Smart Pole เสาไฟเป็นได้มากกว่าที่คิด

Smart Pole หรือเสาไฟอัจฉริยะ เป็นแนวคิดในการนำเอาเทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ มาผสมผสานสร้างสิ่งใหม่ ให้มีหน้าที่การทำงานที่หลากหลาย สิ่งเหล่านี้อาจจะไม่ใช่สิ่งสำคัญที่เมืองของเราขาดในตอนนี้ แต่หมายถึงศักยภาพที่มากขึ้นของโครงสร้างพื้นฐานเมือง คุณภาพที่มากขึ้นของประชากรไปในเวลาเดียวกัน  และเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงเมืองให้เข้าสู่ Smart City ซึ่งคำว่าเมืองอัจฉริยะอาจไม่ได้หมายรวมถึงแค่เมืองทางกายภาพ แต่อาจหมายรวมถึงศักยภาพและความสามารถที่เพิ่มขึ้นของผู้คนภายในเมือง ผ่านการใช้เทคโนโลยีในวิถีชีวิตประจำวัน พื้นที่ริมถนน หากอยากเริ่มติดตั้งเสา Smart Pole สักต้น พื้นที่ริมถนนบริเวณจุดรอรถสาธารณะเป็นจุดที่ควรนำร่องติดตั้ง Smart Pole เป็นอันดับต้นๆ เพราะเป็นบริเวณที่เกิดกิจกรรมของคนหลายช่วงอายุ มีผู้คนสัญจรผ่านไปมา มีคนนั่งรอใช้บริการรถสาธารณะ ฟังก์ชันที่อยากนำเสนอจึงอยากเริ่มจากอะไรที่ง่ายๆ แต่ใช้งานได้จริงในชีวิตประจำวันของคนเมือง เริ่มต้นจากการเปลี่ยนมาใช้พลังงานทดแทนจากธรรมชาติอย่างแสงอาทิตย์ (Solar Cell) เพื่อกลบจุดอ่อนที่ว่า เสาไฟแบบเดิมมีฟังก์ชันการใช้งานเพียงช่วงเวลากลางคืน แต่ Smart Pole สามารถกักเก็บพลังงานธรรมชาติในตอนกลางวันเพื่อใช้หล่อเลี้ยงภายในระบบ ในยุคที่คนทั้งโลกสนใจปัญหาสิ่งแวดล้อมและมีนโยบายกระตุ้นให้ประชากรโลก หันมาใช้พลังงานไฟฟ้าแทนการใช้พลังงานน้ำมัน รถพลังงานไฟฟ้าจึงได้ถือกำเนิดขึ้นอย่างแพร่หลายในประเทศโลกที่ 1 แต่เมื่อมองย้อนกลับมาในประเทศไทย หนึ่งสิ่งที่ทำให้นโยบายการใช้รถยนต์ไฟฟ้ายังไม่ประสบความสำเร็จนัก เป็นเพราะปัญหาสถานีชาร์จไฟไม่เพียงพอต่อความต้องการ การเกิดขึ้นของ Smart Pole ที่มีฟังก์ชัน Charging Station จึงกลายเป็นหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ ซึ่งจะร่วมผลักดันให้คนหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า […]

Vacilando Bookshop ร้านหนังสือภาพถ่าย ที่ตั้งใจสร้างบทสนทนาใหม่ให้ผู้มาเยือน

‘Vacilando Bookshop’ ร้านหนังสือภาพถ่ายที่เพิ่งย้ายมาเปิดใหม่ในซอยไมตรีจิตต์ บทสนทนาใหม่ของคนรักร้านหนังสืออิสระ

ติดคุกมีสิทธิ์สุขภาพดีไหม คำถามถึงคุณภาพชีวิตขั้นพื้นฐานของผู้ต้องขังที่กำลังหายไป

อาบน้ำ 8 ขันต่อวัน ต้องเลือกจุดทำความสะอาดที่สำคัญ ขับถ่ายในห้องน้ำขนาดเล็กไม่มีประตู มองเห็นตั้งแต่หัวจรดเท้า นอนรวมกันในห้องขัง 30 – 40 คน หนึ่งในตัวอย่างชีวิตผู้ต้องขังที่เผชิญหลังกำแพงเรือนจำในประเทศไทย ความลำบากตั้งแต่ลืมตาตื่นยันหลับตานอนอาจไม่เกินจริงไปนัก เมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ตัวเลขการติดโควิด-19 ยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไม่มีทีท่าว่าจะลดลง ทั้งยังมีประกาศตรวจพบผู้ติดเชื้อกลุ่มใหม่กว่า 10,000 ราย กระจายอยู่ในเรือนจำกว่า 10 แห่งในหลายจังหวัดทั่วประเทศ  โดยสถานการณ์หนักสุดอยู่ที่เรือนจำและทัณฑสถานในกรุงเทพฯ และปริมณฑล และเรือนจำขนาดใหญ่ที่ จ.เชียงใหม่ ซึ่งหลังจากข่าวนี้แพร่ออกไป พาเอาหลายคนตกอกตกใจไปตามๆ กัน ในสื่อโซเชียลเริ่มมีการแชร์ภาพการเป็นอยู่ของผู้ต้องขังที่ต้องนอนเรียงราย บ้างก่ายกอดกันจนแทบไม่มีช่องว่างให้นึกถึง Social Distancing เลยด้วยซ้ำ จากเหตุการณ์ครั้งนี้ อาจต้องย้อนกลับไปมองและคิดให้ถ้วนถี่ว่าแท้จริงแล้วการใช้ชีวิตของผู้ต้องขังในเรือนจำนั้นเหมาะสม และถูกสุขลักษณะหรือไม่ แต่ช้าก่อนอย่าเพิ่งคิดว่า ทำไมล่ะ นั่นเรือนจำนะ จะให้สะดวกสบายเหมือนอยู่บ้านได้ยังไง คนทำความผิดจะต้องได้รับการดูแลอย่างดีงั้นเหรอ หยุดก่อน…เรากำลังพูดถึงสิทธิขั้นพื้นฐานที่มนุษย์คนหนึ่งควรได้รับต่างหาก และยิ่งในสถานการณ์ที่ประเทศเรามีโรคระบาดหนักแบบนี้ พวกเขาควรได้รับการดูแลไม่ต่างกันกับคนที่อยู่ข้างนอก สอดคล้องกับข้อมูลของสหพันธ์เพื่อสิทธิมนุษยชนสากล (FIDH) ที่ว่า เรือนจำในประเทศไทยมีนักโทษมากเป็นอันดับ 6 ของโลก แต่กลับไม่ได้มาตรฐานสากลเลยสักที่ เพราะไม่ผ่านการประเมินตามหลักที่กำหนดไว้ เช่น […]

สมคิด คชาพงษ์ ช่างแทงหยวกสายวัดอัปสรฯ คนเกือบสุดท้ายผู้ต่อลมหายใจให้ศิลปะแทงหยวก

หากพูดถึงคำว่า แทงหยวก บางคนอาจแอบขมวดคิ้วเพราะนึกไม่ออกว่ามันคืออะไร หรือไม่เคยได้ยินคำนี้มาก่อนเลยด้วยซ้ำ แท้จริงแล้ว แทงหยวกคือศิลปะไทยโบราณชนิดหนึ่ง ที่ถูกรังสรรค์ขึ้นมาจากการแทงหยวกกล้วยให้เป็นลวดลายสวยงามที่ปัจจุบันหาดูได้ยาก  ครั้งนี้ เราจึงพาย้อนเวลาไปท่องโลกศิลปะการแทงหยวกกับ คุณสมคิด คชาพงษ์ ครูช่างแทงหยวก สายวัดอัปสรสวรรค์วรวิหาร ที่จะถ่ายทอดศิลปะแขนงนี้ให้ชมแบบไม่มีกั๊ก ก่อนวันสัมภาษณ์ คุณครูสมคิดยกหูโทรศัพท์บอกเราว่าเตรียมต้นกล้วยพร้อมแล้วนะ แถมยังเปรยถึงการตำน้ำพริกด้วยตัวเองเพื่อทำเมนูพิเศษอย่างขนมจีนและแกงเขียวหวานฟัก รอเลี้ยงพวกเราด้วย แค่นี้ก็ทำให้เราใจฟูมากๆ นับวันรอล้อหมุนออกเดินทางเพื่อตามรอยต้นกล้วยไปยังจังหวัดนนทบุรีบ้านคุณครูอย่างใจจดใจจ่อ จากหยวกกล้วยธรรมดา ถูกรังสรรค์ลวดลายได้อย่างงดงามเพียงปลายมีด นั่นคือเอกลักษณ์เฉพาะตัวของศิลปะที่เรียกว่า ‘การแทงหยวก’ นอกจากความประณีตละเอียดลออ สิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือความมุ่งมั่นฝึกฝนจนชำนาญของช่างแทงหยวกที่ในปัจจุบันเหลืออยู่เพียงไม่กี่คนแล้ว และคุณครูสมคิด คชาพงษ์ คือหนึ่งในช่างที่ลงมือแทงหยวกมาร่วม 50 ปี ทั้งยังเป็นที่รู้จักและคุ้นเคยอย่างดีในแวดวงช่างแทงหยวก จากผลงานอันโดดเด่นจนได้รับการยกย่องให้เป็นครูช่างศิลปหัตถกรรม ช่างแทงหยวก ประจำปี 2563 จากศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) เด็กชายสมคิดแทงหยวกครั้งแรก วัยเด็กของหลายคนอาจสนุกสนานกับการวิ่งเล่น แต่สำหรับเด็กชายสมคิดการนั่งเรือเอี้ยมจุ๊นติดตามปู่กับพ่อ ออกไปแทงหยวกตามวัดต่างๆ กลายเป็นความสนุกอย่างหนึ่งในชีวิต จากเด็กน้อยที่ไม่ได้สนใจศิลปะแขนงนี้กลับซึมซับจนหันมาจับมีดแทงหยวกครั้งแรกตั้งแต่ชั้น ป.2 (โห ถ้าเทียบกับเราในวัยเดียวกันตอนนั้นคงยังวิ่งเล่นอยู่แน่ๆ) “การเดินทางในสมัยก่อนยังไม่เจริญ บางวัดหรือสถานที่ต่างๆ ถนนยังเข้าไม่ถึงเลยด้วยซ้ำ การเดินทางเลยใช้เรือเป็นหลัก ทำให้ช่างแทงหยวกในสมัยก่อนกระจายตัวอยู่ตามวัดในหัวเมืองต่างๆ ซะเป็นส่วนใหญ่ ครูเองก็เริ่มต้นซึมซับวิถีช่างแทงหยวกตั้งแต่ตอนนั้น สมัยก่อนตอนเป็นเด็ก […]

FICS สเปซของคนรักหนัง เสิร์ฟเมนูกลิ่นอายหนังฮิต และมีแกลเลอรีโปสเตอร์สุดแรร์

: เธอชอบหนังเรื่องอะไร เราชอบ The Lobster มาก: เรามี Call Me by Your Name เป็นเรื่องโปรด: งั้นไป FICS กัน เขาว่าเป็นสเปซใหม่ของคอหนัง มีคาเฟ่ แกลเลอรีโปสเตอร์หนัง มีตู้ถ่ายรูปด้วย อยู่ในซอยสุขุมวิท 31  เพราะทุกคนมีภาพยนตร์ในดวงใจ เลยอยากชวนตีตั๋วเข้าโลกอีกใบของคอหนังที่ FICS สเปซสำหรับคนรักหนังซึ่งมี ‘บาส-นัฐวุฒิ พูนพิริยะ’ ผู้กำกับแนวหน้าของไทยเป็นหัวขบวนหลัก เขาและทีมเปลี่ยนตึก 5 ชั้นให้เป็นเหมือนโรงภาพยนตร์ซึ่งเสิร์ฟเมนูซิกเนเจอร์ที่ได้แรงบันดาลใจจากหนังฮิต 6 เรื่อง มีแกลเลอรีโปสเตอร์หนังหายาก การันตีความโหดที่บางแผ่นเป็นโปสเตอร์ปีเดียวกับที่หนังฉาย มุมคอนเซปต์สโตร์ที่มีของที่ระลึกเอาใจคนรักหนัง ไปจนถึงยกตู้ถ่ายรูปจาก Sculpture Bangkok มาให้เก็บภาพเหมือนฉากในหนังเรื่อง Amélie ว่าแล้วก็เตรียมตัวให้พร้อม เพราะ FICS is now showing! บาสนำเรื่องนี้ไปคุยกับครอบครัว ขิม-จุฬารัตน์ หาญรุ่งโรจน์ จ๋า-แพรว พูนพิริยะ ปรีดี-ปรีดี เฮงษฎีกุล […]

หนีได้ต้องหนี! 6 ถนนรถติดกับช่วงเวลาสุดพีก

เคยเป็นไหม ชาวกรุงเทพฯ เวลาจะออกไปไหนแต่ละที ต้องวางแผนแล้ววางแผนอีกว่าจะเดินทางไปอย่างไร ขึ้นรถ ลงเรือ ต่อมอเตอร์ไซค์หรือเปล่า จะรอนานไหมนะ แถมยังต้องเผื่อเวลารถติดด้วย ทำให้เวลาออกจากบ้านแต่ละทีช่างเหนื่อยแสนเหนื่อย ประโยคที่บอกใครๆ ว่าออกไปแป๊บเดียวอาจไม่มีจริง จนหลายคนต่างพากันระบายความอัดอั้นตันใจพากันตั้งชื่อเช็กอินถนนด้วยชื่อสุดเดือดอย่าง ไฟแดง 18 ชั่วโคตร ไฟเขียวเท่าจิ๋มมด ฉายาของแยกสาทร-สุรศักดิ์ หรือแยกที่หอยทากคลานแซงเฟอรารี่ เจ้าของแยกแคราย ที่พีกเพราะจุดตัดระหว่างถนน 3 เส้น อย่าง ติวานนท์ รัตนาธิเบศร์ และงามวงศ์วาน ไปจนถึงแยกสุดฮอตตลอดกาลอย่าง แยกรัชดา-ลาดพร้าว ที่หลายคนพากันลงความเห็นไปในทางเดียวกันถึงปัญหาไฟแดงอันยาวนาน จนถูกขนานนามว่า ไฟแดง 5 ชาติ ไฟเขียว 5 วิฯ หลับ 5 ตื่น ฟื้นมายังแดง จากชื่อก็พอสัมผัสได้ถึงพลังงานความหัวร้อนบางอย่าง เราเลยลองไปตามหาข้อมูลว่า แท้จริงแล้วสถานการณ์รถติดบ้านเราอยู่ในขั้นไหนกันแน่ ซึ่งพอลองไปดูสถิติตัวเลขของ INRIX Global Traffic Scorecard บริษัทที่วัดผลและเก็บรวบรวมข้อมูลการจราจรจากทั่วโลก กรุงเทพฯ เคยครองแชมป์เมืองที่การจราจรหนาแน่นมากที่สุดมาแล้วในปี 2560 ที่ผ่านมา และเรายังเสียเวลาติดแหง็กอยู่บนท้องถนนมากถึง […]

Feast Bangkok โรงอาหารแห่งใหม่ พื้นที่ฝากท้องยามหิวของชาวอารีย์

โรงอาหารของคนเมืองเพื่อนบ้านคนใหม่ของย่านอารีย์ ที่พร้อมเสิร์ฟของอร่อยให้ตั้งแต่เช้าจรดเย็น

ออกแบบสวนในเมืองสไตล์ ‘นักพฤกษศาสตร์’ ให้ต้นไม้นักฟอกอากาศมีบ้านที่ดีหลังเดียวกับคน

ชวนฟังความในใจของ ‘ต้นไม้’ สิ่งมีชีวิตที่พูดไม่ได้ว่ารู้สึกอย่างไรกับการยืนต้นใช้ชีวิตในสภาพแวดล้อมทุกวันนี้ รวมไปถึงมุมมองการออกแบบพื้นที่อย่างไรให้ต้นไม้อยู่ร่วมกับคนและเมืองอย่างยั่งยืน

‘เราชนะ’ แล้วหรือยัง

ชวนตั้งคำถามกับรัฐบาลถึงโครงการต่างๆ ว่ามาตรการเหล่านั้นครอบคลุมทุกคนจริงหรือไม่ ข้อดีที่อยากชื่นชม และข้อบกพร่องที่อยากให้รัฐทบทวน

‘Vulcan Coalition’ สตาร์ทอัป AI ที่เปิดให้คนพิการทำงานด้วยศักยภาพ ไม่ใช่ความน่าสงสาร

ด้วยความสามารถเฉพาะตัวและความใส่ใจในการทำงานที่ไม่แพ้ใคร พวกเขาเหล่านี้จากทั่วประเทศไทยจึงมีหน้าที่เตรียมข้อมูลเรื่อง AI เพื่อสอนให้คนนำเทคโนโลยีไปใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง เชื่อเถอะ หลังจากอ่านบทความนี้ เราทุกคนจะตาสว่างกับประโยคคร่ำครึที่ว่า คนพิการทำอะไรไม่ค่อยได้!

EAT

‘ขนไก่’ ขยะเหลือทิ้งในอุตสาหกรรมอาหาร สู่ของกินทางเลือกใหม่ให้มนุษย์ในอนาคต

เมื่อประมาณ 2 ปีก่อนเราได้มีโอกาสดูหนังต่างประเทศเรื่องหนึ่งที่เล่าถึงโลกอนาคตที่กำลังเผชิญวิกฤตประชากรล้นโลก และด้วยทรัพยากรที่มีอย่างจำกัด ทำให้รัฐบาลต้องออกกฎหมายและบังคับให้แต่ละครอบครัวมีลูกได้เพียงแค่คนเดียว

เคี้ยว กลืน หัวเราะ บอกรัก ‘เสียงบำบัด’ ศาสตร์คลายเศร้า

ชวนรู้จักศาสตร์ ‘เสียงบำบัด’ คลายทุกข์ บำรุงหัวใจ ด้วยวิธีกลืนน้ำลาย เคี้ยวข้าว กอดตัวเอง บอกรัก ส่งเสียงฮัม หัวเราะ หรือเคาะกลางอกตอนร้องไห้ ที่ช่วยเปลี่ยนวันแย่ๆ ให้เป็นวันที่ดีขึ้น และเรียกสติกลับมารักตัวเองได้อีกครั้ง

1 8 9 10 11

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.