสิต, Siam Green Sky สวนเกษตรลอยฟ้า สยามสแควร์, สวนบำบัดลอยฟ้าที่โรงพยาบาลรามาธิบดี, ทางเดินคนข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา สวนลอยฟ้าเจ้าพระยา ที่ดัดแปลงจากโครงสร้างเดิมของโครงการรถไฟฟ้าลาวาลิน, สวนสาธารณะเลียบคลองช่องนนทรี และงานอื่นๆ อีกมากมาย สาวแพสชันสูงคนนี้ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในเวทีระดับโลกต่างๆ เธอเป็นคนไทย 1 ใน 3 คน ที่ติดอยู่ในลิสต์ ‘TIME 100 […]

รณรงค์หยุด Bully ผ่านสติกเกอร์ Line ฝีมือนักเรียนญี่ปุ่นในโยโกฮาม่า

สมาคมผู้ปกครองและครู (PTA) ประจำโรงเรียนชั้นประถมศึกษาในเมืองโยโกฮาม่า ประเทศญี่ปุ่นผุดไอเดียเด็ด สร้างสรรค์สติกเกอร์ในธีมหยุดการบุลลี่ลงบนแอปพลิเคชันแชตยอดฮิตอย่าง Line  สติกเกอร์นี้มาจากภาพประกอบฝีมือนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษายามาอุจิ (Yamauchi) ในเขตอาโอบะ เมืองโยโกฮาม่า โดยแนบถ้อยคำให้กำลังใจเด็กๆ ไว้ในภาพ ซึ่ง Seijun Sato อาจารย์ใหญ่ของโรงเรียนหวังว่าคนที่ได้ใช้สติกเกอร์เหล่านี้จะได้รับความรู้สึกอบอุ่นหัวใจ สติกเกอร์ที่ว่ามีทั้งหมด 178 รูปแบบ ประกอบไปด้วยวลีภาษาญี่ปุ่นต่างๆ อาทิ ขอบคุณ, คุณทำได้ดีมาก และ ฉันอยู่ข้างคุณเสมอนะ โดยวางเคียงกับเจ้าการ์ตูนมาสคอตของโรงเรียนที่มีชื่อว่า ‘คีย์ลีฟ (Keyaleaf)’ สติกเกอร์ชุดดังกล่าวเกิดจากความร่วมมือกับนักวาดภาพประกอบชื่อ ‘โดคุคิโนโกะ (Dokukinoko)’ ซึ่งลูกสาวของนักวาดภาพคนนี้ ก็เข้าเรียนในโรงเรียนประถมฯ เช่นกัน เธอทำสติกเกอร์คีย์ลีฟกับ PTA ในปี 2019 และเปิดตัวโปรเจกต์อื่นๆ เพื่อทำสติกเกอร์จากภาพที่เด็กนักเรียนวาดในปี 2020 ซึ่งทำให้ได้รับภาพวาดทั้งหมดมาจากเด็กๆ จำนวนประมาณ 100 คน เมื่อเดือนมกราคม 2021 โดคุคิโนโกะยังได้รับรางวัลสูงสุด ประเภทภาพวาดประกอบจากเวที ‘yuru-chara’ โดยศิลปินเข้าร่วมประกวดในธีมป้องกันการฆ่าตัวตายเพราะการถูกกลั่นแกล้ง ซึ่งรางวัลนี้จัดขึ้นโดยองค์กรไม่แสวงผลกำไรในโตเกียว  ต่อมาในเดือนมิถุนายน ระหว่างการพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ของโรงเรียน โดคุคิโนโกะได้แนะนำให้มีการทำสติกเกอร์ไลน์เพื่อป้องกันการบุลลี่ขึ้นมา […]

กระแสรักษ์โลกมาแรง แบรนด์ชั้นนำของโลกใช้วัสดุชีวภาพ ผลิตสินค้ามากขึ้นสองเท่าในปี 2021

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา วัสดุชีวภาพเคยเป็นสินค้าสำหรับตลาดเฉพาะกลุ่มเท่านั้น แต่ในปี 2021 วัสดุจากธรรมชาติได้กลายเป็นสินค้ากระแสหลักและถูกใช้ในวงกว้างมากขึ้น หลังจากบรรดาสถาปนิก นักออกแบบ และผู้ผลิตเลือกใช้วัสดุประเภทนี้เป็นส่วนประกอบสำคัญสำหรับสร้างเศรษฐกิจและสังคมคาร์บอนต่ำ เรจินา โปลันโก (Regina Polanco) ผู้ก่อตั้ง Pyratex บริษัทผลิตสิ่งทอจากธรรมชาติสัญชาติสเปน เปิดเผยว่า ยอดขายวัสดุชีวภาพของบริษัทในปี 2021 เพิ่มขึ้นถึงสองเท่า เมื่อเทียบกับยอดขายในปี 2020 ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ลูกค้าที่เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่หลายรายต้องการใช้วัสดุจากธรรมชาติในการผลิตสินค้าของตัวเองมากขึ้น โดยแบรนด์ที่ใช้ผ้าของ Pyratex ได้แก่ ASICS, Camper, PANGAIA และ Pepe Jeans เป็นต้น ด้านแจด ฟิงก์ (Jad Finck) รองประธานฝ่ายนวัตกรรมและความยั่งยืนแห่ง Allbirds บริษัทผลิตรองเท้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมก็ยอมรับว่า ความสนใจในการใช้วัสดุชีวภาพเกิดขึ้นมากมายในปี 2021 โดยทาง Allbirds ได้พัฒนาพลาสติกชีวภาพจากอ้อยสำหรับผลิตรองเท้าผ้าใบให้แก่หลายบริษัท เช่น Reebok และ Timberland โดยฟิงก์อธิบายว่า พืชและสิ่งมีชีวิตอย่างเช่นสาหร่ายและเชื้อรา สามารถกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากชั้นบรรยากาศได้ เพราะพวกมันดึงก๊าซชนิดนี้จากอากาศและเก็บไว้ในเซลล์ของตัวเอง มากกว่าที่จะผลิตและปล่อยก๊าซออกไป นอกจากนั้น […]

E-waste ภัยร้ายใกล้ตัวจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ใช้แล้ว

โทรศัพท์เครื่องเก่าของคุณ คุณเก็บ หรือ คุณทิ้ง? หลายคนไม่กล้าทิ้งมือถือเนื่องจากกลัวว่าข้อมูลที่เป็นความลับของเราจะหลุดรั่วออกไปสู่สาธารณชน ทำให้ทุกคนยังเก็บมือถือไว้ในลิ้นชักในบ้านของคุณเอง กลายเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ชิ้นเล็กๆ ที่เก็บอยู่ในบ้าน ไม่ใช่แค่โทรศัพท์ แต่รวมไปถึงอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เสื่อมสภาพแล้วเราจะเรียกมันว่าขยะอิเล็กทรอนิกส์ วันนี้ Urban Creature ขอพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ E-waste ภัยร้ายใกล้ตัวจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ใช้แล้ว ทั้งผลเสียต่อสุขภาพ และผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม เราจะทำอย่างไรกับมันได้บ้างในวันที่มันกลายเป็นขยะ ตามมาดูจากคลิปนี้เลย! #urbancreature #ReinventTheWayWeLive #ขยะอิเล็กทรอนิกส์ #City #ขยะ2022 #โลกร้อน

พบทางเท้าพัง เจอถนนเป็นหลุม ฯลฯ แจ้งผ่านไลน์ @traffyfondue พร้อมส่งปัญหาไปถึงผู้รับผิดชอบโดยตรง

ทางเท้าพัง ถนนเป็นหลุม ไฟข้ามถนนไม่ทำงาน ป้ายบังทางเดิน ฯลฯ ทั้งหมดนี้คือสารพัดปัญหาเมืองที่คนไทยน่าจะประสบมาแล้วไม่มากก็น้อย และในขณะเดียวกัน Urban Creature เชื่อว่าคงมีหลายคนที่อยากแจ้งปัญหาให้หน่วยงานที่รับผิดชอบมาปรับปรุงแก้ไข แต่อุปสรรคใหญ่คือเรามักไม่รู้ว่าต้องแจ้งใคร และจะรู้ได้ยังไงว่าเรื่องไปถึงไหนแล้ว เพราะอยากให้ประชาชนกับหน่วยงานต่างๆ ร่วมมือทำงานพัฒนาเมืองไปด้วยกันอย่างสะดวก ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) จึงคิดค้น Traffy* Fondue (ทราฟฟี่ฟองดูว์/ท่านพี่ฟ้องดู) แพลตฟอร์มบริหารจัดการปัญหาเมืองด้วยการใช้ระบบแจ้งและบริหารจัดการด้วย AI Chatbot หลักการใช้งานของ Traffy* Fondue คือการให้หน่วยงานต่างๆ เช่น อบต. เทศบาล อาคารสำนักงาน หรือหน่วยงานอื่นใดที่มีระบบรับแจ้งปัญหาอยู่แล้ว นำแพลตฟอร์มนี้มาใช้เพิ่มช่องทางใหม่ในการรับแจ้งและจัดการปัญหาที่พบผ่าน LINE Chatbot แบบอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ลดภาระการทำงานของเจ้าหน้าที่ และยกระดับการมีส่วนร่วมของพลเมือง (Citizen Engagement) และผู้เกี่ยวข้องได้ทุกพื้นที่และทุกเวลา นอกจากอำนวยความสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้หน่วยงาน ฟากประชาชนเองก็สามารถมีส่วนร่วมในการสอดส่องดูแลเมืองได้ง่ายๆ แค่แจ้งปัญหาเมืองที่พบผ่าน LINE ไม่ว่าจะเป็นปัญหาที่เราพบทั่วไปอย่างทางเท้าพัง ป้ายหาเสียงนักการเมืองบังทางเดิน ไฟถนนไม่ส่องสว่าง ไปจนถึงการแจ้งซ่อมในอาคารสำนักงาน สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ สาธารณภัย เป็นต้น จากนั้นระบบ AI […]

UNDP ชวนหาสาเหตุความรุนแรง เมื่อความสุดโต่งและปัจจัยเชิงโครงสร้างคือบ่อเกิดของการใช้ความรุนแรง

ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เราเห็นภาพความเคลื่อนไหวทั้งในประเทศไทยและรอบโลก การกลับมาของฝ่ายขวาจัดและแนวคิดนิยมเผด็จการ และที่อีกด้าน ผู้คนออกไปเรียกร้องความเท่าเทียมและความยุติธรรม บางครั้งพวกเขาได้รับการรับฟังและบรรลุเป้าหมายได้ด้วยสันติวิธี แต่ก็มีอีกหลายครั้งที่เกิดความรุนแรงเพราะรัฐเมินเฉยจนทำให้สถานการณ์ยิ่งปะทุ หรือรัฐลงมือปราบอย่างรุนแรง หลายกลุ่มเลือกลงมือก่อการร้ายเพราะความคับแค้นใจที่เผชิญมาเป็นเวลานานและเชื่อว่าความรุนแรงจะเป็นคำตอบ เสียงของอาวุธปืนและระเบิดอาจทำให้ได้รับความสนใจจากสังคม แต่นั่นคือทางออกจริงหรือ ในสังคมประชาธิปไตยที่มีรากฐานมาจากการเคารพความหลากหลาย ไม่ผิดหากจะมีแนวคิดสุดโต่ง (Extremism) ที่หมายถึงยึดถือในอุดมการณ์/ความเชื่อ/ความศรัทธาในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง สิ่งนั้นอาจส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสังคมในทางที่ดีขึ้นได้ เช่น การต่อสู้เรียกร้องสิทธิของชาติพันธุ์หรือสิทธิสตรี แต่ถ้าหากแนวคิดสุดโต่งนั้นกลายเป็นแนวคิดสุดโต่งที่นิยมความรุนแรง (Violent Extremism) เมื่อใด กลุ่มบุคคลนั้นจะมองว่าการใช้ความรุนแรงไม่ผิดและยอมทำทุกอย่างเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ และเมื่อนั้น การสูญเสียก็จะเกิดขึ้น ย้อนกลับไปก่อนหน้าที่จะเกิดความสูญเสียขึ้น สาเหตุที่แท้จริงของมันคืออะไร คนเราไม่ได้มีแนวคิดสุดโต่งที่นิยมความรุนแรงขึ้นมาได้ง่ายๆ ที่ด้านหนึ่ง มันถูกฟูมฟักขึ้นมาจากความขัดแย้งทางศาสนา ชาติพันธุ์ หรือเพศ และความเดือดร้อนต่างๆ ที่มาจากการขาดโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคมเพราะไม่มีส่วนร่วมทางการเมืองและไม่ถูกมองเห็นจากภาคส่วนต่างๆ เช่น ชนกลุ่มน้อยที่ถูกกีดกันทางกฎหมายในเรื่องสัญชาติและโอกาสทางเศรษฐกิจ หรือบุคคลที่มีศาสนาและวัฒนธรรมแตกต่างจากส่วนกลางทำให้รู้สึกเป็นอื่น ส่วนที่อีกด้าน ความรุนแรงอาจมาจากกลุ่มที่ไม่ได้ตระหนักถึงความแตกต่างหลากหลายและไม่ใช่ชนกลุ่มน้อย (Minority) ในสังคมก็ได้ เช่น กลุ่มหัวรุนแรงขวาจัด (Right-Wing Extremists) ในหลายประเทศ และผู้ที่สมาทานแนวคิดที่ว่าคนขาวเหนือกว่าคนกลุ่มอื่น (White Supremacy) ที่สหรัฐอเมริกา พวกเขาเชื่อว่าคนกลุ่มอื่นจะทำให้สถานะทางเศรษฐกิจและสังคมของพวกเขาสั่นคลอน จึงลงมือใช้ความรุนแรงเพราะต้องการปกป้องสถานภาพและผลประโยชน์ของตัวเองเอาไว้ หากอยากตัดไฟความรุนแรงแต่ต้นลม เราจะทำอย่างไรได้บ้าง โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ […]

แม่น้ำต้องลงไปว่ายได้! ปารีสวางแผนทำความสะอาดครั้งใหญ่ รับโอลิมปิก 2024

ปารีสกำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายครั้งใหญ่ หลังจากประกาศว่าจะทำให้แม่น้ำแซนสะอาดจนสามารถลงไปว่ายได้ในปี 2024 ซึ่งหากทำได้สำเร็จ เมืองหลวงแดนน้ำหอมอาจเป็นต้นแบบสำคัญที่ทำให้เมืองอื่นๆ ทั่วยุโรป ลงมือทำความสะอาดแม่น้ำของตนเองที่เต็มไปด้วยแบคทีเรีย ที่ผ่านมาปารีสได้ประกาศแผนการที่จะจัดพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนปี 2024 ที่แม่น้ำแซน สายน้ำเก่าแก่ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง แต่พวกเขาไม่ต้องการให้แม่น้ำเป็นเพียงฉากหลังที่สวยงามเท่านั้น แต่ยังหวังว่าจะสามารถจัดกิจกรรมบางอย่างในแม่น้ำเหมือนกับที่เคยทำในโอลิมปิกฤดูร้อนในปี 1900 ที่ผ่านมาการว่ายน้ำในแม่น้ำแซนผิดกฎหมายมาตั้งแต่ปี 1923 สาเหตุมาจากคุณภาพน้ำที่ไม่ได้มาตรฐาน ปัญหาสำคัญที่ต้องเร่งแก้ไขคือระบบท่อระบายน้ำในปารีส ที่ไม่สามารถรองรับฝนที่ตกลงมาอย่างหนักได้ ซึ่งน้ำเสียสามารถผสมกับน้ำฝนและไหลลงสู่แม่น้ำแซนได้จากท่อระบายน้ำกว่า 40 แห่ง ส่งผลให้มีระดับแบคทีเรียที่สูงมากจนเกิดอาการป่วยได้ ตั้งแต่ท้องร่วง คลื่นไส้ และปัญหาสุขภาพอื่นๆ เพื่อต่อสู้กับปัญหาเหล่านี้ ปารีสจะให้เงิน 1,600 ล้านดอลลาร์ เพื่อซื้อถังเก็บน้ำใต้ดินขนาดใหญ่ที่สามารถจุน้ำได้ 12 ล้านแกลลอน ปริมาตรเดียวกับที่เติมสระว่ายน้ำมาตรฐานโอลิมปิกได้ 18 สระ โดยถังจะถูกสร้างขึ้นภายใต้สวนสาธารณะเชื่อมต่อด้วยอุโมงค์ใต้ดินที่จะรวบรวมน้ำจากท่อระบาย และสูบกลับเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียได้เมื่อปริมาณฝนลดลง นครหลวงฝรั่งเศสยังกำลังทดสอบระบบที่เรียกว่า Alert หรือเซนเซอร์ลอยน้ำอัตโนมัติ เพื่อทำการวัดระดับแบคทีเรียในน้ำแบบเรียลไทม์ เพื่อการวางแผนที่ดียิ่งขึ้นด้วย อย่างไรก็ตามปารีสไม่ได้เป็นผู้โชคร้ายรายเดียวที่ระบบบำบัดน้ำเสียไม่สามารถรองรับฝนตกหนักได้ หลายเมืองใหญ่ของยุโรปที่มีระบบบำบัดน้ำเสียอายุมากกว่าศตวรรษก็กำลังประสบปัญหาเดียวกัน และผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการน้ำบอกว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีผลให้ฝนตกหนักขึ้นบ่อยครั้ง จนสถานการณ์อาจเลวร้ายกว่าเดิม Source : Freethink l https://shorturl.asia/6AOQX

โฆษณาซานต้าเกย์ แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ในทัศนคติต่อ LGBTQ+ ของนอร์เวย์

โฆษณาคริสต์มาสได้กลายเป็นประเพณีประจำปีในหลายประเทศ ที่มักจะหยิบยกเรื่องราวของแบรนด์มานำเสนอผ่านมนต์ขลังของซานต้า เรนเดียร์ กล่องของขวัญ หรือถุงเท้า แต่คริสต์มาสที่ผ่านมานี้มีโฆษณาของประเทศนอร์เวย์เรื่องหนึ่งที่ซานต้าจูบกับผู้ชายที่รอเขาอยู่ที่บ้านในวันคริสต์มาสอีฟ ซึ่งเป็นเรื่องที่เซอร์ไพรส์มาก When Harry Met Santa เป็นโฆษณาความยาวสี่นาทีจาก Posten บริษัทไปรษณีย์จากนอร์เวย์ เรื่องราวมีอยู่ว่าชายคนหนึ่งกำลังเขียนจดหมายเพื่อส่งไปยังขั้วโลกเหนือโดยมีข้อความระบุไว้เพียงสั้นๆ ว่า All I Want for Christmas is you หรือทั้งหมดที่ฉันต้องการในวันคริสต์มาสก็คือคุณ ในที่นี้หมายความว่าตัวซานต้าเองนี่แหละ ที่เป็นของขวัญที่ดีที่สุดสำหรับเขา “เราต้องการฉลองครบรอบ 50 ปี ของการยกเลิกกฎหมายห้ามมีความสัมพันธ์ระหว่างคนเพศเดียวกัน” Monica Solberg ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดของ Posten กล่าวถึงแรงบันดาลใจเบื้องหลังของโฆษณาที่มีผู้ชมผ่านช่องทางออนไลน์มากกว่าสองล้านครั้ง ซึ่งเธอบอกว่าประหลาดใจเป็นพิเศษกับผลตอบรับที่ดีและมากขนาดนี้ ทว่านอกจากคำชมแล้ว ไอเดียครีเอทีฟชิ้นนี้กำลังถูกวิจารณ์จากชาวนอร์เวย์และประเทศในแถบนอร์ดิก ความเห็นบางส่วนบอกว่านี่คือการล่วงละเมิดทางเพศกับซานตาคลอส หรือจงใจแสดงให้เห็นว่านอกใจภรรยาอย่าง Mrs. Claus ซึ่งในหลายพื้นที่ของโลกแนวความคิดเรื่องความรักในวันคริสต์มาสแบบเกย์ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ ผลสำรวจบอกว่าชาวสหราชอาณาจักรไม่ยอมรับการที่ซานตาคลอสถูกนำเสนอหรือตีความให้แสดงความรักต่อเพศเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ในประเทศนอร์เวย์ ที่แต่เดิมการรักร่วมเพศถือเป็นสิ่งต้องห้ามและเป็นความผิดทางอาญาจนกระทั่งปี 1972 การมองว่าโฆษณาเรื่อง When Harry Met Santa เป็นเรื่องราวที่อบอุ่นหัวใจมากกว่าจะวิจารณ์ว่าไม่เหมาะสม ซึ่งสะท้อนถึงทัศนคติที่ก้าวหน้าในด้านสิทธิ […]

นักวิจัยพัฒนาแผงอิเล็กทรอนิกส์ยืดหยุ่นคล้ายผิวหนัง หมุดหมายสำคัญเทคโนโลยีสวมใส่

นักวิจัยพัฒนาแผงอิเล็กทรอนิสก์ยืดหยุ่นคล้ายผิวหนัง เป็นหมุดหมายสำคัญสำหรับเทคโนโลยีสวมใส่ในอนาคต

1 97 98 99 100 101 155

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.