“คุณภาพชีวิตต้องดี งานสร้างสรรค์จึงเบ่งบาน” สนทนากับสหภาพแรงงานสร้างสรรค์ฯ

หากคุณคลิกเข้ามาอ่านบทความนี้ ข้อความที่คุณกำลังบรรจงอ่านอยู่ คือบทสัมภาษณ์ที่ฉันใช้เวลาขัดเกลาและร้อยเรียงมันออกมาอย่างตั้งใจ ภาพถ่ายประกอบบทความที่คุณมองเห็นล้วนเป็นฝีมือช่างภาพของเรา ที่ใช้ประสบการณ์ของเขาจัดวางองค์ประกอบ และถ่ายทอดออกมาในเวอร์ชันที่ดีที่สุด นี่คงตอบได้ว่างานสร้างสรรค์อยู่ใกล้ตัวคุณ และแฝงอยู่ทั่วทุกมุมของสังคม อะไรที่คุณอ่าน อะไรที่คุณเห็น อะไรที่คุณฟัง อะไรที่คุณชื่นชม ล้วนมาจากการ ‘สร้างสรรค์’ ทว่าความสร้างสรรค์ของเหล่านักสร้างสรรค์หลายคน ต้องชะงักลงเพราะความไม่ยุติธรรมที่พวกเขาเจอในสายอาชีพ ทำไมนักเขียนบางคนถูกกดเงินค่างานเขียนไว้ที่ราคาเดียวมาเป็นสิบปี ทำไมนักวาดบางคนได้รับค่าจ้างไม่เพียงพอต่อการใช้ชีวิตในยุคเศรษฐกิจตกต่ำ ทำไมคนทำหนังชอบทำให้การทำงานหนักๆ โดยไม่สนคุณภาพชีวิตคนกองเป็นเรื่องปกติ ทำไมบางหน้าที่ในกองถ่ายไม่ได้รับสวัสดิการเท่าเทียมกันทุกคน ทำไม ทำไม และทำไม “พวกเรามีตัวตน เหนื่อยเป็น และงานสร้างสรรค์นั้นสำคัญ” นี่คือสารที่เราอยากส่งออกไปให้ถึงทุกคนในบทความนี้ เช่นเดียวกับ ‘ไนล์-เกศนคร พจนวรพงษ์’ และ ‘อิง-ไชยวัฒน์ วรรณโคตร’ สองสมาชิกผู้ก่อตั้ง ‘สหภาพแรงงานสร้างสรรค์แห่งประเทศไทย’ (Creative Workers Union Thailand) หรือ CUT ที่มุ่งขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาคุณภาพชีวิตของแรงงานสร้างสรรค์ให้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเรื่องสัญญาจ้างที่ไม่เป็นธรรม ความปลอดภัยในการทำงานที่เป็นศูนย์ สวัสดิการติดลบ การไม่ถูกให้คุณค่าในงาน หรือแม้แต่สิทธิขั้นพื้นฐานที่ไม่ได้รับ พร้อมเปิดวงวิพากษ์ความเผด็จการทั้งระดับเจ้านายในองค์กรและรัฐบาล  อ่านจบแล้ว ถ้อยคำของพวกเขาอาจจะตรงกับชีวิตของแรงงานสร้างสรรค์ที่บางคนเผชิญอยู่ไม่ทางใดทางหนึ่งก็ได้ และไม่แน่ อาจมีใครบางคนคิดว่า ฉันก็อยากออกมาพูดถึงเรื่องราวการถูกกดทับของตัวเองเหมือนกัน ทำไมถึงเลือกเป็นปากเป็นเสียงให้คนทำงานสร้างสรรค์ […]

‘ศูนย์พักคอยตันปัน’ เปลี่ยนตึก 30 ปีเป็นที่ที่ผู้ป่วยโควิด-19 อยู่แล้วไม่เครียดกว่าเดิม

01 ปัดฝุ่นตึกเก่าอายุ 30 ปี ให้เป็นพื้นที่ช่วยคน 30 กว่าปีที่แล้ว อาคารสูง 8 ชั้น ประดับด้วยเสา และฟอร์มสไตล์โรมันตั้งเด่นอยู่ทางเข้าย่านสถานบันเทิง RCA เคยเป็นสตูดิโอถ่ายรูปแต่งงาน ที่หนุ่มสาวแถวนั้นแวะเวียนมาใช้บริการเมื่อถึงวันสำคัญ และตึกนี้ยังเป็นตึกแรกในชีวิตที่ ตัน ภาสกรนที ซื้อมาทำธุรกิจส่วนตัว “ตึกนี้ติดถนนใหญ่ ชั้นละสี่ร้อยตารางเมตร มีดาดฟ้า และ Penthouse เล็กๆ ข้างบน ผมใช้สอยพื้นที่เป็นร้านถ่ายรูปแต่งงานได้สบาย โดยกลุ่มลูกค้าเราก็คือคนที่มาเที่ยว RCA ที่วันหนึ่งแต่งงานก็จะนึกถึงเรา แต่พอเวลาผ่านไป ผมพบว่าจริงๆ ตึกนี้ไม่ใช่สไตล์ผมเลย ขัดกับตัวเองสุดๆ ก็เลยปล่อยเช่าไปยาวๆ” นักธุรกิจอย่างเขา ปล่อยเช่าให้คนอื่นทำธุรกิจแทนจนแทบไม่ได้ไปเหยียบตึกเก่าที่เคยซื้อไว้ในอดีต กระทั่งได้ยิน สรยุทธ สุทัศนะจินดา พูดถึงตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในรายการ เรื่องเล่าเสาร์-อาทิตย์ ซึ่งตัวเลขคนตายไม่ได้มีแค่ที่โรงพยาบาล แต่ตายที่บ้านก็มี ตายข้างถนนก็มี  “สถานการณ์ในประเทศหดหู่มาก ประชาชนพบปัญหาเดียวกันคือไม่มีเตียง เพื่อนผมเองก็โทรมาถามว่า คุณตันรู้จักใครไหม ช่วยหาเตียงหน่อย ซึ่งเราก็หาให้เขาไม่ได้ ผมก็คิดว่า ถ้าเป็นผมที่ติด จะไปหาเตียงที่ไหน […]

หิน ณรงค์ แท็กซี่โชห่วย ที่มีของใช้ ของกิน ยันของส่วนตั๊วส่วนตัว หยิบได้เลย ฟรี!

ขึ้นแท็กซี่คันนี้ อย่างต่ำยิ้มออก อย่างมากม่วนหลาย และใช่ค่ะ ดิฉันเอนจอยสุดๆ ตั้งแต่หย่อนตัวลงเบาะ 360 องศาภายในรถ อัดแน่นไปด้วยขนมหลากยี่ห้อ ทั้งคาว หวาน นัว มีไข่ไก่ ปลากระป๋อง เครื่องปรุงครบรส ไปจนถึงของใช้เบสิกอย่างน้ำยาปรับผ้านุ่ม น้ำยาล้างจาน ร่ม แปรงสีฟัน แม้กระทั่งโมเดลการ์ตูนหลายร้อยตัวเพิ่มสีสัน เอ๊ะ ผนังรถมียาสามัญประจำบ้านด้วย ดีจัง แต่เดี๋ยวนะ นั่นมันยาคุมฉุกเฉิน ถุงยาง เจลหล่อลื่น และผ้าอนามัยหรือเปล่า?!  แทบจะไม่ใช่แท็กซี่อยู่แล้ว แทบจะเป็นร้านสะดวกซื้อเคลื่อนที่อยู่แล้ว ซึ่ง หิน-ณรงค์ สายรัตน์ คนขับแท็กซี่วัย 55 ปี คนนี้ก็ต้องการให้เป็นแบบนั้น เพราะนี่คือ ‘แท็กซี่โชห่วย’ ที่เจ้าตัวทำมา 13 ปี และขอดอกจันรัวๆ ไว้ก่อนเลยว่าทุกอย่างบนรถไม่ขายสักชิ้นเด้อ แจกฟรี “โอ๊ย ถ้าไม่ได้ซื้อของขึ้นรถ นี่ไม่มีแรงขับหรอก มันไม่สนุก (หัวเราะ)” อะไรที่ทำให้น้าหินแจกฟรีแทนขาย และกลายเป็นขวัญใจชาวบางนาที่หิวเมื่อไหร่จะนึกถึง (เล่นมีโจ๊ก และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปพร้อมน้ำร้อนให้กินบนรถเวลาหิวโซ) แถมหยิบของใช้ส่วนตัวต่างๆ […]

บ้านแบบไหนในซีรีส์/หนังเกาหลี ที่จะสร้าง Identity ให้คน GEN Y

ในฐานะสาว GEN Y อย่างเราที่เป็นแฟนซีรีส์เกาหลีจนนับเรื่องที่เคยดูไม่ได้เพราะเยอะมาก โดนตกเวลาพระเอกทำตัวน่ารัก (ชีวิตจริงอยากมีบ้างจัง) อินความสวยของนางเอกและแอบไปตัดผมตาม ล่าสุดก็ยูนาบี จาก Nevertheless อีกทั้งยังชื่นชอบเส้นเรื่องชวนลุ้นที่ผู้กำกับตั้งใจ แถมสิ่งที่ต้องพูดถึงจริงๆ เพราะประทับใจมากกกก คือ ‘บ้าน’ ของตัวละคร ที่ทั้งน่าอยู่ ผ่อนคลาย มีพื้นที่เสริมสร้างความเป็นตัวเอง จนทำให้เราเริ่มอยากมองหาบ้านแบบนั้นที่สร้างแรงบันดาลใจได้ดี บ้านที่ปลดปล่อยความสุขให้คน GEN Y ที่กำลังเติบโตแบบเราไม่เหี่ยวเฉา และเพิ่มความสดใสในชีวิตไม่ได้มีแค่ในซีรีส์ เพราะ ‘VENUE ID’ โครงการบ้านจาก SC ASSET มีฟังก์ชันให้ทำกิจกรรมได้หลากหลาย ตั้งแต่ Co-working Space สวนหน้าบ้าน อาคาร Freeform ของ Clubhouse Fitness สระว่ายน้ำระบบเกลือ และ Double Kitchen ที่ทำให้คนรุ่นใหม่ไม่ติดกับกรอบเดิมๆ! ถ้าตอนนี้คุณอยากแสดงความเป็นตัวเอง แต่บ้านที่อยู่มีพื้นที่ไม่มากพอ เราชวนไปดูบ้านของตัวละครในซีรีส์พร้อมๆ กับ VENUE ID ที่เป็นบ้านซึ่งมอบอิสระให้คุณแสดง Identity จนหาตัวเองเจอเหมือนตัวละคร […]

FYI

“สกาลา ต้องเป็น Public Space ไม่ใช่ห้างฯ” เนติวิทย์ ชวน Save ลมหายใจของสกาลา

คนไทยโบกมือลา ‘สกาลา’ โรงหนังสแตนด์อะโลนอายุ 52 ปี แห่งเดียวที่หลงเหลือในกรุงเทพฯ ไปแล้ว 1 ปีเต็ม เนื่องจากผู้บริหารทนสู้ต่อไปไม่ไหว ยิ่งไปกว่านั้นคือการขาดรายได้ช่วงโควิด-19 เพราะรัฐบาลสั่งปิดพื้นที่แบบไร้ซึ่งมาตรการเยียวยา ส่งผลให้อุตสาหกรรมหนังไทยทั้งองคาพยพต้องสั่นคลอน ซ้ำร้ายยังบงการประชาชนให้อยู่บ้าน อย่าการ์ดตก ในขณะที่ผู้คนและผู้ประกอบการพยายามกุมลมหายใจเฮือกสุดท้ายของตัวเองไม่ให้ถูกพรากไป เก่งแต่สั่งห้าม แต่ไม่ยอมส่งต่อความเจริญให้ประชาชนทุกคนสักที แม้สกาลาปิดม่านลงอย่างถาวร แน่นอน ความทรงจำของผู้คนที่ตบเท้าเข้ามาซื้อตั๋วหนัง หรือเดินผ่านต่างจดจำได้ว่าอาคารนี้มีเสน่ห์ล้นเหลือ และเป็นแลนด์มาร์กสำคัญที่อยู่คู่สยามมายาวนาน Philip Jablon เจ้าของเพจ The Southeast Asia Movie Theater Project ผู้ออกเดินทางตามล่าความทรงจำเกี่ยวกับโรงหนังสแตนด์อะโลนทั่วภูมิภาค ยังยกย่องให้สกาลาเป็นโรงหนังที่งดงามที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทว่าวันนี้สถาปัตยกรรมทรงคุณค่าสไตล์ Art Deco และพื้นที่ความทรงจำแห่งนี้กำลังจะสูญหายไปตลอดกาล ‘สกาลา’ อาจจะจากไปแบบไม่มีวันหวนกลับ หากสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไม่หยุดโครงการรื้อ ทุบ และพัฒนาอาคารแห่งนี้โดยปราศจากการให้คนในสังคมมีส่วนร่วมตัดสินใจ สกาลาอาจกลายเป็นห้างฯ แห่งใหม่ ที่มีอยู่รอบจุฬาฯ จำนวนมาก ในขณะที่ประเทศแทบจะไม่มีพื้นที่สาธารณะรองรับชีวิตประชาชน อืม…แล้วจะหยุดสร้างห้างฯ ได้หรือยัง? หรือเห็นว่าประชาชนมีพื้นที่สาธารณะเพียงพอแล้ว คุยกับ เนติวิทย์ […]

‘XL’ จาก SILVY เพลงที่ปลุกความจึ้งในตัวคุณ และบอกคนอ้วนว่าช่างแม่งค่ะ พวกเรามันสวย

น้ำหนัก 80 กิโลกรัม ในวัย 15 ของเด็กหญิงที่พกเสียงร้องทรงพลังจากการเรียนขับร้องมาตั้งแต่อายุ 8 ปี พาตัวเองมายืนอยู่บนเวทีการประกวดร้องเพลงชื่อดัง ด้วยเชื่ออย่างเต็มหัวใจว่าการแข่งขันจะเคี่ยวกรำให้ตัวเองเป็นดาวดวงใหม่ในวงการเพลง  แต่โชคชะตา หรือสังคมใหม่ที่เธอต้องเข้าไปทำความรู้จัก กลับทำให้คนที่เคยมีศรัทธา ทำความมั่นใจหล่นหาย เพราะถูกผู้ใหญ่กรอกหูตลอดเวลาว่า ‘อ้วน’ กำชับว่าต้องผอมเท่านั้นถึงจะได้งาน ถูกบังคับให้แต่งตัวตามแบบฉบับสาวอวบลุคตัวแม่ สเตอริโอไทป์ด้วยการสวมเดรส จิกส้นสูง และไว้ผมยาว แม้เธอจะรักลุคผมสั้นเป็นที่สุด เธอส่องกระจกพลางคิดกับตัวเองว่า “กูจะไม่ได้งานนี้เพราะกูอ้วนเหรอวะเนี่ย”  นั่นทำให้เธอเข้าฟิตเนสมากกว่าไปโรงเรียน โหมออกกำลัง อดอาหารจนเป็นลมล้มพับ เคร่งเครียด และหาความสุขในชีวิตไม่เจออีกต่อไป ชีวิตเด็กสาวหมุนรอบคำว่า ‘Beauty Standard’ ของคนอื่น เพราะตราบใดที่ร่างกายของเธอไม่ตรงค่านิยมความสวยของชาวบ้าน ก็จะไม่ได้อ้าปากร้องเพลงตามฝันสักโน้ตเดียว นี่คือเรื่องราวก่อนจะเป็นเพลง XL จาก ‘SILVY’ หรือ ซิลวี่-ภาวิดา มอริจจิ เด็กหญิงที่ไม่มีความมั่นใจเพราะกรอบความงามที่สังคมกำหนด สู่ควีนที่ผ่านเรื่องราวร้ายๆ และใช้เวลาเพื่อหลุดพ้นจากนรกบนดินที่มาจากปากสังคมถึง 6 ปี SILVY ในวัย 25 เข้มแข็ง และผ่านเรื่องยากๆ มาได้ด้วยกำลังใจของแม่ และตอนนี้เธอพร้อมจะเป็นตัวแทนสาวอ้วน และสาวอวบ […]

‘Smart Work from Everywhere’ 5 สเปซนอกบ้านเปลี่ยนบรรยากาศที่ทำงาน

ตลอด 5 วัน วันละ 8 ชั่วโมง เป็นช่วงเวลาที่ชาว Urban Creature สแตนด์บายทำงานอยู่หน้าคอม เปิดเครื่องอัดเสียงสัมภาษณ์ผู้คนในเมืองเล็ก เมืองใหญ่ ถล่มไอเดีย และแลกเปลี่ยนความคิดสร้างสรรค์ใส่กันในทีมราวกับปล่อยพลัง ทั้งหมดนี้ก็เพื่อเสิร์ฟคอนเทนต์ให้ผู้อ่านได้คิด วิเคราะห์ ตั้งคำถาม เกี่ยวกับทุกมิติของเมืองและผู้คน การอุดอู้ทำงานในออฟฟิศ หรือหันมา Work from Home ตลอดสัปดาห์จึงเป็นทางเลือกที่ต้องเบรกดังเอี๊ยด (คิดงานไม่ออกจ้า) เพราะไอเดียในหัวจะแรงดีไม่มีตก ก็ต่อเมื่อเรากล้าเปิดประตูออกไปรับมุมมองใหม่ๆ ในสถานที่ใหม่ๆ อยู่เสมอต่างหาก เพื่อเป็นการป้ายยาสเปซเจ๋งๆ สุดโปรดที่พวกเราไว้นั่งทำงานเงียบๆ ซึ่งไม่เคยบอกใครมาก่อน วันนี้เลยขออาสาแชร์ Work Routine ตลอด 5 วัน ว่าถ้าไม่อยู่ออฟฟิศ จะไปทำงานคนเดียวที่ไหนได้บ้าง ป้ะ! คาดเข็มขัดให้พร้อม เปิดเพลงฟังบนรถ ดูแผนที่นำทาง เช็กการจราจร แล้วไปตะลอน (ทำงาน) รอบกรุงด้วย ‘รถคันเดียว’ กันเลย 01 ห้องทำงานส่วนตัวเคลื่อนที่ เริ่มต้นวันแรกของสัปดาห์ Hidden Place […]

Once Upon a Book ธีสิสร้านเช่าหนังสือออนไลน์ที่ให้ใครก็ได้มาปล่อยเช่า

กาลครั้งหนึ่ง ‘ร้านเช่าหนังสือ’ เคยเป็นแลนด์มาร์กที่ทำให้บางคนพบหนังสือเล่มโปรดราวกับว่าเป็นพรหมลิขิต และเป็นสถานที่อัปเดตนิยายแจ่มใส มังงะโชโจ ค้นหนังสือคลาสสิกจนมือเปื้อนหมึก คุยกับเฮียเจ้าของร้านจนได้ส่วนลด หรือเป็นแหล่งนัดเจอชาวแก๊งหลังเลิกเรียนยอดฮิต…พูดแล้วก็คิดถึง จากที่เคยเป็นพื้นที่เบาใจของนักอ่านหนังสือ เผลอแป๊บเดียวช่วงหลายปีมานี้ ราคาหนังสือสูงขึ้นสวนทางกับค่าครองชีพที่ต่ำ ร้านเช่าหนังสือเป็นหนึ่งในฟันเฟืองที่ช่วยกระชับช่องว่างความเหลื่อมล้ำทางรายได้ และทำให้ผู้คนเข้าถึงความรู้ที่หลากหลาย กระตุ้นให้คนเข้าถึงหนังสือได้โดยไม่ต้องจ่ายราคาเต็ม ต้องปิดตัวลงเพราะเศรษฐกิจประเทศซบเซา  วันที่ไม่สามารถบอกเพื่อนได้ปุ๊บปั๊บว่า “มึง วันนี้ไปยืมหนังสือร้าน…กัน” และแทบหาร้านเช่าหนังสือใกล้บ้านได้ยาก ‘Once Upon a Book’ ธีสิสร้านเช่าหนังสือออนไลน์ของ ไข่มุก-แพรวา สุจริตกุล แพรว-พลอยไพลิน เมืองสิทธิ์ และ มายด์-รัชนนท์ สามารถ บัณฑิตวิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม เอกคอมพิวเตอร์เพื่อการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จะเป็นพื้นที่ทวงคืนเรื่องเล่ากาลครั้งหนึ่งในหนังสือให้กลับมาโลดแล่นในใจนักอ่านอีกครั้งด้วยราคาที่เอื้อมถึง ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหน คุณสามารถเลือกเช่าหนังสือได้บนเว็บไซต์ และไม่ว่าคุณจะเป็นนักสะสมหนังสือตัวยงที่ชั้นเก็บหนังสือเต็มแล้ว ร้านเช่าหนังสือออนไลน์แห่งนี้มีบริการให้คุณ และใครก็ได้มาปล่อยเช่า 01 หนอนหนังสือที่โตมากับร้านเช่าหนังสือ ไข่มุก แพรว มายด์ เป็นยอดนักอ่านที่ทุกงานเทศกาลหนังสือจะเจอพวกเธอขนหนังสือกลับบ้านอย่างต่ำ 10 เล่ม อย่างมาก 80 เล่ม จนแทบจะต้องใช้กระเป๋าลากมาช่วยขน  ‘ไข่มุก’ ชอบอ่านหนังสือเชิงปรัชญา หรืออะไรก็ได้ที่ภาษาสละสลวย […]

“ข้าวไทยไปได้ไกลกว่านี้” ทัศนะ ‘เชอรี่ เข็มอัปสร’ CEO แบรนด์ข้าวสิริไทผู้ปฏิเสธ CPTPP

หน้าม่านผืนแรกของ เข็มอัปสร สิริสุขะ หรือ ‘เชอรี่’ คือการเป็นนักแสดงที่มอบความสุขให้ใครสักคนที่ดูเธออยู่ ใครสักคนที่ว่า มีตั้งแต่เด็กเล็กจนถึงปู่ย่าตายาย คนหลากอาชีพ และหนึ่งในนั้นมี ‘ชาวนา’  เธอจึงเพิ่มม่านผืนสองให้ชีวิต ด้วยการตั้งโจทย์อยากช่วยเหลือปัญหาปากท้องของชาวนาในวันที่ราคาข้าวไทยตกต่ำ สนับสนุนเกษตรกรที่ไม่ใช้สารเคมีในขั้นตอนการปลูกเพื่อลดผลกระทบทั้งคนปลูก คนกิน และสิ่งแวดล้อม เธอกลายเป็นผู้บริหารหน้าใหม่เจ้าของ ‘สิริไท’ แบรนด์ข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่ปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ด้วยวิถีธรรมชาติร้อยเปอร์เซ็นต์จากรุ่นบรรพบุรุษฝีมือชาวบ้านบ้านโคกสะอาด จังหวัดสกลนคร ไม่ใช่ว่าเชอรี่เพิ่งมาสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมในปีนี้ เพราะจุดเปลี่ยนที่ทำให้เธอลุกขึ้นมาสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมจนอยากแก้ไขปัญหามีมาตั้งแต่ภัยแล้งปี 2559 และทำมาเรื่อยๆ จนพุทธศักราชนี้ ที่คนชอบกินข้าวอย่างเธอคัดสรรข้าวกว่า 20 สายพันธุ์ และลงไปดูให้เห็นกับตา ดำนาร่วมกับชาวนาเพื่อให้รู้ว่าสิ่งที่พวกเขาทำมันปลอดเคมีทุกกระบวน จนรับรู้ปัญหาต่างๆ ที่ชาวนากำลังเผชิญ อีกหนึ่งปัญหาที่น่าห่วงก็คือ CPTPP (Comprehensive and Progressive Agreement for Trans-Pacific Partnership) หรือ ความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก ที่เชอรี่ยืนยันว่าต้องขับเคลื่อนเพื่อให้เกิด #คัดค้านCPTPP เพราะอนาคตข้าวไทยจะสูญเสียทั้งความหลากหลายทางชีวภาพ และภูมิปัญญาอันดีงามของชาวนา ไปคุยกับผู้บริหารหญิงคนนี้เรื่อง ‘ข้าวไทย’ และฝีมือของ ‘ชาวนาไทย’ ที่ประเทศควรให้คุณค่ามากกว่านี้กัน หลายคนรู้ว่าคุณสนใจปัญหาสิ่งแวดล้อม แต่ไม่รู้ว่าคุณทำงานสิ่งแวดล้อมมาหลายปีแล้ว ปี […]

‘ไทยกำลังลืมคนไร้บ้าน’ โควิด-19 ไม่เลือกติดเฉพาะชนชั้น

คุณน่าจะรู้ว่าไทยเป็น ‘ประเทศเดียว’ ที่ประชาชนควักเงินจ่ายวัคซีนทางเลือกเอง และก็ไม่ใช่ทุกคนจะมีสิทธิ์ได้รับวัคซีนด้วยนะ เพราะถ้าไม่มีเงินจ่ายค่าเน็ต ลงทะเบียนในเว็บไซต์หรือแอปฯ ต่างๆ ก็อด บางคนมีเงินแต่ก็ยังจองไม่ได้ เพราะจำนวนวัคซีนที่มีให้จำนวนจำกัด วัคซีนจากรัฐบาลยิ่งไม่ต้องพูดถึง นอกจากให้ Sinovac มาโดยไม่ได้ร้องขอ จนแพทย์ด่านหน้าติดเชื้อ ภูมิคุ้มกันไม่ขึ้น AstraZeneca ชนชั้นกลางยังคงแย่งลงทะเบียนวัคซีน ได้ฉีดบ้าง เลื่อนโดยไม่มีกำหนดบ้าง Pfizer ที่อเมริกาบริจาคให้ แพทย์บางคนก็ยังไม่ได้ฉีด  การเข้าถึงวัคซีนที่ทรหดในไทยนำไปสู่ยอดติดเชื้อโควิด-19 พุ่งสูง โรงพยาบาลรัฐ เอกชน และโรงพยาบาลสนามเต็ม ทำให้ต้องมีระบบ Home Isolation เข้ามา แต่กลับไม่ให้ข้อมูลที่ชัดเจน รัฐแก้ปัญหาด้วยการล็อกดาวน์ แต่ยังทำให้คนตกงาน รายได้หาย คนตายเพิ่ม และใช่ ‘คนนอนตายข้างถนน’ ก็มีเหมือนกัน น่าเศร้าที่คนตายข้างถนนบางส่วนเป็น ‘คนไร้บ้าน’ เร่ร่อน ไม่มีสวัสดิการ ไม่มีโอกาสจองวัคซีน ไม่มีเงินออกนอกประเทศไปฉีดวัคซีนดีๆ เข้าไม่ถึงระบบการรักษา ไม่มีอะไรเลย พวกเขาเป็นเพียงกลุ่มคนที่กำลังจะหมดลมหายใจ เพราะรัฐไทยไร้ความมั่นคง “คนเร่ร่อนคือผลกระทบของทุกปัญหาในประเทศที่ถูกซุกไว้ใต้พรม วันที่มีคนตายข้างถนน และนายกฯ ยืนยันว่า ห้ามมีภาพเหล่านั้นอีก […]

Bangkoknaughtyboo อินฟลูฯ ดิจิทัล ลูกครึ่งคน-คอม คนแรกของไทย ที่จ้างถ่ายแบบได้จริง

“สวัสดีค่ะคุณ Bangkoknaughtyboo แมกกาซีนเราอยากสัมภาษณ์คุณในฐานะ Virtual Influencer คนแรกของไทย พอจะสะดวกไหมคะ” (Typing…)  “สวัสดีค้าบ ขอบคุณที่ติดต่อมาค้าบ ยินดีให้สัมภาษณ์ค้าบ”  ไม่นานแอ็กเคานต์อินสตาแกรม @bangkoknaughtyboo ก็ตอบกลับ  นี่จึงเป็นครั้งแรกของฉันที่ได้คุยกับ Virtual Influencer หรือ อินฟลูเอนเซอร์ที่สร้างจาก CGI (Computer-generated imagery) คนแรกของไทย และเป็นอินฟลูเอนเซอร์ Non-binary ผู้ไม่นิยามตัวเองเป็นหญิงหรือชายตามบรรทัดฐานสังคม ‘คนแรกของโลก’ เดี๋ยวก่อน นึกภาพตามกันออกไหม ว่าเขาเป็นแบบนี้ แบบนี้  แล้วก็แบบนี้! แม้เขาจะเป็นคอมพิวเตอร์กราฟิก แต่ร่างกายบางส่วน ก็ใช้ต้นแบบที่เป็นมนุษย์หลอมรวมด้วยกัน Bangkoknaughtyboo ไม่ต้องบอกก็รู้ว่า ชื่อของเขามาจากเด็กซนๆ ในกรุงเทพฯ แม้จะเป็นอินฟลูเอนเซอร์จากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แต่ตัวตนของเขา ถูกสร้างให้ใช้ชีวิต และมีคาแรกเตอร์เสมือนเป็นคนจริงๆ มีทั้งความรู้สึก ทั้งไลฟ์สไตล์ สามารถเดินไปช้อปปิง เสพข่าวสาร มีความฝัน แถมมีอาชีพไว้สร้างเนื้อสร้างตัวจริงๆ (แบงคอคบอกว่าจ้างได้นะ) เขาโลดแล่นในวงการแฟชั่นด้วยการถ่ายแบบใกล้ครบหนึ่งปี เพิ่งเซ็นสัญญากับ Morgan & Preston […]

1 2 3 7

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.