‘ช่างหวาน-สวาร สุขประเสริฐ’ กับอาชีพช่างแกะสลักไม้ที่เริ่มจางหายไปตามกาลเวลา

ในช่วงเวลาที่โลกพัฒนาและหมุนไปอย่างรวดเร็ว อุตสาหกรรมเครื่องจักรเข้ามาทดแทนงานฝีมือของมนุษย์ งานแกะสลักไม้เริ่มค่อยๆ จางหายไปตามกาลเวลา ‘ช่างหวาน-สวาร สุขประเสริฐ’ ช่างแกะสลักไม้จากร้าน ‘บ้านอินคำ’ คือหนึ่งในผู้หลงเหลืออยู่ในแวดวงอาชีพนี้ “สมัยก่อนงานแกะสลักรุ่งเรืองมาก งานเยอะ ทำแทบไม่ทัน ต้องทำโอทีทุกคืน ช่างแกะรุ่นใหม่ก็เข้ามาฝึก แต่เดี๋ยวนี้ไม่มีแล้ว ผมแทบจะเป็นช่างแกะสลักรุ่นเด็กที่เหลืออยู่” รายการ The Professional พาไปรู้จักกับอาชีพช่างแกะสลักไม้ และความหวังที่จะมีคนรุ่นใหม่เข้ามาอนุรักษ์ศาสตร์นี้ให้ยังคงอยู่ต่อไป

มองเมืองผ่านเลนส์ Street Photographer ‘จ็อบ-เจตวิชาญ เชาวน์ดี’

จากครูสอนเด็กอนุบาลที่ร่างกายไม่ค่อยแข็งแรง ทำให้ ‘จ็อบ-เจตวิชาญ เชาวน์ดี’ เลือกวิธีการออกกำลังกายด้วยการเดินไปตามเมือง พร้อมพกกล้องคู่ใจ ค้นหามุม มองสิ่งน่าสนใจ แล้วลั่นชัตเตอร์บันทึกภาพ จากงานอดิเรก ‘Street Photographer’ กลายเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ลงแรงจริงจัง จนทำให้จ็อบมองสิ่งต่างๆ ผ่านเลนส์กล้องมากขึ้น และในสายตาของผู้อยู่อาศัยก็ทำให้เขาได้มองมุมเมืองที่ต่างออกไปจากเดิม “พอได้ไปถ่ายภาพแนวสตรีทเยอะขึ้น เรารู้สึกว่ามันมีเสน่ห์ ทำให้วิธีการมองเมืองของเราเปลี่ยนไป สิ่งที่เรารู้สึกดีที่สุดคือการถ่ายภาพแล้วได้บันทึกประวัติศาสตร์ของโมเมนต์ ของเมือง ได้เห็นคุณค่าของสิ่งที่อยู่ข้างหน้า” รายการ The Professional พาไปรู้จักอาชีพช่างภาพสาย Street Photo กับคอลัมนิสต์เจ้าของโปรเจกต์ Bangkok Eyes ที่ชวนมองเมืองผ่านเลนส์ด้วยการเดินเล่นถ่ายภาพย่านต่างๆ 50 เขตในกรุงเทพฯ

ครูเชฟผู้ไม่เกษียณการสอน ‘อาจารย์สุริยันต์ ศรีอำไพ’ | THE PROFESSIONAL

“เราไม่แน่ใจว่าจะมีอายุยืนยาวอีกเท่าไหร่ วันนี้มีจริงแต่พรุ่งนี้จะมีจริงหรือเปล่ายังไม่รู้ รู้แค่ว่าวันนี้อยากจะทำงานดีๆ สร้างสรรค์วงการเบเกอรีให้คนรุ่นหลังมีโอกาสต่อยอดธุรกิจหรือทำเป็นอาชีพได้” ในยุคที่สังคมผู้สูงอายุกลายเป็นโจทย์และความท้าทายสำคัญของชาวเมือง ส่วนอุตสาหกรรมแรงงานต่างมองหาและต้องการคนรุ่นใหม่เข้ามาทำงาน ทำให้ผู้มีอายุหรือวัยเกษียณส่วนใหญ่มีพื้นที่ในการแสดงศักยภาพและทักษะน้อยลงเรื่อยๆ  ตัวอย่างเช่น วงการอาหารที่มีเชฟรุ่นเก๋ามากมายที่พร้อมส่งต่อความรู้และมอบประสบการณ์หลายสิบปีให้กับเชฟรุ่นใหม่ แต่กลับหาโอกาสในการถ่ายทอดไม่ได้ง่ายๆ THE PROFESSIONAL เอพิโสดนี้ ชวนสำรวจประสบการณ์ของ ‘สุริยันต์ ศรีอำไพ’ เชฟจาก KRU-CHEF PROJECT ที่ตั้งใจชวนเหล่าเชฟที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มาใช้วัยเกษียณให้มีคุณภาพมากขึ้นผ่านการถ่ายทอดประสบการณ์ให้กับเชฟรุ่นใหม่ เพื่อพิสูจน์ว่าวัยเกษียณไม่ใช่แค่เก่า แต่เก๋าด้วย

The Professional | ศึกษาศิลปะการออกแบบดอกไม้กับร้าน Flower in Hand by P.

หากพูดถึงร้านขายดอกไม้ เรามักจะนึกถึงอาชีพคนจัดดอกไม้ แต่จะมีสักกี่คนที่ทราบว่าในแวดวงนี้มีอาชีพ ‘นักออกแบบดอกไม้’ ด้วย ‘แพร พานิชกุล’ คือนักออกแบบดอกไม้และเจ้าของร้านดอกไม้ Flower in Hand by P. ผู้เริ่มต้นอาชีพนี้จากความหลงใหลในดอกไม้ ก่อนเริ่มหันมาใส่ใจกระบวนการผลิตของตัวเองมากขึ้น ทั้งในแง่ดีไซน์และสิ่งแวดล้อม โดยมีความหวังว่าธุรกิจของเธอจะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความครีเอทีฟให้กับเมือง และสามารถอยู่ร่วมกับคนและโลกได้อย่างเป็นมิตรไปพร้อมๆ กัน

‘ฟิว-ชัพวิชญ์ เต็มนิธิกุล’ นักแต่งดนตรีประกอบภาพยนตร์รุ่นใหม่ | THE PROFESSIONAL

“ดนตรีประกอบสำคัญกับภาพยนตร์ไหมคงฟันธงไม่ได้ แต่เก้าสิบเปอร์เซ็นต์ของภาพยนตร์บนโลกนี้มีดนตรีอยู่ในนั้น”.อย่างที่หลายคนเข้าใจ ภาพยนตร์เป็นสื่อที่มีองค์ประกอบของทั้งภาพและเสียงผสมกัน ร้อยเรียงออกมาเป็นชุดเรื่องเล่าที่ให้ข้อมูล ให้ความเข้าใจ ให้ความรู้สึกกับผู้ชม ‘เสียงดนตรี’ เป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่หลายคนอาจไม่ทันสังเกตเพราะไม่สามารถมองเห็นได้ แต่เป็นส่วนประกอบสำคัญที่ต้องการคนชำนาญเฉพาะด้านมาสร้างสรรค์ .THE PROFESSIONAL ชวนดูเบื้องหลังการทำงานของ ‘ฟิว-ชัพวิชญ์ เต็มนิธิกุล’ นักทำดนตรีประกอบภาพยนตร์รุ่นใหม่ ที่ฝากผลงานไว้ทั้งในภาพยนตร์ไทยและต่างประเทศ รวมถึงสำรวจแนวคิดหลังตัวโน้ตของเพลงที่คุณได้ยินผ่านจอภาพยนตร์ที่สำคัญไม่แพ้ภาพเคลื่อนไหว #UrbanCreature #TheProfessional #Score #FilmScoring #MusicComposer #Producer #นักแต่งดนตรีประกอบภาพยนตร์ #ดนตรีประกอบ #เพลงประกอบ #นักทำเพลง

Sak’54 ผู้ทำอาชีพช่างซ่อมกีตาร์มานานกว่า 20 ปี | The Professional

เขาว่ากันว่า อาชีพช่างซ่อมกีตาร์เปรียบเสมือนหลังบ้านของศิลปิน ไม่ว่าจะเป็นศิลปินโด่งดังระดับไหน ย่อมต้องการช่างซ่อมเครื่องดนตรีคู่ใจที่เชื่อมือได้ด้วยกันทั้งนั้น หากย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 20 ปีก่อน อาชีพช่างซ่อมกีตาร์อาจยังไม่ได้เป็นที่รู้จักแพร่หลายนัก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะย่านการค้าที่เกี่ยวกับเครื่องดนตรีกระจุกตัวอยู่ภายในเวิ้งนครเกษมเพียงจุดเดียว ทว่าเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ธุรกิจเครื่องดนตรีก็เริ่มกระจายตัวออกไปยังย่านอื่นๆ มากขึ้น Urban Creature ชวนไปทำความรู้จักและฟังเรื่องราวของ Sak’54 ช่างซ่อมกีตาร์ผู้ชำนาญการกว่า 20 ปี ตั้งแต่ยุคเวิ้งนครเกษมจนมาถึงยุคปัจจุบันที่เขาออกมาเปิดกิจการรับซ่อมกีตาร์เป็นของตัวเอง  นอกจากศาสตร์การซ่อมบำรุงกีตาร์ที่น่าสนใจแล้ว ที่ผ่านมาเขาได้เรียนรู้สิ่งใดบ้างกับการเป็นหลังบ้านให้ศิลปินที่มีชื่อเสียงในแต่ละยุคสมัย ตามไปเปิดหลังบ้านของช่างศักดิ์พร้อมๆ กัน

Nympheart ผู้เปลี่ยนเถ้าถ่านแห่งความทรงจำให้เป็นงานคราฟต์ที่มีชิ้นเดียวในโลก | The Professional

Nympheart คือสตูดิโอแฮนด์คราฟต์อายุ 9 ปีที่เริ่มต้นทำเครื่องประดับด้วยการใช้วัสดุหลักเป็น ‘ไม้’ และ ‘Epoxy’ เรซินที่ใช้ราดปูพื้น ซึ่งในตอนนั้นยังไม่เคยมีใครในเอเชียทำมาก่อน นอกจากความแปลกใหม่ โดดเด่นไม่ซ้ำใครของวัสดุและลวดลายโปรดักต์ที่ได้ขยายไปสู่ข้าวของเครื่องใช้อื่นๆ แล้ว Nympheart ยังมีอีกเอกลักษณ์สำคัญคือ งานคราฟต์ที่ผนึกอัฐิของผู้เป็นที่รัก ซึ่งช่วยให้ผู้สวมใส่ระลึกความทรงจำถึงคนที่จากไป ในรูปแบบที่สวยงาม ร่วมสมัย และจับต้องง่าย เหมือนมีเขาเคียงข้างอยู่ตลอดเวลา Urban Creature ชวนไปเรียนรู้วิธีการสร้างงานศิลปะที่มีชิ้นเดียวในโลก ที่เริ่มต้นการออกแบบด้วยความเข้าใจ และมีส่วนประกอบหลักเป็นหลักฐานของความทรงจำกัน

7 ทศวรรษ ‘วังบูรพาการแว่น’ ทายาทรุ่นสองของความเป็นมืออาชีพ | The Professional

ย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 70 ปีก่อน วังบูรพาถือว่าเป็นย่านเศรษฐกิจที่ผู้คนต่างย้ายเข้ามาตั้งรกรากและค้าขาย หนึ่งในนั้นคือครอบครัวของ ‘เสกสรรค์ กฤษณาวารุณ’ ที่คุณพ่อของเขาได้เข้ามาทำธุรกิจร้านแว่นตาเป็นเจ้าแรกๆ ของย่านนี้ กาลเวลาผันผ่านแต่ ‘วังบูรพาการแว่น’ ยังคงอยู่ Urban Creature จึงอยากชวนไปฟังจุดเริ่มต้นของวิธีการทำงานอย่างมืออาชีพตลอด 7 ทศวรรษ ผ่านทายาทรุ่นสองผู้ถือคติว่า ‘เราทุ่มเต็มที่ให้กับลูกค้าทุกคน เพื่อให้เขาได้แว่นที่ดี ใส่แล้วไม่เป็นปัญหา ลูกค้าเข้ามารับบริการ เราก็ต้องทำให้ได้ดีทุกชิ้น’

‘เจ๊จู หมั่งหมิง’ อาชีพในตำนานสมัยซูสีไทเฮา | THE PROFESSIONAL

“หมั่งหมิงอยู่ในตำนาน ไม่มีหาย มันจะไปทุกยุคทุกสมัย เพราะว่าอาชีพนี้มีมาตั้งแต่สมัยซูสีไทเฮาแล้ว กล้าเอาหัวเป็นประกันเลย ไม่มีสูญหายแน่นอน” ‘หมั่งหมิง’ คือการใช้เส้นด้ายกำจัดขนบนใบหน้าแบบจีนโบราณ เป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมานานตั้งแต่สมัยพระนางซูสีไทเฮา ทั้งยังเป็นศาสตร์เสริมความงามและเสริมดวงที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน  ‘เจ๊จู-พรธิรัตน์ วัฒนกิตติกาญจน์’ ได้เรียนรู้วิชาการทำหมั่งหมิงตั้งแต่สมัยเด็กจากคุณแม่ จึงฝึกฝนจนนำมาทำเป็นอาชีพและเปิดสอนศิลปะการถอนขนมากว่า 20 ปี โดยหวังว่าคนรุ่นใหม่จะช่วยสานต่ออาชีพนี้ให้คงอยู่ตลอดไป

อย่าเพิ่งร้องกรี๊ด! แหล่งโปรตีนทดแทนที่เกิดขึ้นจริงแล้ว l Urban เจอนี่ เจอ อาหารจากแมลง

รู้หรือไม่ว่า มนุษย์เรากำลังเจอวิกฤตเกี่ยวกับการขาดแคลนอาหาร ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้เกิดเทรนด์การผลิตโปรดักต์ต่างๆ ที่มีการทดแทนสารอาหารจากวัตถุดิบอื่นๆ รวมไปถึงแมลงที่ให้โปรตีนสูง แต่นอกเหนือจากแมลงทอดตามรถด่วนที่เห็นจนชินตาแล้ว แมลงเอามาทำอะไรได้อีกมากมายจนคุณคาดไม่ถึง ถึงขนาดได้รับการขนานนามว่าเป็น ‘อาหารแห่งโลกอนาคต’ ว่าแต่ปัจจุบันอาหารจากแมลงพัฒนามาถึงจุดไหนแล้ว Urban เจอนี่ พาทุกคนมาเรียนรู้และอัปเดตหัวข้อนี้กันที่ Exofood Thailand แล็บสัญชาติไทยที่ศึกษาวิจัยแมลงเพื่อผลลัพธ์ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นแง่มุมแมลงกับการเป็นอาหารสำหรับมนุษย์และสัตว์เลี้ยง ไปจนถึงการใช้กำจัดศัตรูพืช แล็บแห่งนี้ก่อตั้งโดย ‘บูม-อธิวัชร พงษ์ศรัทธาสิน’ เมื่อ 2 ปีที่แล้ว โดยเริ่มจากความชื่นชอบเลี้ยงสัตว์แปลก (Exotic Pet) อย่าง Bearded Dragon หรือกิ้งก่าทะเลทราย ที่ชอบกินแมลงเป็นอาหาร จนนำมาสู่การตั้งคำถามว่า แมลงที่นำมาให้สัตว์กินนั้นสะอาดมากน้อยแค่ไหน นอกจากนี้ยังมี ‘กล้า-อวิรุทธ์ ถวัลย์ศักดิ์วุฒิ’ นักวิชาการด้านกีฏวิทยา คอยดูแลเรื่องเทคนิคการเลี้ยงและการพัฒนาอีกด้วย

เบื้องลึกเบื้องหลังการทำงานของ BTS Depot เป็นยังไงมาดูกัน! l Urban เจอนี่ เจอ BTS

‘สถานีต่อไป สถานีปลายทาง หมอชิต’ เราเชื่อว่าคนที่ใช้บริการรถไฟฟ้า BTS สายสีเขียวเป็นประจำ น่าจะคุ้นชินกับประโยคนี้ดี แต่หลายคนอาจไม่รู้ว่าหลังจากสถานีนี้แล้วยังมีอีกหนึ่งสถานี ที่ทำหน้าที่เป็นเบื้องหลังดูแลรักษารถไฟฟ้า BTS ในทุกๆ วันให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ Urban เจอนี่ เอพิโสดนี้ขออาสาพาทุกคนไปทัวร์ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า BTS หรืออีกชื่อหนึ่งคือ BTS Depot ว่าภายหลังจากรถไฟฟ้า BTS หยุดพักให้บริการในแต่ละวันนั้นได้รับการดูแลอย่างไรบ้าง พร้อมทั้งพูดคุยถึงวิสัยทัศน์และเรื่องราวการทำงานจากผู้บริหารและหัวหน้าช่าง

Haohed Studio นักทำโมเดลจิ๋ว Thai Style อาชีพที่ใส่ใจทุกความทรงจำของลูกค้า l The Professional

เราอาจจะเคยเห็นตามยูทูบต่างประเทศที่มีคนทำฉากโมเดลต่างๆ เพื่อเป็นฉากให้ของเล่นอย่างเช่นรถเหล็ก ใครจะคิดว่าไอ้ที่ดูเหมือนเป็นงานอดิเรก ไม่น่าจะสร้างรายได้อะไร ในไทยกลับมีคนนำสิ่งนี้มาทำเป็นอาชีพจนชาวต่างชาติต้องมาขอติดต่อเพื่อซื้องาน แถมช่วงหลังมานี้คนก็เริ่มหันมาสนใจอาชีพทำฉากโมเดลมากขึ้นและมีคอร์สเปิดสอนกันมากมาย แต่คุณสุริยุ โซ่เงิน (ซัน) และ คุณจุฑามาศ กระตุฤกษ์ (หนึ่ง) เจ้าของเพจ @Haohed Studio กลับรังสรรค์งานที่แตกต่างออกไป ทั้งคู่เลือกที่จะใส่ใจทุกดีเทลและนำเสนอผลงานออกมาเป็นแบบ Thai Style ถ่ายทอดภาพจำในวัยเด็กออกมาเป็นรูปแบบโมเดล Urban Creature อยากพาคุณไปทำความรู้จักอาชีพช่างทำโมเดลให้มากขึ้น พร้อมกับถ่ายทอดเรื่องราวแรงบันดาลใจและความรู้สึกที่ได้ทำสิ่งที่ชอบเป็นอาชีพ

1 2 3 6

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.